หนังสือสังคมศึกษา ป. 6

    -----------------------------------

    หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน

    สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

    ชั้นประถมศึกษาปีที่6

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

    ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

    ผู้เรียบเรียง

    นางสาวเยาวลักษณ์ อักษร

    นางสุพน ทิมอ่ำ

    นางสาววิริยะ บุญยะนิวาสน์

    ผู้ตรวจ

    นางอมราภรณ์ คงสำราญ

    นางอภิญญา กิ่งสุพรรณ์

    นายวัลลภ เลิศศรี

    บรรณาธิการ

    นางวลัยพรรณ บุญมี

    พิมพ์ครั้งที่ 4

    สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ

    ISBN :978-616-203-262-2

    รหัสสินค้า 1613023

    -----------------------------------

    คำนำ

    ด้วยกระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งให้ใช้หลักสูตรศึกษาธิการพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในโรงเรียนทั่วไปที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในปีการศึกษา 2546 และจากการศึกษาวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จึงนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมีความเหมาะสมและชัดเจน เพื่อให้สถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

    หนังสือเรียน สังคมศึกษาฯ ป.6 เล่มนี้จัดทำขึ้นสำหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยดำเนินการจัดทำให้สอดคล้องตามกรอบของหลังสูตรทุกประการ ส่งเสริมกระบวนการคิด การสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ การนำไปใช้ในชีวิต รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม

    หนังสือเรียน สังคมศึกษาฯ ป.6 เล่มนี้ มี 4 หน่วย ในแต่ละหน่วยแบ่งเป็นบทย่อยๆซึ่งประกอบด้วย

    1. เป้าหมายการเรียนรู้ประจำหน่วย กำหนดระดับความรู้ ความสามารถของผู้เรียนว่าเมื่อเรียนจบในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ต้องบรรลุมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรข้อใดบ้าง

    2. แนวคิดสำคัญ แก่นความรู้ที่เป็นความรู้ความเข้าใจคงทนติดตัวผู้เรียน

    3. เนื้อหา ครบตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 นำเสนอเหมาะสมกับการเรียนการสอนในแต่ละระดับชั้น

    4. กิจกรรม มีหลากหลายรูปแบบให้นักเรียนปฏิบัติ แบ่งเป็น

    (1) กิจกรรมนำสู่การเรียน นำสู่บนเรียนเพื่อกระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน

    (2) กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะประจำหน่วย

    (3)กิจกรรมรวบยอด ให้ผู้เรียนปฏิบัติเพื่อแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัดประจำหน่วย

    คณะผู้จัดทำจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียน สังคมศึกษาฯ ป.6 เล่มนี้ จะเป็นสื่อการเรียนการสอนที่อำนวยประโยชน์ต่อการเรียนสังคมศึกษา เพื่อให้สัมฤทธิผลตามมาตรฐานตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทุกประการ

    คณะผู้จัดทำะ

    -----------------------------------

    คำชี้แจงในการใช้สื่อ

    เป้าหมายการเรียนรู้

    กำหนดความรู้ความสามารถของผู้เรียนเมื่อเรียนจบหน่วย

    มาตรฐานตัวชี้วัด

    ระบุชี้วัดที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วย

    กิจกรรมนำสู่การเรียน

    นำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้กระตุ้นความสนใจและวัดประเมินผลก่อนเรียน

    แนวคิดสำคัญ

    แก่นความรู้ ที่เป็นความเข้าใจ คงทนติดตัวผู้เรียน

    เนื้อหา

    ครบตามหลักสูตรแกนกลางฯ พ.ศ. 2551 นำเสนอโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับการเรียนการสอน

    Wed Guide

    แหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ต

    คำถามจุดประกาย

    ตำถามที่กระตุ้นความสนใจและให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์

    กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้

    ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะประจำหน่วย

    กิจกรรมรวบยอด

    ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติเพื่อแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้รวบยอดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานตัวชี้วัดประจำหน่วย

    คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

    คำถามที่ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

    -----------------------------------

    สารบัญ

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนากับการดำรงชีวิต ---1

    บทที่ 1 ศาสนาต่างๆ---2

    บทที่ 2 หลักธรรมนำความสุข---15

    บทที่ 3 เรียนรู้สิ่งที่ดี---42

    บทที่ 4ศาสนิกชนที่ดีและศาสนาพิธีน่ารู้---58

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี---80

    บทที่ 1 กิจกรรมประชาธิปไตย---81

    บทที่ 2 กฎหมายน่ารู้---95

    บทที่ 3 วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง---108

    บทที่ 4 ข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์---124

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์---131

    บทที่ 1 ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน---132

    บทที่ 2 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ---151

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ภูมิศาสตร์น่ารู้---170

    บทที่ 1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์---171

    บทที่ 2 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย---190

    บทที่ 3 ลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ---211

    บทที่ 4 มนุษย์กันสิ่งแวดล้อม---220

    บรรณานุกรม---234

    ภาคผนวก---พิเศษ1

    ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม จากเว็บไซต์อยู่ในหนังสือ หน้า 6, 19, 30, 40, 50, 55, 61, 65, 111, 128, 146, 159, 174, 223, 229, 231

    -----------------------------------1

          หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ศาสนากับการดำรงชีวิต

    เป้าหมายการเรียนรู้ประจำหน่วยที่ 1

    เมื่อเรียนจบหน่วยนี้ ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถต่อไปนี้

    1. วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ หรือความสำคัญของศาสนาที่ตนนับถือ (มฐ. ส 1.1 ป.6/1)

               2. สรุปพุทธประวัตตั้งแต่งปลงอายุสังขารจนถึงสังเวชนียสถาน หรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด (มฐ. ส 1.1 ป.6/2)

               3. เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดกเรื่องเล่า และศาสนิกชนตังอย่างตามที่กำหนด (มฐ. ส 1.1 ป.6/3)

               4. วิเคราะห์ความสำคัญและเคารพพระรัตนตรัยปฏิบัติตามไตรสิกขาและหลักธรรมโอวาท 3 ในพระพุทธศาสนา หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด (มฐ. ส 1.1 ป.6/4)

               5. ชื่นชมการทำความดีของบุคคลในประเทศตามหลักศาสนา พร้อมทั้งบอกแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต (มฐ. ส 1.1 ป.6/5)

               6. เห็นคุณค่าและสวดมนต์ แผ่เมตตา และบริหารจิตเจริญปัญญา มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิในพระพุทธเจ้า หรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด (มฐ. ส 1.1 ป.6/6)

               7. ปฏิบัติตามหลักธรรมศาสนาที่ตนนับถือเพื่อแก้ปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติด (มฐ. ส 1.1 ป.6/7)

               8. อธิบายหลักธรรมสำคัญของศาสนาอื่นๆ โดยสังเขป (มฐ. ส 1.1 ป.6/8)

               9. อธิบายลักษณะสำคัญของศาสนพิธี พิธีกรรมของศาสนาอื่นๆ และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมเมื่อต้องเข้าร่วมพิธี (มฐ. ส 1.1 ป.6/9)

               10.  อธิบายความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ในศาสนสถานและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม (มฐ. ส 1.1 ป.6/1)

11. มีมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด (มฐ. ส 1.1 ป.6/2)

12. อธิบายประโยชน์ของการเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรม และกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนด และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง (มฐ. ส 1.1 ป.6/3)

13. แสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ (มฐ. ส 1.1 ป.6/4)

    -----------------------------------2

            บทที่ 1 ศาสนาต่างๆ

    กิจกรรมนำสู่การเรียน

    ภาพ :  พระสงฆ์สวมจีวรสีเหลืองกำลังเดินเป็นแถว

    ภาพ : บาตรหลาวสวมชุดคุมสีขาวกำลังให้พร

    ภาพ : ผู้ชายสวมชุดสีขาวใส่หมวกนั่งคุกเข่ากำลังละมาน

    บุคคลในภาพนับถือศาสนาอะไร สังเกตได้จากสิ่งใด

    แนวคิดสำคัญ

     พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งส่งผลทำให้วิถีการดำเนินชีวิตมีความสอดคล้องและเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในหลายด้าน ดังนั้นจึงอาจทำให้กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

    การศึกษาประวัติศาสดาแต่ละศาสนาช่วยให้ศาสนิกชนเกิดความศรัทธาในศาสนาและยึดมั่นในการทำความดี

    -----------------------------------3

    1 ความสำคัญของพระพุทธเจ้า

    คนไทยกับพระพุทธเจ้าศาสนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมานาน คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาและนำหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญต่อคนไทยและชาติไทยดังนี้

1.พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

จากการที่คนไทยนับถือพระพุทธศาสนามาเป็นระยะเวลายาวนานทำให้วิถีชีวิตของคนไทยได้รับการ

ผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธี กิจกรรมทางสังคม จะมีพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งลักษณะนิสัยของคนไทย เช่น ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที ความเสียสละ เป็นต้น ล้วนได้รับการหล่อหลอมมาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ นับเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้คนต่างชาติรู้จักและประทับใจประเทศไทย

    2. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานและมรดกทางวัฒนธรรม

    วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา และจากการที่คนไทยมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา ทำให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิตจนกลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมไทยในด้านต่างๆ เช่น

    1) ศิลปะทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องและสะท้อนความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา เช่น การก่อสร้างวัดวาอารามที่มีความงดงาม การปั้นพระพุทธรูปปางต่างๆ ภาพวาดเรื่องราวที่แสดงพุทธประวัติ และอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เป็นต้น

               2) ประเพณี เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเข้าพรรษา ซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็จะมีพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ในวันสงกรานต์จะมีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป เป็นต้น

-----------------------------------4

               3) ภาษาและวรรณคดี เช่นไตรภูมิพระร่วง พระเวสสันดรชาดก เป็นต้น ซึ่งวรรณคดีเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พระเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เป็นต้น

               3 พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ

               พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธ โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการอบรมสั่งสอนจริยธรรมของคนในสังคม เป็นบ่อเกิดของศิลปะวิทยาการต่างๆ และเป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในเทศกาลสำคัญมีพระสงฆ์เป็นผู้เผยแผ่หลักธรรมให้ประชาชนนำได้รับทราบและนำไปเป็นหลักปฏิบัติ ดังนั้น พระสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและมีความสุข

               4 พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาชาติไทย

               การพัฒนาชาติไทยจะต้องอาศัยการพัฒนาทางจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านวัตถุ ซึ่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนานั้นจะเป็นเครื่องช่วยทำให้การพัฒนาถูกต้อง เหมาะสม เช่น พระพุทธศาสนามีหลักธรรมโอวาท 3 ที่สอนให้ละเว้นความชั่ว ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เมื่อเราปฏิบัติตามหลักธรรมโอวาท 3 จะส่งผลให้เป็นคนดีมีศีลธรรม เมื่อเป็นคนดีแล้วก็จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เมื่อคนในชาติมีความสุข ประเทศไทยก็จะพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป              

ภาพ : วัดในพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาสถานที่สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของชาติ รวมทั้งยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน

    -----------------------------------5

    2 ประวัติศาสดาของศาสนาต่างๆ

    ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้งศาสนา ศาสดาของแต่ละศาสนานั้นมีประวัติที่น่าสนใจและควรศึกษา เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของเรา

    1. พุทธประวัติ

    ในชั้นนี้นักเรียนจะได้ศึกษาพุทธประวัติซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่ได้เคยศึกษาในชั้นอื่นๆ ดังนี้

    1) ทรงปลงพระชนมายุสังขาร

               นับจากที่พระสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้เสร็จสั่งสอนประชาชนตามแว่นแคว้นมาเป็นเวลา 45 ปี ทำให้พระพุทธศาสนาเผยแผ่ออกไป มาบัดนี้ถึงพรรษาสุดท้ายของพระองค์ คือ ในพรรษาที่ 45 พระพุทธเจ้าจำพรรษาที่บ้านเวฬุวคาม เมืองเวสาลี ระหว่างนี้ทรงอาพาธหนัก แต่งทรงอดกลั้นอย่างยิ่ง เมื่อพรรษาแล้วจึงได้เสร็จไปยังปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ทรงปลงพระชนมายุสังขารว่า พระองค์จะปรินิพพานในอีก 3 เดือนข้างหน้า

               “นับแต่นี้ต่อไปอีก 3 เดือน เราจะปรินิพพาน”

               ภาพ : พระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร ณ เมืองเวสาลี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

    -----------------------------------6

    2) ปัจฉิมสาวก

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขารแล้ว จึงได้เสด็จเที่ยวจาริกสั่งสอนประชาชนเรื่อยไปจนถึงสาลวโนทยานแห่งมัลลกษัตริย์ซึ่งตั้งอยู่เมืองกุสินารา พระองค์ตรัสสั่งพระอานนท์ให้จัดที่ประทับระหว่างต้นสาละทั้ง 2 ต้น แล้วบรรทม ขณะนั้นสุภัททปริพาชกผู้อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา เมื่อได้ทราบข่าวจึงรีบเดินทางไปเพื่อเข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยแต่ในตอนแรกพระอานนท์ได้คัดค้านว่า มิควรทำความลำบากพระวรกายแก่พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์จะปรินิพานแล้ว

    สุภัททะอ้อนวอนขอเข้าเฝ้าให้ได้ พระพุทธเจ้าทรงได้ยินจึงตรัสอนุญาตให้สุภัททะเข้าเฝ้า โดยตรัสแก่พระอานนท์ว่า “หากสุภัททะได้ถามข้อสงสัยและได้ฟังเนื้อความแล้ว จะสามารถรู้ทั่วถึงได้โดยฉับพลัน” สุภัททะได้เข้าเฝ้าและทูลถามข้อสงสัย พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบข้อสงสัยนั้นจากนั้นพระองค์ทรงเทศนาอริยมรรค 8 ประการ ว่าเป็นหนทางอันประเสริฐทำให้บุคคลธรรมดาสามารถเป็นพระอรหันต์ได้

    สุภัททะได้ฟังแล้วก็เกิดความเลื่อมใส จึงทูลขออุปสมบทพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์อนุญาตให้สุภัททะได้อุปสมบท ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว พระสุภัททะได้ปฏิบัติธรรมด้วยความเพียรพยายามจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในคืนวันนั้น

    พระสุภัททะจึงนับเป็นปัจฉิมสาวก ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก่อนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

    “เมื่อนักเรียนได้ศึกษาพุทธประวัติตอนปัจฉิมสาวกแล้ว เราไปศึกษาพุทธประวัติตอนปรินิพานในหน้าต่อไปกันเลยนะคะ”

    http://www.aksorn.com/lib/p/soc_01  (เรื่อง สุภัททปริพาชก)

    -----------------------------------7

    3) ปรินิพพาน

    ขณะใกล้จะปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนเหล่าภิกษุที่เฝ้าแวดล้อมดูอากาศพระประชวรของพระองค์ ถือเป็นปัจฉิมโอวาทว่า “ภิกษุทั้งหลาย บันนี้เราขอเตือนพวกเธอว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาพวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

    ภาพ : ภาพจำลองเหตุการณ์ในช่วงใกล้ที่จะเสร็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

    และหลังจากนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้เสร็จดับขันธ์ปรินิพพานในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 1 ปี ขณะพระชนมายุได้ 80 พรรษา

    4) การถวายพระเพลิง

    เมื่อพระพุทธเจ้าเสร็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์พระเถระผู้ใหญ่ มีพระอนุรุทธะแลพระอานนท์ เป็นต้น ได้ร่วมกันประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ โดยจัดพิธีเหมือนพระศพของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งจัดขึ้นที่มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา จัดตั้งพระพุทธสรีระไว้ให้ประชาชนได้สักการบูชาเป็นเวลา 7 วัน เพื่อเตรียมที่จะถวายพระเพลิงและคอยพระมหากัสสปะพร้อมกับพระภิกษุจำนวนหนึ่งที่จะเดินทางมาถึง

    ครั้นพระมหากัสสปะมาถึงแล้วได้ถวายบังคมพระยุคลบาทขององค์พระศาสดาแล้ว จึงได้ถวายพระเพลิงในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งชาวพุทธเรียนว่า “วันอัฏฐมีบูชา”

    -----------------------------------8

    5) การแจกพระบรมสารีริกธาตุ

    เนื่องจากความเคารพที่มีในพระบรมศาสดา เจ้าผู้ครองนครทั้งหลายจึงได้ส่งทูตานุทูตมาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ เมืองของตน และเมื่อได้ส่วนแบ่งแล้ว จึงได้นำพระบรมประดิษฐาน จึงได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุถูปเพื่อสักการบูชาที่บ้านเมืองของตน

    6) สังเวชนียสถาน

    สังเวชนียสถาน หมายถึง สถานที่ที่ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความระลึกถึงพระพุทธเจ้า มี 4 แห่ง ดังนี้

    (1) สถานที่ประสูติ อยู่ที่สวนลุมพินีวัน ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงบิลพัสดุ์ แค้วนสักกะ และกรุงเทวทหะ แค้วนโกลิยะ ปัจจุบันเรียกว่า “รุมมินเด” อยู่ในประเทศเนปาล

               (2) สถานที่ตรัสรู้ ตั้งอยู่ที่อุรุเวลาเสนานิคม ในกรุงราชคฤห์แค้วนมคธ ปัจจุบันเรียกว่า “พุทธคยา” ตั้งอยู่ที่รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

               ภาพ : สวนลุมพินีวัน เป็นสถานที่ที่พุทธศาสนิกชนพึงระลึกถึงการประสูติของพระพุทธเจ้า

               ภาพ : เจดีย์พุทธคยา เป็นสถานที่ที่พุทธศาสนิกชนพึงระลึกถึงการตรัสรู้ของพระศาสดา

               -----------------------------------9

               (3) สถานที่แสดงปฐมเทศนา อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันกรุงพาราณสี แค้วนกาสี ปัจจุบันอยู่ที่สารนาถ รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย

               (4) สถานที่ปรินิพพาน อยู่ที่สาลวโนทยาน ในกรุงกุสินาราแค้วนมัลละ ปัจจุบันอยู่ที่รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย

               ภาพ :ธัมเมกขสถูป แปลว่า สถูปผู้เห็นธรรม เป็นสถานที่ระลึกถึงปฐมเทศนาในครั้งพุทธกาล

               ภาพ : สถูปปรินิพพาน เป็นสถานที่ระลึกถึงการเสร็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระพุทธองค์

               คำถามจุดประกาย

               1.            เพราะเหตุใดจึงมีคำกล่าวว่า “พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานและมรดกทางวัฒนธรรมไทย”

               2. ข้อคิดที่ได้จากปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้าคืออะไร และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร

               3. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการแจกจ่ายพระบรมสารีริกธาตุไปยังเมืองต่างๆ

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่1

               1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับคนไทยและชาติไทยจากนั้นบันทึกข้อมูลด้วยสำนวนของตนเอง และออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนต่างๆ ในบทเรียน จากนั้นวาดภาพตามจินตนาการโดยจักทำลงในสมุด แล้วเขียนคำอธิบาย จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               3. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์ของการศึกษาสังเวชนียสถาน แล้วสรุปผลการอภิปราย จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               -----------------------------------10

               2. ประวัติศาสดาของศาสนาอื่นๆ

               ประวัติศาสดาของศาสนาอื่นๆ ที่นักเรียนควรศึกษาในชั้นนี้ มีดังนี้

               1) ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

               ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู พระองค์เป็นชาวยิว ประสูติวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1 ที่หมู่บ้านเบธเลเฮม แค้วนยูดาย ในดินแดนปาเลสไตน์

               บิดาของพระเยซู เป็นช่างไม้ ชื่อว่า โยเซฟ ส่วนมารดาของพระเยซู ชื่อว่า มาเรีย

ในวัยเยาว์พระเยซูเป็นเด็กที่สนใจในเรื่องศาสนาและเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดมาก เมื่อพระองค์อายุย่าง 30 ปี มีโอกาสได้พบกับนักบุญจอห์นและได้รับศีลล้างบาป หลังจากนั้นพระองค์ได้เสร็จไปประทับในป่าแห่งหนึ่ง เพื่อบำเพ็ญศีลภาวนา และนมัสการพระเจ้าเมื่อพระองค์กลับมาจึงได้ประกาศหลักคำสอนเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

               คำสอนของพระเยซูมีหลายเรื่องที่ต่างไปจากคำสอนเดิมของศาสนายูดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศศาสนาคริสต์

               ภายหลังจากที่พระเยซูประกาศศาสนาได้เพียง 3 ปี นักบวชชาวยิวใส่ความฟ้องร้องต่อทางการว่า พระเยซูเป็นกบฏทรยศต่อบ้านเมืองจนในที่สุดพระเยซูถูกจับและถูกตัดสินให้ประหารชีวิต โดยการถูกตรึงบนไม้กางเขนจนสิ้นพระชนม์

               ภาพ : พระเยซู ผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์

               -----------------------------------11

               2) ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

               ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด พระองค์เป็นชาวอาหรับ ประสูติเมื่อ ค.ศ.570 ที่เมืองเมกกะ หรือบางแห่งเรียกว่า มักกะฮ์ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย พระองค์เป็นบุตรของอับดุลเลาะห์และนางอามีนฮ์ พระองค์กำพร้าตั้งแต่วัยเยาว์ จึงต้องอยู่ในความอุปการะของลุง โดยช่วยลุงทำงานต่างๆ

               ในวัยหนุ่ม พระองค์ได้ไปทำงานกับนางคอดีญะฮ์ โดยทำหน้าที่ช่วยควบคุมกองคาราวานเพื่อนำสินค้าไปขายต่อมาทั้งสองได้แต่งงานและมีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน

               ในช่วงที่พระองค์ถือกำเนิดนั้น สภาพสังคมของอาหรับอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมมาก ผู้คนประพฤติผิดหลักศีลธรรม งมงายกับการบูชารูปเคารพ พระองค์จึงพยายามแก้ไข้ปัญหาสังคม

               จนวันหนึ่งพระองค์ได้เข้าไปหาความสงบในถ้ำ บนภูเขาฮิรอฮ์ได้มีทูตสวรรค์นำโองการของพระเจ้ามาประทานแก่พระองค์ ให้พระองค์เริ่มประกาศศาสนา คือ บูชาพระเจ้าเพียงองค์เดียวและลายรูปเคารพต่างๆ ให้หมดสิ้น การที่พระองค์สอนให้ทำลายรูปเคารพนี้เอง ทำให้เป็นอุปสรรคในการเผยแผ่ศาสนา เพราะขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไปที่นับถือรูปเคารพ

               นบีมุฮัมมัดประกาศศาสนาได้ 13 ปี จึงสามารถรวบรวมแค้วนต่างๆ เป็นอาณาจักรของชาวอาหรับไว้ได้ พระองค์ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ. 633 ขณะมีพระชนมายุ 63 ปี

               “ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากเป็นอันดับที่สองของโลก รองจากศาสนาคริสต์”

-----------------------------------12

               3) ประวัติศาสดาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

               ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดา แต่นับถือเทพเจ้าเป็นที่สักการบูชา ซึ่งในสมัยนั้นคนอินเดียนับถือเทพเจ้าประจำธรรมชาติต่างๆ โดยเชื่อว่า เทพเจ้าเหล่านี้สามารถบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ทางธรรมชาติได้ จึงได้มีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อบูชาและสรรเสริญเทพเจ้า

               ผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อว่า เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ขอศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีอยู่เพียง 3 องค์ ได้แก่พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ โดยเทพเจ้าทั้ง 3 องค์นี้ เป็นองค์เดียวกัน แต่ได้แบ่งภาคออกเป็นสามองค์ เพื่อทำหน้าที่ต่างกัน

               ภาพ : พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ

               (1) พระพรหม เป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งต่างๆ

               (2)พระวิษณุ เป็นผู้รักษาดูแลโลก

               (3) พระศิวะ เป็นผู้ทำลายโลกเมื่อโลกมีคนชั่วจำนวนมาก

-----------------------------------13

               4) ประวัติศาสดาของนาศาสนาสิข

               ศาสนาสิขนั้นมีศาสดาทั้งหมด 10 องค์ ศาสดาองค์ที่สำคัญที่สุดคือองค์แรก ได้แก่ คุรุนานัก เกิดเมื่อ ค.ศ. 1469 ที่แคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย พระองค์มีบิดาชื่อกาลุ มีมารดาชื่อตฤปตา คุรุนานักมีความรู้เกี่ยวกับศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์ จนมีความรู้แตกฉานในคัมภีร์พระเวทรวมทั้งได้ศึกษาถึงความเป็นมาของศาสนาต่างๆ จนทำให้สามารถสนทนาเรื่องศาสนากับคณาจารย์ต่างๆ ได้

               ต่อมาคุรุนานักบำเพ็ญสมาธิในป่าและได้พบพระเป็นเจ้าในทางจิต เมื่อพระองค์กลับมาถึงบ้านได้ให้ความช่วยเหลือคนยากจนและดูแลรักษาพยาบาลผู้ที่เจ็บป่วยหลังจากนั้น พระองค์ได้เดินทางสั่งสอนประชาชนไปยังเมืองต่างๆทำให้พระองค์มีลูกศิษย์ทั้งที่เป็นมุสลิม และพราหมณ์-ฮินดู

               ศาสนาสิขเป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าเพียงพระองค์เดียวซึ่งเป็นพระเจ้าสำหรับมนุษย์ชาติทั้งปวง ผู้ที่นับถือศาสนาสิขและผ่านพิธีปาหุลตามแบบศาสนาแล้ว จะได้นามว่า “สิงห์” ลงท้ายชื่อ เมื่อทำพิธีแล้วจะได้รับ “กกะ” ซึ่งได้แก่ เกศ กังฆากฉากรา และกิรปาน

               จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ทำให้นักเรียนทราบว่าศาสนาทุกศาสนา แม้จะมีจุดมุ่งหมายสูงสุดแตกต่างกัน แต่จุดมุ่งหมายสำคัญในการนับถือศาสนาต่างๆ ก็คล้ายคลึงกัน คือ สอนให้ทุกคนละเว้นจากการทำความชั่ว มุ่งกระทำความดี มีความปรารถนาดีต่อกัน เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

-----------------------------------14

               คำถามจุดประกาย

               1 นักเรียนคิดว่า ศาสดาของแต่ละศาสนามีความสำคัญอย่างไร

               2 การที่นักเรียนได้ศึกษาประวัติศาสดาของศาสนาต่างๆ ทำให้ทราบข้อมูลเรื่องใดบ้าง

               3 นักเรียนคิดว่า ศาสดาของศาสนาที่นักเรียนนับถือ มีคุณธรรมที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างอะไรบ้าง

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

               แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คนให้แต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยงกับประวัติศาสดาที่กลุ่มสนใจ 1พระองค์ แล้วบันทึกข้อมูลตามหัวข้อที่กำหนดให้ จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               1) ประวัติของศาสดาที่กลุ่มสืบค้นข้อมูล

               2) แง่มุมชีวิตที่น่าสนใจของศาสดาพระองค์นี้

               3) หลักคำสอนสำคัญของศาสดาพระองค์นี้

               กิจกรรมรวบยอด

               1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คนให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายว่า ศาสนามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเราอย่างไร แล้วสรุปผลการอภิปราย และออกมารายงานหน้าชั้น

               2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คนให้แต่ละกลุ่มร่วมกันคิดวิเคราะห์ พระพุทธศาสนามีความสำคัญในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติไทยเพราะเหตุใด แล้วสรุปผลและบันทึกข้อมูล จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               3. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น การศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสดาของศาสนามีประโยชน์อย่างไร แล้วสรุปผลอภิปรายและบันทึกข้อมูล จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

               1 นักเรียนจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้เอกลักษณ์ของชาติไทยทางด้านพระพุทธศาสนาในท้องถิ่นของตนคงอยู่สืบไป

               2 การที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องความไม่ประมาท นักเรียนจะนำข้อคิดเรื่องนี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไร

               3 หลักธรรมของศาสนาที่นักเรียนนับถือ สามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้หรือไม่ เพราะอะไรคำสอน

               -----------------------------------15

บทที่ 2 หลักธรรมนำความสุข

กิจกรรมนำสู่การเรียน

หลักธรรมทางศาสนามีผลต่อการดำรงชีวิตของเราอย่างไร

               แนวคิดสำคัญ

               หลักธรรมคำสอนของศาสนาทุกศาสนาล้วนมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ผู้ที่นับถือศาสนาควรศึกษาให้เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดความสุขในชีวิต

-----------------------------------16

        1 หลังสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา

        หลังคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ควรนำไปปฏิบัติ ได้แก่

        1. พระรัตนตรัย

               พระรัตนตรัย แปลว่า แก้วอันประเสริฐ 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ชาวพุทธทุกคนควรมีความเชื่อ และความเลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัย หรือเรียกว่า ศรัทธาในคุณของพระรัตนตรัย หรือศรัทธา 4 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

               ศรัทธา 4 หมายถึง ความเชื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลความมั่นใจในความจริง มี 4 ประการ คือ

               ศรัทธา 4 

(1) เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่าเมื่อทำอะไรโดยมีเจตนาหรือจงใจทำ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่ว

ความดี เกิดขึ้นในตน

(2) เชื่อว่าผลกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล

(3) เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน คือ เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของกรรมที่ตนทำไว้ และจะได้รับผลกรรมของตน

(4) เชื่อพระปัญญาและการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้หลักธรรมอันประเสริฐ

เมื่อบุคคลมีความเชื่อทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว ย่อมทำให้ไม่ประพฤติชั่วทั้งกาย วาจา และใจ เพราะเชื่อในเหตุและผลของการกระทำ ผลดีจึงเกิด ทำให้ประสบแต่ความสุขความเจริญ

นอกจากการมีศรัทธา 4 แล้ว ชาวพุทธยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับพระรัตนตรัยอย่างถูกต้อง ซึ่งจะได้ศึกษาในหน้าต่อไป

        -----------------------------------17

        1. พระพุทธ

        พระพุทธ คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่สั่งสอนหนทาง แห่งความดับทุกข์ของมนุษย์ โดยพระองค์ทรงบำเพ็ญพุทธกิจ 5 ประการ เป็นประจำทุกวัน โดยแบ่งออกเป็น 5 เวลา ดังนี้

        1. ช่วงเช้า ทรงออกบิณฑบาตโปรดสัตว์และสนทนาธรรมกับผู้ที่ทรงเล็กเห็นว่า สั่งสอนได้

    2. ช่วงเย็น เสร็จออกไปแสดงธรรมแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น

               3. ช่วงค่ำ ทรงประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุสงฆ์

               4. ช่วงเที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาธรรมและแสดงธรรมแก่เทวดา

               5. ช่วงใกล้รุ่ง ทรงพิจารณาเลือกบุคคลที่จะเสร็จไปโปรดในตอนเช้า

               ภาพ : (ตัวอย่างพุทธกิจในช่วงเช้า)พระพุทธเจ้าเสร็จไปโปรดองคุลิมาลเพื่อไม่ให้ฆ่ามารดาของตน

        -----------------------------------18

        2. พระธรรม

        พระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงและทรงบัญญัติไว้ เพื่อให้พุทธบริษัทได้ยึดถือมาเป็นหลักปฏิบัตินำชีวิตไปสู่ความสุขและหลุดพ้นจากความทุกข์ พระธรรมที่สำคัญ มีดังนี้

        1) อริยสัจ 4

        อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงที่ทำให้ผู้รู้แจ้งพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง มี 4 ประการ ได้แก่

        (1) ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยาก สภาพที่บีบคั้น

        (2) สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหาหรือความอยาก

        (3) นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ภาวะที่ตัณหาได้ดับสิ้นไป เมื่อตัณหาดับสิ้นไป ชีวิตก็จะมีความสงบสุข

        (4) มรรค หมายถึง ข้อปฏิบัติเพื่อที่จะให้ถึงความดับทุกข์ซึ่งมีองค์ประกอบทั้งสิ้น 8 ประการได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ และความตั้งมั่นชอบ

        2) หลักกรรม

        กรรม หมายถึง การกระทำด้วยเจตนา

        คำว่า “กรรม” เป็นคำกลางๆ จะมุ่งไปในทางดีก็ได้ ชั่วก็ได้ ทำชั่วเรียกว่า “อกุศลกรรม”ส่วนทำดีเรียกว่า “กุศลกรรม” ถ้าเราทำสิ่งใดทางกาย เรียกว่า “กายกรรม” ทำด้วยวาจาคือการพูด เรียกว่า “วจีกรรม” ทำด้วยใจนึกคิด เรียกว่า “มโนกรรม”

        ความรู้เสริม

        ตัณหา คือ ความอยาก มี 3 อย่าง ได้แก่

        1. กามตัณหา คือ ความอยากได้ ความอยากมี

               2. ภวตัณหา คือ ความอยากเป็น

               3. วิภวตัณหา คือ ความอยากที่จะไม่เป็น

        -----------------------------------19

        กรรม

        กายกรรม

        อกุศลกรรม

        1. ฆ่าสัตว์

               2. ลักทรัพย์

               3.ประพฤติผิดในกาม

กุศลกรรม

               1. เว้นจากการฆ่าสัตว์

               2. เว้นจากการลักทรัพย์

               3.เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

               กรรม

               วจีกรรม

               อกุศลกรรม

               1. พูดเท็จ

               2. พูดส่อเสียด

               3. พูดคำหยาบ

               4. พูดเพ้อเจ้อ

               กุศลกรรม

               1. เว้นจากการพูดเท็จ

               2. เว้นจากการพูดส่อเสียด

               3. เว้นจากการพูดคำหยาบ

               4. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

               กรรม

               มโนกรรม

               อกุศลกรรม

               1. โลภอยากได้

               2.พยาบาทปองร้าย

               3.เห็นผิดเป็นชอบ

               กุศลกรรม

               1. ไม่โลภอยากได้

               2.ไม่พยาบาทปองร้าย

               3. ไม่เห็นผิดเป็นชอบ

               หลักกรรมในทางพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องปัจจุบันเป็นสำคัญพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้เราพิจารณาการกระทำของตนเอง ทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่ชั่ว เพื่อชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องกระทำในปัจจุบัน

               พระพุทธเจ้าทรงสอนหลักกรรมไว้เพื่อเหตุผล ดังต่อไปนี้

               1. เพื่อทำลายความเชื่อเรื่องวรรณะ โดยให้ถือเอากรรม คือ การกระทำต่างๆ เป็นเครื่องตัดสินความดีหรือความชั่วของบุคคล และทำให้สามารถสรุปได้ว่า ทุกคนมีสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน

               2. เพื่อให้มนุษย์มีความเพียงในการปรับปรุงตนเองและสร้างผลสำเร็จต่างๆด้วยการลงมือกระทำ มิใช้รอคอยโชคชะตาหรืออ้อนวอนขอจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์

               3. เพื่อให้เป็นผู้ไม่ประมาท รู้ว่าสิ่งใดควรทำหรืองไม่ควรทำ ปฏิบัติตนถูกต้องห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติด

               4. เพื่อให้เป็นคนเชื่อมั่นในเหตุผลและผล และไม่หลงงมงายในสิ่งไรสาระที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้

               http://www0aksorn /lib/p/soc_01 (เรื่อง หลักกรรม)

        -----------------------------------20

        3. พระสงฆ์

        พระสงฆ์ คือ สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และนำคำสอนมาเผยแผ่แก่คนทั่วไป

        ความสำคัญของพระสงฆ์

        1) เป็นผู้ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย

               2) เป็นตัวอย่างที่ดีในทางศีลธรรมและนำให้ประพฤติดีตาม

               3) เรียนรู้พระธรรมแล้วนำมาสอนให้บุคคลทั่วไปรู้ตามและประพฤติปฏิบัติตาม

               4) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สืบต่ออายุของพระพุทธศาสนา

               ภาพ : พระสงฆ์ เป็นผู้เผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

               2. ไตรสิกขา

               ไตรสิกขา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา 3 ประการ ได้แก่

1) ศีล คือ การรักษากายและวาจาให้เป็นปกติ หรือไม่ได้บกพร่องซึ่งเป็นข้อฝึกอบรมในด้านความประพฤติ ได้แก่ การไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งทางกายและวาจา เช่น ประพฤติตนในสิ่งที่ดี พูดในสิ่งที่ดีมีประโยชน์พื้นฐานการฝึกสมาธิ ศีลเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดคุณธรรมต่างๆ ดังนั้นผู้ที่รักษาศีลบริสุทธิ์ จิตก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่าย

2) สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต หรือการสำรวมจิตให้แน่วแน่ซึ่งฝึกได้โดยการเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กลับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสิ่งต่างๆ

        -----------------------------------21

        3) ปัญญา คือความฉลาดรอบรู้ หรือความแจ่มกระจ่างในเหตุและผล รู้และเห็นแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง

        ปัญญาที่ได้กล่าวถึงในไตรสิกขานี้ เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากการฝึกหัดปฏิบัติอบรม เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นหลักจากฝึกสมาธิ เพราะเมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้ว ก็จะเกิดปัญญารู้แจ้งในสิ่งต่างๆ

        ภาพ “การนั่งสมาธิเป็นประจำ ช่วยทำให้เกิดปัญญาได้”

        คำถามจุดประกาย

        1. การปฏิบัติตามหลักศรัทธา 4 มีประโยชน์อย่างไร

               2. หลังจากเลิกเรียน สุนิสาไปเล่นที่สนามเด็กเล่นจึงกลับบ้านช้ากว่าปกติ พอคุณแม่ถาม สุนิสาบอกคุณแม่ว่า คุณครูให้ช่วยทำงานที่โรงเรียน จากข้อความนี้นักเรียนคิดว่าสุนิสาประพฤติอกุศลกรรมข้อใด เพราะอะไร

               3. นักเรียนคิดว่า พระสงฆ์มีความสำคัญต่อชุมชนของนักเรียนอย่างไร

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

               1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายแลดงความคิดเห็นว่า การปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเกิดผลดีอย่างไร แล้วสรุปผลการอภิปรายและบันทึกข้อมูล จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันค้นหาข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกรรม แล้วบันทึกลงในสมุด จากนั้นออกมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังที่หน้าชั้น และร่วมกันวิเคราะห์ถึงแนวทางแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น

               3. พิจารณาการดำเนินชีวิตประจำวันของตน และเขียนเล่าว่า ตนเองได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาข้อใดมาใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง อย่างไร และเมื่อได้ปฏิบัติตามหลักธรรมนั้นแล้วรู้สึกอย่างไร และผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร โดยทำลงในสมุด และออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        -----------------------------------22

        3. โอวาท 3

        โอวาท 3 คือ หลักธรรมคำสอนคำสอนของพระพุทธเจ้า มีทั้งสิ้น 3 ข้อหรือที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นแก่นแท้หรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่

        1) การไม่ทำความชั่ว

        การไม่ทำความชั่ว คือ การละเว้นจากทำสิ่งไม่ดีทั้งหลายซึ่งเป็นโอวาทข้อที่ 1 ของพระพุทธเจ้า และมีหลักธรรมที่ช่วยสนับสนุนการไม่ให้คนทำความชั่ว ที่จะกล่าวในชั้นนี้มี 3 ประการ ดังนี้

        1) เบญจศีล หรือศีล 5 เป็นธรรมลำดับแรกในการครองตนเพราะเป็นการป้องกันตนเองไม่ให้ทำความชั่ว และยังเป็นการสร้างพื้นฐานในการลบริหารจิตและเจริญปัญญาต่อไป

               ศีล 5

               - ศีลข้อ 1 งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ รวมทั้งการไม่ทำร้าย ทรมาน นำสัตว์มากักขัง

               - ศีลข้อ 2 งดเว้นจากการลักทรัพย์ การละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น

               - ศีลข้อ 3 งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามการลวนลามเพศตรงข้าม

               - ศีลข้อ 4 งดเว้นจากการพูดเท็จ การเจตนาบิดเบือนความจริงให้ผู้อื่นหลงเชื่อ

               - ศีลข้อ 5 งดเว้นจากการดื่มสุราและการเสพสิ่งเสพติด อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

        -----------------------------------23

        2) อบายมุข 6

        การครองตนให้เป็นคนดีนั้น นอกเหนือจากการไม่ทำความชั่วโดยการรักษาศีล 5 แล้ว ควรจะระมัดระวังตนเองไม่ให้ตกไปสู่ความเสื่อมเพราะถ้าเราตกไปสู่สภาพนั้นแล้วย่อมจะทำความดีได้ยาก สิ่งที่เรียกว่าทางไปสู่ความเสื่อม คือ อบายมุข มีอยู่ 6 ประการ ดังนี้

        (1) ดื่มน้ำเมา หมายถึง การดื่มสุรา รวมถึงการเสพของมึนเมาอื่นๆ และสิ่งเสพติดให้โทษ เช่น บุหรี่ ยาบ้า เป็นต้น

               (2) เที่ยวกลางคืน เช่น เที่ยวผับ ร้านคาราโอเกะ เป็นต้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่ควรเข้าไป โดยเฉพาะเด็กในวัยเรียน เพราะมีสิ่งที่ไม่ดีแฝงอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น สุรา ยาเสพติด เป็นต้น

               (3) เที่ยวดูการละเล่น หมายถึง มีจิตใจตกเป็นทาสของการเที่ยวเล่น จะเห็นการเล่นสำคัญกว่าการทำงาน พอได้ทราบข่าวว่ามีการบันเทิงที่ใด จะทนไม่ได้ ต้องไปเที่ยวไปดู

               (4) เล่นการพนัน หมายถึง การเล่นเอาเงินหรือสิ่งอื่นด้วยการเสี่ยงโชคหรือฝีมือ เช่น เล่นไพ่ ซื้อหวย เล่นพนันบอล เป็นต้น

               (5) คบคนชั่วเป็นมิตร คนเราเมื่ออยู่ใกล้กับใครก็มีโอกาสจะมีพฤติกรรมเช่นเดียวกับคนนั้นฉะนั้นในการเลือกคบผู้ใดเป็นใครต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่คบคนชั่ว

               (6) เกียจคร้านทำงาน เมื่อความเกียจคร้านครอบงำจิตใจทำให้เป็นคนเบื่องาน ในใจเต็มไปด้วยกิเลส มีข้ออ้างที่จะไม่ให้ต้องทำงาน เช่น หนาวนัก ร้อนนัก เป็นต้น เมื่อมีข้ออ้างกับตนเองจึงไม่ได้เริ่มทำงานสักที ทำให้ประสบความล้มเหลวในชีวิตทุกอย่าง เพราะเป็นคนเกียจคร้าน       

        -----------------------------------24

        3) อกุศลมูล 3

        อกุศลมูล หมายถึง ต้นเหตุแห่งความชั่ว มี 3 อย่าง คือ

        (1) โลภะ หมายถึง ความโลภ อยากได้สิ่งต่างๆ มาเป็นของตนเองโดยมิชอบ เมื่อคนเรามีความโลภก็จะกล้าทำในสิ่งที่ทุจริตผิดกฎหมาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เช่น ลักทรัพย์ เป็นต้น

               (2) โทสะ หมายถึง จิตที่คิดร้ายต่อผู้อื่น คือ คิดจะทำให้ผู้อื่นเป็นอันตรายหรือได้รับความเสียหาย เช่น ทำให้เขาได้รับบาดเจ็บทำให้เขาเดือดร้อน ทำให้เขาเสียทรัพย์ เป็นต้น  ความคิดดังกล่าวนี้สืบเนื่องมาจากตนเกิดความไม่พอใจในฝ่ายตรงข้าม

               (3) โมหะ หมายถึง ความหลง ไม่รู้จริง โง่เขลาเบาปัญญาโมหะนี้ถ้าจะเปรียบก็เหมือนความมืด ถ้าความมืดปกคลุมที่ใด เมื่อจะทำอะไรก็อาจทำผิดพลาดได้ง่าย คนที่ถูกโมหะครอบงำจิตใจก็เหมือนกันอาจทำความผิดได้หลายอย่าง เช่น เข้าใจผิดกัน ทะเลาะวิวาทกัน หลงทำร้ายกันด้วยวิธีต่างๆ เป็นต้น

               ความโลภ ความโกรธ และความหลง ในทางพระพุทธศาสนาจัดว่าเป็น อวิชชา คือความไม่รู้ ความโง่เขลา ซึ่งจะทำให้คนเรามีความทุกข์ดังนั้น เราจึงเพียรละทั้งสามสิ่งนี้ให้หมดไปจากจิตใจด้วยการหมั่นอบรมตนเองด้วยการปฏิบัติตามหลักไตรสิกขา

        -----------------------------------25

        2. การทำความดี

        การทำความดี เป็นโอวาทข้อที่ 2 ของพระพุทธเจ้า ซึ่งการทำความดีสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามหลักธรรมต่างๆ ที่จะกล่าวในชั้นนี้มี 6 ประการ ดังนี้

        1) เบญจธรรม

        เบญจธรรม เป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับข้องพึ่งปฏิบัติ 5 ประการ แปลว่า ธรรมอันงาม 5 ข้อ ซึ่งจะคู่กับเบญจศีล เบญจศีลจัดเป็นข้อห้าม แต่เบญจธรรมคือข้อปฏิบัติ สรุปได้ง่ายๆ ก็คือ เมื่อไม่ทำชั่วแล้วก็ควรทำความดีด้วย ชีวิตก็จะเป็นสุขอย่างแท้จริง

        เบญจธรรม

        - ธรรมข้อ 1 ความเมตตากรุณา คือ ความคิดปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุขและปราศจากทุกข์

        - ธรรมข้อ 2 สัมมาอาชีวะ คือการประกอบอาชีพสุจริตและไม่ใช่อาชีพที่สนับสนุนให้คนทำผิดศีล 5

        - ธรรมข้อ 3 ความสำรวมในกาม คือ พอใจในคู่ครองของตน ไม่ล่วงละเมิดคู่ครองของผู้อื่น

        - ธรรมข้อ 4 สัจจะ คือ การมีวาจาสัตย์ พูดความจริงพูด พูดแต่สิ่งที่มีประโยชน์ พูดจาไพเราะสุภาพ

        - ธรรมข้อ 5 การมีสติสัมปชัญญะ คือ การรู้ตัวเองอยู่เสมอและกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

        -----------------------------------26

        2) กุศลมูล 3

        กุศลมูล หมายถึง ต้นเหตุของความดี มี 3 อย่าง คือ

        (1) อโลภะ คือ ความไม่โลภ ไม่ปล่อยให้จิตอยากได้สิ่งของ ของผู้อื่นมาเป็นของตน มีความพอใจในสิ่งของที่เป็นของตน มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการให้และแบ่งปันแก่ผู้อื่น

        (2) อโทสะ คือ ความไม่โกรธ ไม่คิดทำร้ายผู้อื่น รู้จักการให้อภัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความสงบ ผู้ปฏิบัติคุณธรรมข้อนี้ จะต้องฝึกตนให้มีความเมตตากรุณา รู้จักสงสาร และมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น รู้จักอดทนอดกลั้น ระงับอารมณ์โกรธได้ ไม่คิดร้านหรือเบียดเบียนผู้อื่นให้มองผู้อื่นในแง่ดี

        (3) อโมหะ คือ ความไม่หลงเลอะเลือน รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลสามารถแยกแยะว่า สิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี

        3) พละ 4

        พละหมายถึง พลัง คือ ธรรมอันเป็นพลัง 4 ประการ ที่ทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดกลัวภัยต่างๆ ได้แก่

        (1) ปัญญาพละ กำลังปัญญา

        (2) วิริยพละ กำลังความเพียร

        (3) อนวัชชพละ กำลัง คือ การกระทำที่ไม่มีโทษ

        (4) สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม

        4) คารวะ 6

        คารวะ หมายถึง มีความเคารพ และตระหนักในความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม เพราะในโลกนี้ยังมีสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแนะเรื่องสำคัญไว้ 6 อย่าง ให้เรามีความตระหนัก และให้ความเคารพ ดังนี้

        -----------------------------------27

        (1) คารวะในพระพุทธเจ้า คือ เคารพในพระคุณอันมีอยู่ในพระองค์ ได้แก่ ปัญญา ความกรุณา และความบริสุทธิ์ อันเป็นพุทธคุณเมื่อเห็นความดีในพระองค์และยอมรับนับถือ ยกพระองค์เป็นบรมครู คือเป็นศาสดา

        (2) คารวะในธรรม คือ เคารพคำสอนของพระพุทธเจ้า

        (3) คารวะในพระสงฆ์ คือ เคารพพระคุณดีของพระสงฆ์รู้จักเลือกปฏิบัติบำรุงพระสงฆ์ที่ดี เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญของการสืบอายุพระพุทธศาสนา

        (4) คารวะในการศึกษา คือ ตระหนักในความสำคัญของการศึกษา หมั่นหาความรู้ใส่ตัว ช่วงบำรุงการศึกษา

        (5) คารวะในความไม่ประมาท คือ ตระหนักในการควบคุมสติของตน ไม่เลินเล่อ ไม่เผอเรอในการปฏิบัติงานทุกอย่าง และไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตของตนเอง

        (6) คารวะในการต้อนรับปฏิสันถาร คืน ตระหนักในการต้อนรับ ไม่ว่าใครก็ตามเมื่อมาหาเรายังบ้านหรือที่ทำงานของเรา เราต้องให้ความสนใจต้อนรับปราศรัยด้วยดี จึงจะเกิดสิริมงคล

        5) กตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์

        การกตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ หมายถึง การรู้คุณและยังรวมถึงการตอบแทนคุณของพระมหากษัตริย์

        ภาพ : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นที่เคารพรักและเป็นศูนย์จิตใจของพสกนิกรชาวไทย

        -----------------------------------28

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร เช่น

        (1) ทรงปกครองแผ่นดินโดยยึดหลักทศพิธราชธรรม

        (2) พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ประชาชน

        ดังนั้น ประชาชนชาวไทยจึงควรระลึกถึงและควรตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ได้แก่ แสดงความจงรักภักดีด้วยใจจริงปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอยู่ตลอดเวลาเจริญรอยตามพระยุคลบาทในโครงการต่างๆ และตั้งใจปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดี

        6) มงคล หมาย ความสุขและความเจริญ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุแห่งมงคลหรือความเจริญไว้ 38 ประการ โดยในชั้นนี้ กำหนดให้เรียน 3 ประการ ดังนี้

        (1) มีวินัย หมายถึง อยู่ในระเบียบ แบบแผน และข้อบังคับเพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข และมีความเจริญในการดำเนินชีวิต

        (2) การงานไม่มีโทษ หมายถึง งานที่ทำแล้วไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดต่อศีลธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

        (3) ไม่ประมาทในธรรมหมายถึง การไม่ทำชั่ว เพราะขาดความระมัดระวัง มีสติรอบด้านอยู่เสมอ และมีจิตใจที่จะทำความดีอยู่ตลอดเวลา

        ภาพ : ผู้กระทำความดีอยู่เสมอ เช่น ทำบุญตักบาตรถือเป็นผู้ไม่ประมาทในธรรม

        -----------------------------------29

        3. การทำจิตใจสะอาดบริสุทธิ์

        นอกจากเราจะไม่ทำความชั่ว และทำความดีแล้ว เรายังต้องทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ เพื่อจะได้เป็นคนเก่ง เป็นคนดี และก็มีความสุขไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้ เพราะถ้าเราทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ก็จะเป็นคนมีสุขภาพจิตดี เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความสุข

        ตามหลักของพระพุทธศาสนา เราสามารถทำจิตใจให้สะอาดและบริสุทธิ์ได้ ด้วยการหมั่นบริหารจิตและเจริญปัญญา ซึ่งถ้าเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของเรา ทั้งในด้านการเรียน การทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพและการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ

        ดังนั้น ทุกคนจึงควรฝึกบริหารจิตและเจริญปัญญาอย่างสม่ำเสมอ

        4. การปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาเพื่อแก้ปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติด

        พระพุทธศาสนามีหลักที่ช่วยพัฒนาตนเองทั้งทางด้านกาย วาจา และจิตใจ รวมทั้งส่งเสริมให้ละเว้นจากอบายมุขและสิ่งเสพติดต่างๆ

        อบายมุขและสิ่งเสพติด เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ความเสื่อม เมื่อเราเข้าไปเกี่ยวข้องแล้วจะทำความเดือดร้อน สร้างความความเสื่อมเสีย ตลอดจนเกิดโทษทั้งต่อร่างกายและจิตใจ รวมทั้งเป็นบ่อเกิดของปัญหาต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเอง สังคม และประเทศ

        หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีหลายหลักธรรมที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติด เช่น หลักกรรม เบญจศีล เบญจธรรม อบายมุข 6 อกุศลมูล 3 เป็นต้น

        “หลักธรรมในพระพุทธศาสนาช่วยสอนให้เราห่างไกลจากอบายมุขและสิ่งเสพติด เช่น หลักกรรมสอนว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ถ้าเราเสพยาเสพติด นั้นคือการทำชั่ว เพราะยาเสพติดจะทำให้สุขภาพทรุดโทรมและอาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมตามมา เป็นต้น ซึ่งผู้ทำกรรมจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกรรมที่ตนเองกระทำไว้”

        -----------------------------------30

        5. พุทธศาสนาสุภาษิต

        พุทธศาสนาสุภาษิต ถือเป็นหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่มีความหมายเป็นคติเตือนใจ เมื่อคนเราได้นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ย่อมประสบความสำเร็จในการทำงานและการศึกษาเล่นเรียน ซึ่งในชั้นนี้กำหนดให้ศึกษา ดังนี้

        1) คนจะได้เกียรติด้วยสัจจะ

        “คำบาลี สจฺเจน กตฺติปปฺโปติ”

        “อ่านว่า สัด-เจ-นะ-กิด-ติง-ปับ-โป-ติ”

        พุทธศาสนสุภาษิตบทนี้ มีความหมายว่า คนจะมีชื่อเสียงมีเกียรติยศ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปนั้น จะต้องเป็นคนมีสัจจะ ไม่มีบุคคลใดได้รับการยกย่องว่าเป็นคนมีเกียรติเพราะพูดเหลวไหล

        2) พูดเช่นไร ทำเช่นนั้น

        “คำบาลี ยถาวาที ตถาการี”

        “อ่านว่า ยะ-ถา-วา-ที-ตะ-ถา-กา-รี”

        พุทธศาสนสุภาษิตบนนี้ สอนให้เป็นคนซื่อสัตย์ รักษาคำพูด รักษาคำมั่นสัญญา ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ทำให้มีผู้คนนับถือ เคารพยกย่อง และสรรเสริญ

        จากพุทธศาสนสุภาษิตที่นักเรียนได้ศึกษาในชั้นนี้ จะเห็นว่า เป็นสุภาษิตที่เน้นสอนให้เราเป็นคนพูดจริงทำจริงและมีสัจจะจึงจะได้รับการยกย่องและประสบผลสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้”

        http://www.aksorn.com/lib/p/soc_01 (เรื่อง พุทธศาสนสุภาษิต)

        -----------------------------------31

        คำถามจุดประกาย

        1. เพราะเหตุใดเราจึงควรปฏิบัติตนตามหลักเบญจธรรม

        2. นักเรียนคิดว่า ผู้ที่ปฏิบัติตนตามหลักคารวะ 6 จะส่งผลดีต่อตนเองอย่างไร

        3. นักเรียนคิดว่า การที่บอกกับเพื่อนว่าจะทำสิ่งที่ไม่ดี แล้วได้ลงมือทำสิ่งนั้นจริงๆ ตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตว่า “พูดเช่นไร ทำเช่นนั้น” หรือไม่ เพราะอะไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1. สำรวจตนเองว่าเคยผิดศีลข้อใดบ้างและบอกวิธีปฏิบัติจนเพื่อแก้ไข

        2. ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโทษของอบายมุขทั้ง 6 ประการ พร้อมเสนอวิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

        3. ตอบคำถามต่อไปนี้

        1) เพราะเหตุใด โลภะ โทสะ และโมหะ จึงเรียกว่า อกุศลมูล

        2) ผลของการเป็นคนมีโลภะ โทสะ และโมหะ จะเป็นอย่างไร

        3) นักเรียนคิดว่า อกุศลมูลข้อใดเป็นสิ่งที่ร้ายแรงที่สุด เพราะเหตุใด

        4) หลักธรรมใดที่จะช่วยระงับโลภะ โทสะ และโมหะ ลงได้

        5) ในวัยของนักเรียนจะแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ได้อย่างไรบ้าง

        6) การเป็นนักเรียนจำเป็นต้องมีวินัยในตนเอง เพราะเหตุใด

        2 หลักคำสอนสำคัญของศาสนาคริสต์

        หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาคริสต์ ได้แก่

        1. หลักความรัก

        หลักความรัก เป็นหลักคำสอนสำคัญของศาสนาคริสต์ ดังที่พระเยซูได้ทรงตรัสไว้ว่า “ท่านจะต้องรักพระองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาของท่าน” และ “ท่านต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” ดังนั้นคริสต์ศาสนิกชนจึงดำเนินชีวิตด้วยความมีเมตตา มีความเสียสละ และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เสมอหลักความรักในศาสนาคริสต์ มี 2 ประการ คือ

“การรักผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน จะทำให้ชีวิตของเรามีแต่ความสุข”

        -----------------------------------32

        1) ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ซึ่งเปรียบเหมือนความรักระหว่างบิดากับบุตร

        2) ความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ พระเยซูสอนให้รักเพื่อนบ้าน (มนุษย์โลก) สอนให้รักศัตรู รู้จักการให้อภัยและเสียสละ

        คำสอนเรื่องหลักความรักในศาสนาคริสต์ คือการปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข มีความเมตตากรุณาให้อภัยซึ่งกันและกัน และยินดีเหมือนเห็นผู้อื่นได้ดี

        ภาพ : พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ เป็นสิ่งที่แสดงถึงพระเมตตาของพระองค์

        2. หลักตรีเอกานุภาพ

        ตรีเอกานุภาพ หมายถึง พระเจ้าองค์เดียว แต่มี 3 พระบุคคลได้แก่

        หลักตรีเอกานุภาพ

        1) พระบิดา (พระยะโฮวา) คือ ผู้สร้างโลก และให้กำเนิดแก่ทุกชีวิต

        2) พระบุตร (พระเยซู)  คือ ผู้เกิดมาเพื่อไถ่บาปให้แก่มวลมนุษย์

        3) พระจิต (วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของพระบิดาและพระบุตรรวมกัน) คือวิญญาณอันบริสุทธิ์เพื่อมอบหมายความรักและช่วยให้มนุษย์ประพฤติดี

-----------------------------------33

               3. บัญญัติ 10 ประการ

               บัญญัติ 10 ประการ เป็นข้อปฏิบัติ 10 ข้อ ที่พระเจ้าทรงประทานให้กับคริสต์ศาสนิกชน มีดังนี้

               1) จงนมัสการพระเจ้าพระองค์เดียว

               2) อย่าออกนามพระเจ้าโดยไม่มีเหตุผล

               3) จงถือวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์

               4) จงนับถือบิดามารดา

5) อย่าฆ่าคน

6) อย่าผิดประเวณี

               7) อย่าลักขโมย

               8) อย่าพูดเท็จ

               9) อย่าคิดมิชอบ

               10) อย่ามีความโลภในทรัพย์สินของผู้อื่น

-----------------------------------34

               3 หลักคำสอนของศาสนาอิสลาม

               หลังคำสอนขอนสำคัญของศาสนาอิสลาม ที่ถือเป็นวิถีการดำเนินชีวิต ของผู้เป็นมุสลิมที่ต้องนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ได้แก่

               1) ศรัทธาต่ออัลเลาะห์ มุสลิมเชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียวผู้สร้างสรรพสิ่ง ดังนั้นมุสลิมต้องศรัทธาต่ออัลเลาะห์เพียงพระองค์เดียว

               2) ศรัทธาต่อเทวทูตของอัลเลาะห์ มุสลิมต้องเชื่อว่าเทวทูตมีจริง เทวทูตทำหน้าที่ในการสื่อสารถึงศาสนทูต (รสูล) และศาสนทูตจะนำคำสอนของอัลเลาะห์มาเผยแผ่แก่มนุษย์

               3) ศรัทธาต่อพระคัมภีร์ทั้งหลาย มุสลิมต้องมีความศรัทธาต่อคัมภีร์ที่อัลเลาะห์ประทานมาให้ผ่านมลาอิกะฮ์และรสูล เพื่อเผยแผ่มายังมนุษย์

               4) ศรัทธาต่อศาสนทูต มุสลิมจะต้องศรัทธาต่อศาสนทูตซึ่งเป็นผู้ที่อัลเลาะห์เลือกสรรแล้วว่าเป็นคนดี เหมาะแก่การเป็นผู้ประกาศศาสนาและถือว่านบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตองค์สุดท้าย

               5) ศรัทธาในวันพิพากษาโลก มุสลิมต้องเชื่อว่าโลกมีวันแตกดับอัลเลาะห์จะเป็นผู้พิพากษามนุษย์ตามกรรมดีกรรมชั่วของแต่ละบุคคล

               6) ศรัทธาในลิขิตของอัลเลาะห์ มุสลิมต้องเชื่อว่าอัลเลาะห์เป็นผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์ ความเป็นไปต่างๆ ล้วนเป็นพระประสงค์ของอัลเลาะห์

               ภาพ : ผู้เป็นมุสลิมจะละหมาด เพื่อแสดงความศรัทธาต้ออัลเลาะห์ วันละ 5 เวลา

-----------------------------------35

               2. หลักปฏิบัติ 5 ประการ

               1) การปฏิญาณตน เป็นการประกาศยอมรับด้วยความศรัทธาและความบริสุทธิ์ใจว่า อัลเลาะห์เป็นพระเจ้าสูงสุดเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น และยอมรับว่าบีมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะห์

               ในการปฏิญาณตน จะต้องทำความบริสุทธิ์ใจ และทำเพื่อนมัสการพระเจ้า (ละหมาด) มุสลิมต้องกล่าวปฏิญาณตนว่า

               “ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ และมุฮัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์”

               ภาพ : ผู้ชายที่เป็นมุสลิมจะไปละหมาดกันที่มัสยิดทุกวันศุกร์

               2) การละหมาด เป็นการนมัสการพระเจ้าทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้เป็นมุสลิมจะต้องละหมาดวันละ 5 เวลา คือ ย่ำรุ่ง กลางวัน เย็น พลบค่ำ และกลางคืน ซึ่งก่อนจะทำการละหมาด จะต้องชำระร่างกายให้สะอาด และสำรวมจิตใจให้สงบ

               การละหมาดจะช่วยให้สกัดกั้นความคิด รวมถึงการกระทำที่ไม่ดีไม่งามต่างๆ อย่างเป็นระบบต่อเนื่องในรอบหนึ่งวัน ทำให้คนที่ละหมาดไม่กล้ากระทำในสิ่งที่ขัดกับศีลธรรมจรรยา

               ภาพ : การละหมาดของผู้เป็นมุสลิม เป็นการนอบน้อมต่อพระเจ้าทั้งกายและใจ

-----------------------------------36

               3) การบริจาคซะกาต เป็นการบริจาคทรัพย์หรือให้ทานแก่คนที่เหมาะสมตามที่ศาสนากำหนด เช่น เด็กกำพร้า คนที่ขัดสน ผู้เผยแผ่ศาสนา เป็นต้น การบริจาคซะกาต ถือเป็นข้อบังคับที่จะต้องปฏิบัติ ผู้เป็นมุสลิมถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องสละทรัพย์ของตน เพื่อแบ่งปันให้แก่ผู้อื่นเพื่อเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาด ลดความเห็นแก่ตัว และเป็นการลดช่องว่าในสังคม

               4) การถือศีลลอด เป็นการกำจัดอบายมุขทั้งหลายด้วยการหยุดการกิน การดื่ม การเสพ การมีความสัมพันธ์ทางเพศ รวมทั้งหยุดการดูการทำ ตลอดจนการคิดในสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดินเป็นเวลา 1 เดือน คือเดือนรอมฎอน  ตามปฏิทินของอิสลาม

               ภาพ :  ปฏิทินรอมฎอน เป็นปฏิทินที่ใช้ดูในช่วงเวลาการถือศีลอดของมุสลิมสำหรับในประเทศไทยจะยึดตามประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี

               การถือศีลอด เป็นการแสดงความศรัทธาต่ออัลเลาะห์และเป็นการฝึกความอดทนเพื่อกำราบกิเลสใฝ่ต่ำ

               5) การประกอบพิธีฮัจญ์ เป็นการประกอบศาสนกิจที่นครเมกกะประเทศซาอุดิอาระเบีย มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวมุสลิมระลึกถึงพระเจ้าและได้พบปะพี่น้องมุสลิมจากทั่วโลก

               การประกอบพีธีฮัจญ์นั้นไม่ได้มีการบังคับให้ผู้เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติ แต่ผู้มุสลิมที่พร้อมด้วยกำลังทรัพย์และกำลังกาย ควรหาโอกาสไปทำพิธีนี้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต

-----------------------------------37

               ขณะประกอบพิธีฮัจญ์ทุกคนจะอยู่ในสภาพเดียวกันจะไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องของชนชั้นหรือวรรณะ และความร่ำรวยหรือยากจน ซึ่งจะประกอบพิธีฮัจญ์เป็นขั้นตอนหนึ่งในการทำลายระบบชนชั้น รวมทั้งได้สะท้อนให้เห็นว่าความจริงหรือมนุษย์เราทุกคนต่างมีศักดิ์ศรีและความเป็นคนเท่าเทียมกัน

               ภาพ : มุสลิมที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ปฏิบัติศาสนกิจร่วมกันบริเวณหินดำ (กะฮ์บะฮ์) เมืองเมกะประเทศซาอุดิอาระเบีย

               คำถามจุดประกาย

               1. ถ้าทุกคนในสังคมปฏิบัติตามหลักความรัก จะส่งผลดีต่อสังคมอย่างไร

               2. เพราะเหตุใดผู้นับถือศาสนาอิสลามจึงต้องทำการละหมาดวันละ 5 เวลา

               3.            นักเรียนคิดว่า เพราะเหตุใดผู้ที่ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องมีความพร้อมทั้งกำลังกายกำลังทรัพย์

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3

               1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับหลักความรักในศาสนาคริสต์ แล้วเขียนแสดงความคิดเห็นว่ามีผลดีต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร

               2. เปรียบเทียบบัญญัติ 10 ประการของศาสนาคริสต์ ว่ามีข้อใดบ้างตรงกับหลักศีล 5 ในทางพระพุทธศาสนา จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               3. เขียนแผนผังหลักธรรมคำสอนสำคัญของศาสนาอิสลาม โดยจัดทำลงในแผ่นกระดาษแล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้น

               4. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับหลักปฏิบัติ 5 ประการ ของศาสนาอิสลาม จากนั้นร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่า หลักปฏิบัติ 5 ประการนั้น ก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติอย่างไรบ้าง แล้วร่วมกันสรุปผลการอภิปรายแล้วบันทึกข้อมูลลงในสมุด

-----------------------------------38

               4 หลักคำสอนสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

               ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีหลักคำสอนที่สำคัญ ดังนี้

               1. หลักธรรม 10 ประการ

               1) ธฤติ ได้แก่ ความพอใจ ความกล้า ความมั่งคง คือการที่มีความเพียรพยายามจนได้รับความสำเร็จตามความต้องการของตน

               2) กษมา ได้แก่ ความอดทน ความอดกลั้น มีความเพียรพยายาม และมีความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน

               3) ทมะ ได้แก่ การข่มจิตใจตนเองด้วยเมตตา และมีสติอยู่เสมอ

               4) อัสเตยะ ได้แก่ การไม่ลักขโมย ไม่กระทำการโจรกรรม

               5) เศาจะ ได้แก่ การกระทำตนให้บริสุทธิ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

               6) อินทรียนิครหะ ได้แก่ การหมั่นตรวจสอบอินทรีย์ทั้ง 10 ประการ ให้ได้รับการตอบสนองที่ถูกต้อง

               7) ธี ได้แก่ ปัญญา สติ มติ ความคิด ความมั่นคงยืนนาน มีปัญญาและรู้จักระเบียบวิธีต่างๆ ทั้งทางขนบธรรมเนียม ประเพณี สังคม วัฒนธรรม และหลักธรรม

               8) วิทยา ได้แก่ ความรู้ทางปรัชญา

               9) สัตยา ได้แก่ ความจริง การแสดงความซื่อสัตย์ต่อกันด้วยความจริงใจ

               10) อโกธะ ได้แก่ ความไม่โกรธ คือ การเอาชนะความโกรธด้วยการไม่โกรธ มีความอดทน สงบเสงี่ยม รู้จักจิตใจให้สงบ

-----------------------------------39

               2.            หลักอาศรม 4

               หลักอาศรม 4 หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพื่อยกระดับชีวิตให้สูงขึ้นจนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต คือ หลุดพ้นจากสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด)  แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

               1) พรหมจารี  เป็นวัยที่ศึกษาเล่าเรียน เด็กชายทุกคนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ เมื่อมีอายุ 5 ปี 8 ปี และ 16 ปี ตามลำดับ จะต้องเข้าพิธีมอบตนเป็นศิษย์เพื่อศึกษาพระเวชกับอาจารย์

               2) คฤหัสถ์ เป็นวัยแห่งการครองเรือน เมื่อสำเร็จการศึกษา ชายหนุ่มเหล่านี้ก็จะกลับคืนสู่บ้านเรือน เพื่อแต่งงานและมีบุตรไว้สืบสกุลพร้อมกับทำหน้าที่ผู้ครองเรือนในฐานะหัวหน้าครอบครัว

               3) วานปรัสถ์ เป็นช่วงเวลาในการทำประโยชน์เพื่อสังคมและประเทศชาติ คือ การออกบวชเข้าสู่ป่า เพื่อฝึกจิตใจให้บริสุทธิ์ การเข้าป่าเพื่อหาความสงบนี้ อาจทำเป็นครั้งคราวแล้วกลับสู่เรือนอีกก็ได้

               5) สันนยาสี เป็นช่วงเวลาของการออกบวช โดยการสละชีวิตคฤหัสถ์ เพื่อออกบวชบำเพ็ญเพียรตามหลักของศาสนา เพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากสังสารวัฏ เพื่อบรรลุสู่จุดมุ่งหมายของชีวิต คือ โมกษะ

               ภาพ : นักบวชของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย

               5 หลักคำสอนของศาสนาสิข

               หลักคำสอนของศาสนาสิข  จะเน้นสอนให้คนเราพบกับความสุขที่แท้จริงและรู้จักพยายามเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ซึ่งหลักสำคัญ ได้แก่

-----------------------------------40

               1. หลักความสุขอันแท้จริง

               1) กรรม คือ การกระทำ

               2) ปัญญา คือ ความรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นจริง

               3) มหาปีติ คือ ความอิ่มใจ ทำให้อิ่มเอิบอยู่ในทางธรรม

               4) พละ คือ กำลังจิต ทำให้จิตแน่วแน่ มั่นคง ไม่หวั่นไหว และไม่เกรงกลัว

               5) สัจจะ คือ ความเคารพอย่างจริงใจต่อพระเจ้า

               2. หลักวินัย

               ศาสนาสิขได้กำหนดระเบียบวินัยให้ปฏิบัติ ดังนี้

               1) วินัยทางกาย ได้แก่ การให้บริการคนอื่นทางกาย และทางวาจา เป็นการให้ทาน

               2) วินัยทางศีลธรรม ได้แก่ การหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม

               3) วินัยทางจิตใจ ได้แก่ ความเชื่อมั่นใจในพระเจ้า พระองค์เดียวนอกจากนี้ หลักคำสอนที่สำคัญอื่นๆ คือ  การสอนให้นับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว สอนให้คนมีความเสมอภาคและมีเสรีภาพเท่าเทียม เช่น การยกฐานะผู้หญิงให้เท่าเทียบกับผู้ชาย ให้ผู้หญิงที่สิทธิในการศึกษาร่วมสวดมนต์หรือเป็นผู้นำในการสวดมนต์ได้เช่นเดียวกับผู้ชาย เป็นต้น

               คำถามจุดประกาย

               1. ถ้าผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปฏิบัติตนตามหลักธรรม 10 ประการ จะส่งผลเสียต่อศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอย่างไร

               2. เพราะเหตุใดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จึงต้องมีการปฏิบัติตามหลักอาศรม 4

               3. นักเรียนคิดว่า การที่ศาสนาสิขสอนให้คนมีความเสมอภาคกัน ให้ผู้หญิงมีฐานเท่าเทียมผู้ชาย ส่งผลดีต่อสังคมอย่างไร

               http://www.aksksorn.com /lib/p/soc_01 (เรื่อง หลักธรรมศาสนาสิข)

               -----------------------------------41

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 4

               1. แบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเขียนแผนภาพอธิบายขั้นตอนการดำเนินชีวิตของคนในแต่ละวัยตามหลักอาศรม 4 ของศาสนาพราหมณ์- ฮินดู แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้น

               2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นว่า หลักความเสมอภาคของศาสนาสิขส่งผลดีอย่างไรบ้าง แล้วสรุปผลการอภิปรายและบันทึกข้อมูลจากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               กิจกรรมรวบยอด

               1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันคิดวิเคราะห์ว่า หลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือมีความสำคัญอย่างไร แล้วบันทึกข้อมูล แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้น

               2. เขียนอธิบายลงในสมุดว่า ตนเองจะนำหลักธรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้างจากนั้นให้ผลัดกันออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               3. อธิบายหลักธรรมของศาสนาต่างๆ ที่กำหนดให้มาพอสังเขป

               1) อริยสัจ 4 ของพระพุทธศาสนา

               2) หลักศรัทธา ของศาสนาอิสลาม

               3) บัญญัติ 10 ประการ ของศาสนาคริสต์

               4) หลักอาศรม 4 ของศาสนาพราหมณ์- ฮินดู

               5) สัจจะ ของศาสนาสิข

               4.เขียนแผนผังแสดงหลังธรรมคำสอนของศาสนาที่ตนเองนับถือลงในสมุด และนำเสนอผลงานหน้าชั้น

               คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

               1. ถ้าเพื่อนนักเรียนชอบการพนัน นักเรียนจะอธิบายหลักธรรมใดให้เพื่อนฟัง เพราะอะไร

               2. นักเรียนจะนำพุทธศาสนาสุภาษิต “คนจะได้เกียรติด้วยสัจจะ” ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

               3. นักเรียนคนว่า หลักบัญญัติ 10ประการ  ของศาสนาคริสต์ และหลักเบญจศีล ของพระพุทธศาสนามีความคล้ายคลึงกันหรือไม่ และนักเรียนสามารถนำหลักธรรมของทั้งสองศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน

               -----------------------------------42

            บทที่ 3 เรียนรู้สึกที่ดี

               กิจกรรมนำสู่การเรียน

               ภาพ : คนจำนวนมากสวมเสื้อผ้าสีขาวกำลังนั่งสมาธิ

               การกระทำในภาพเป็นการทำความดีหรือไม่เพราะเหตุใด

               แนวคิดสำคัญ

               การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำความดีต่างๆ  เช่น ประวัติพุทธสาวก ชาดก เรื่องเล่า ศาสนิกชน ตัวอย่าง เป็นต้น ตลอดจนการเรียนรู้จักพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนา เช่น การสวดมนต์ไหว้พระและการแผ่เมตตา การบริหารจิตและเจริญปัญญา เป็นต้น ย่อมทำให้เกิดความชื่นชมในการทำความดีและมีแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต

               -----------------------------------43

               1 แบบอย่างการทำความดี

               1. พระราธะ

               พระราธะ เดิมเป็นพราหมณ์อาศัยอยู่ในเมืองราชคฤห์ เมื่อแก่ลงถูกลูกทอดทิ้ง จึงไปอาศัยอยู่กับวัด ต่อมาประสงค์จะบวช แต่ก็ไม่มีใครรับบวชให้ จึงเสียใจจนร่างกายซูบผอม

               วันหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงพระดำเนินอยู่ในบริเวณพระวิหารและได้ทอดพระเนตรเห็นราธพราหมณ์มีร่างกายซูบผอม ผิวพรรณหมองคล้ำไม่ผ่องใส ตรัสถามได้ความว่า ราธพราหมณ์อยากจะบวชแต่ไม่มีใครบวชให้เมื่อไม่ได้บวชสมประสงค์จึงได้เป็นเช่นนั้น พระศาสดาตรัสถามเหล่าภิกษุว่า “ใครที่ระลึกถึงอุปการะของพราหมณ์ผู้นี้ได้บ้าง” พระสารีบุตรระลึกได้ว่า ครั้งหนึ่งเคยได้รับบิณฑบาตเป็นข้าว 1 ทัพพี พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรบวชให้ราธพราหมณ์ด้วยวิธี ญัตติจตุตถกรรม เป็นการบวชโดยได้ขอมติจากคณะสงฆ์ จึงถือว่าราธพราหมณ์ได้อุปสมบทด้วยวิธีนี้เป็นบุคคลแรก

               ภาพ : ราธพราหมณ์อยากจะบวช แต่ไม่มีใครบวชให้จึงเศร้าโศกเสียใจ

               ภาพ : พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์บวชให้ราธพราหมณ์

-----------------------------------44

เมื่อบวชแล้วพระราธะได้เที่ยวจาริกไปกับพระสารีบุตร ไม่นานก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ต่อมาพระสารีบุตรได้มาเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาพระองค์ตรัสถามถึงพระราธะว่าเป็นอย่างไร พระสารีบุตรได้กราบทูลว่า“เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย เมื่อแนะนำสั่งสอนว่า สิ่งที่ควรทำสิ่งนั้นไม่ควรทำท่านจงทำอย่างนี้อย่าทำอย่างนั้น พระราธะไม่เคยโกรธเลย”

พระบรมศาสดาตรัสสอนให้ภิกษุถือเอาเป็นตัวอย่างว่า “พวกท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายอย่างราธะ เมื่ออาจารย์ชี้โทษและสั่งสอน ก็อย่าถือโกรธ” และทรงยกย่องพระราธะว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในการรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา

               คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

               คุณธรรมที่ได้จากการศึกษาประวัติของพระราธะ คือ ผู้เป็นศิษย์ควรเป็นผู้ว่านอนสอนง่ายไม่ถือโกรธอาจารย์ที่ตักเตือนสั่งสอน

               2.ทีฆีติโกสลชาดก (ผู้ไม่ทำลายโอวาท)

               ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตะวัน ทรงปรารภถึงภิกษุเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน ไม่ปฏิบัติตามโอวาทที่พระองค์ทรงให้ไว้จึงได้ตรัสทีฆีติโกสลชาดก ดังนี้

               เมื่อครั้งอดีตกาลพระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นกษัตริย์ครองกรุงพาราณสีทำศึกชนะแล้วได้ฆ่าพระเจ้าทีฆีติโกสลและพระมเหสี แต่ทีฆาวุกุมารซึ่งเป็นพระราชโอรสหนีไปได้ ต่อมาทีฆาวุกุมารเติบโตขึ้น จึงได้เข้ามาถวายตัวเป็นทหารรับใช้คนสนิทของพระเจ้าพรหมทัต

               อยู่มาวันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตออกประพาสป่ากับทีฆาวุกุมารแล้วเผลอบรรทมหลับไป ทีฆาวุกุมารจึงได้คิดที่จะฆ่าพระเจ้าพรหมทัตแต่ระลึกถึงโอวาทที่บิดามารดาให้ไว้ได้ว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร จึงคิดว่าถึงตัวตายก็ไม่ทำลายคำสอนของบิดามารดา

               -----------------------------------45

               ทีฆาวุกุมารบอกความจริงให้พระเจ้าพรหมทัตรู้ว่าตนเป็นใครและไม่คิดประทุษร้ายพระเจ้าพรหมทัตอีกต่อมาพระเจ้าพรหมทัตจึงได้พระราชทานพระธิดา แล้วมองพระราชบัลลังก์ให้ทีฆาวุกุมารปกครอง

               ครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง จึงตัดว่า “พระเจ้าทีฆีติโกศลและพระมเหสี ได้มาเป็นพระบิดาและพระมารดาแห่งเรา ส่วนทีฆาวุกุมารได้มาเป็นเรา ผู้เป็นตถาคตในชาตินี้”

               คติธรรม

               คติธรรมที่ได้จากการศึกษาทีฆีติโกสลชาดก คือ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เมื่ออยู่ร่วมกันและมีเรื่องขัดแย้งกัน ก็ควรให้อภัยกันและกัน

               3. สัพพทาฐิชาดก (ความโลภทำให้เสื่อมลาภ)

               เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ได้ทรงปรารถเรื่องของพระเทวทัตต์ผู้มีบริวารมาก แต่ต้องเสื่อมจากลาภเพราะประมาณลืมตัว จึงได้ตรัสสัพพทาฐิชาดก ดังนี้

               ในสมัยพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ เมืองพาราณสี ปุโรหิตของพระองค์ เป็นผู้ชำนาญมนตร์วิเศษกลับใจให้หลง วันหนึ่งปุโรหิตได้ไปนั่งท่องมนตร์บนเนินสูงแห่งหนึ่ง ขณะนั้นสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งนอนอยู่ในโพรงมันได้ยินมนตร์นั้นและท่องจำได้คล่อง

               ต่อมาสุนัขจิ้งจอกร่ายมนตร์บังคับสัตว์ทั้งหลายให้อยู่ในอำนาจแล้วตั้งตนเป็นใหญ่นานว่า สัพพทาฐิแล้วให้ราชสีห์ขึ้นเหยียบบนหลังช้างสองเชือก โดยที่สัพพาทาฐิและมเหสีขึ้นไปนั่งบนหลังราชสีห์ ซึ่งนับเป็นอิสริยยศยิ่งใหญ่

               ภาพ : สุนัขจิ้งจอกใช้อำนาจไปในทางชั่วร้ายหลังจากที่ท่องมนตร์วิเศษได้

               -----------------------------------46

               ด้วยความที่หลงในอำนาจสัพพทาฐิจึงได้คิดจะชิงราชสมบัติของพระเจ้าพรหมทัต โดยคิดจะให้ราชสีห์เปล่งสีหนาททำให้ชาวเมืองแก้วหูแตกสิ้นชีวิต ปุโรหิตจึงออกอุบายให้ชาวเมืองนำเอาแป้งอุดหูไว้เมื่อราชสีห์เปล่งสีหนาท ชาวเมืองก็ไม่ได้ยิน แต่บริวารของสัพพทาฐิต่างตกใจกลัว และแตกตื่นวิ่งหนี รวมถึงช้างทั้งสองเชือกก็ได้สลัดสัพพทาฐิและมเหสีตกลงมา และเหยียบจนแหลกถึงสิ้นชีวิตในที่นั้น

               ครั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบลง จึงตรัสว่า “สุนัขจิ้งจอกร้ายในกาลนั้น คือ พระเทวทัตต์ พระเจ้าพรหมทัต คือพระสารีบุตร ส่วนปุโรหิตนั้นได้มาเป็นเรา ผู้เป็นตถาคตในชาตินี้”

               คติธรรม

               คติธรรมที่ได้จากการศึกษาสัพพทาฐิชาดก คือ ผู้ที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจ ถ้าหลงใหลในอำนาจ จะทำให้พบกับความพินาศ

               คำถามจุดประกาย

               1. นักเรียนคิดว่า เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้พระราธะบวชเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

               2. การที่ทีฆาวุกุมารไม่ฆ่าพระเจ้าพรหมทัต แสดงว่ามีคุณธรรมใดเด่นชัดที่สุด เพราะอะไร

               3. เพราะเหตุใดสัพพทาฐิจึงบังคับสัตว์ทั้งหลายให้อยู่ภายใต้อำนาจของตนเอง

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

               แบ่งกลุ่ม ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับคติธรรมที่ได้จากการศึกษาเรื่องพระราธะและชาดกว่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง

               -----------------------------------47

               4. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

               พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงสุโขทัยต่อจากพ่อขุนบานเมือง ซึ่งทรงเป็นพระเชษฐา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถสูง ทรงเป็นนักปราชญ์ และทรงเป็นนักรบที่เก่งกล้าสามารถ เมื่อพระองค์มีพระมาชนมายุ 19 พรรษาได้ตามเสร็จพระบิดาไปรบกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ขณะที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ทรงกำลังชนช้างเสียทีขุนสามชน พ่อขุนรามคำแหงทรงได้เข้าช่วยไว้ทัน และทรงชนช้างชนะขุนสามชน และต่อมาพระองค์เสร็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1822 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราชองค์แรกของไทย เพราะได้ทรงทำคุณูปการอย่างมากมายในรัชสมัยของพระองค์ ดังนี้

               1) ด้านการปกครอง ทรงปกครองประเทศแบบพ่อปกครองลูกทำให้กษัตริย์และประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนคนใดมีความทุกข์ก็ไปสั่งกระดิ่ง เพื่อร้องทุกข์ต่อพระองค์ได้โดยตรง

               -----------------------------------48

               2) ด้านศาสนา สมันพ่อขุนรามคำแหง พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ทรงเป็นผู้นำในการสร้างศรัทธาให้กับประชาชนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยนำพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานในกรุงสุโขทัย มีการสร้างวัดและพระพุทธรูป เพื่อให้ประชาชนยึดมั่นในศีลธรรม ทำบุญให้ทาน นอกจากนี้พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแท่นมนังศิลาบาตรและตั้งใจกลางดงตาลเพื่อให้พระสงฆ์ได้นั่งแสดงพระธรรมเทศนาบนพระแท่นมนังศิลาบาตรทุกวันพระ

               3) ด้านภาษาและวรรณกรรม

               มรดกทางวัฒนธรรมในสมัยสุโขทัยที่มีคุณค่าต่อชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน คือ ตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงคิดประดิษฐ์ตัวอักษรไทย ที่เรียกว่า “ลายเสือไทย” เมื่อ พ.ศ. 1826

               การคิดประดิษฐ์อักษรไทยทำให้คนไทยมีตัวอักษรที่นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารการถ่ายทอดทางด้านวัฒนธรรม ประเพณีวิทยาการ วรรณกรรม และสิ่งอื่นๆ ผ่านยุคสมัยต่างๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้

               ภาพ : ศิราจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ

               “พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงปกครองบ้านเมืองด้านหลักธรรมทางพัฒนาอาณาจักรสุโขทัยจนมีความเจริญสูงสุดในทุกๆ ด้านและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นชาวพุทธตัวอย่าง”

               -----------------------------------49

               5. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

               สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงมีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี ประสูติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และเจ้าจอมมารดาจุ้ย ซึ่งต่อมาพระมารดาได้รับสถาปนาให้เป็นท้าวทรงกันดาล

               พระองค์ทรงบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อทรงมีพระชนมายุ 12 พรรษา และประทับอยู่ที่วัด พระเชตุพนฯ และทรงศึกษาอยู่ในสำนักของสมเด็จ- พระพนรัตน ต่อมาใน พ.ศ.2354 ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ

               เมื่อ พ.ศ. 2357 สมเด็จพระพนรัตนพระอาจารย์ของพระองค์มรณภาพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงแต่งตั้งให้พระองค์ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งยังรวมถึงตำแหน่งพระราชาคณะอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ต่อมาในสมัยราชการพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานตำแหน่งแด่สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขึ้นเป็นเจ้าคณะกลาง ปกครองพระอารามหลวงและอารามราษฎร์ทั้งหมดในมณฑลกรุงเทพฯ พร้อมกับทรงเทียบสมณศักดิ์ให้เสมอพระราชาคณะ

               -----------------------------------50

               สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงมีพระปรีชาสามารถในทางกวีอย่างมาก วรรณคดีที่ทรงนิพนธ์ไว้ถือเป็นตำราของกวีรุ่งหลัง และเป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงตราบจนถึงทุกวันนี้ เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น

               สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2396 รวมเวลาที่ทรงผนวชในบวรพระพุทธศาสนา 42 พรรษา และทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลา  1 ปี 4 เดือน

               ปัจจุบันนี้พระอัฐิของสมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรสได้บรรจุอยู่ในพระโกศทอง และได้ประดิษฐานบนบุษบกมาลาในพระตำหนักวาสุกรีวัดพระเชตุพนฯ เป็นที่เคารพสักการะของพระภิกษุสามเณร ประชาชนทั่วไป และนิสิตนักเรียน ที่ยกย่องเทิดทูนงานพระนิพนธ์ของพระองค์ท่านตราบมาจนทุกวันนี้

               ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดให้สถาปนาสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขึ้นเป็น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัตติยวงศ์”

               “สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงทำนุบำรุงสืบทอดพระพุทธศาสนา สมควรที่ชาวพุทธพึงยกย่องสรรเสริญ ถือเป็นแบบอย่างที่ควรนำมาประพฤติปฏิบัติต่อไป อีกทั้งพระองค์ยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในฐานะปูชนียบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปี พุทธศักราช 2533

               http://www.aksorn/lib/p/soc_01 (เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย)

               -----------------------------------51

               6. ตัวอย่างการกระทำความดีของบุคคลในประเทศ

               นอกจากชาวพุทธตัวอย่างทั้งสองท่านที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นปัจจุบันยังมีบุคคลอื่นๆ ที่กระทำความดีตามแนวทางของพระพุทธศาสนาจนถือได้ว่าเป็นแบบอย่างให้แก่พุทธศาสนิกชนคนอื่นไปปฏิบัติตาม เช่น

               พระอุดมประชาทร (เจ้าคุณอลงกต) วันพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี ท่านได้ทุ่มเทความรู้ความสามารถในการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ และให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์กับชาวบ้าน ตลอดจนหน่วยงานต่างๆ เพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ และการปฏิบัติตนต่อผู้ติดเชื้อเอดส์ได้อย่างถูกต้อง

               นอกจากนี้พระอุดมปะชาทรท่านยังได้ตั้งศูนย์สงเคราะห์ประชาชนอำเภอหนองม่วง โดยศูนย์นี้จะแจกจ่ายข้าวสารอาหารแห้ง ยาสามัญประจำบ้าน และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ให้กับผู้ยากไร้รวมทั้งมีโครงการสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอีกด้วย

               ภาพ : พระอุดมประชาทรเป็นผู้ทุ่มเทเพื่อผู้ป่วยโรคเอดส์

               คำถามจุดประกาย

               1. นักเรียนคิดว่า การปกครองประเทศแบบพ่อปกครองลูกในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชส่งผลดีต่อประชาชนในสมัยนั้นอย่างไร

               2. จากการศึกษาพระราชประวัติสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสให้ข้อคิดในเรื่องใดบ้าง

               3. นักเรียนคิดว่า นอกจากพระอุดมประชาทรแล้ว ยังมีบุคคลท่านใดอีกบ้างที่กระทำความดีให้กับประเทศ

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

               1. ร่วมกันอภิปรายถึงคุณงามความดีของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แล้วสรุปบันทึกข้อมูลลงในสมุดเพื่อนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

               2. สืบค้นผลงานทางวรรณกรรมของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส แล้วมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง

               3. ยกตัวอย่างการทำความดีของบุคคลต่างๆ ในประเทศที่นักเรียนชื่นชอบ พร้อมบอกความดีที่ควรนำไปเป็นแบบอย่าง โดยจัดทำลงในสมุด

               -----------------------------------52

               2. การพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนา

               1. การสวดมนต์ไหว้พระสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

               ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน ก่อนเริ่มทำสิ่งใดควรน้อมนำจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอันเป็นที่เคารพสูงสุด เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเอง และวิธีที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างง่ายๆ คือ การสวดมนต์ไหว้พระช่วงเวลาก่อนนอนซึ่งบทสวดมนต์ที่นิยมใช้สวด คือ บทสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยซึ่งนักเรียนได้เรียนแล้วในชั้น ป.1-5 จึงไม่นำมากล่าวซ้ำในที่นี้

               2. การแผ่เมตตา

               การเมตตาเป็นการส่งความปรารถนาดีและความเมตตาให้กับมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทุกชนิดในโลก ให้มีความสุขและอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากความทุกข์ยากลำบาก การแผ่เมตตานี้จึงเป็นสิ่งสะท้อนความใจกว้างของชาวพุทธที่มิได้เจาะจงมีเมตตาต่อมนุษย์เท่านั้น หากแต่ยังเผื่อแผ่ไปถึงสรรพสัตว์อีกด้วย

               3. ความหมายของสติ สัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญา

               สติ คือ ความระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ การคุมใจไว้กับกิจที่ทำ หรือคุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง

               สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม ความรู้ชัด ความเข้าใจดีและรู้ตัวอยู่เสมอว่าตนเองกำลังทำอะไร และจะเกิดผลอย่างไร สติสัมปชัญญะจึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน เพราะเมื่อมีสติต้องมีสัมปชัญญะคู่อยู่ด้วย เพื่อป้องกันการเกิดความผิดพลาด ในทางพระพุทธศาสนาจึงถือว่ามีความสำคัญมากเรียกสติสัมปชัญญะว่า “ธรรมมีอุปการะมาก”

               สมาธิ คือ การทำจิตใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดถึงสิ่งอื่น เช่น ขณะที่อ่านหนังสือ ก็สำรวมจิตจดจ่อกับหนังสือที่อ่าน เป็นต้น เมื่อจิตมีสมาธิหรือจิตสงบ ปัญญาก็จะเกิดขั้นตามมา

               -----------------------------------53

               ปัญญา คือ ความรอบรู้ ความฉลาด ปัญญาเกิดได้ 3 ทาง คือ

               1) สุตมยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการได้ยินได้ฟัง และการได้อ่าน เป็นปัญญาที่เกิดจากการเล่าเรียน

               2) จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิด การพิจารณา ไตร่ตรองหาเหตุผล

               3) ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ หรือเกิดจากการศึกษาอบรม แล้วนำมาทดลองปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ

               4. วิธีบริหารจิตและเจริญปัญญา

               การบริหารจิตและเจริญปัญญา คือ การทำสมาธิ ซึ่งเป็นหนทางที่จะช่วยทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ สมาธิ และปัญญาได้ ซึ่งมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

               1) ตัดความกังวลต่างๆ ออกไป

               2) เลือกสถานที่ที่สงบ

               3) ต้องไม่หิวหรืออิ่มเกินไป

               4) อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด

               การบริหารจิตและเจริญปัญญานั้น ต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอจึงเกิดผลดีอย่างเต็มที่ ในระยะแรกนั้นควรเริ่มฝึกโดยใช้เวลาน้อยๆ ก่อน 5 นาที 10 นาทีเป็นต้น แล้วจริงค่อยๆเพิ่มขึ้น

               ก่อนจะเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้กราบพระรัตนตรัย 3 ครั้งก่อน แล้วจึงค่อยเริ่มนั่ง เมื่อนั่งสมาธิเสร็จให้แผ่เมตตาแล้วกรวดน้ำด้วยทุกครั้งเพื่อขจัดความเห็นแก่ตัว

               ภาพ : การฝึกนั่งสมาธิ เป็นการบริหารจิตและทำให้เกิดปัญญาได้

               -----------------------------------54

               5. ประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา

               การบริหารจิตและเจริญปัญญา มีประโยชน์โดยตรงในชีวิตประจำวันหลายประการ ตัวอย่างเช่น

               1) ทำให้จิตใจสบายไม่เครียดหรือวิตกกังวล

               2) นอนหลับง่าย หลับสนิท ไม่ฝันร้าย

               3) มีความกระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว

               4) มีประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงาน

               6. วิธีฝึกการยืน การเดิน การนั่ง และการนอนอย่างมีสติ

               สติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตเรา หากเราขาดสติอาจถึงแก่ความตายได้ เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ คนที่ตั้งสติได้ย่อมหาทางแก้ไขหรือเอาตัวรอดได้ดีกว่าคนไม่มีสติ ตกใจ โวยวาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สติเป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์เป็นอย่างมาก

               การฝึกสมาธิ สามารถทำได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ซึ่งแล้วแต่ผู้ต้องการฝึกจะสะดวก การฝึกสติอาจเริ่มฝึกจากการยืน การเดิน การนั่ง และการนอน ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ทุกคนคุ้นเคยในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว

               1) ฝึกการยืนอย่างมีสติ ให้กำหนดรู้ว่า ตนเองกำลังยืนอยู่ที่ใด เวลาใด และกำหนดลมหายใจเข้า-ออก อย่างช้าๆ

               2) ฝึกการเดินอย่างมีสติ ให้กำหนดรู้ว่า ตนเองกำลังเดินอยู่ก้าวเท้าซ้ายก็ให้กำหนดรู้ว่าเท้าซ้าย ก้าวเท้าขวาก็ให้กำหนดรู้ว่าเท้าขวา เดินไม่ช้าหรือเร็วเกินไป แกว่งแขนแต่พองาม

               -----------------------------------55

               3) ฝึกการนั่งอย่างมีสติ ให้กำหนดรู้ว่า ตนกำลังนั่งอยู่ ควรนั่งตัวตรง และกำหนดรู้ลมหายใจเข้า – ออก อย่าช้าๆ

               4) ฝึกการนอนอย่างมีสติ ให้กำหนดรู้ว่า ตนเองกำลังนอนอยู่การนอนอย่างมีสติ พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้นอนในท่าสีหไสยา คือ นอนตะแคงขวา ซึ่งเป็นท่านอนที่สุภาพ

               7. วิธีฝึกกำหนดรู้ความรู้สึก

               การฝึกกำหนดรู้ความรู้สึก เป็นการฝึกฝนตนเองที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนควรฝึกฝนเพื่อให้เป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์ และที่สำคัญคือการฝึกกำหนดรู้ความรู้สึกนี้ยังเป็นหนทางแห่งความสงบของชีวิตอีกด้วย

               การฝึกกำหนดรู้ความรู้สึกต่างๆ นี้ เป็นการฝึกเมื่ออายตนะทั้ง 6 ได้สัมผัสกับสิ่งภายนอก อายตนะทั้ง 6ได้แก่  ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ซึ่งทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ภายนอก กล่าวคือ อวัยวะของเราได้ไปสัมผัสกับสิ่งภายนอก และกลายมาเป็นความรู้สึก หน้าที่ของเราคือต้องรู้เท่าทันความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น

               เมื่ออายตนะของเราไปสัมผัสกับสิ่งต่างๆ แล้ว เราควรกำหนดรู้ความรู้สึกของตน ทำให้จิตเป็นสมาธิ เมื่อทำสิ่งใดก็จะรอบคอบ ไม่หลงใหลไปในทางที่ตกต่ำเพราะความประมาท และการกำหนดรู้ความรู้สึกเป็นการสกัดกั้นกิเลสที่เลวร้ายได้วิธีหนึ่ง

               8. วิธีฝึกให้มีสมาธิในการฟัง อ่าน คิด ถาม และเขียน

               การปฏิบัติหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันทั่วไป จำเป็นต้องให้ทักษะในการฟัง อ่าน คิด ถาม และเขียน การที่จะสามารถใช้ทักษะดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยสมาธิเป็นตัวช่วย ซึ่งสมาธิเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝนตนเอง ดังนี้

               http://aksorn.com/lib/p/soc_01 (เรื่อง การฝึกสติ)

               -----------------------------------56

               1) ฝึกให้มีสมาธิในการฟัง คือ การตั้งใจฟังจนทำให้เกิดความรู้และเข้าใจในสิ่งที่ฟัง

               2) ฝึกให้มีสมาธิในการอ่าน คือ การตั้งใจอ่าน มีจิตใจสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่าน ทำให้อ่านได้เข้าใจและอ่านได้รวดเร็ว

               3) ฝึกให้มีสมาธิในการคิด คือ การนำสิ่งที่ได้ฟังและอ่านมาคิดพิจารณาหาเหตุผลจนเข้าใจแจ่มแจ้ง

               4) ฝึกให้มีสมาธิในการถาม คือ การถามในสิ่งที่นำมาคิดแล้วแต่ไม่เข้าใจ ถามด้วยความอยากศึกษาให้เข้าใจ ใช้ถ้อยคำภาษาที่สุภาพในการถาม ถามตรงประเด็น และถามในสิ่งที่มีประโยชน์

               5) ฝึกให้มีสมาธิในการเขียน คือ การจดบันทึกสิ่งที่ได้ฟัง อ่าน คิด และถาม เพื่อไม่ให้ลืม โดยต้องเขียนอย่างตั้งใจ และมีระเบียบ

               “หลักธรรมสำคัญที่จะนำมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดสมาธิในขณะฟัง อ่าน คิด ถาม และเขียน ก็คือ อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา กล่าวคือ ต้องมีความพอใจ ความพยายาม ความใส่ใจ และมีความไตร่ตรองในสิ่งที่ได้ฟัง อ่าน คิด ถาม และเขียนนั้นเอง

               -----------------------------------57

               คำถามจุดประกาย

               1. การบริหารจิตและเจริญปัญญาเป็นประจำ ส่งผลดีต่อผู้ปฏิบัติอย่างไร

               2. “การฝึกให้มีสติในทุกอิริยาบถ ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ” นักเรียนเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่ เพราะอะไร

               3. ขณะกำลังเรียนหนังสือ ถ้าไม่มีสมาธิในการฟังครูสอน จะส่งผลเสียอย่างไร

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3

               1. ตอบคำถามต่อไปนี้

               1) การสวดมนต์และการแผ่เมตตามีผลดีอย่างไร

               2) นักเรียนเคยสวดมนต์และแผ่เมตตาในเวลาใดบ้าง

               3) ในขณะสวดมนต์และแผ่เมตตา นักเรียนปฏิบัติอย่างไร

               2. บอกประโยชน์ของการมีสติและสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับยกตัวอย่างมาประกอบให้ชัดเจน

               กิจกรรมรวบยอด

               1. จัดทำหนังสือการ์ตูนเรื่อง แบบอย่างการทำความดี โดยสรุปเรื่องราวจากประวัติสาวก ชาดกและศาสนิกชนตัวอย่างที่ได้ศึกษา แล้ววาดภาพประกอบให้สมบูรณ์

               2. แบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มจัดทำหนังสือ คู่มือสำหรับการบริหารจิต โดยคัดบทสวดมนต์ บทแผ่เมตตา และวิธีการฝึกสติและสมาธิลงในหนังสือ เพื่อเก็บไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน

               คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

               1. ถ้าเพื่อนของนักเรียนวิ่งชนนักเรียนหกล้มจนทำให้หัวเข่าเป็นแผล นักเรียนรู้สึกอย่างไร และจะให้อภัยเพื่อนหรือไม่ เพราะเหตุใด

               2.เรื่องสัพพทาฐิชาดก  ให้ข้อคิดในเรื่องใด และนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

               3. ในชุมชนของนักเรียนมีบุคคลที่กระทำความดีหรือไม่ และ ความดีที่บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติ ส่งผลดีต่อชุมชนอย่างไร

               -----------------------------------58

            บทที่ 4 ศาสนิกชนที่ดีและศาสนพิธีน่ารู้

               กิจกรรมนำสู่การเรียน

               พิธีกรรมทางศาสนามีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

               แนวคิดสำคัญ

               การเรียนรู้เกี่ยวกับศาสนสถาน การปฏิบัติตามมารยาทของศาสนิกชนที่ดี การเข้าร่วมพิธีกรรมสำคัญของศาสนา ตลอดจนการแสดงตนเป็นศาสนิกชนที่ดีศาสนา  จะทำให้เราปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในฐานะที่เป็นศาสนิกชนที่ดี

               -----------------------------------59

               1ศาสนสถาน และการปฏิบัติตนที่เหมาะสมเมื่ออยู่ในศาสนสถาน

               1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ภายในวัด

               วัดเป็นศาสนาสถานของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุและสามเณร รวมทั้งยังเป็นสถานที่สำหรับพุทธศาสนิกชนมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม เป็นต้น

               วัดประกอบไปด้วยโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์กุฏิ โรงเรียนปริยัติธรรม หอสมุด หอพระไตรปิฎก สิ่งก่อสร้างเหล่านี้แบ่งออกเป็นเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส

               2. การปฏิบัติตนที่เหมาะสมภายในวัด

               ชาวพุทธที่ดีควรปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเมื่ออยู่ในวัด ดังนี้

               1) การแต่งกาย เมื่อไปวัด เราควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีขาวหรือสีอ่อนๆ ไม่ควรใช้สีฉูดฉาด  เนื้อผ้าต้องไม่บางจนเกินไป ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อสะดวกในการกราบ หรือทำสมาธิ สตรีไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้นหรือใส่กางเกงขาสั้น ไม่ควรแต่งกายนำแฟชั่น หรือประดับเครื่องแต่งกายมากจนเกินไป

               ความรู้เสริม

               ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารอเนกประสงค์ที่ก่อสร้างในเขตสังฆาวาส สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ  ทางพระพุทธศาสนา  แต่เดิมนั้นใช้เป็นสถานที่ในการเรียนของสงฆ์เท่านั้น

               เปรียญ มาจากคำภาษาบาลีว่า บทเรียนหมายถึง พระที่ได้เรียน หรือพระนักเรียน

               2) การสำรวมใจ ขณะพระสงฆ์กำลังแสดงพระธรรมเทศนาหรือให้ศีล ควรตั้งใจฟังอย่างสำรวมและมีสมาธิ ไม่คิดฟุ้งซ่าน

               3) การสำรวจกายและวาจา ไม่กระทำการที่จะเป็นการรบกวนการประกอบศาสนพิธีของผู้อื่น เช่น ส่งเสียงดังพูดคุยกัน ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เป็นต้น

               -----------------------------------60

               2 มรรยาทของศาสนิกชน

               1.การถวายของแก่พระสงฆ์

               การถวายของแก่พระสงฆ์ หรือการประเคน คือ การยกสิ่งของอันควรถวายให้แก่พระภิกษุ

               องค์ประกอบของการประเคน คือ ของที่จะประเคนต้องเป็นของที่คนคนเดียวพอยกได้ ไม่หนักมาก หรือมีขนาดใหญ่เกินไป ผู้ประเคนควรนั่งห่างประมาณ 1 ศอก พอที่จะเอื้อมประเคนของได้

               ภาพ : การถวายของแก่พระภิกษุ เช่น ถวายเทียนพรรษา ถวายสังฆทาน เป็นต้น เป็นมรรยาทของชาวพุทธที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง

               2. การปฏิบัติตนในขณะฟังธรรม

               การฟังธรรม หรือที่เรานิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า การฟังเทศน์เป็นประเพณีที่มักจะมีในงานต่างๆ ทั้งที่เป็นงานมงคลและงานอวมงคล

               การฟังธรรมนั้นถือเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นการนำธรรมะในทางพระพุทธศาสนามาแสดง เพื่อให้ผู้ฟังนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องจึงทำให้เกิดความสุขทั้งต่อตนเองต่อครอบครัว รวมทั้งส่งผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ

               ภาพ : การฟังเทศน์อย่างตั้งใจ ทำให้เกิดปัญญาและได้ข้อคิดในการดำเนินชีวิต

               -----------------------------------61

               การฟังธรรมหรือฟังเทศน์ให้ได้ผลดีนั้น ผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังด้วยความเคารพ ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนผู้อื่น หรือเป็นการแสดงความไม่เคารพในพระธรรมและพระภิกษุผู้ซึ่งแสดงธรรมนั้นและพยายามจับใจความเรื่องที่ฟังเพื่อนำไปปฏิบัติในโอกาสอันสมควร

               3. การปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธศาสนิกชนเพื่อประโยชน์ต่อศาสนา

               พุทธศาสนิกชนเป็นผู้ที่มีความศรัทธาเลื่อมใสและยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งเป็นที่เคารพบูชาในการดำรงชีวิตประจำวันของตน ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทุกคนจึงมีหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อพุทธศาสนา ดังนี้

               1) การศึกษาหาความรู้ ชาวพุทธที่ดีควรศึกษาหาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

               2) การปฏิบัติตามหลักธรรม ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา การปฏิบัติตามหลักธรรม สามารถปฏิบัติได้หลายประการ เช่น รักษาศีล 5 ให้ครบถ้วน เมื่อพบว่าตนยังมีความบกพร่องในศีลข้อใดก็พยายามแก้ไขปรับปรุงตนเอง เป็นต้น

               การเข้าร่วมพิธีกรรมและประเพณีทางศาสนา สามารถปฏิบัติได้หลายประการ เช่น การทำบุญตักบาตรโดยปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอทุกวันการไปทำบุญที่วัดในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น

               3) การเผยแผ่ศาสนา พุทธศาสนิกชนสามารถช่วยเผยแผ่ศาสนาได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น นำธรรมะมาปฏิบัติเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น อธิบายธรรมะให้ผู้ฟังที่ยังไม่เข้าใจให้เข้าใจยิ่งขึ้น บริจาคทรัพย์ตามกำลังเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นต้น

               http/www.aksorn.com/lib/p/soc_01 (เรื่อง หลักการฟังธรรม)

               -----------------------------------62

               4) การปกป้องศาสนา

               ศาสนิกที่ดีความทำหน้าที่ปกป้องพระพุทธศาสนา เช่น แจ้งข่าวสารเมื่อได้พบเห็นว่ามีการกระทำที่ทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความเสียหาย ให้ข่าวสารและคำอธิบายที่ถูกต้องแก่ผู้ที่ยังเข้าใจพระพุทธศาสนาไม่ถูกต้อง เป็นต้น

               ภาพ : การทำบุญตักบาตรเป็นการเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ที่ช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

               “หน้าที่ชาวพุทธที่กล่าวมาข้างต้น นักเรียนควรปฏิบัติเท่าที่ทำได้ เมื่อโตขึ้น มีความสามารถมากขึ้น ก็ตั้งใจทำให้มากยิ่งๆขึ้นไป พระพุทธศาสนาย่อมเจริญรุ่งเรืองตลอดไป

               คำถามจุดประกาย

               1. เพราะเหตุใดเมื่อไปทำบุญที่วัดจึงควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

               2. นักเรียนคิดว่า พุทธศาสนิกชนฟังธรรมเพื่อจุดประสงค์ใด

               3. นักเรียนคิดว่า การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลถือเป็นการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาหรือไม่ เพราะอะไร

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ 1

               1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คนร่วมกันสำรวจวัดที่มีในชุมชนของตนเองว่าประกอบด้วยสถานที่ใดบ้างและสถานที่แต่ละแห่งมีประโยชน์อย่างไร แล้วบันทึกข้อมูล

               2. ร่วมกันอภิปรายว่า เมื่อไปวัดเราควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง แล้วสรุปเป็นข้อปฏิบัติ

               3. ร่วมกันอภิปรายว่า ในวัยของนักเรียน จะปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อศาสนาอย่างไรบ้าง แล้วบันทึกข้อมูล

               -----------------------------------63

3 พิธีกรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา

               พิธีกรรมสำคัญของพระพุทธศาสนามีหลายพิธี เช่น

1. การอาราธนาศีล อาราธนาธรรม และอาราธนาพระปริตร

               การอาราธนา คือ การกล่าวเชื้อเชิญให้พระภิกษุสงฆ์ในพิธีให้ศีลสวดพระปริตรเพื่อแสดงธรรม ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมดั้งเดิมที่จะต้องมีการอาราธนาศีลก่อนจึงจะทำการประกอบพิธีกรรมนั้น ซึ่งการอาราธนาที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ แบ่งได้ 3 กรณี ได้แก่ การอาราธนาศีล อาราธนาธรรม และอาราธนาพระปริตร ซึ่งชาวพุทธควรฝึกปฏิบัติให้ถูกต้องเนื่องจากต้องนำมาใช้ปฏิบัติอยู่เสมอ

               คำอาราธนาศีล 5

               มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุงรักขะณัตถาย,ะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุงรักขะณัตถายะ,  ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุงรักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

               คำราธนาธรรม

               พรัหมา จะ โลกาธิปะติสะหัมปะติ

กะตัญชะลีอันธิวะรัง อะยาจะถะ

สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา

เทเสตุ ธัมมังอะนุกัมปิมัง ปะชัง.

               คำอาราธนาพระปริตร

               วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

 สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง.
               วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

สัพพะภะยะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง.
               วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

สัพพะโรคะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ มังคะลัง.

 

 

 

               -----------------------------------64

               2. การบวช

               การบวชเป็นศาสนพิธีที่เป็นพุทธบัญญัติ คือ พระพุทธเจ้าทรงวางกฎข้อบังคับไว้ แบ่งอย่างกว้างๆ เป็น 2ลักษณะ ได้แก่

               1) การบรรพชา หมายถึง การบวชเป็นสามเณร ผู้ที่จะบวชต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และมีคุณสมบัติอื่นๆตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนเมื่อเข้าบรรพชาแล้วต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดและรักษาศีล 10 ข้อ

               2) การอุปสมบท หมายถึง การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งผู้ที่จะบวชต้องมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปและมีคุณสมบัติอื่นที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน เมื่อเข้าอุปสมบทแล้ว ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และรักษาศีล 227 ข้อ

               การบวชเป็นการช่วยรักษาประเพณีวัฒนธรรมไทย ซึ่งถือว่าผู้ชายไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาควรบวช เพื่อตอบแทนพระคุณของบิดามารดา สืบทอดพระพุทธศาสนา และเป็นการสร้างกุศลอีกด้วย

               ผู้บวชในพระพุทธศาสนาย่อมได้รับประโยชน์หลายประการ เช่นได้เรียนรู้พระธรรมวินัย ได้ฝึกฝนตนเองให้รู้จักมีความอดทน สำรวม กาย วาจา และใจ ให้อยู่ในระเบียบวินัยอันดีงาม อีกทั้งยังสามารถนำธรรมะไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้

               ภาพ : การบวช ถือเป็นการสร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ตามหลักความเชื่อของชาวพุทธ

               ความรู้เสริม

               ศีล 10 ประกอบด้วย 1. เว้นจากการฆ่าสัตว์ 2. เว้นจากการลักขโมย 3. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม4. เว้นจากการพูดเท็จ 5. เว้นจากการดื่มน้ำเมา 6. เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล 7. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง 8. เว้นจากการแต่งด้วยเครื่องหอม 9. เว้นจากการนอนที่นอนสูงใหญ่ 10. เว้นจากการรับทองหรือเงิน

               -----------------------------------65

3. พิธีทอดผ้าป่า

               ผ้าป่า ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า ผ้าบังสุกุลจีวร เป็นผ้าเปื้อนฝุ่นที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน เป็นผ้าที่อยู่ตามป่าดง ป่าช้า กองขยะ ผ้าเช่นนั้นพระภิกษุเก็บเอามาเย็บต่อกัน นำไปซักฟอก แล้วย้อมด้วยน้ำฝาด ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เรียกว่า ผ้าบังสุกุลจีวร

               การทอดผ้าป่าสามารถทอดได้ตลอดทั้งปี เวลาใดแล้วแต่สะดวกโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการบำรุงพระสงฆ์ บำรุงศาสนสถาน และสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน ซึ่งรูปแบบการทอดผ้าป่าในประเทศไทย มีหลายแบบ เช่น ผ้าป่าสามัคคี ผ้าป่าหางกฐิน เป็นต้น

               ขั้นตอนการถวายผ้าป่า มีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้

               1) จัดกองผ้าป่าวางไว้ในที่เหมาะสม

               2) นิมนต์พระภิกษุ 1รูปขึ้นไป

               3) ทายกเป็นผู้นำกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย คำนมัสการพระรัตนตรัย และอาราธนาศีล

               4) พระภิกษุให้ศีล

               5) ผู้ร่วมพิธีสมาทานศีล

               6)ทายกกล่าวนำคำถวายผ้าป่า

               7) พระภิกษุชักผ้าป่าและสวดอนุโมทนา

               8) ประธานในพิธีทำการกรวดน้ำและรับพร ถือว่าเสร็จพิธี

               ภาพ : การทอดผ้าป่า เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาวิธีหนึ่งที่สามารถปฏิบัติได้ตลอดปี

               http://www/aksorn.com/lib/p/soc_01(เรื่อง ผ้าป่าสามัคคี)

               -----------------------------------66

               คำถวายผ้าป่า

               อิมานิ มะยัง ภันเต, ปังสุกูละจีวะรานิ, สะปะริวารานิ,ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, ภิกขุสังโฆ,อิมานิ,ปังสุกูละจีวะรานิ, สะปะริวารานิ,ปะฏิคคัณหาตุ, อัมหากัง,ทีฆะรัตตัง,หิตายะ,สุขายะ.

               คำแปลข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวรพร้อมทั้งเครื่องบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญ

               4.  พิธีทอดกฐิน

               คำว่า กฐิน แปลว่า กรอบไม้หรือสะดึง สำหรับขึงผ้าเย็บจีวรของภิกษุ เพราะในสมัยพุทธกาลภิกษุจะต้องนำผ้ามาตัดเย็บเป็นจีวรเองไม่มีสำเร็จรูปอย่างในปัจจุบัน ซึ่งการถวายผ้ากฐินเป็นพุทธานุญาตพิเศษที่โปรดให้ทำเป็นการสงฆ์ เพื่อขยายเวลาการทำจีวรของภิกษุให้ยาวออกไปตามกำหนด คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน11 จนถึงกลางเดือน12

               กฐินมีอยู่  2 ลักษณะ คือจุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายใน 1 วัน มหากฐิน เป็นกฐินที่มีปัจจัยไทยธรรมมาก ใช้เวลาเตรียมการหลายวัน โดยมีเจตนาเพื่อหาเงินมาพัฒนาวัด

               ภาพ : ผู้ถวายผ้ากฐินต้องกล่าวคำถวายต่อหน้าพระสงฆ์

               -----------------------------------67

               ขั้นตอนในการทอดกฐิน การทอดกฐินควรปฏิบัติเป็นขั้นตอน ดังนี้

               1) จองกฐินวัดราษฎร์วัดใดวัดหนึ่งที่ต้องการทอดกฐิน โดยจะต้องไปแจ้งความประสงค์ให้ทางวัดทราบ พร้อมประกาศให้คนทั่วไปทราบ

               2) เมื่อจองกฐินเรียบร้อยแล้ว จึงเตรียมผ้ากฐินและเครื่องบริขาร เช่น จีวร สังฆาฏิ บาตร หมอน มุ้ง เสื่อ เป็นต้น

               3) จัดตั้งองค์กฐิน ก่อนถึงวันทอดกฐิน 1 วัน เจ้าภาพตั้งองค์กฐินและเชิญแขกมาร่วมงานฉลองการทอดกฐิน

               4) ขั้นถวายกฐิน พอถึงวันทอดกฐิน เจ้าภาพจะนำผ้ากฐินและเครื่องบริขารไปไว้ในโบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เพื่อถวายกฐินตามขั้นตอน ดังนี้

               (1) ประธานของงานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย

               (2) ทายกกล่าวอาราธนาศีลประธานและผู้ร่วมงานสมาทานศีล

               (3) ประธานถวายผ้ากฐินโดยกล่าวบทนมัสการพระพุทธเจ้าสามจบ แล้วกล่าวคำถวายผ้ากฐิน

               (4) ประธานประเคนผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ซึ่งนั่งอยู่ในลำดับที่ 2

               (5) ประธานสงฆ์กล่าวเผดียงสงฆ์ (การบอกหรือแจ้งให้รู้) เพื่อให้ทราบว่า เป็นผ้ากฐินของผู้ใดและพิจารณามอบให้

               (6) ประธานสงฆ์ได้กล่าวอนุโมทนา ประธานในพิธีกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศล เป็นอันเสร็จพิธี

               ภาพ : ประธานในพิธีกล่าวคำถวายกฐินต่อหน้าพระพุทธรูป

               ความรู้เสริม

               ผ้าไตรจีวร ประกอบด้วย จีวร สบง สังฆาฏิ จีวร คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้ห่ม สบง คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่ง สังฆาฏิ คือ ผ้าที่พระสงฆ์ใช้ห่มทับจีวร(ส่วนใหญ่จะใช้ในหน้าหนาว)

               -----------------------------------68

               บทนมัสการพระพุทธเจ้า

               นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ.

            กล่าว 3 จบ

            คำถวายผ้ากฐิน

               อิมังภันเต, สะปะริวารัง,กะฐินะะทุสสัง, สังฆัสสะ,โอโณชะยามะ, สาธุโนภันเต,สังโฆ, อิมัง, สะปะริวารัง,กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ,ปะฏิคคะเหตะวาจะ,อิมินา ทุสเสนะ,กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง,ทีฆะรัตตัง,หิตายะ, สุขายะ,
คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลายครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลาย ตลอดกาลนานเทอญ

               5. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

               การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนควรกระทำเพราะการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือการประกาศตนว่า ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา รวมทั้งยอมรับพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยว และระลึกถึง

               ชาวพุทธทุกคนสามารถแสดงตนเป็นพุทธมามกะได้ไม่ว่าจะเป็นคนชรา คนหนุ่มสาว หรือเด็กๆที่สำคัญพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงแสดงองค์เป็นพุทธมามกะด้วยเช่นกัน

-----------------------------------69

               1) วัตถุประสงค์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มีดังนี้

               (1) เพื่อให้มีความมั่นคงในการเป็นพุทธบริษัทที่ดี

               (2) เพื่อให้มีจิตใจมั่นคงต่อหลักคำสอน

               (3) เพื่อเป็นการช่วยปลูกฝังนิสัยชาวพุทธที่ดีให้กับเด็กๆ

               2) ขั้นเตรียมการ การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ต้องทำต่อหน้าพระสงฆ์หรือในที่ประชุมสงฆ์ โดยครูนำรายชื่อนักเรียนที่เข้าพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะพร้อมดอกไม้ธูปเทียนใส่พาน ไปถวายพระอาจารย์ที่เป็นประธานในพิธีนั้น พร้อมทั้งแจ้งการทำกิจกรรมให้ท่านทราบ เพื่อให้ท่านจัดพระภิกษุเข้าทำพิธี จากนั้นจึงจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในพิธี ได้แก่ โต๊ะหมู่บูชา พระพุทธรูป ดอกไม้ธูปเทียน และบัตรพุทธมามกะที่จะมอบให้แก่ผู้แสดงตน

               3) ขั้นพิธีการ มีดังนี้

               (1) นิมนต์พระสงฆ์เข้าสู่พิธี

               (2) ผู้แทนนักเรียนจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา ผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนสงบจิตสงบใจ ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ทุกคนกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยตามผู้แทนนักเรียน แล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์

               (3) ผู้แทนนักเรียนถวายเครื่องสักการะ และรายชื่อของผู้เข้าร่วมพิธีแก่พระสงฆ์

               ภาพ : พุทธมามะกะที่ดีควรหมั่นฝึกอบรมตนเอง

-----------------------------------70

               (4) ทุกคนกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าสามจบ จากนั้นกล่าวคำขอแสดงตนเป็นพุทธมามกะพร้อมๆกัน

               (5) รับฟังโอวาทจากประธานสงฆ์

               (6) ผู้นำนักเรียนกล่าวคำอาราธนาศีล 5

               (7) พระสงฆ์สมาทานศีล 5 จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมพิธีกล่าวตามเป็นตอนๆ

               (8) พระสงฆ์กล่าวอานิสงส์ของศีล

คำขอแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

               *เอเต มะยังภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามะธัมมัญจะสังฆัญจะ *พุทธมามะกาติโนสังโฆ ธาเรตุ.

               คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานแล้ว  ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ ขอพระสงฆ์จงรับข้าพเจ้าไว้เป็นพุทธมามกะด้วยเถิด

*หญิง เปลี่ยนจาก เอเต เป็น เอตา  พุทธะมามะกาติ เป็น พุทธมามิกาติ

               (9) ผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนรับบัตรพุทธมามกะจากประธานสงฆ์และถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำ รับพร และกราบพระสงฆ์ 3 ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธี

               6. ระเบียบพิธีในการทำบุญงานอวมงคล

               พิธีทำบุญงานอวมงคล หมายถึง พิธีที่ทำให้เกิดความเจริญโดยปรารภเหตุไม่ดี เป็นการทำบุญเพื่อกลับสิ่งชั่วร้ายให้กลายเป็นดี และให้เกิดสิริมงคลต่อไป

-----------------------------------71

               ระเบียบพิธีการทำบุญในงานอวมงคล มีดังนี้

               1) งานอวมงคล เช่น งานศพ งานทำบุญอัฐของผู้ตาย เป็นต้น การทำบุญเกี่ยวกับงานศพจะมีการจัดบริเวณพิธีเช่นเดียวกันกับงานมงคลแต่ต่างกัน คือ ในบริเวณนั้นจะต้องจัดที่ตั้งศพหรือที่ตั้งอัฐิเพิ่มขึ้นแล้วแต่กรณี ที่ตั้งศพหรืออัฐินั้นควรตั้งอยู่ตรงกลางให้เห็นเด่นพอสมควร ไม่ควรจัดตั้งรวมกับที่ตั้งพระพุทธรูปบูชา

               2) งานอวมงคล ไม่นิยมวงสายสิญจน์ รวมทั้งไม่ต้องตั้งขันน้ำ พระพุทธมนต์อย่างงานมงคล มีแต่ผ้าภูษาโยงหรือสายสิญจน์แทน โดยโยงจากศพหรืออัฐิมาให้พระสงฆ์พิจารณา และทอดผ้าบังสุกุลเท่านั้น

               3) การอาราธนาในการสวดมนต์ เนื่องจากในงานอวมงคลนั้นมีการอาราธนาศีล และรับศีล แต่ไม่มีการอาราธนาพระปริตร สำหรับการทอดผ้าบังสุกุลมักทำตอนท้ายพิธี เมื่อพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบหรือฉันเสร็จแล้ว ให้ทอดสายภูษาโยงหรือคลี่ด้ายสายสิญจน์ที่หน้าพระสงฆ์โดยที่ไม่ต้องประเคนให้พระสงฆ์ เมื่อเสร็จแล้วจึงประนมมือไหว้หนึ่งครั้งพระสงฆ์ก็จะพิจารณาและชักผ้าบังสุกุลเอง จากนั้นให้พับผ้าภูษาโยงหรือม้วนด้วยสายสิญจน์กลับที่ เป็นอันเสร็จพิธี

               ภาพ : การทอดผ้าบังสุกุลในงานอวมงคล มักจะทำหลังจากที่พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบหรือฉันเสร็จแล้ว

-----------------------------------72

7. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

               “ชาวพุทธที่ดีควรปฏิบัติตามหลักธรรมทุกวัน และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ควรประพฤติตนให้ดีมากขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาครับ”

               - วันมาฆบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

               - วันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตรงกับวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

               - วันอัฏฐมีบูชา วันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

               - วันอาสาฬหบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 แสดงปฐมเทศนา

               - วันธรรมสวนะ วัน 8 ค่ำ และ 15 ค่ำ ของทุกเดือนถือเป็นวันประชุมฟังธรรม

               - วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระสงฆ์จำพรรษา

               การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

               - รักษาศีล

               - ทำบุญตักบาตร

               - ฟังเทศและสนทนาธรรม

               - บำเพ็ญประโยชน์

               - ตักบาตรเทโว (เฉพาะวันออกพรรษา)

               - นั่งสมาธิ

               - สวดมนต์ ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย

               - เวียนเทียน (วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา)

               - หล่อเทียนพรรษาและถวายผ้าอาบน้ำฝน (เฉพาะวันเข้าพรรษา)

-----------------------------------73

               8.ประโยชน์ของการเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

               การเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนามีประโยชน์ ดังนี้

               1) ช่วยขันเกลากิเลสในจิตใจให้เบาบางลง

               2) เกิดความสมัครสมานสามัคคี

               3) เป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชน

               4) เป็นการช่วยทำนุบำรุงเกื้อหนุนให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงยิ่งขึ้น

               5) ก่อให้เกิดความสงบสุขในการดำเนินชีวิต

               ภาพ : ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธควรไปร่วมปฏิบัติศาสนกิจที่วัด เช่น เวียนเทียน เป็นต้น

               คำถามจุดประกาย

               1. นักเรียนคิดว่า การทอดผ้าป่าและการทอดกฐิน ส่งผลดีต่อพระสงฆ์อย่างไร

               2. เพราะเหตุใดผู้ที่ถือพระพุทธศาสนาจึงควรเข้าร่วมการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

               3. เพราะเหตุใดพุทธศาสนิกชนจึงควรเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

               กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรู้ที่ 2

               1. แบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มร่วมกันฝึกท่องคำอาราธนาศีล คำอาราธนาธรรมและคำอาราธนาพระปริตร

               2. เขียนอธิบายประวัติความเป็นมา ประโยชน์ และขั้นตอนของการทอดผ้าป่าและการทอดกฐินมาพอเข้าใจ

               3. เขียนสรุปขั้นตอนการแสดงตนเป็นพุทธมามกะมาพอเข้าใจ

               4. ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่า การเข้าร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และบันทึกข้อมูลลงในสมุด

-----------------------------------74

               4 พิธีกรรมสำคัญทางศาสนาคริสต์

               พิธีกรรมสำคัญของศาสนาคริสต์ เรียกว่า พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมี 7ประการคือ

               1. พิธีศีลล้างบาปหรือศีลจุ่ม

               เป็นพิธีกรรมแรกที่ผู้นับถือศาสนาคริสต์จะต้องรับเพื่อแสดงตนเป็นชาวคริสต์ เป็นการล้างบาปและมลทินต่างๆ เพราะชาวคริสต์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวมาแต่เกิด

               2. พิธีศีลกำลัง

               เป็นพิธียืนยันความเชื่อและแสดงตนเป็นชาวคริสต์โดยสมบูรณ์

               3. พิธีแก้บาป

               เป็นพิธีกรรมที่ชาวคริสต์จะต้องไปสารภาพบาปกับบาทหลวงในฐานะที่ท่านนั้นเป็นตัวแทนของพระเจ้า และจะเป็นผู้ยกบาปนั้นให้ จากนั้นจึงจะรับศีลลมหาสนิทได้

               ภาพ : คริสต์ศาสนิกชนทุกคนจะต้องรับศีลล้างบาปซึ่งส่วนใหญ่จะรับตั้งแต่ทารก

               4. พิธีศีลลมหาสนิท

               เป็นพิธีกรรมที่สำคัญ โดยมีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ แผ่นปังและเหล้าองุ่นที่แทนพระกายและพระโลหิตของพระเยซู ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนจะได้รับจากบาทหลวงในพิธีมิสซาบูชาขอบคุณ และชาวคริสต์จะต้องไปฟังมิสซาในโบสถ์ทุกวันอาทิตย์

               5. พิธีศีลเจิมคนไข้

               เป็นพิธีที่จะเจิมคนไข้ด้วยน้ำเสก โดยมีบาทหลวงเป็นผู้ทำพิธีเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย

               ภาพ : ศีลแก้บาป เป็นการสารภาพบาปต่อบาทหลวงเพื่อแก้ไขและประพฤติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีต่อไป

               -----------------------------------75

               6. พิธีศีลอนุกรมหรือพิธีศีลบวช

               เป็นพิธีบวชสำหรับผู้ที่จะเป็นบาทหลวงซึ่งเป็นที่ได้รับการคัดเลือกให้กระทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

               7. พิธีศีลสมรส

               เป็นพิธีการแต่งงานของหญิงและชาย โดยมีบาทหลวงเป็นประธาน เป็นพยานทางศาสนา และเป็นผู้ประกอบพิธีให้ในโบสถ์ สำหรับพิธีแต่งงานเป็นเครื่องหมายแสดงว่า พระเจ้าเป็นผู้กระชับความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่นั้นพวกเขาจะไม่แยกจากกัน จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะสิ้นชีวิต

               ภาพ : บาทหลวง เป็นศาสนบุคคลของศาสนาคริสต์

               5 พิธีกรรมสำคัญของศาสนาอิสลาม

               ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวชเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมแต่มุสลิมทุกคนเป็นทั้งฆราวาสและเป็นนักบวชอยู่ในคนคนเดียวกัน และถือหลักการของศาสนาเป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำรงชีวิต

               พิธีกรรมสำคัญของศาสนาอิสลาม ได้แก่

               1. การละหมาด

               เป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีในความเมตตากรุณาปราณีของอัลเลาะห์  ซึ่งจะปฏิบัติทุกวัน วันละ 5 เวลา คือ ก่อนฟ้าสาง บ่าย เย็น หัวค่ำ และกลางคืน การละหมาดจะช่วยสกัดกั้นความคิดและการกระทำที่ไม่ดีไม่งามต่างๆ อย่างเป็นระบบต่อเนื่องในรอบวัน

               2. พิธีถือศีลอด

               เป็นการละเว้นจากการกิน การดื่ม การเสพ การร่วมเพศ การนินทา ตลอดจนการประพฤติที่ผิดทุกอย่าง จะกระทำในเดือนรอมฎอนเป็นเวลา 1 เดือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ฝึกความอดทนต่อการยั่วยวนของกิเลส

               -----------------------------------76

               3. พิธีฮัจญ์

               เป็นการไปทำศาสนกิจ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียซึ่งถือเป็นข้อกำหนดประการหนึ่งที่อัลเลาะห์ทรงบัญญัติไว้ให้แก่มุสลิมคุณสมบัติของผู้ที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์คือ ต้องเป็นมุสลิม บรรลุศาสนภาวะมีสติปัญญาสมบูรณ์ มีความสามารถ เช่น มีทุนทรัพย์เพียงพอ มีสุขภาพแข็งแรง มีการเดินทางที่ปลอดภัย เป็นต้น

               6 พิธีกรรมสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

               ชาวฮินดูจะมีพิธีกรรมแบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้

               1. กฎสำหรับวรรณะ

               เดิมมีกาปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด แต่ในปัจจุบันนี้มักไม่ค่อยเคร่งครัดเท่าใดนัก มีดังนี้

               1) การแต่งงาน จะแต่งงานกับคนนอกวรรณะไม่ได้

               2) อาหารที่รับประทาน จะมีข้อกำหนดว่าสิ่งใดกินได้หรือไม่ได้คนในวรรณะที่ต่ำกว่าจะปรุงอาหารให้คนในวรรณะที่สูงกว่ากินไม่ได้

               3) อาชีพ ต้องประกอบอาชีพตามกำหนดของแต่ละวรรณะ

               4) เคหสถานที่อยู่ ในกฎเดิมห้ามมีถิ่นฐานบ้านช่องนอกเขตประเทศอินเดีย ห้ามเดินเรือในทะเล แต่ปัจจุบันไม่ค่อยยึดถือปฏิบัติกัน

               2. พิธีประจำบ้านหรือพิธีสังสการ

               เป็นพิธีกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์ ซึ่งผู้ที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์และแพศย์ จะต้องปฏิบัติ มีอยู่ 12 อย่าง ดังนี้

               พิธีสังสการ

               1) พิธีตั้งครรภ์

               2) พิธีเมื่อเด็กมีลมปราณ

               3) พิธีแยกหญิงตั้งครรภ์

               4) พิธีคลอดบุตร

               5) พิธีตั้งชื่อเด็ก

               6) พิธีนำเด็กออกไปดูดวงอาทิตย์

               7) พิธีป้อนข้าว

               8) พิธีโกนผม

               9) พิธีตัดผม

               10) พิธีเริ่มการศึกษา

               11) พิธีกลับเข้าบ้าน

               12) พิธีแต่งงาน

               -----------------------------------77

               3. พิธีศราทธ์

               เป็นพิธีทำบุญอย่างหนึ่งที่ลูกหลานทำบุญอุทิศให้แก่บิดามารดาหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว จะกระทำกันในเดือน 10 ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ จนถึงวันแรม15 ค่ำ การทำบุญนี้ เรียกว่า ทำปิณฑะ ซึ่งหมายถึง ก้อนข้าวที่จะถวายอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับ

               4. พิธีบูชาเทวดา

               ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในวรรณะสูงจะมีพิธีสวดมนต์ภาวนา อาบน้ำเพื่อชำระร่างกาย และสังเวยเทวดาทุกวัน และในวันศักดิ์สิทธิ์จะไปนมัสการบำเพ็ญกุศลในเทวาลัย แต่ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในวรรณะต่ำจะปฏิบัติแตกต่างออกไป

               7 พิธีกรรมสำคัญของศาสนาสิข

               พิธีกรรมสำคัญของศาสนาสิข ได้แก่

               1.พิธีสังคัต

               เป็นพิธีชุมนุมของผู้นับถือศาสนาสิข ซึ่งทุกคนจะมีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน จะไม่มีใครได้รับการยกเว้นเป็นพิเศษ เช่น ต้องตักน้ำเช็ดรองเท้าด้วยตนเอง เป็นต้น

               2. พิธีอมฤตสังสการ

               เป็นพิธีในการรับคนเข้าสู่ศาสนาสิข ซึ่งจะใช้หลักแห่งความเสมอภาคกันและไม่รังเกียจกัน

               ภาพ : ชาวสิขจะประกอบพิธีกรรมด้วยความเสมอภาคกัน

               “นอกจากพิธีสังคัตและพิธีอมฤตสังสการแล้วศาสนาสิขยังมีพิธีปาหุลที่จะได้เรียนในหน้าต่อไปนะคะ”

-----------------------------------78

               3. พิธีปาหุล

               เป็นพิธีล้างบาป หลังจากผ่านพิธีปาหุลแล้ว ผู้ชายจะมีชื่อลงท้ายว่า “สิงห์” หรือ “ซิงซ์” หมายถึง ความเข้มแข็งดังเช่นสิงโต ส่วนผู้หญิงจะมีชื่อลงท้ายว่า “เการ์” หมายถึง เจ้าหญิง เมื่อเสร็จพิธีแล้วจะได้รับกกะ

               กกะ ได้แก่ สิ่งที่ขึ้นต้นด้วยอักษร “ก” 5 ประการ คือ

               - เกศ หมายถึง ต้องไว้ผมยาว โดยไม่ตัดหรือโกนเด็ดขาด

               -กังฆา หมายถึง ต้องมีหวีติดที่ผม

               -กฉา หมายถึง ต้องสวมกางเกงขาสั้นชั้นใน

               -กรา หมายถึง ต้องสวมกำไลที่ทำด้วยเหล็กไว้ที่ข้อมือข้างขวา

               - กิรปาน หมายถึง ต้องพกกริชติดตัว

               “เมื่อนักเรียนเข้าใจศาสนพิธีของศาสนาที่ตนเองนับถือแล้วจะทำให้สามารถปฏิบัติศาสนพิธีได้อย่างถูกต้อง”

               -----------------------------------79

               คำถามจุดประกาย

               1. เพราะเหตุใดผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์จะต้องทำพิธีศีลล้างบาป

               2. นักเรียนคิดว่า มุสลิมที่ถือศีลอดได้ครบ 1 เดือน แสดงว่ามีคุณธรรมข้อใด

               3. การทำพิธีศราทธ์ ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีลักษณะคล้ายกับพิธีใดของชาวไทย

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3

               1 แบ่งกลุ่มละ 5-6 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์มา 1 พิธีกรรม แล้วบันทึกข้อมูล และส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

               2 แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มช่วยดันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมของศาสนาที่กลุ่มสนใจมา 1 พิธีกรรม แล้วบันทึกข้อมูลลงในสมุด จากนั้นนำเสนอผลงานหน้าชั้น

               กิจกรรมรวบยอด

               แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน ให้แต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็นว่า การที่ศาสนิกชนปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือได้อย่างถูกต้อง มีผลดีอย่างไรบ้าง จากนั้นส่งตัวแทนรายงานหน้าชั้น

               คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

               1. นักเรียนเคยพบเห็นสิ่งก่อสร้างใดในวัดบ้าง และสิ่งเหล่านั้นมีชื่อเรียกว่าอะไร มีไว้ใช้ทำสิ่งใด

               2. ถ้ามีผู้อ่านข่าวเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่ดีของสาวกหรือศาสนิกชนของศาสนาที่นักเรียนนับถือ และต่อว่าศาสนานั้นๆ นักเรียนจะมีวิธีปกป้องศาสนาอย่างไร

               3. นักเรียนเคยเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนาใดบ้าง และมีการปฏิบัติตนอย่างไรขณะกำลังเข้าร่วมพิธีกรรมนั้น

               -----------------------------------80

            หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หน้าที่ของพลเมืองดี

               เป้าหมายการเรียนรู้ประจำหน่วยที่ 2

               เมื่อเรียนจบหน่วยนี้ ผู้เรียนจะมีความรู้ความสมารถต่อไปนี้

               1. ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน (มฐ. ส 2.1 ป.6/1)

               2.วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม (มฐ. ส 2.1 ป.6/2)

               3.แสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมถูกกาลเทศะ (มฐ. ส 2.1ป.6/3)

               4.อธิบายคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนในสังคมไทย (มฐ. ส 2.1ป.6/4)

               5. ติดตามข้อมูล ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ได้เหมาะสม (มฐ. ส 2.3ป.6/5)

               6. เปรียบเทียมบทบาท หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล (มฐ. ส 2.2ป .6/1)

               7. มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ (มฐ. ส 2.2ป.6/2)

               8. อภิปรายบทบาท ความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย (มฐ. ส 2.2 ป.6/3)

               -----------------------------------81

            บทที่ 1 กิจกรรมประชาธิปไตย

               กิจกรรมนำสู่การเรียน

               อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยอย่างไร

               แนวคิดสำคัญ

               การเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งเป็นต้น จะทำให้เราเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนได้ถูกต้องเหมาะสม

               -----------------------------------82

               1 บทบาทหน้าที่ของรัฐบาล

               รัฐบาลมีบทบาทหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลที่สำคัญ คือ

               1. บริหารราชการแผ่นดิน รัฐบาลต้องบริหารประเทศให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายและเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด โดยเฉพาะเรื่องการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน

               2. รักษาเอกราชของประเทศชาติ ดูแลรักษาความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน โดยมีกำลังทหารและตำรวจเป็นฝ่ายดำเนินการตามหน้าที่และนโยบายของฝ่ายบริหาร

               3. พัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆด้าน โดยมีคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลดูแลและรับผิดชอบการทำงานของกระทรวงต่างๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

               ภาพ : ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลไทย ตั้งอยู่บริเวณถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (จากภาพคือ ตึกไทยคู่ฟ้า)

               -----------------------------------83

               4. จัดสวัสดิการให้แก่ประชาชน ในด้านการบริหารต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง เช่น การคมนาคมสะดวก การจัดการศึกษาโดยมามีการเก็บค่าใช้จ่าย การรักษาพยาบาลผู้ป่วย การให้บริการสาธารณูปโภค เป็นต้น

               5. ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ของตนเอง โดยประชาชนต้องรู้จักรักษาสิทธิ และปฏิบัติตามหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย

               6. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาประเทศ โดยมีความสัมพันธ์กันทั้งด้านการทูต การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

               7. ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรม โดยประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ ซึ่งจะส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปกติสุข

               8. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรัก ความสามัคคีปรองดองกัน โดยร่วมมือกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นมรดกของท้องถิ่นและของชาติ

               ภาพ :หน้าที่ประการหนึ่งของรัฐบาลก็คือ ร่วมมือกับนานาประเทศในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจสังคม เป็นต้น ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น

               -----------------------------------84

               การบริหารราชการแผ่นดิน

               การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลจะแบ่งออกเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ดังนี้

               แผนผังแสดงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

               รัฐบาล

               - ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

               - สำนักนายกรัฐมนตรี/กระทรวง/ทบวง

               - กรม

               รัฐบาล

               - ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

               - จังหวัด

               - อำเภอ

               รัฐบาล

               - ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

               - องค์การบริหารส่วนจังหวัด

               - เทศบาล

               - สุขาภิบาล

               - ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายกำหนด

               - กรุงเทพมหานคร

               - เมืองพัทยา

               1) การบริหารส่วนกลาง

               การบริหารราชการส่วนกลางเป็นการจัดระบบราชการที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม มีหน่วยงานตลอดจนข้าราชการรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายต่างๆ ของคณะรัฐมนตรีหน่วยงานและข้าราชการเหล่านี้ มีสายการบังคับบัญชาที่ขึ้นตรงต่อกันตามลำดับขั้น รวมทั้งมีขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ

               การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางประกอบด้วยหน่วยงานระดับต่างๆ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น

-----------------------------------85

               2) การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

               การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการจัดระบบราชการที่มุ่งให้ประชาชนแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศได้รับการบริการที่สะดวก รวมทั้งได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่และทันต่อเวลา โดยกระจายอำนาจการบริหารราชการส่วนกลางออกไปยังส่วนภูมิภาค แยกออกไปตั้งที่ทำการอยู่ตามส่วนต่างๆ ของประเทศ รวมทั้งจัดสรรตำแหน่งข้าราชการออกไปปฏิบัติหน้าที่อยู่ตามเขตปกครองเหล่านั้น

               3) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

               การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการจัดระบบราชการแบบกระจายอำนาจจากส่วนกลาง เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสในการปกครองตนเองตามความต้องการ และความจำเป็นของในแต่ละท้องถิ่น เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาลกลางในการบริหารงาน

               คำถามจุดประกาย

               1. การที่รัฐบาลส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งผลดีต่อประเทศอย่างไร

               2. เพราะเหตุใดการบริหารราชการแผ่นดิน จึงต้องมีการแบ่งออกเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

               3. นักเรียนคิดว่า ถ้าการปกครองประเทศไม่มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาสู่ท้องถิ่น จะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร

               กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

               1. เขียนสรุปบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลที่สำคัญลงในสมุด และนำเสนอหน้าชั้น จากนั้นร่วมกันแสดงความคิดเห็น

               2. ร่วมกันวิเคราะห์และเปรียบเทียบว่าระหว่างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคกับส่วนท้องถิ่นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

               -----------------------------------86

               2 บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง องค์กรที่ทำหน้าที่บริหารงานในแต่ละท้องถิ่น มีผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนในท้องถิ่น เป็นผู้รับผิดชอบต่อการบริหารงานอย่างอิสระในเขตพื้นที่ที่กำหนด มีอำนาจในการบริหารการเงินหรือการคลังและกำหนดนโยบายของตนเอง รวมทั้งมีหน้าที่ที่ดำเนินกิจการภายในกรอบที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อประโยชน์ของรัฐและของประชาชนในท้องถิ่น

               ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้

               1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

               2) เทศบาล

               3) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

               4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มี 2 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

               บทบาทหน้าที่ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น

               (1) จัดให้มีและทำนุบำรุงทางน้ำและทางบก ดูแลรักษาความสะอาดของถนน และพื้นที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอย

               (2) ป้องกันโรค ระงับโรคติดต่อ และบรรเทาสาธารณะภัย

               ภาพ : เมืองพัทยา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

               ภาพ : การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล เป็นอีกหน้าที่หนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               -----------------------------------87

               (3) จัดให้มีการบริหารทางด้านสาธารณูปโภคให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

               (4) ส่งเสริมด้านการศึกษา การพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน ผู้สูงอายุ และคนพิการ

               (5) ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อทำให้มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีวิต

               (6) คุ้มครองดูแล รวมทั้งบำรุงรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               (7) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

               (8) ส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา อีกทั้งยังร่วมกันทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุ

               กล่าวได้ว่าบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลมีความแตกต่างกับบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐบาลดูแลและพัฒนาระดับประเทศในด้านต่างๆ เช่น ความมั่นคง ความปลอดภัย คุณภาพชีวิตของประชาชน เศรษฐกิจ การศึกษา เป็นต้น

               ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลและพัฒนาในระดับท้องถิ่น เช่น สาธารณูปโภค การศึกษา อาชีพ สภาพแวดล้อม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะต้องประสานการทำงานให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

               “การที่ประเทศจะพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง จะต้องอาศัยการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งประชาชนในประเทศด้วยนะค่ะ”

        -----------------------------------88

        3.กิจกรรมประชาธิปไตย

        เราควรรู้จักเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่นและประเทศ ซึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยนั้นมีมากมายหลายอย่าง เช่น

        1. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อเลือกผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นคนดีและมีคุณธรรมเข้าไปเป็นตัวแทนในการบริหารประเทศในระดับต่างๆ

        2. การร่วมมือกันทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แสดงถึงความเป็นผู้มีจิตสาธารณะรู้จักเสนอความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

        3. ร่วมมือกับสมาชิกในชุมชนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยยึดหลักเหตุผลและความถูกต้อง

        4. เข้าร่วมชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพื่อแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนและประเทศชาติ

        5. ประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปเห็นความสำคัญและไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาหรือผู้นำระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

        6. ร่วมกิจกรรมในการสืบสานวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการสืบทอดมรดกสำคัญของท้องถิ่นและประเทศชาติ

        -----------------------------------89

        7. ร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยกันประหยัดพลังงานธรรมชาติ รู้จักใช้วัสดุธรรมชาติอย่างคุ้มค่า

        8. ร่วมมือกันรักษาสาธารณสมบัติ รักษาความสะอาดของถนนหนทางและสวนสาธารณะ

        ในวัยของนักเรียนจะสามารถปฏิบัติกิจกรรม ที่เป็นการช่วยส่งเสริมประชาธิปไตยได้อย่างง่ายๆ เช่น การร่วมกันแสดงความคิดเห็น การเลือกตั้งหัวหน้าห้อง การเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน เป็นต้น

        การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นหลักที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ถ้าประชาชนเลือกคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ ความสามารถ เข้าไปเป็นผู้แทนของตนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ย่อมทำให้ผู้แทนซึ่งได้รับเลือกไปแล้ว ทำหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบในแต่ละด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย และตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน

        ภาพ : การเลือกตั้งในโรงเรียน เป็นกิจกรรมที่ช่วยปลูกฝังประชาธิปไตยของเด็กในวัยเรียน

        -----------------------------------90

        4 การมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย ระเบียบ กติกาการเลือกตั้ง

        โดยปกติแล้วการออกกฎหมายการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของรัฐซึ่งประกอบไปด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. วุฒิสภาประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. แต่ประชาชนก็สามารถมีส่วนร่วมทางอ้อมโดยการเสนอความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผ่านสมาชิกวุฒิสมาชิก เพื่อนำข้อคิดเห็นของประชาชนไปประกอบกับการพิจารณาออกกฎหมายเลือกตั้ง

        ประชาชนมีส่วนร่วมทางอ้อมในการแสดงความคิดเห็นในการออกระเบียบที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น โดยการแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อประกอบการพิจารณาออกระเบียบ เช่น ระเบียบคณะกรรมการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และระเบียบคณะกรรมการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ระเบียบว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น เป็นต้น

        “ทุกคนในประเทศควรมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น นักเรียนอาจมีส่วนร่วมโดยการเสนอความคิดเห็นในการเลือกตั้งประธานนักเรียน เป็นต้น”

        -----------------------------------91

        5 การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชนชาวไทย กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง เปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ เพื่อคอยควบคุมดูแลให้การบริหารประเทศเป็นไปด้วยความโปร่งใส ชัดเจน สุจริต ถูกต้อง และยุติธรรมมากขึ้น ดังนั้น จึงกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนตามระบอบประชาธิปไตย ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ ตัวอย่าง เช่น

        1. สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

        2. สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

        3. สมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.)

        4. สมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.)

        5. สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว)

        6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

        ภาพ : การลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นกิจกรรมตามระบอบประชาธิปไตย

        “นอกจากจะออกไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เพื่อเลือกคนดีเข้าไปบริหารประเทศแล้ว เราต้องช่วยกันสอดส่องดูแลผู้มีพฤติกรรมในการกระทำผิดการเลือกตั้ง และการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้วยรวมทั้งร่วมตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง”

        ขั้นตอนการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร

        การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเป็นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปมีขั้นตอนสำคัญ ดังนี้

        -----------------------------------92

        ขั้นที่ 1 (ก่อนวันเลือกตั้ง) มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

        1) ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งว่ามีผู้ใดกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง เช่น มีการแจกทรัพย์สินเงินทอง สิ่งของแก่ประชาชน เพื่อจะได้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

        2) รับฟังนโยบาย แนวคิด ของผู้สมัครแต่ละคน หรือของพรรคการเมืองแต่ละพรรคว่ามีข้อมดีอะไรบ้าง และมีความเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร

        3) สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติและผลงานของผู้สมัครว่าเป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ความสามารถ มีผลงานเป็นที่ปรากฏ มีอาชีพมั่นคง และเป็นอาชีพที่ซื่อสัตย์หรือไม่

        4) ตรวจสอบรายชื่อผู้ที่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ว่ามีชื่อของตนเองหรือไม่  ถ้าไม่มีต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการเพิ่มเติม

        “ก่อนที่จะไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง เราควรตรวจสอบก่อนว่าเรามีคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่ ดังต่อไปนี้

        1. มีสัญชาติไทย หรือผู้แปลงสัญชาติที่มีสัญชาติไทย มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

        2. เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง

        3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งนับเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน”

        ขั้นที่ 2 (ในวันเลือกตั้ง) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ควรปฏิบัติ ดังนี้

        1) เดินทางไปสถานที่เลือกตั้งภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งคูหาเลือกตั้งทั่วประเทศจะเปิดพร้อมกันตั้งแต่เวลา 08.00 น. และปิดพร้อมกันในเวลา 15.00 น.

        -----------------------------------93

        2) ตรวจสอบรายชื่อของตน รวมถึงจำหมายเลขของตน เพื่อแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง

        3) ตรวจสอบหมายเลขของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และจำไว้เพื่อนำไปลงคะแนนเลือกตั้งให้กับคนที่ตนต้องการเลือก

        4) แจ้งหมายเลขของตนให้กับเจ้าหน้าที่ พร้อมกับแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้

        5) ลงชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือหัวแม่มือขวาไว้เป็นหลักฐานพร้อมรับบัตรเลือกตั้งที่จะลงคะแนน

        6) เข้าช่องคูหา ทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องหมายเลขที่ตนต้องการเลือกตามจำนวนที่มีสิทธิเลือกได้

        7) พับบัตรที่ลงคะแนนแล้ว และนำไปหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้ากรรมการด้วยตนเอง แล้วออกจากช่องลงคะแนน

        ในกรณีที่เรายังไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ปฏิบัติดังนี้

        ไปสังเกตการณ์การคะแนนเสียงตั้งว่า ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นปฏิบัติตนตามกฎหมายการเลือกตั้งหรือไม่ เช่น มีการหาเสียงในบริเวณหน่วยเลือกตั้ง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งอำนวยความสะดวก หรือมีการบริหารด้วยวิธีต่างๆ ต่อผู้ไปลงคะแนนเสียงหรือไม่ และควรติดตามการนับคะแนนเสียงและการประกาศผลการเลือกตั้งด้วย

        ขั้นที่ 3 (หลังวันเลือกตั้ง) มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

        1) ติดตามข้อมูลการนับคะแนน และการประกาศคะแนนของสมัครรับเลือกตั้งแต่ละคน โดยเฉพาะคนที่ตนเลือก

        2) แสดงความคิดเห็นผ่านผู้ที่ได้รับเลือกตั้ง เพื่อนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไขในการบริหารประเทศ

        3) ติดตามการปฏิบัติงานของผู้แทนว่าทำตามนโยบายที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและประชาชนมากน้อยเพียงใดเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

        -----------------------------------94

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า หน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

        2. นักเรียนคิดว่า มีกิจกรรมใดบ้างที่ส่งเสริมประชาธิปไตยทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ

        3. ถ้าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนมากไม่ออกไปใช้สิทธิของตน จะเกิดผลเสียอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1. ให้นักเรียนหาภาพกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยมาติดลงในสมุด 2 ภาพ แล้วเขียนอธิบายมาพอเข้าใจ จากนั้นนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งแล้วสรุปขั้นตอนของการเลือกตั้งและบันทึกข้อมูล จากนั้นนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        กิจกรรมรวบยอด

        1. เขียนอธิบายความแต่งต่างระหว่างการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐบาลมาพอเข้าใจ

        2. ให้ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมประชาธิปไตยมา 5 ตัวอย่าง แล้วเขียนบอกว่าตนเคยมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านั้นหรือไม่

        3. ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่า การเลือกตั้งมีความสำคัญอย่างไรบ้าง และทำไมผู้มีสิทธิจึงต้องออกไปใช้สิทธิของตน จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. นักเรียนได้รับการส่งเสริมด้านการศึกษาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาลอย่างไรบ้าง

        2. การที่นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อนๆ เป็นการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร

        3. นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมประชาธิปไตยในท้องถิ่นได้อย่างไรบ้าง

        -----------------------------------95

            บทที่ 2 กฎหมายน่ารู้

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        ภาพ : คนกำลังเดินข้ามทางม้าลาย

        “บุคคลในภาพปฏิบัติเกี่ยวกับกฎหมายเรื่องอะไร สังเกตได้จากสิ่งใด”

        แนวคิดสำคัญ

        กฎหมายเป็นข้อบังคับที่ให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ เพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข กฎหมายมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้น เราจึงต้องศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อที่จะปฏิบัติตนตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

        -----------------------------------96

        1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

        การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมหรือในประเทศ ต้องมีการอยู่ร่วมกับคนอื่นจำนวนมาก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันทั้งด้านนิสัยใจคอ การประพฤติปฏิบัติจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีข้อบังคับหรือข้อห้าม เพื่อไม่ให้กระทำผิด ถ้าใครฝ่าฝืน ถือว่ากระทำผิด จะต้องถูกลงโทษ ข้อบังคับนี้เรียกว่า กฎหมาย

        กฎหมาย หมายถึง กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐได้ตราขึ้นเพื่อใช้บังคับให้บุคคลปฏิบัติตาม โดยมีข้อปฏิบัติและบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชนที่นักเรียนควรรู้ ได้แก่ กฎหมายจราจร กฎหมายยาเสพติดให้โทษ กฎหมายทะเบียนราษฎร เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ  อบต. อบจ.

        1. กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบก

        กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรทางบกเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเดินทาง ซึ่งได้บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมเส้นทางของผู้ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถจักรยานหรือคนเดินเท้าในปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

        1) สัญญาณจราจร ซึ่งเครื่องหมายที่สำคัญของการจราจรทางบก คือ สัญญาณจราจรซึ่งหมายถึงสัญญาณที่อาจแสดงด้วยธง ไฟฟ้ามือ แขน เสียงนกหวีด หรือวิธีการสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนจูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น

        ภาพ : การปฏิบัติตามกฎหมายจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนน และการกวดขันของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ลดอุบัติเหตุลงได้

        http://www.aksorn.com/lib/p/soc_02 (เรื่องความสำคัญของกฎหมาย)

        -----------------------------------97

        สัญญาณจราจรแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

        (1) สัญญาณไฟจราจรมร 3 สี คือ สีแดง สีเหลืองอำพัน และสีเขียว

        (2) สัญญาณจราจรที่พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่แสดงให้ปรากฏข้างหน้าด้วยมือและแขน

        (3) สัญญาณจราจรที่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่แสดงด้วยเสียงสัญญาณนกหวีด

        2) การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า ควรปฏิบัติ ดังนี้

        (1) ทางใดมีทางเท้าหรือไหล่ทางอยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าทางนั้นไม่มีทางเท้าอยู่ข้างทางเดินรถ ให้คนเดินเท้าเดินริมทางด้านขวาของตน

        ภาพ : สีแดง หมายถึงให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นหยุดรถ สีเหลืองอำพัน หมายถึง ให้ผู้ขับขี่เตรียมตัวหยุดรถหลังเส้นให้หยุดรถ สีเขียว หมายถึง ให้ผู้ขับขี่ขับรถต่อไปได้

        (2) ภายในระยะไม่เกินหนึ่งร้อยเมตรนับจากทางข้าม ห้ามมิให้คนเดินเท้าข้ามถนนนอกทางข้าม

        (3) การเดินข้ามถนนในทางข้าม ที่มีไฟสัญญาณจราจรควบคุม เมื่อเห็นสัญญาณจราจร ให้ปฏิบัติ ดังนี้

        1. สัญญาณจราจรไฟสีแดง ให้คนเดินเท้าหยุดอยู่บนทางเท้าบนเกาะแบ่งทางเดินรถหรือในเขตที่ปลอดภัย เว้นแต่ทางใดที่ไม่มีทางเท้า ให้คนเดินเท้าหยุดรออยู่บนไห่ทางหรือขอบทาง ก่อนจะข้ามถนน

        2. สัญญาณจราจรไฟสีเขียวให้คนเดินเท้าข้ามถนนได้

        3. สัญญาณจราจรไฟเขียวกระพริบ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านใดของถนนให้คนเดินเท้าที่ยังไม่ได้ข้ามหยุดรอบนทางเท้าบนเกาะถนนหรือในเขตที่ปลอดภัย แต่ถ้ากำลังข้ามถนนให้ข้ามถนนโดยเร็ว

        -----------------------------------98

        3) การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับรถจักรยาน ควรปฏิบัติ ดังนี้

        (1) ถ้ามีทางที่ได้จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับขี่ในทางนั้น

        (2) รถจักรยานที่ใช้ในทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่ได้จัดไว้สำหรับรถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องอุปกรณ์ประกอบรถจักรยานดังนี้

        1. กระดิ่งที่ให้สัญญาณได้ยินในระยะที่ไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร

        2. เครื่องห้ามล้อที่ใช้การได้ดี เมื่อให้สามารถทำให้รถจักรยานหยุดได้ทันที

        3. โคมไฟติดหน้ารถจักรยานแสดงขาว ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงไฟส่องตรงไปข้างหน้า เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่าสิบห้าเมตร และอยู่ในระดับต่ำกว่าสายตาของ ผู้ขับขี่ซึ่งขับสวนมา

        4. โคมไฟติดท้ายรถจักรยานแสงแดง ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งดวงที่ให้แสงสว่างตรงไปข้างหลัง หรือต้องติดวัสดุสะท้อนแสงสีแดงแทน ซึ่งเมื่อถูกไฟส่องทำให้มีแสงสะท้อน

        (3) ผู้ขับขี่จักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ไหล่ทาง หรือทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยานให้มากมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องขับขี่รถจักรยานให้ชิดช่องเดินรถประจำทางนั้น

        4) ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมายจราจร มีดังนี้

        (1) ทำให้การจราจรบนท้องถนนไม่ติดขัด การที่ประชาชนทุกคนขับขี่ยานพาหนะไปตามกฎจราจร โดยไม่ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรก็จะทำให้การจราจรเป็นไปตามระบบและไม่ติดขัด คนเดินเท้าปฏิบัติตามกฎจราจร ข้ามถนนตรงทางข้าม หรือเดินบนทางที่ได้จัดไว้ให้ก็จะไม่กีดขวางทางจราจร ทำให้การจราจรเคลื่อนตัวไปได้ตามปกติ

        -----------------------------------99

        (2) ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่นำไปสู่ความสูญเสียชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนและประเทศ กล่าวคือถ้าผู้ขับขี่ยานพาหนะไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ขับขี่เร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ ขับขี่รถในทางห้าม ขับขี่รถที่มีสภาพไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจจะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้มีการบาดเจ็บ เสียชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย

        (3) ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ เมื่อไม่เกิดอุบัติเหตุทำให้ประชาชนไม่ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาล เงินทองไม่รั่วไหล ทำให้เศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว มีความมั่นคง

        2. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร

        กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบในการแจ้งเกิดการแจ้งตาย และการย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนราษฎร จึงเป็นกฎหมายที่ใกล้ตัว เกี่ยวข้องกับตนเอง และสังคมเป็นอย่างมาก กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรมีสาระสำคัญ ดังนี้

        1) การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องทำการแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนเกิดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิด

        หลักฐานที่ต้องนำไปแจ้ง ได้แก่ ทะเบียนบ้าน เมื่อแจ้งเกิดแล้ว นายทะเบียนจะออกสุติบัตร(ใบแจ้งเกิด) ให้ไว้เป็นหลักฐาน สูติบัตรเป็นเอกสารสำคัญ แสดงสัญชาติ ชื่อ วันเดือนปีเกิด ชื่อและสัญชาติของบิดามารดา จึงต้องเก็บรักษาไว้ให้ดี เพราะจะต้องใช้เป็นหลักฐานสำคัญต่อไป

        2) การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายในบ้าน ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร ภายใน 24 ชั่วโมง และจะได้รับใบมรณบัตรไว้เป็นหลักฐาน   

        -----------------------------------100

        3) การย้ายทีอยู่ เมื่อมีการย้ายที่อยู่จะต้องมีการแจ้งย้ายออก จากทะเบียนบ้านเดิม แล้วจะต้องแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งผู้นั้นย้ายไปอยู่ การแจ้งที่อยู่ มีดังนี้

        (1) การแจ้งย้ายออก เมื่อมีการย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใดกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านหรือผู้แทนที่จะต้องย้ายที่อยู่ดังกล่าวแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก

        (2) การแจ้งย้ายเข้า เมื่อมีการย้ายเข้าบ้าน เจ้าบ้านหรือผู้แทน ต้องแจ้งต่อนายทะเบียนที่เจ้าบ้านอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า

        การย้ายที่อยู่ สามารถแจ้งย้ายปลายทางได้ โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายที่อยู่เป็นผู้แจ้งต่อนายทะเบียน

        หากมอบหมายแจ้งย้ายปลายทางจะมีหนังสือมอบหมายปรากฏข้อความชัดเจนว่า บุคคลใดได้มอบหมายให้มาแจ้งการย้ายที่อยู่ปลายทางแทน และมอบหมายให้ย้ายที่อยู่ของบุคคลใดบ้าง และจะทำการย้ายเข้าบ้านเลขที่ใด

        หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการแจ้งย้ายที่อยู่ ได้แก่

        (1) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสงค์จะย้ายปลายทาง

        (2) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน

        (3) หนังสือคำยินยอมของเจ้าบ้าน

        (4) สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

        -----------------------------------101

        4) ประโยชน์ของการปฏิบัติจนตามกฎหมายทะเบียนราษฎร มีดังนี้

        (1) ทำให้ทราบข้อมูลของจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นหรือจังหวัดเป็นปัจจุบัน ทำให้รัฐบาลสามารถจัดสรรเงินงบประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม เช่น ด้านการศึกษา ด้านการคมนาคม เป็นต้น

        (2) ทำให้การพัฒนาด้านการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสม

        (3) เป็นประโยชน์ด้านความสงบเรียบร้อยของสังคม ในกรณีมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น เกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรม เจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองสามารถติดตามตัวบุคคลตามข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้อง

        3. กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ

        ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อได้เสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการอยากเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพอย่างรุนแรงตลอดเวลา เป็นต้น

        1) ประเภทของยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งยาเสพติดให้โทษออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

        (1) ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น แอมเฟตามีน (ยาบ้า) เฮโรอีน เป็นต้น

        (2) ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น โคคาอีน โคเดอีน เป็นต้น

        -----------------------------------102

        (3) ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา รวมทั้งมียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ ยาเม็ดตกเบ็ดซึ่งมีทิงเจอร์ ฝิ่น การบูรชนิดเข้มข้นเป็นส่วนผสม ยาแก้ไอน้ำเชื่อมซึ่งมีทิงเจอร์ ฝิ่น การบูรเป็นส่วนผสม

        (4) สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติลคลอไรด์ เป็นต้น

        (5) เสพติดให้โทษที่ไม่มีเข้าอยู่ในประเภท (1) ถึง (4) เช่น กัญชา พืชกระท่อม เป็นต้น

        2) ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ แบ่งลักษณะการทำผิดได้เป็น 5 ฐาน ดังนี้

        (1) ฐานผลิต นำเข้า ส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษ

        (2) ฐานจำหน่าย หรือมีไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ

        (3) ฐานมีไว้ในความครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ

        (4) ฐานเสพยาเสพติดให้โทษ

        (5) ฐานโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ

        3) ตัวอย่างโทษของผู้ที่กระทำความผิด กฎหมายยาเสพติดให้โทษ มีดังนี้

        (1) ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน (ยาบ้า) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท เป็นต้น

        (2) ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ไว้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธ์หรือมีจำนวนน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณตามที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        -----------------------------------103

        (3) ผู้ที่เสพยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        (4) ผู้ที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

        4) อันตรายของยาเสพติดให้โทษ มีดังนี้

        (1) ทำลายสุขภาพของผู้เสพ เพราะยาเสพติดส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางจึงทำให้การทำงานของแต่ระบบต่างๆภายในร่างกายเสื่อมลง ส่งผลให้สุขภาพทรุดโทรม มีความต้านทานโรคน้อย ติดเชื้อได้ง่าย

        (2) ส่งผลทำให้จิตใจผิดปกติ เมื่อมีความต้องการที่จะเสพยาหรืออาการอยากยา ส่งผลให้มีอาการคลุ้มคลั่งนำไปสู่กระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย

        ภาพ : ยาเสพติด เป็นยาอันตรายที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพขาดสติได้ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

        (3) ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการที่ระบบประสาทถูกทำลาย สมองมึนชาหรือมึนงง ขาดการตัดสินใจแก้ปัญหาเหตุการณ์เฉพาะหน้า เมื่อผู้ติดยาเสพติดขับขี่ยานพาหนะ ย่อมทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น

        5) ประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎหมายยาเสพติด มีดังนี้

        (1) มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะผู้ที่ไม่เสพยาเสพติดย่อมมีสุขภาพแข็งแรง ปฏิบัติหน้าที่หรือประกอบอาชีพให้เจริญก้าวหน้าได้

        -----------------------------------104

        (2) สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ตามปกติ และไม่เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น สามารถช่วยสังคมหรือพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        (3) ไม่ถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำผิดกฎหมายยาเสพติดซึ่งทำให้เสียประวัติ ส่งผลต่อการสมัครหรือประกอบอาชีพที่ดี หรือการมีส่วนในกิจกรรมทางการเมือง เช่น การสมัครรับเลือกเป็นผู้แทนในระดับต่างๆ เป็นต้น

        การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายเบื้อยงต้น ทำให้สามารถกล่าวได้ว่ากฎหมายมีความสำคัญในด้านการสร้างความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้นเราทุกคนจึงควรปฏิบัติกฎหมายอย่างเคร่งครัด

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า กฎหมายช่วยให้สังคมมีความสงบสุขได้หรือไม่ เพราะอะไร

        2. ถ้าคนในสังคมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะเกิดผลเสียอย่างไร

        3. นักเรียนคิดว่า ผู้ที่เสพยาเสพติดมีผลเสียต่อตนเอง ต่อสังคม และต่อประเทศอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

        1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันหาข่าวเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมายมาติดลงในสมุด แล้วเขียนสรุปประเด็นต่างๆ ที่กำหนดให้ จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        1) ใจความสำคัญของข่าว

        2) ผลของการกระทำที่เกิดขึ้น

        3) แนวทางในการแก้ไข

        2. เขียนอธิบายการแจ้งเกิด การแจ้งตาย การแจ้งย้ายออก หรือการแจ้งย้ายเข้า 1 หัวข้อโดยจัดทำลงในสมุด

        3. ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด และประโยชน์ของการมีกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ แล้วผลัดกันออกมาสรุปผลการอภิปราย

        -----------------------------------105

        4. เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ อบจ.อบต.

        ในการบริหารงานของเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเกิดความเป็นระเบียบ จึงได้มีเทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล มาบังคับใช้

        1) เทศบัญญัติ เป็นกฎหายที่มีการจัดทำโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาล เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ตราบัญญัติโดยต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย

        เทศบัญญัติที่เทศบาลส่วนใหญ่ออกมาใช้บังคับ ได้แก่

        (1) งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

        (2) การจัดเก็บภาษี

        (3) การควบคุมโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง

        (4) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ และปล่อยสัตว์เลี้ยง

        (5) การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

        (6) การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

        (7) การควบคุมแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลาย

        ภาพ : การป้องกันยุงลายและการป้องกันไฟไหม้ เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญ

        -----------------------------------106

        2) ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นกฎหมายที่ตราออกมาใช้บังคับในท้องถิ่น ซึ่งตราโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด

        องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย ได้แก่ ข้อบัญญัติเรื่องต่อไปนี้

        (1) การเก็บภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งจะเก็บจากสถานค้าปลีกในเขตจังหวัด

        (2) การเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการบริการสาธารณะที่จัดให้มีขึ้น เช่น ค่าบริการเก็บขยะ เป็นต้น

        3) ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลตราออกมาใช้บังคับในตำบลที่อยู่ในขอบเขตอำนาจโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย ได้แก่

        (1) การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

        (2) การจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะ

        (3) การกำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลาย

        4) ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมายส่วนท้องถิ่น การที่ประชาชนในท้องถิ่นปฏิบัติส่วนท้องถิ่นที่ตนอยู่นั้น ย่อมจะเกิดผลดีหรือเกิดประโยชน์ ดังนี้

        (1) การเสียภาษีบำรุงท้องถิ่นหรือการเสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามข้อบังคับของท้องถิ่น ย่อมทำให้ท้องถิ่นมีรายได้และมีงบประมาณในการพัฒนาในด้านต่างๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้า เช่น การคมนาคม สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สนามกีฬา เป็นต้น

        (2) ประชาชนได้รับบริการที่ดีจากท้องถิ่น ท้องถิ่นบางแห่งมีศักยภาพในด้านการบริการประชาชนทางด้านคุณภาพการศึกษา โดยสนับสนุนทางด้านบุคลากร อาคารสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนของท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีคุณภาพดี

        -----------------------------------107

        (3) การปฏิบัติตนตามกฎหมายส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด เลือกคนดีมีความรู้ความสามารถ ย่อมทำให้บุคคลดังกล่าวได้ใช้ความสามารถในการพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า

        คำถามจุดประกาย

        1. เพราะเหตุใดจึงต้องมีการกำหนดเทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ อบจ. และข้อบัญญัติ อบต. ขึ้นมาใช้ในท้องถิ่น

        2. ข้อบัญญัติ อบจ. แตกต่างจากข้อบัญญัติ อบต. อย่างไร

        3. ถ้าทุคนในท้องถิ่นปฏิบัติตนตามกฎหมายส่วนท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด จะเกิดผลดีต่อท้องถิ่นอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ4-5 คนให้สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ อบจ.อบต. จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วบันทึกผล จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่า การปฏิบัติตนตามกฎหมายมีประโยชน์อย่างไร และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมีโทษอย่างไร และบันทึกข้อมูล

        กิจกรรมรวบยอด

        1. เขียนบอกการปฏิบัติตามกฎหมายในชีวิตประจำวันของตนมาพอเข้าใจ และนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        2. เขียนแผนผังความคิดแสดงประโยชน์ของการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และโทษของการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้น จากนั้นผลัดกันออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. นักเรียนเคยปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอะไรบ้าง และเมื่อปฏิบัติแล้วผลดีต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร

        2. ถ้านักเรียนกำลังขี่รถจักรยาน นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น

        3. นักเรียนคิดว่า การที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการสาธิตการปฏิบัติตนเมื่อเกิดไฟไหม้ มีประโยชน์ต่อนักเรียน และคนในท้องถิ่นอย่างไร

        -----------------------------------108

            บทที่ 3 วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        ประเพณีสงกรานต์ในปัจจุบันแตกต่างจากในอดีตอย่างไร

        แนวคิดสำคัญ

        วัฒนธรรมเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน และจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น เราควรช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่คู่กับชาวไทยตลอดไป

        -----------------------------------109

        1 เรียนรู้วัฒนธรรม

        วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการที่มนุษย์สร้างขึ้น สั่งสมถ่ายทอดสืบต่อกันมา และยึดถือปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน

        1. ความสำคัญของวัฒนธรรม

        วัฒนธรรมไทย เป็นความเจริญงอกงามของคนไทยที่ได้สั่งสมปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และถ่ายทอดสืบต่อกันมาช้านาม และใช้เป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตของคนไทย

        คนไทยมีวัฒนธรรมของตนเอง เป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมายาวนาน วัฒนธรรมไทยมีความละเอียดอ่อน ประณีต เป็นรากฐานของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้คนในชาติมีความภาคภูมิใจในชาติของตน

        ภาพ : การแสดงท้องถิ่น เป็นวัฒนธรรมไทยอย่างหนึ่งที่คนไทยภาคภูมิใจ

        -----------------------------------110

        2. ประเภทของวัฒนธรรม

        เราสามารถแบ่งวัฒนธรรมออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

        ประเภทของวัฒนธรรม

        วัฒนธรรมทางวัตถุ สิ่งต่างๆ ที่คนสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น

        - อาคารบ้านเรือน

        - สิ่งของเครื่องใช้

        - ยานพาหนะ

        - สิ่งอำนวยความสะดวก

        ประเภทของวัฒนธรรม

        วัฒนธรรมที่ไม่มีวัตถุ แบบแผนในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม เช่น

        - ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม

        - จารีตประเพณี

        - ศีลธรรม

        - ภาษา

        ภาพ : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จัดเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุที่มีความงดงาม เป็นเอกลักษณ์ของชาติ

        ภาพ : การแสดงของท้องถิ่น จัดเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ ที่เป็นความภูมิใจของคนในชาติ

        -----------------------------------111

        3 การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม

        คนเราได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมขึ้นมาใช้ในการดำรงชีวิต และได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในแต่ละยุคสมัย วัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของคน จะถูกละเลยและไม่มีการนำมาใช้ เช่น การสร้างบ้านจากบ้านทรงไทยก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอาคารแบบตะวันตก การเดินทางโดยรถยนต์ เครื่องบิน แทนการเดินทางโดยสัตว์พาหนะ การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แทนโทรศัพท์มีสายหรือแทนการใช้จดหมาย การรับประทานอาหารด้วยช้อนแทนมือ การแต่งกายของชายหญิงจากชุดไทยมาเป็นแบบตะวันตก เป็นต้น

        ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมไทย

        ภาพ : คนไทยในยุคปัจจุบันนิยมแต่งกายด้วยชุดสากลมากขึ้น และแต่งชุดไทยในบางโอกาส

        จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการถ่ายโอนหรือการผสมผสานกับวัฒนธรรมอื่นๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม

        http://aksorn.com/lib/p/soc_02 (เรื่อง วัฒนธรรมของท้องถิ่น)

        -----------------------------------112

        ผลของเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่มีต่อสังคม เช่น

        (1) วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีเส้นทางการคมนาคมทางบก เช่น ถนนที่มีคุณภาพดีขึ้น ประชาชนก็นิยมใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะหรือขนส่งสินค้า เมื่อมีการผลิตเครื่องบินทีมี่ประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการคมนาคมทางอากาศสะดวกรวดเร็ว ประชาชนก็นิยมเดินทางโดยทางเครื่องบิน กิจการท่องเที่ยวก็เป็นที่นิยมมากขึ้น เส้นทางการคมนาคมสะดวกต่อการขนส่งสินค้าให้มีการติดต่อค้าขายกันได้ทั่วประเทศ ผลิตผลทางการเกษตรก็สามารถมีจำหน่ายทุกภาค เมื่อมีความสะดวกจากการใช้โทรศัพท์ ตลอดจนโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้การติดต่อการงานหรือธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปติดต่อกันด้วยตนเอง

        (2) การพัฒนาด้านการศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ มีการเรียนรู้ผ่านสื่อแขนงต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ทุกคนสามารถนำข้อมูลความรู้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตลอดทั้งยังเป็นพื้นฐานของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมาหากษัตริย์เป็นประมุข

        ภาพ : ประชานิยมเดินทางด้วยรถยนต์ เพราะสะดวกและรวดเร็ว

        ภาพ : นักเรียนสามารถค้นคว้าความรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

        -----------------------------------113

        (3) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว ทำให้เกิดการรวมตัวกันได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น จากการทีมีสื่อจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ทำให้รู้ข้อมูลอย่างรวดเร็ว เมื่อมีวิกฤติการณ์ต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ทุกคนรับรู้ข้อมูลอย่างรวดเร็วและร่วมมือช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที อีกทั้งมีการร่วมมือกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และการเลือกรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ เป็นต้น

        (4) สังคมมีความเป็นสากลมากขึ้น เพราะพฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป จากการที่ได้นำเอาวัฒนธรรมตะวันตกในส่วนที่ดีมาประยุกต์ใช้กับสังคมไทย เช่น มีวินัย ตรงต่อเวลา ใช้หลักเหตุและผลในการอยู่ร่วมกันมากขึ้น เป็นต้น

        (5) มีการพัฒนาด้านการประกอบอาชีพ เมื่อมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางด้านการรับเทคโนโลยี สามารถนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยมาพัฒนาอาชีพต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร การอุตสาหกรรมการประมง นำรายได้มาสู่สังคมและท้องถิ่นมากขึ้น

        ภาพ : การนำเครื่องสีข้าวมาใช้ ทำให้เกิดความรวดเร็วในการสีข้าว

        -----------------------------------114

        4. ความแต่งต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในสังคมไทย

        สังคมไทยแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างในด้านต่างๆ ดังนี้

        1) ความแตกต่างด้านภาษา ทั้งสำเนียง และคำศัพท์ เช่น

        มะละกอ

        - คนในท้องถิ่น ภาคกลาง  คำที่ใช้เรียก มะละกอ

        - คนในท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำที่ใช้เรียก หมากหุ่ง

        - คนในท้องถิ่น ภาคเหนือ คำที่ใช้เรียก มะก้วยเต้ด

        - คนในท้องถิ่น ภาคใต้ คำที่ใช้เรียก ลอกอ

        ฝรั่ง

        - คนในท้องถิ่น ภาคกลาง  คำที่ใช้เรียก ฝรั่ง

        - คนในท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำที่ใช้เรียก หมากสีดา

        - คนในท้องถิ่น ภาคเหนือ คำที่ใช้เรียก มะก้วยแก๋ว

        - คนในท้องถิ่น ภาคใต้ คำที่ใช้เรียก ชมพู่

        สับปะรด

        - คนในท้องถิ่น ภาคกลาง  คำที่ใช้เรียก สับปะรด

        - คนในท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำที่ใช้เรียก หมากนัด

        - คนในท้องถิ่น ภาคเหนือ คำที่ใช้เรียก มะขะนัด

        - คนในท้องถิ่น ภาคใต้ คำที่ใช้เรียก ยานัด

        น้อยหน่า

        - คนในท้องถิ่น ภาคกลาง  คำที่ใช้เรียก น้อยหน่า

        - คนในท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำที่ใช้เรียก หมากเขียบ

        - คนในท้องถิ่น ภาคเหนือ คำที่ใช้เรียก มะน้อแน้

        - คนในท้องถิ่น ภาคใต้ คำที่ใช้เรียก หน่อยน่า

        กล่าวได้ว่าคนไทยทุกคนใช้ภาษาไทย แต่สำเนียงแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาค และมีคำศัพท์ที่แตกต่างกันในบางคำ

        2) ความแตกต่างด้านภาษา คนไทยโดยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา มีบางส่วนนับถือศาสนาอื่นๆ เช่น อิสลาม คริสต์ เป็นต้น ซึ่งศาสนิกชนของแต่ละศาสนามีการประพฤติปฏิบัติตนเกี่ยวกับศาสนาที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามทุกคนก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข เพราะทุกศาสนานั้นสอนให้ศาสนิกชนของตนเป็นคนดีทั้งสิ้น

        -----------------------------------115

        3) ความแตกต่างในด้านการแต่งกาย คนไทยแต่ละภูมิภาคมีการแต่งกายแตกต่างกัน โดยจะแต่งชุดพื้นเมืองตามท้องถิ่นของตน เช่น คนภาคเหนือ คนภาคกลาง คนภาคใต้ คนภาคอีสาน มีการแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองต่างกัน หรือชาวพื้นเมืองอื่นๆ เช่น มอญ กะเหรี่ยง ย้อ เป็นต้น

        ภาพ : ชุดม่อฮ่อม เป็นชุดแต่งกายพื้นเมืองของชาวเหนือ

        4) ความแตกต่างกันทางด้านการละเล่นพื้นเมือง ภาคใต้มีการแสดงมโนห์รา หนังตะลุง รองเง็ง ภาคเหนือมีการฟ้อนเล็บ ฟ้อนเงี้ยว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการแสดงหมอลำ เซิ้ง ภาคกลางมีการแสดง ลำตัด กลองยาว

        5) ความแตกต่างด้านการกิน ในแต่งละท้องถิ่นมีการปรุงอาหารซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน โดยใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกัน และอาหารก็มีรสชาติแตกต่างกันตามรสนิยมของแต่ละภาค ได้แก่ ภาคเหนือมีอาหารประเภทน้ำพริกหนุ่ม แคบหมู ภาคกลางมีอาหารประเภทน้ำพริกปลาทู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอาหารประเภทส้มตำ ปลาร้า ภาคใต้มีอาหารประเภทแกงเหลือง แกงไตปลา

        ภาพ : ตัวอย่างอาหารภาคอีสาน

        ภาพ : ตัวอย่างอาหารภาคกลาง

        -----------------------------------116

        ภาพ : ตัวอย่างอาหารภาคเหนือ

        ภาพ : ตัวอย่างอาหารภาคใต้

        ประโยชน์ของความแตกต่างของวัฒนธรรมของสังคมต่างๆ

        สังคมต่างๆ มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ทำให้เกิดประโยชน์คุณค่า ดังนี้

        (1) เป็นเครื่องมือที่สำหรับยึดเหี่ยวจิตใจในการประพฤติปฏิบัติตามวัฒนธรรมของคนในสังคมกลุ่มเดียวกัน

        (2) เกิดความหลากหลายในการปฏิบัติ ทั้งภาษา การแต่งกาย ศาสนพิธี ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่างๆ

        (3) เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละสังคม เมื่อไปต่างถิ่นและพบบุคคลที่อยู่ในสังคม ในท้องถิ่น หรือในภาคเดียวกันกับตนเอง ทำให้เกิดความรักความเข้าใจ และช่วยเหลือกัน

        (4) ช่วยส่งเสริมผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

        ภาพ : การแต่งกาย เป็นวัฒนธรรมและเป็นเอกลักษณ์ของไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยภาคภูมิใจ

        คำถามจุดประกาย

        1. เพราะเหตุใดวัฒนธรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงได้

        2. เพราะเหตุใดในแต่ละท้องถิ่นจึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

        3. นักเรียนคิดว่า ความแตกต่างด้านการแต่งกายและด้านอาหารการกินมีความเกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศหรือไม่ เพราะอะไร

        -----------------------------------117

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

        1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน  ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาคในด้านต่างๆ (เช่น ด้านการกิน ด้านการแต่งกาย ด้านการพูดเป็นต้น) ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง แล้วบันทึกข้อมูล พร้อมทั้งติดภาพประกอบ จากนั้นออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        3. ร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่า การยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมของคนในภาคต่างๆ จะเกิดผลดีอย่างไรบ้าง แล้วบันทึกข้อมูลลงในสมุด

        2 มรรยาทไทย

        มรรยาท หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคม โดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ

        คนไทยมีมรรยาทที่พึ่งปฏิบัติเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ดังนี้

        1. การแสดงความเคารพ

        การแสดงความเคารพของไทย ได้แก่ การไหว้ และการกราบซึ่งมีรายละเอียดในการปฏิบัติที่แตกต่างกันไปตามฐานะ โอกาส บุคคลและสถานที่ เช่น การไหว้พระจะแสดงความนอบน้อม หรือควรก้มศีรษะมากที่สุด รองลงไปคือการไหว้ พ่อ แม่ ครู และญาติผู้ใหญ่

        ภาพ : การไหว้และการกราบผู้ใหญ่ ทำให้ได้รับความรักความเอ็นดูจากผู้ใหญ่

        -----------------------------------118

        การกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบโดยใช้อวัยวะทั้ง 5 จรดพื้น ได้แก่ เข่า 2 มือ 2 หน้าผาก 1 และกราบ 3 ครั้งในกรณีกราบผู้ใหญ่ คือ พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ผู้ใหญ่ที่เคารพ ให้กราบครั้งเดียวและไม่แบมือ

        ความรู้เสริม

        การกราบพระรัตนตรัยแบบเบญจางคประดิษฐ์ ชายจะนั่งท่าเทพบุตร หญิงนั่งท่าเทพธิดา และจะมีการปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอนโดยการทำอัญชลี (การประนมมือ) วันทา (การไหว้) และอภิวาท (การก้มลงกราบ)

        2. การยืน

        การยืนอย่างมีมรรยาทนั้น โดยทั่วไปมักจะยืนตรง เท้าชิด หน้าตั้งตรง ปล่อยมือไว้ข้างตัว แต่ถ้ายืนสนทนากับผู้ใหญ่ มือจะประสานกันอยู่ระดับเอว ค้อมตัวเล็กน้อย

        3. การเดิน

        การเดินอย่างมีมรรยาท คือ การเดินอย่างสำรวม ไม่เดินลงส้นให้เสียงดัง ถ้าเดินผ่านผู้ใหญ่ที่กำลังยืนอยู่ ควรปล่อยมือไว้ข้างลำตัวและค้อมตัวลงเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่

        4. การนั่ง

        การนั่งอย่างมีมรรยาท คือ การนั่งด้วยกิริยาสำรวม เช่นการนั่งพับเพียบ การนั่งคุกเข่า เป็นต้น

        5. การนอน

        การนอนเป็นการพักผ่อนร่างกายตามลำพัง ไม่มีพิธีการหรือระเบียบ แต่ควรคำนึงถึงความปลอดภัย

        6. การรับ-ส่งสิ่งของ

        มรรยาทในการรับและส่งสิ่งของ โดยทั่วไปเป็นการแสดงออกถึงการเคารพในขณะรับส่งสิ่งของ ซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น

        -----------------------------------119

        การรับของจากผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสมากที่นั่งเก้าอี้ ให้เดินเข่า หรือคลานเข้าไปใกล้ นั่งพับเพียบ กราบตั้งมือ 1 ครั้ง รับของมือเดียวข้างขวาถ้าผู้ใหญ่ของใหญ่ให้รับสองมือ แล้ววางของที่รับไว้ทางขาวมือ กราบตั้งมือ 1 ครั้งแล้วถ้าของเดินเข่าถอยกลับถ้าเป็นผู้ให้ที่อาวุโสน้อยใช้การไหว้แทนการกราบ

        การรับของจากผู้ใหญ่ที่กำลังยืน ให้เดินเข้าไปใกล้พอสมควรถ้าเป็นผู้ชายก้มตัวไหว้หรือคำนับ ถ้าเป็นผู้หญิงย่อตัวลงไหว้แล้วรับของทั้งสองมือหรือมือเดียว จากนั้นก้าวถอยหลังพอสมควรแล้วหันกลับ

        การรับของและส่งของให้ผู้ใหญ่อย่างไม่เป็นทางการ ทั้งชายและหญิงควรปฏิบัติด้วยอาการที่ไหว้ท่านก่อนแล้วจึงรับ เมื่อส่งของให้ท่านก็ส่งของก่อนแล้วจึงไหว้ท่านเมื่อจะลาท่านก็ให้ไหว้อีกครั้งหนึ่ง

        7. การรับประทานอาหาร

        การรับประทานอาหารโดยใช้ช้อนส้อม ให้ใช้มือขาวจับช้อนมือซ้ายจับส้อม วางแก้วน้ำไว้ด้านขวามือ ก่อนจะลงมือรับประทานอาหารให้ผู้อาวุโสที่อยู่ในโต๊ะลงมือตักอาหารก่อน ในขณะกำลังรับประทานอาหารควรเคี้ยวช้าๆ ไม่เสียงดังไม่มูมมาม ไม่คุยหรือหยอกล้อระหว่างรับประทานอาหาร และรับประทานอาหารให้หมดจาน

        ภาพ : การส่งของให้ผู้ใหญ่ ควรทำด้วยความนอบน้อม

        “ในการรับประทานอาหารถ้าเคี้ยวช้าๆ จะช่วยให้อาหารละเอียดทำให้ไม่ติดคอ และช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น

        -----------------------------------120

        8. การแสดงกิริยาอาการ ทาทักทาย การสนทนา และการใช้คำพูด

        ผู้ที่มีมรรยาทอันดีงามนั้นจะต้องรู้จักแสดงกิริยา ท่าทางให้เรียบร้อย การเคลื่อนไหวร่างกายไม่ลุกลี้ลุกลน กระโดกกระเดก การ ยืน เดิน นั่ง เป็นไปอย่างนุ่มนวลตามธรรมชาติ เวลาที่พบผู้ใหญ่ก็ควรแสดงกิริยานอบน้อม และแสดงความเคารพด้วยการไหว้ และจึงพูด “สวัสดีครับ” “สวัสดีค่ะ” แต่ถ้าเป็นเพื่อนก็ทักทายกันด้วยคำพูด เช่น “สวัสดีค่ะ” “สวัสดีครับ” ไม่ทักทายด้วยคำพูดหยาบคาย

        ภาพ : นักเรียนควรทำความเคารพคุณครูด้วยการไหว้อย่างนอบน้อม

        การสนทนากับบุคคลทุกเพศทุกวัยต้องใช้คำพูดที่เหมาะสม และมีคำลงท้ายว่า ครับ ครับผม ค่ะ ถ้าสนทนากับผู้ใหญ่จะต้องพูดจาให้สุภาพการสนทนากับเพื่อนต้องใช้คำพูดที่สุภาพ ไม่ใช้คำอุทานหยาบคาย พูดจาเสียดสี

        เราควรให้คำพูด ขอบใจ ขอบคุณ ขอบพระคุณ ต่อผู้มีน้ำใจต่อเรา ถ้าเป็นเพื่อนใช้คำว่า ขอบใจ หรือ ขอบคุณ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ควรใช้คำว่า ขอบพระคุณ และใช้คำพูดว่า ขอโทษ เมื่อได้ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เช่น ขอโทษเพื่อนเมื่อเดินชน หรือเมื่อเดินชนผู้ใหญ่ ก็ใช้คำพูดว่า ขอประทานโทษค่ะ หรือ ขอประทานโทษครับ พร้อมกับยกมือไหว้

        3 ประโยชน์และคุณค่าทางวัฒนธรรม

        วัฒนธรรมไทยมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยและสังคมไทย ได้แก่

        -----------------------------------121

        1. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น เมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประเพณี ซึ่งเป็นแบบแผนของสังคมที่ดีงาม ซึ่งเป็นกรอบของการอยู่ร่วมกันในสังคม หรือปฏิบัติตามกฎหมายก็ย่อมไม่เกิดข้อขัดแย้งกัน

        2. สร้างความบันเทิงใจให้แก่สมาชิกในสังคม เช่น วัฒนธรรมทางด้านการแสดงดนตรี การขับร้อง การฟ้องรำ ซึ่งจะทำให้ผู้ดู ผู้ชมมีความสนุกสนาน คลายความเครียด

        3. สร้างความสามัคคีกลมเกลียวระหว่างสมาชิกในแต่ละสังคม เช่น แต่ละภาคแต่ละท้องถิ่น จะมีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกันสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นต้น

        4. ทำให้สมาชิกในสังคมสามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจกันง่ายขึ้น โดยการใช้วัฒนธรรมทางภาษาเป็นสื่อกลาง ทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน เป็นพื้นฐานการพัฒนาประเทศ รวมทั้งข้อคิดจากงานวรรณคดี วรรณกรรมยังเป็นแนวทางที่สามารถทำไปประยุกต์ปฏิบัติตนในทางที่ดี

        5.ทำให้สมาชิกในสังคมมีหลักไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ เนื่องจากวัฒนธรรมด้านที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม เช่น พิธีกรรมทางศาสนา คำสอน ของศาสนา ทำให้สมาชิกในสังคมมีหลักสำหรับยึดเหี่ยวจิตใจ เช่น การปฏิบัติตนเป็นคนดี เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว สังคม ประเทศ เป็นต้น

        6. ทำให้สมาชิกในสังคมมีโอกาสในการประกอบอาชีพต่างๆ เพิ่มขึ้น วัฒนธรรมไทยบางอย่างส่ง-ผลดีต่อเศรษฐกิจของสังคม สร้างรายได้ให้แก่สมาชิกในสังคม เช่น การทอผ้าไหม การแกะสลักลวดลายบนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ การแสดงนาฏศิลป์ การแสดงดนตรี เป็นต้น

        ภาพ : นาฏศิลป์ เป็นศิลปะการแสดงที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยได้อย่างหนึ่ง

        -----------------------------------122

        4 แนวทางการดำรงรักษาวัฒนธรรมไทย

        ชาวไทยทุกคนล้วนมีหน้าที่สำคัญในการช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมและเนื่องจากวัฒนธรรมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จึงต้องร่วมมือกันดำรงรักษา วัฒนธรรมไทยอย่างเหมาะสม เช่น

        การดำรงรักษาวัฒนธรรมไทย

        1. ศึกษาความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง เช่น การใช้ภาษาไทย การแสดงความเคารพ การร่วมกิจกรรมประเพณีไทยในโอกาสต่างๆ และปฏิบัติอย่างเหมาะสม เช่น ประเพณีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

        2. ใช้สินค้าที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น การใช้ผ้าไทย ผ้าไหมไทย เครื่องปั้นดินเผาลายไทย เครื่องจักสานไทย เป็นต้น

        3. เมื่อค้นพบวัตถุที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น โบราณวัตถุจำพวกเศษกระเบื้อง ถ้วยชาม เป็นต้น ควรมอบแก่ทางราชการ

        4. เผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่แพร่หลายทั้งต่อคนไทย และชาวต่างชาติ และต้องให้ข้อมูลทางวัฒนธรรมไทยอย่างถูกต้อง

        5. เลือกรับวัฒนธรรมสากลที่ดีมาประยุกต์กับวัฒนธรรมไทยอย่างเหมาะสม เช่น ความตรงต่อเวลา การมีวินัย ซึ่งสามารถนำไปใช้กับการติดต่อสมาคมหรือการทำธุรกิจระหว่างกัน ส่งผลให้งานเกิดประสิทธิภาพ

        6. ร่วมมือกันดูแลรักษาโบราณวัตถุ โบราณสถาน และสิ่งที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาติ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์

        7. ส่งเสริมให้เยาวชนไทยเห็นคุณค่าและเกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย

        -----------------------------------123

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า มรรยาทไทยกับมรรยาทตะวันตกมีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร

        2. ผู้ที่มีมรรยาทดีงาม ควรมีลักษณะอย่างไร

        3. นักเรียนคิดว่า วัฒนธรรมไทยมีประโยชน์ต่อคนไทยอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับมรรยาทไทยตามที่ได้เรียนมา

        2. เขียนเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ตนปฏิบัติลงในสมุด และนำมาอ่านให้เพื่อนฟังที่หน้าชั้น

        กิจกรรมรวบยอด

        1. เขียนอธิบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย (การแต่งกาย การทักทาย การใช้ภาษา การรับประทานอาหาร การใช้สิ่งอำนวยความสะดวก) ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง แล้วออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        2.บอกวิธีปฏิบัติตนตามมรรยาทไทย และคุณค่าของมรรยาทไทย โดยจัดทำลงในสมุด จากนั้นนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        3. เขียนอธิบายคุณค่าของวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนมาพอเข้าใจ โดนจักทำลงในสมุด จากนั้นนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        4. แบ่งกลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นกลุ่มละ 2 วัฒนธรรม และนำมาเปรียบเทียบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร พร้อมกับติดภาพประกอบเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจน จากนั้นนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. ในชุมชนของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างไร แล้วการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลต่อตัวนักเรียนและชุมชนอย่างไร

        2. เมื่อนักเรียนปฏิบัติตามมรรยาทไทยได้อย่างถูกต้อง จะเกิดผลดีต่อตนเองอย่างไร

        3. นักเรียนจะมีวิธีช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอย่างไร เพื่อไม่ให้วัฒนธรรมไทยที่ดีงามสูญหายไป

        -----------------------------------124

            บทที่ 4 ข้อมูล ข่าวสาร และเหตุการณ์

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        ข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ มีผลต่อการดำเนินชีวิตของเราหรือไม่ เพราะเหตุใด

        แนวคิดสำคัญ

        การรับฟังและเหตุการณ์อย่างมีวิจารณญาณ จะช่วยให้เราทราบความเป็นไปและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราตรงตามความเป็นจริง

        -----------------------------------125

        1 ข้อมูล ข่าว และเหตุการณ์ต่างๆ

        การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน เราจำเป็นจะต้องได้รับทราบข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งในปัจจุบันได้มีความเจริญด้านเทคโนโลยีอย่างมาก ข้อมูลข่าวสารต่างๆจะสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกันจนมีคำกล่าวที่ว่า “โลกไร้พรมแดนด้านข้อมูลข่าวสาร”

        ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง

        ข่าว หมายถึง คำบอกเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนเรื่องราวที่สำคัญและน่าสนใจ

        เหตุการณ์ หมายถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง อาจมีความสำคัญหรือไม่มีความสำคัญก็ได้

        2 แหล่งข่าวและเหตุการณ์

        แหล่งข่าวและเหตุการณ์มีที่มาหลายทาง ดังนี้

        1. ข่าวและเหตุการณ์มีที่มาหลายทาง ดังนี้

        ข่าวและเหตุการณ์ต่างๆ ที่พบเห็นเองในท้องถิ่น เช่น ข่าวฝนตก น้ำท่วม อาชญากรรม อุบัติเหตุๆ เป็นต้น

        2. ข่าวและเหตุการณ์ที่มาจากการบอกเล่าของผู้อื่น

        ข่าวและเหตุการณ์ที่มาจากการบอกเล่าของผู้อื่น คือ มีผู้มาบอกให้ฟังถึงเรื่องราวต่างๆ เป็นการรับฟังมาอีกต่อหนึ่ง ผู้รับข่าวไม่ได้มีการพบเห็นด้วยตนเอง เช่น มีคนบอกว่าเกิดไฟไหม้ตรงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่เป็นจริง ดังนั้น จึงควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนที่จะเชื่อ

        “การฟังข่าวต่างๆ จากการบอกเล่า ควรพิจารณาไตร่ตรองและตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนที่จะเชื่อข้อมูลเหล่านั้นนะคะ”

        -----------------------------------126

        3. ข่าวจากวิทยุและโทรทัศน์

        ข่าวที่ได้จากการฟังเสียงและดูภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวที่เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะข่าวจากโทรทัศน์ที่เราได้เห็นทั้งภาพของข่าวและได้ฟังเสียงด้วย จึงทำให้เข้าใจข้อเท็จจริงของข่าวชัดเจน

        4. ข่าวจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และเอกสาร เป็นข่าวที่เราได้รับจากการอ่าน ซึ่งเป็นการถ่ายทอดข่าวจากนักข่าว ผู้เขียน ฉะนั้นเราจึงควรตรวจสอบข่าวจากแหล่งข่าวอื่นๆ ด้วย หรือตรวจสอบจากหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ

        ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ วารสาร และเอกสาร จะเป็นข่าวที่สามารถตัด หรือเก็บรวบรวมเอาไว้เพื่อศึกษาต่อไปได้ ซึ่งจะมีข่าวต่างๆอยู่มากมาย เช่น ข่าวเกี่ยวกับการศึกษา ธุรกิจ อาชญากรรม การเมือง เกษตร สุขภาพ กีฬา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารคดีต่างๆ เป็นต้น

        หนังสือพิมพ์ วารสารและเอกสารแต่ละฉบับ แต่ละกลุ่ม จะมีจุดเด่นในการนำเสนอข้อมูลต่างๆที่แตกต่างกัน บางฉบับบางเล่มจะเน้นเกี่ยวกับธุรกิจ บางฉบับบางเล่มจะเน้นเกี่ยวกับบันเทิง บางฉบับบางเล่มจะเน้นเกี่ยวกับกีฬา เป็นต้น

        ความรู้เสริม

        หนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่จัดทำขึ้นโดยคนไทย คือ ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีพระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์บรรณาธิการออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2400

        ภาพ : ข่าวสารหนังสือพิมพ์ที่เน้นเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ

        http://www.aksorn.com/lib/p/soc_02  (เรื่อง การเลือกใช้ข้อมูลข่าวสาร)

        -----------------------------------127

        5. ข่าวจากคอมพิวเตอร์

        ข่าวจากคอมพิวเตอร์มีที่มาจากแหล่งข่าวหลายแหล่ง เช่น

        1) เว็บไซต์ เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย และมีข่าวสารที่หลากหลาย เช่น ข่าวด้านการศึกษาของหน่วยงานต่างๆ การซื้อขายสินค้าการแลกเปลี่ยนสินค้าของร้านค้า ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

        2) อีเมล์ เป็นแหล่งข้อมูลของบุคคลต่างๆ ที่มีรหัสผ่านส่วนตัวสามารถติดต่อส่งข่าวสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วผ่านทางคอมพิวเตอร์

        6. ข่าวจากโทรศัพท์

        โทรศัพท์เป็นแหล่งข้อมูลที่คนเราสามารถใช้ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ด้วยการสนทนาพูดคุยหรือซักถามข้อมูลข่าวสารที่สนใจ นอกจากนี้ยังสามารถรับข่าวสารที่เป็นข้อความข่าวสั้นๆ ที่เรียกว่า smsได้อีกด้วย

        7. จดหมายเหตุ

        จดหมายเหตุเป็นการบันทึกหรือการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยผู้บันทึกอาจเป็นส่วนราชการ รัฐวิสากิจ หรือบุคคลทั่วไปก็ได้ จดหมายเหตุเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีคุณค่า และประโยชน์ทางการศึกษาของคนรุ่นหลัง

        จดหมายเหตุส่วนมากจะเป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ ของบ้านเมือง วิถีชีวิตความเป็นอยู่และปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจดหมายเหตุเหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในหอจดหมายเหตุ

        ภาพ : ข้อความข่าวสั้นจากโทรศัพท์

        ความรู้เสริม

        หอจดหมายเหตุ เป็นสถานที่ที่เก็บรักษาและให้บริการเกี่ยวกับเอกสารจดหมายเหตุที่บันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น ในประเทศไทยหอจดหมายเหตุมีหลายแห่งตามจังหวัดต่างๆ แต่หอจดหมายที่เป็นศูนย์กลางของประเทศ คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

        -----------------------------------128

        คำถามจุดประกาย

        1. การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เราสามารถรับรู้ได้จากแหล่งใดบ้าง

        2. นักเรียนคิดว่า แหล่งข้อมูลข่าวสารจากหนังสือพิมพ์มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะอะไร

        3. นักเรียนคิดว่า แหล่งข้อมูลใดจะให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด เพราะอะไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

        1. ให้นำข่าวหรือเหตุการณ์ที่ตนพบเห็น หรือได้ยินได้ฟังจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือ จากการบอกเล่า  จากคนอื่นมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มหาข่าวที่กลุ่มสนใจ 1 ข่าว จากแหล่งข้อมูลต่างๆ จากนั้นบันทึกข้อมูลตามประเด็นต่างๆ ที่กำหนดให้ และผลัดกันออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        1) แหล่งข้อมูล

        2) ใจความสำคัญของข่าว

        3) ข้อเท็จจริงของข่าว

        4) ข้อคิดเห็นจากข่าว

        5) ประโยชน์ของข่าว

        3 ประโยชน์จากการติดตามข้อมูล ข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ

        การติดตามข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆ มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

        1. ทำให้เราทราบถึงความเคลื่อนไหว เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ข่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพกินฟ้าอากาศภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้สามารถป้องกันภัยได้ทัน หรือข่าวการแพร่ระบาดของโรค เพื่อเตรียมป้องกันตัวได้ทัน เป็นต้น

        2. ช่วยในการตัดสินใจอย่างถูกต้อง เช่น ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้เราสามารถตัดสินใจเรื่องการใช้จ่ายได้ถูกต้อง เป็นต้น

        3. ทำให้ได้ข้อคิดที่ดีในการปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น ตัวอย่างบุคคลที่กระทำประโยชน์ให้แก่สังคม การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การทำความดี ซึ่งจะส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

        http://www.aksorn.com/lib/p/soc_2  (เรื่อง ประโยชน์ของข้อมูลข่าวสาร)

        -----------------------------------129

        4. ทำให้มีความรอบรู้ในแหล่งที่มีคุณค่าทางด้านต่างๆ รอบโลก เช่นด้านวัฒนธรรม แหล่งอารยธรรมสำคัญของดินแดนต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์ชาติ และเป็นมรดกสำคัญของโลก การเรียนรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของดินแดนดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน

        5. ทำให้ทราบความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีของโลก และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น การส่งดาวเทียมสำรวจสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากร การค้นพบงานวิจัยใหม่ทางวงการแพทย์ การค้นพบแหล่งพลังงาน เป็นต้น

        4 หลักการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ

        จากการที่มีข้อมูลหลายแหล่ง และจำนวนมาก จึงจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องเลือกใช้ข้อมูลให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันความผิดพลาด โดยมีหลักการ ดังนี้

        1. ข้อมูลข่าวสารต้องเป็นข้อมูลปัจจุบันและทันสมัย เพราะข้อมูลข่าวสารบางชนิดถ้าหากว่าล้าสมัยอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อการกำเนินการได้ เช่น นักธุรกิจจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนดำเนินกิจการต่างๆ เป็นต้น

        2. ต้องเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานของทางราชการ ข่าวจากโทรทัศน์ เป็นต้น รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเชื่อถือข่าวโคมลอยที่มีแหล่งที่มาไม่ชัดเจน เพราะไม่สามารถนำไปอ้างอิงข้อมูลได้

        3. ศึกษาข้อมูลข่าวสารเรื่องเดียวกันจากหลายแหล่ง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

        4. เลือกใช้ข้อมูลข่าวสารที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต เช่น ข่าวการศึกษา ข่าวกีฬา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

        -----------------------------------130

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า การติดตามข้อมูลข่าวสารเป็นประจำมีประโยชน์อย่างไร

        2. นักเรียนคิดว่า ข่าวสารจากเว็บไซต์ต่างๆ น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะอะไร

        3. การรับข้อมูลข่าวสารโดยเชื่อจากทุกแหล่ง จะส่งผลดีหรือผลเสียอย่างไรต่อผู้รับข่าวสาร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1. ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน จากนั้นครูนำข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาเล่าให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกันคิดวิเคราะห์ว่า การรับฟังข่าวนี้มีประโยชน์อย่างไร

        2. ให้นักเรียนเขียนแผนภูมิแสดงขั้นตอนปฏิบัติตนเมื่อได้รับข่าวและเหตุการณ์ตามที่ได้เรียนมาลงในสมุด แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ข่าวหรือเหตุการณ์จากหนังสือพิมพ์ 1 ข่าว ตามหัวข้อที่กำหนดให้แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        1) หัวข้อข่าว

        2) เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

        3) ผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

        4) ประโยชน์จากการอ่านข่าวนี้

        2. เขียนสรุปการปฏิบัติตนเมื่อรับฟังข่าวสารและเหตุการณ์มาพอเข้าใจ และนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. นักเรียนรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งใดมากที่สุด เพราะอะไร

        2. เมื่อนักเรียนทราบข้อมูลข่าวสารจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง นักเรียนควรเชื่อทันทีหรือไม่ เพราะอะไร

        3. นักเรียนคิดว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องใดที่เป็นประโยชน์ต่อตัวนักเรียนมากที่สุด เพราะอะไร

        -----------------------------------131

            หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์

        เป้าหมายการเรียนรู้ประจำหน่วยที่ 3

        เมื่อเรียนจบหน่วยนี้ ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถต่อไปนี้

        1. อธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ (มฐ. ส 3.1 ป.6/1)

        2. อธิบายบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่ากัน (มฐ. ส 3.1 ป.6/2)

        3. บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มฐ. ส 3.1 ป.6/3)

        4. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาล (มฐ. ส 3.2 ป.6/1)

        5. ยกตัวอย่างการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น (มฐ. ส 3.2 ป.6/2)

        -----------------------------------132

            บทที่ 1 ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        ภาพ : ผู้หญิงคนหนึ่งกำลังเลือกซื้อของ

        จากภาพน่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้บริโภคสังเกตได้จากสิ่งใด

        แนวคิดสำคัญ

        มนุษย์เราย่อมอยู่ในฐานะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในขณะเดียวกัน อันเนื่องมาจากคนเราไม่สามารถที่จะผลิตสินค้าและบริการมาสนองความต้องการของตนเองได้ทุกอย่าง ดังนั้นในระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ และบทบาทของผู้บริโภคที่มีความรู้เท่าทัน เป็นสิ่งสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด

        -----------------------------------133

        1 บทบาทของผู้ผลิต

        มนุษย์ทุกคนมีความต้องการสินค้าและบริการ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน การได้มาซึ่งสินค้าและบริการจะต้องอาศัยผู้ผลิตทำให้เกิดเป็นสินค้าและบริการต่างๆ ขึ้นมา ดังนั้นผู้ผลิตจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ

        ผู้ผลิต หมายถึง ผู้ที่นำเอาทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน มาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการ เพื่อสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยมีกำไรเป็นสิ่งตอบแทนในการผลิต

        1. บทบาทและหน้าที่ของผู้ผลิตในระบบเศรษฐกิจ

        ผู้ผลิตมีบทบาทและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

        บทบาทและหน้าที่ของผู้ผลิต

        1) เป็นผู้นำทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยการผลิตมาแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่า ทำให้เกิดสินค้าและบริการขึ้นมา

        2) เป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการชนิดใดจะผลิตอย่างไร และจะนำสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นไปจำหน่าย

        3) เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ

        4) เป็นผู้ที่กระจายสินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับความสะดวกสบายในการซื้อขายสินค้าและบริการ

        -----------------------------------134

        2. ความสำคัญของผู้ผลิตที่มีคุณภาพ

        ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ผลิตในปัจจุบัน คือ การขาดแคลนทรัพยากรที่เป็นปัจจัยในการผลิต ทำให้ผลิตสินค้าได้น้อยลง นอกจากนี้สภาพสังคมในปัจจุบันยังเป็นสังคมแบบผู้บริโภคเป็นผู้กำหนด กล่าวคือผู้บริโภคจะเป็นผู้กำหนดว่าสินค้าใดที่ตนควรจะซื้อหรือไม่ควรซื้อ จึงส่งผลต่อผู้ผลิตว่าควรจะผลิตสินค้าชนิดนั้นหรือไม่ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการใดนั้นก็คือ คุณภาพของสินค้าและบริการนั้นๆ

        ดังนั้น ผู้ผลิตที่ขายสินค้าและบริการได้ดีเป็นเวลายาวนาน จึงเป็นผู้ผลิตที่สามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเสมอ และมีความซื้อสัตย์ จนเป็นที่น่าเชื่อถือของผู้บริโภค

        3. บทบาทของผู้ผลิตที่มีคุณภาพ

        บทบาทของผู้ที่มีคุณภาพ  คือ ผู้ผลิตจะต้องมีคุณธรรมในการดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ โดยต้องมีความรับผิดชอบหรือคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคพึงจะได้รับ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ด้วยการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ดังนั้น ผู้ผลิตที่มีคุณภาพจึงต้องมีคุณธรรม ดังนี้

        ภาพ : สินค้าที่มีคุณภาพต้องผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกสุขอนามัย เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

        ภาพ : ผู้ผลิตที่มีคุณธรรมจะผลิตสินค้าที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

        -----------------------------------135

        1) คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การผลิตสินค้าและบริการ ผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ผลิตสินค้าที่ทำจากไม้ ควรมีการปลูกป่าทดแทนไม้ที่นำไปใช้ ผู้ผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายควรใช้สีจากธรรมชาติมาผสมอาหารโรงงานอุตสาหกรรมควรมีการบำบัดน้ำเสียก่อนที่ระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำ

        ภาพ: การนำเอาขยะมาผลิตเป็นสินค้าใหม่ ช่วยทำให้ลดปัญหาขยะ เป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

        2) มีความซื่อตรงซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค ในการชั่ง ตวง วัด หรือการกำหนดราคาสินค้าและบริการผู้ผลิตต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่คิดเอาเปรียบผู้บริโภค เพราะจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความไว้วางใจในสินค้าและบริการของตน และไม่เปลี่ยนไปบริโภคสินค้าและบริการของผู้ผลิตรายอื่นๆ แทน

        ภาพ : การติดราคาจำหน่ายสินค้าให้เห็นอย่างชัดเจนช่วยสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค

        3) มีจิตสำนึกที่ดีในการผลิตสินค้าและบริการ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค เช่น ผู้ผลิตอาหารต้องไม่ใช้สารสังเคราะห์ประเภทสารเนื้อแดง สารกันบูด สารฟอกสี หรือการใช้สีสังเคราะห์ผสมในอาหาร เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค

        “เมื่อผู้ผลิตมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกที่ดีต่อผู้บริโภคจะทำให้สินค้าที่ผลิตมีความปลอดภัยมากขึ้น”

        -----------------------------------136

        4) มีจรรยาบรรณและรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม เช่น ผู้ผลิตไม่โฆษณาสรรพคุณของสินค้าและบริการที่เกิดความเป็นจริง ไม่ปลอมปนสินค้า หรือไม่นำสินค้าที่หมดอายุมาจำหน่าย ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคเสียทรัพย์สินโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น

        นอกจากนี้ ผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบต่อสินค้าที่ตนเป็นผู้ผลิต เช่น ชดใช้ค่าเสียหายเมื่อผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้สินค้าของตน หรือยอมให้นำสินค้ามาเปลี่ยนใหม่เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าไปแล้วเกิดชำรุด อันเนื่องมาจากสินค้าเหล่านั้นด้อยคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด เป็นต้น

        5) มีการวางแผนก่อนเริ่มลงมือทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ก่อนจะผลิตสินค้าและบริการในแต่ละครั้ง ผู้ผลิตที่มีคุณภาพจะต้องมีการศึกษาสำรวจ วิจัยความต้องการของผู้บริโภคก่อนเสมอ เพื่อให้การผลิตสินค้าและการบริการสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายและจะทำให้ลดความเสี่ยงเรื่องการขายสินค้าไม่ได้

        ภาพ : การทำวิจัยคุณภาพของสินค้าก่อนนำมาจำหน่าย ทำให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

        -----------------------------------137

        6) มีทัศนคติที่ดีในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลคือ การนำทัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้อย่างคุ้มค่า และให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

        ในการผลิตสินค้าและบริการบางอย่าง อาจจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า เช่น ไม่ผลิตสินค้าและบริการเกิดความจำเป็น นำสิ่งที่ไม่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการแปรสภาพ เช่น การหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่ และนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรและเวลา เลือกใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อช่วยประหยัดต้นทุน เป็นต้น

        กล่าวโดยสรุป ผู้ผลิตที่มีคุณภาพ คือ ผู้ผลิตที่มีคุณธรรม ผลิตสินค้าและบริการที่มีประโยชน์ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สินค้าและบริการที่ผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีความรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมกันด้วย

        ภาพ : การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการผลิตทำให้ผลิตสินค้าได้รวดเร็ว และมีคุณภาพได้มาตรฐานยิ่งขึ้น

        4. ประโยชน์ของการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ

        การที่ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ จะทำให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนี้

        1) ทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่ดี มีประโยชน์และเหมาะสมกับเงินที่จ่ายไป

        -----------------------------------138

        2) ทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย เพราะบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ

        3) ทำให้ผู้บริโภคนั้นเกิดความเชื่อถือในสินค้าและบริการจึงทำให้สินค้าและบริการชนิดนั้นขายต่อไปได้อีกนาน ซึ่งมีผลทำให้ผู้ผลิตสามารถขายสินค้าและบริการได้โดยไม่มีความเสี่ยง

        4) ทำให้ทรัพยากรในการผลิตต่อไปอย่างยั่งยืน

        5) ช่วยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า ผู้ผลิตที่มีคุณภาพควรมีสมบัติอย่างไร

        2. ถ้าผู้ผลิตมีการวางแผนก่อนที่จะทำการผลิตสินค้า จะส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างไร

        3. ถ้าผู้ผลิตคิดถึงผลกำไรมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงผู้บริโภค จะส่งผลต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

        1. จัดกิจกรรมโครงการตลาดนัดแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการประจำเดือน โดยให้นำสิ่งของที่ตนเองผลิตได้เองหรือสิ่งของที่ตนเองเลือกใช้หรือไม่ต้องการใช้แล้ว นำมาแลกกับสินค้าและบริการของคนอื่นๆ โดยกำหนดมูลค่าสิ่งของจากความพึงพอใจของแต่ละคน

        2. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 10 คนให้แต่ละกลุ่มเสนอโครงการผลิตสินค้าขึ้นมา 1 ผลิตภัณฑ์ และให้แต่ละกลุ่มออกมาอธิบายวิธีการ ขั้นตอน ที่จะทำให้สินค้าของกลุ่มคนเองสามารถขายได้ดี ทำให้ผู้บริโภคพึงพอใจ รวมทั้งเป็นสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

        -----------------------------------139

        2 บทบาทของผู้บริโภค

        การบริโภค หมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการใดๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น การรับประทานอาหาร การซื้ออุปกรณ์การเรียน การตัดผม เป็นต้น

        ดังนั้น ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ที่ตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการต่างๆเพื่อนำไปใช้ตามความต้องการของตนเอง เช่น ผู้ที่รับประทานอาหารผู้ซื้ออุปกรณ์การเรียน ลูกค้าร้านตัดผม เป็นต้น

        1. บทบาทของผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจ

        ผู้บริโภคที่บทบาทที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ ดังนี้

        1) เป็นผู้ชี้นำให้เกิดการผลิต พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคและความต้องการของผู้บริโภค เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าขึ้นมาขาย ให้สอดคล้องหรือตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด

        2) เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้จ่ายเงินที่ตนเองหามาได้อย่างไร ซึ่งผู้บริโภคต้องพิจารณาว่าเงินที่หามาได้จะใช้ประโยชน์อะไรบ้าง เช่น นำไปซื้อสินค้าและบริการ เก็บออมเงิน นำเงินไปลงทุน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป

        ภาพ : ผู้บริโภคต้องเลือกซื้อสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตนเอง และพิจารณาคุณภาพของสินค้าให้คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

        -----------------------------------140

        2. คุณสมบัติของผู้บริโภคที่ดี

        ปัจจุบันมีสินค้าและบริการให้เลือกซื้อเลือกใช้มากมายหลายชนิดผู้บริโภคที่ดีต้องรู้จักเลือกซื้อสินค้าและบริการอย่างชาญฉลาด คือ จะต้องมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อ มีความรอบครอบ ระมัดระวัง เพื่อให้ตนเองปลอดภัยจากสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ รวมทั้งช่วยประหยัดเงิน และได้รับประโยชน์จากการซื้อสินค้าและบริการนั้นมาใช้มากที่สุด

        ดังนั้น ผู้บริโภคที่ดีควรมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

        1) มีการวางแผนก่อนการเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการ เช่น ผู้บริโภคควรรู้ว่าจำเป็นจะต้องซื้อสินค้าชนิดใด มีจำนวนเงินสำหรับใช้ซื้อสินค้าและบริการที่จำเป็นอยู่เท่าไร เป็นต้น

        “เอ! ถ้าเรามีเงินอยู่ 50 บาท จะเอาไปซื้ออะไรดีนะ…”

        2) เลือกซื้อสินค้าและบริการตามหลักการเลือกซื้อ ได้แก่

        (1) หลักความจำเป็น ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นหรือความสำคัญของการนำสินค้านั้นๆ มาใช้ เช่น ถ้าต้องเลือกซื้ออาหารกับเสื้อผ้าชุดใหม่ ต้องเลือกซื้อสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเป็นอันดับแรก เป็นต้น

        (2) หลักการมีประโยชน์ ต้องพิจารณาถึงคุณประโยชน์ของสินค้าและบริการที่เราได้รับ เช่น ระหว่างซื้อนมสดกับน้ำอัดลม นักเรียนควรเลือกซื้อนมสด เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นต้น

        (3) หลักความประหยัด ต้องตรวจสอบปริมาณและราคาว่ามีความยุติธรรมหรือไม่ โดนเฉพาะสินค้าชนิดเดียวกัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น ถ้ามีคุณภาพเหมือนกัน ควรเลือกยี่ห้อที่ราคาถูกกว่า

        -----------------------------------141

        3) สำรวจสินค้าและบริการจากหลายๆ ร้านก่อนซื้อ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบราคา ปริมาณ และคุณภาพสินค้า ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ผู้บริโภคควรเลือกสำรวจในแหล่งที่สินค้าและบริการนั้นมีขายอยู่มาก เพราะช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทางด้วย

        4) ไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้าและบริการ ผู้บริโภคต้องศึกษาเงื่อนไขหรือรายละเอียดอื่นๆ ของสินค้าและบริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ในการโฆษณา เนื่องจากการโฆษณาสินค้าและบริการของผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ จะมีการเสนอแต่ข้อดีและเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคส่วนข้อเสียมักจะไม่กล่าวถึง จึงจำเป็นที่ผู้บริโภคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากการสอบถามผู้ขาย หรือบริษัทผู้ผลิตก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการนั้น

        5) แจ้งข้อมูลเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้า หากผู้บริโภคมีความสงสัยว่าสินค้าใดจะมีคุณภาพและปริมาณตามที่ระบุไว้บนฉลากของสินค้าหรือไม่ ให้ผู้บริโภคแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าได้สินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณตรงตามที่ระบุ

        “ถ้าผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อหรือการใช้สินค้าและบริการ สามารถร้องเรียนไปที่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการคุ้มครองผู้บริโภคได้ ตัวอย่างเช่น

        - สายด่วน อย. 1556 แจ้งข้อมูลและร้องเรียนเมื่อพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

        - สายด่วน สคบ.1166 แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ที่เกิดจากการกระทำของผู้ประกอบการธุรกิจ หรือถูกเอารัดเอาเปรียบหรือได้รับอันตรายจากสินค้าและบริการ”

        -----------------------------------142

        3. พฤติกรรมที่บกพร่องในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ

        การบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ผู้บริโภคควรเลือกสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ แต่ปัจจุบันการดำรงชีวิตของคนในสังคมได้เปลี่ยนไปจากเดิม และประกอบกับความต้องการสินค้าและบริการที่มีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคบางรายอาจมีพฤติกรรมเลือกบริโภคที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อตัวผู้บริโภคเอง

        พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มักจะบกพร่องในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ มีดังนี้

        1) ขาดความรู้เกี่ยวกับสินค้าและบริการ ซึ่งจะทำให้บริโภคเสียประโยชน์ เช่น ต้องซื้อสินค้าในราคาแพงกว่าปกติ หรือได้สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานมาใช้

        2) ใช้จ่ายเงินเกินฐานะหรือรายรับของตน ซึ่งจะทำให้เกิดหนี้สินเช่น มีเงินอยู่ 500 บาท แต่ต้องซื้อของราคา 1,000 บาท แล้วไปหยิบยืมเงินของผู้อื่นมาซื้อของที่ต้องการ จึงทำให้เกิดหนี้สิน เป็นต้น

        3) หลงเชื่อคำโฆษณา ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ ตามคำโฆษณา ทั้งที่เรายังไม่มีความต้องการหรือต้องใช้ประโยชน์จากสินค้าเหล่านั้น ทำให้เราได้ประโยชน์จากการใช้สินค้าและบริการเหล่านั้นไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป

        “ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ เราควรตัดสินใจซื้อในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เพราะจะได้ช่วยประหยัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย”

        4. ประโยชน์ของการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างรู้เท่าทัน

        การซื้อสินค้าและบริการเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องตัดสินใจเลือกดังนั้น ผู้บริโภคที่มีความรู้เท่าทันในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ทำให้ได้รับสินค้าและบริการที่มีประโยชน์และคุ้มค่ากับเงินที่ใช้ไป

        -----------------------------------143

        ประโยชน์ของการบริโภคอย่างรู้เท่าทัน มีดังนี้

        1) ทำให้ได้รับสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน และมีประโยชน์ต่อตนเอง เช่น การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐาน ทำให้ได้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพดี การซื้อสินค้าบริโภคที่มีเครื่องหมาย อย. ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้านั้นมีความปลอดภัยในการบริโภค เป็นต้น

        2) ทำให้ได้รับความปลอดภัยจากการกินหรือการใช้สินค้าและบริการนั้นๆ โดยผู้บริโภคควรดูฉลาก ส่วนผสม ข้อควรระวัง รวมทั้งวันหมดอายุของสินค้าทุกครั้งก่อนเลือกซื้อ

        3) ช่วยประหยัดรายจ่ายของตนเองและครอบครัว โดยผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับเงินที่ไว้วางแผนใช้จ่ายเอาไว้

        4) ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตขายสินค้าได้ เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจในการเลือกซื้อหรือเลือกใช้สินค้าเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง

        5) ช่วยลดปัญหาสังคม เช่น ถ้าผู้บริโภครู้จักวางแผนใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ย่อมจะทำให้ไม่เกิดปัญหาสุขภาพหรือรู้จักบริโภคตามความจำเป็น ย่อมไม่มีปัญหาหนี้สินตามมา เป็นต้น

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า การวางแผนก่อนการเลือกซื้อสินค้าและบริการ มีความจำเป็นหรือไม่ เพราะอะไร

        2. ถ้าซื้อสินค้าแล้วได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ควรทำอย่างไร

        3. ผู้บริโภคที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1. ร่วมกันอภิปรายว่า ผู้บริโภคที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร และสรุปผลลงในสมุด

        2. ถ้านักเรียนได้ค่าอาหารกลางวัน วันละ 50 บาท มีร้านอาหารอยู่ 10 ร้าน นักเรียนมีหลักเกณฑ์อย่างไรในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารกลางวันจากร้านค้าเหล่านั้น

        -----------------------------------144

        3 การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

        ปัจจุบันคนมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นมีเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ดีขึ้น เป็นต้น ซึ่งสินค้าและบริการที่ได้มานั้นเกิดจากการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้นทรัพยากรจึงมีความสำคัญต่อการผลิตและการบริโภคอย่างมาก

        1. ความหมายและประเภทของทรัพยากร

        ทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่นำมาผลิตเป็นสินค้าและบริการต่างๆเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ประเภท

        1) ทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง คนและศักยภาพของคนในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ความสามารถ ทักษะ สติปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ ความขยัน ซื่อสัตย์ อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น

        2) ทรัพยากรอื่น หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

        (1) ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน น้ำ แร่ ต้นไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น

        (2) ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึง ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือ หรือปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือช่าง โรงงาน เป็นต้น

        -----------------------------------145

        2. ความจำเป็นของทรัพยากร

        ปัญหาทางเศรษฐกิจมีสาเหตุสำคัญมาจากความต้องการของมนุษย์ที่มีอย่างไม่จำกัด ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรหรือมีทรัพยากรไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากทรัพยากรมีปริมาณที่จำกัดหรือทรัพยากรบางอย่างก็ขาดแคลน ส่งผลให้ความสามารถในการผลิตของประเทศลดลงตามไปด้วย

        เมื่อทรัพยากรที่จำกัด จึงส่งผลต่อการผลิตสินค้าและบริการ ทำให้ผู้ผลิตต้องคำนึงว่า ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นสามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าใดได้บ้าง ผลิตในปริมาณเท่าใด ผลิตด้วยวิธีการใด และทำอย่างไรจึงจะใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่มากที่สุด รวมทั้งจะต้องมีการรักษาหรือสร้างขึ้นมาทดแทนทรัพยากรที่สูญเสียไปในการผลิตอีกด้วย

        3. ทรัพยากรในการผลิต

        ทรัพยากรในการผลิตหรือปัจจัยการผลิต หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ จำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้

        ทรัพยากรในการผลิตสินค้าและบริการ

        ทรัพยากรในการผลิต

        1) ที่ดิน

        2) แรงงาน

        3) ทุน

        4) ผู้ประกอบการ

        -----------------------------------146

        1) ที่ดิน หมายถึง พื้นที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการต่างๆ เช่นใช้ในการเพราะปลูก ใช้ตั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ใช้ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ดินยังรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด เช่น ป่าไม้ ดิน หิน แร่ เป็นต้น

        2) แรงงาน หมายถึง แรงกายและสติปัญญา รวมทั้งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่นำไปใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ ได้แก่ คนที่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดสินค้าและบริการ

        3) ทุน หมายถึง สิ่งต่างๆที่นำมาใช้ผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ เครื่องยนต์ อาคาร โรงงาน ถนน เป็นต้น หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการผลิตสินค้าหรือบริการ

        4) ผู้ประกอบการ หมายถึง บุคคลที่นำปัจจัยการผลิตทั้งหมดมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสินค้าและบริการ

        4. หลักการและวิธีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

        ทรัพยากรที่ใช้ตอบสนองความต้องการของมนุษย์โดยทั่วไปมีจำกัด เพราะทรัพยากรบางประเภทใช้แล้วสิ้นเปลืองหรือหมดไป เช่น แร่ต่างๆ แต่ทรัพยากรบางประเภทใช้แล้วหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น น้ำ อากาศ พลังงานลม เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีปัญหาทางด้านมลภาวะเนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้ทัพยากรของมนุษย์ที่ไม่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถนำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ได้

        หลักการและวิธีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีดังนี้

        1) วางแผนการผลิตอย่างรอบครบ โดยใช้ทรัพยากรการผลิตให้คุ้มค่าที่สุด เช่น ผู้ผลิตต้องวางแผนก่อนว่าผลิตอะไร จะใช้ทรัพยากรชนิดใด ปริมาณเท่าไร จึงเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น

        http:/www.aksorn.com/lib/p/soc_03 (เรื่อง หลักการใช้ทรัพยากร)

        -----------------------------------147

        การผลิตสินค้าและบริการ ผู้ผลิตจำเป็นจะต้องใช้ทุน แรงงานที่ดินหรือทรัพยากรให้เหมาะสม เช่น ในท้องถิ่นมีการปลูกผลไม้จำนวนมากผู้ผลิตควรตั้งโรงงานทำผลไม้กระป๋อง โดยใช้ผลไม้ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการผลิต เป็นต้น

        2) การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า เป็นการหาวิธีในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้ได้มากที่สุด ตลอดจนวิธีการลดการใช้ทรัพยากร เพราะในปัจจุบันมีปัญหาที่เกิดจากการผลิตและการบริโภคมากมาย เช่น ปัญหาขยะ ปัญหาภาวะโลกร้อน เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยใช้หลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

        (1) การลดปริมาณการใช้ เป็นการลดปริมาณขยะเพื่อให้เหลือขยะน้อยที่สุด โดยผู้ผลิตใช้บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยลดปริมาณขยะ ส่วนผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอายุใช้งานที่ยาวนานขึ้น ลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้สินค้าที่ประหยัดพลังงาน เช่น ใช้ถุงผ้าใส่ของแทนถุงพลาสติก ลดการใช้กล่องโฟม ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู ร้านค้าลดขนาดของใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

        (2) การใช้ซ้ำ เป็นการนำสิ่งของต่างๆ ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น การนำกระดาษที่ใช้เพียงหน้าเดียวกลับมาใช้อีก การนำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใส่สิ่งของอีก การนำขวดพลาสติกมาประดิษฐ์เป็นของเล่น การบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมและนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้อีกเป็นต้น

        (3) การซ่อมแซม เป็นการซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุด เสียหายให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ เช่น นำโต๊ะที่ขาหักมาซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้อีก นำเสื้อผ้าที่ขาดมาเย็บเพื่อนำกลับมาใส่ได้อีก นำของเล่นที่หักมาซ้อมแซมเพื่อให้ใช้เล่นได้อีก เป็นต้น ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดทรัพยากรอีกทางหนึ่ง

        -----------------------------------148

        (4) การแปรสภาพนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นการนำทรัพยากรที่สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก เข้าสู่กระบวนการแปรสภาพ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น การนำขวดแก้วที่ผ่านการใช้แล้วมาหลอมขึ้นรูปใหม่ เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าใหม่ เป็นต้น

        5. การสร้างจิตสำนึกของคนในชาติให้รู้คุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

        การสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชาติให้รู้คุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

        1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจในการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องให้แก่ทุกคน  ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงประเทศชาติ

        2) การส่งเสริมให้ทุกคนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรและต้องร่วมมือกันดูและรักษา เช่น ร่วมกันในการดูแลรักษาแหล่งน้ำ ป่าไม้ในท้องถิ่นหรือชุมชนของตนเอง รวมทั้งรู้จักนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด

        3) การรวมกลุ่มกันเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร เช่น แหล่งน้ำ ป่าไม้ ดิน แร่ เป็นต้น

        4) การรวมกลุ่มกันเพื่อการศึกษาค้นคว้าและติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นรับทราบได้อย่างถูกต้อง

        5) การรวมกลุ่มกันกำหนดมาตรการ วิธีการดำเนินงานและการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง

        ภาพ : การร่วมกันปลูกต้นไม้ทดแทน เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ให้คงอยู่

        -----------------------------------149

        6. การวางแผนการใช้ทรัพยากรโดยประยุกต์เทคนิคและวิธีการใหม่

        การวางแผนการใช้ทรัพยากรโดยประยุกต์เทคนิคและวิธีการใหม่ๆเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ประเทศ และให้ทันต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังมีการเปลี่ยนไปนั้น เป็นการนำเทคนิคและวิธีการใหม่ๆเข้ามาช่วยในการผลิต เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดและคุ้มค่า ตัวอย่างเช่น

        - การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบลวดลายผ้าทอ

        - การใช้เครื่องจักรเกี่ยวข้าวแทนแรงงานคน

        - การนำผลผลิตทางการเกษตรมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล

        - การใช้เครื่องขูดมะพร้าวแทนการใช้กระต่ายขูดมะพร้าว

        - การใช้รถไถนาแทนการใช้กระบือไถนา

        ภาพ : โรงงานต้นแบบไบโอดีเซล ของคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

        ภาพ : การใช้รถไถนาแทนการใช้กระบือ ทำให้ช่วยประหยัดเวลา

        การวางแผนในการใช้ทรัพยากร เป็นการช่วยลดการสูญเสียทรัพยากร ประหยัดเวลาในการผลิต ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า เพราะมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้ทันต่อสภาพของการแข่งขันทางการค้า และทันต่อความต้องการของผู้บริโภคในสังคมอีกด้วย

        -----------------------------------150

        คำถามจุดประกาย

        1. เมื่อทรัพยากรในการผลิตสินค้ามีจำนวนจำกัด จะส่งผลอย่างไรต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

        2. เพราะเหตุใดเราจึงควรช่วยกันสร้างจิตสำนึกของคนในชาติให้รู้คุณค่าของทรัพยากร

        3. นักเรียนคิดว่า การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตสินค้าและบริการ ส่งผลดีอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3

        1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาการใช้ทรัพยากรว่า ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการบริโภคอย่างไร และสรุปข้อมูลลงในสมุด

        2.แบ่งกลุ่มจัดป้ายนิเทศแหล่งทรัพยากรในอดีตกับปัจจุบัน แล้วเปิดโอกาสให้นักเรียนในโรงเรียนได้ร่วมเขียนแสดงคิดเห็นว่า จะช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างไร

        กิจกรรมรวบยอด

        1. ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับประเด็น “ผู้ผลิตที่มีคุณภาพ กับผู้บริโภคที่ฉลาดซื้อควรมีลักษณะอย่างไร” แล้วเขียนสรุปเป็นแผนผังความคิด

        2. ให้นักเรียนสร้างบริษัทจำลองขึ้นมา 1 บริษัท โดยวางแผนขั้นตอนการก่อตั้ง การออกแบบรูปแบบสินค้าและบริการที่บริษัทจะทำการผลิต พร้อมกับเขียนวางแผนการใช้ปัจจัยการผลิตมาให้ครบ

        3. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5-7 คน แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ว่า “ถ้าใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างฟุ่มเฟือย จะเกิดผลอย่างไรในอนาคต” แล้วให้แต่ละกลุ่มเสนอแนะแนวทางการแก้ไข จากนั้นส่งตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้น

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. ถ้าคุณพ่อของนักเรียนต้องการจะสร้างโรงงานผลิตน้ำตาลทราย นักเรียนคิดว่า จะต้องมีทรัพยากรในการผลิตอะไร

        2. นักเรียนคิดว่า มีสิ่งของใดในบ้านหรือโรงเรียนที่สามารถนำกลับมาใช้ให้คุ้มค่าโดยการใช้ซ้ำได้บ้าง

        3. นักเรียนมีวิธีจัดการทรัพยากรที่เหลือใช้ภายในบ้านให้คุ้มค่าได้อย่างไร

        -----------------------------------151

            บทที่ 2 ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        ร้านค้ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจหรือไม่เพราะอะไร

        แนวคิดสำคัญ

        การเรียนรู้เกี่ยวกับหน่วยเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ภาษี สิทธิของผู้บริโภค และผู้ใช้แรงงาน และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม

        -----------------------------------152

        1 หน่วยเศรษฐกิจ หมายถึง บุคคลองค์กรหรือสถาบันที่ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ

        1. ประเภทของหน่วยเศรษฐกิจ

        หน่วยเศรษฐกิจสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

        1) หน่วยครัวเรือน หมายถึง หน่วยของบุคคลหรือครัวเรือนที่มักจะมีแหล่งรายได้มาจากการทำงาน ซึ่งสมาชิกของครัวเรือนอาจจะทำหน้าที่ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลอดจนเป็นเจ้าของปัจจัยผลิตไปพร้อมกันหรืออาจทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง

        แผนผังแสดงบทบาทของหน่วยครัวเรือนในระบบเศรษฐกิจ

        หน่วยครัวเรือน

        - เป็นเจ้าของทุน

        - เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต คือ ที่ดิน แรงงาน เงินทุน

        - เป็นผู้ผลิต

        - เป็นผู้บริโภค

        - จ่ายภาษี

        2) หน่วยธุรกิจ หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่นำเอาปัจจัยการผลิตมาดำเนินการผลิต ซึ่งจะทำให้เกิดสินค้าและการบริการเพื่อตอบสนองแก่ผู้บริโภค รวมทั้งขนส่งสินค้าและบริการ เพื่อนำไปจำหน่ายยังผู้บริโภคหน่วยธุรกิจมีหลายลักษณะ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า เป็นต้น วัตถุประสงค์ของหน่วยธุรกิจจึงดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อแสวงหากำไรจากการประกอบการผลิต

        -----------------------------------153

        ดังนั้น หน่วยธุรกิจอยู่ในฐานะผู้ผลิต เพราะเป็นผู้ตัดสินใจและวางแผนการผลิต แต่ในขณะเดียวกันหน่วยธรกิจก็จะเป็นผู้บริโภคปัจจัยการผลิตจากหน่วยครัวเรือนด้วย เช่น การทำธุรกิจเป็นต้องใช้ที่ดินแรงงาน ทุน จากหน่วยครัวเรือนในการผลิตสินค้าและบริการ ตัวอย่างเช่น

        ร้านค้าสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจ มีการจำหน่ายสินค้าและบริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงต้องใช้แรงงานในการดูแลและให้บริการขายสินค้าให้แก่ลูกค้า รวมทั้งต้องจ่ายค่าเช่าที่ตั้งร้านให้แก่เจ้าของตึกแถว

        แผนผังแสดงตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยธุรกิจกับหน่วยครัวเรือน

        ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หน่วยธุรกิจอยู่ในฐานะเป็นผู้ผลิต คือทำให้เกิดสินค้าและการบริการ และอยู่ในฐานะเป็นผู้บริโภคปัจจัยการผลิตจากหน่วยครัวเรือน และจ่ายภาษีให้กับภาครัฐเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศด้วย

        3) หน่วยรัฐบาล หมายถึง หน่วยงานต่างๆ ของทางราชการหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล และให้บริการเกี่ยวกับด้านชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยวัตถุประสงค์สำคัญของหน่วยรัฐบาล คือ เสริมสร้างคุณภาพการอยู่ดีของประชาชนในประเทศ ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์หรือกำไรแต่อย่างใด โดยดูแลหรือส่งเสริมหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจให้สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมเดียวกัน

        -----------------------------------154

        ดังนั้น หน่วยรัฐบาล จึงมีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนในประเทศในฐานะผู้บริโภค เพื่อให้มีการอยู่ดีกินดี ให้ความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต มีการศึกษา มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง

        สรุปได้ว่า หน่วยรัฐบาลจะเป็นผู้บริโภคปัจจัยการผลิตจากหน่วยครัวเรือน บริโภคสินค้าและบริการจากหน่วยธุรกิจ และยังเป็นผู้ผลิตบริการสาธารณะต่างๆ ให้แก่หน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ

        ภาพ : การให้บริการรถเมล์ฟรีเป็นการบริการสาธารณะที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนโดยตรง

        2. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจ

        หน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ และหน่วยรัฐบาล ซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กันดังแสดงในแผนผัง

        แผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยครัวเรือน หน่วยธุรกิจ หน่วยรัฐบาล และธนาคาร

        -----------------------------------155

        จากแผนผัง สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเศรษฐกิจได้ดังนี้

        หน่วยครัวเรือนได้ให้ปัจจัยการผลิตแก่หน่วยธุรกิจ ซึ่งหน่วยครัวเรือนจะได้ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าจ้าง เป็นต้น จากหน่วยธุรกิจ

        หน่วยธุรกิจได้ปัจจัยการผลิต ก็จะนำไปผลิตเป็นสินค้าและบริการเพื่อจำหน่ายให้กับหน่วยครัวเรือน หน่วยครัวเรือนนำเงินที่ได้จากค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตไปซื้อสินค้าและบริการจากหน่วยธุรกิจ

        เมื่อหน่วยครัวเรือนมีเงินจากการใช้จ่ายก็นำไปออมไว้กับธนาคาร และธนาคารก็จะนำเงินเหล่านั้นไปให้หน่วยธุรกิจกู้ยืมเพื่อนำไปลงทุน

        จากการที่หน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจมีรายได้ทำให้ต้องเสียภาษีให้กับหน่วยรัฐบาล และหน่วยรัฐบาลก็จะนำเงินภาษีนี้ไปจ่ายในการพัฒนาประเทศต่อไป

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า ลักษณะของหน่วยครัวเรือนกับหน่วยธุรกิจมีความแตกต่างกันอย่างไร

        2. นักเรียนคิดว่า หน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจมีความเกี่ยวข้องกับธนาคารอย่างไร

        3. ถ้าหน่วยรัฐบาลไม่ทำตามบทบาทหน้าที่ของตน จะมีผลกระทบต่อหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

        1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปลายว่า ในแต่ลัน นักเรียนเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าและบริการชนิดใดบ้าง จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้น

        2. ให้นักเรียนไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองของตน เกี่ยวกับการใช้บริการสาธารณะของรัฐ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และนำมาเปรียบเทียบกัน จากนั้นให้ผลัดกันออกมาสรุปข้อมูลให้เพื่อนฟัง

        -----------------------------------156

               2 การหารายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และรัฐบาล

        การหารายได้ การออม การลงทุน เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผู้ผลิต ผู้บริโภค และรัฐบาล มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยรายจ่ายของหน่วยเศรษฐกิจหนึ่งจะเป็นรายได้ของอีกหน่วยเศรษฐกิจ เช่น หน่วยครัวเรือนจ่ายเงินซื้อสินค้าจากหน่วยธุรกิจ เป็นต้น และหน่วยเศรษฐกิจที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย ก็จะเหลือเงินออมที่สามารถนำไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลกำไรตอบแทน หรืออาจนำไปเก็บออกโดยการฝากไว้กับธนาคารซึ่งธนาคารก็จะนำเงินที่รับฝากไปให้หน่วยธุรกิจกู้ยืมเพื่อนำมาลงทุน

        สำหรับหน่วยรัฐบาลมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งรายได้ที่นำมาใช้ในการพัฒนาประเทศได้จากการจัดเก็บภาษีจากหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจ ซึ่งหน่วยเศรษฐกิจทั้งสามมีความสัมพันธ์กันทั้งด้านรายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน โดยเงินก็จะหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดการผลิต การจ้างงาน และประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

        ภาพ : รัฐบาลนำเงินรายได้จากภาษีของหน่วยครัวเรือนและหน่วยธุรกิจไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จากภาพเป็นภาพของสะพานภูมิพล หรือเรียกว่าสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ที่สร้างขึ้นจากเงินภาษีของประชาชน

        -----------------------------------157

        3 ภาษีและหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษี

        ภาษี หมายถึง เงินที่รัฐเก็บจากประชาชน

        1. ความสำคัญของการจัดเก็บภาษี

        รัฐบาลต้องมีรายได้ที่นำมาใช้ในการบริหารประเทศ ซึ่งภาษีเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐ เพราะรัฐนำเงินภาษีมาจัดสรรให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

        1) นำเงินภาษีไปใช้ในกิจการต่างๆ เพื่อพัฒนาประเทศ เช่น เป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างถนน โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น

        2) นำเงินภาษีไปจ่ายเป็นเงินเดือนให้ข้าราชการและลูกจ้าง ซึ่งมีหน้าที่ทำงานบริการประชาชนตามหน้าที่และความรับผิดชอบ

        3) นำเงินภาษีไปชำระหนี้ที่รัฐกู้ยืมมาจ่ายต่างประเทศเพื่อใช้พัฒนาประเทศ

        2. ประเภทของภาษี

        การแบ่งประเภทของภาษี โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ ดังนี้

        1)ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้เสียภาษีโดยตรงโดยที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ภาษีที่ดิน ภาษีมาดก เป็นต้น

        2) ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น

        “เอ…เราเป็นนักเรียนต้องเสียภาษีรึเปล่านะ”

        -----------------------------------158

        แผนผังแสดงประเภทของภาษี

        ประเภทของภาษี

        ตัวอย่างภาษีทางตรง

        - ภาษีเงินได้

        ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้มีรายได้ เช่น ข้าราชการพนักงานบริษัท พ่อค้าแม่ค้า

        ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรมสรรพากรเรียกเก็บจากกลุ่มบุคคลหรือองค์กร เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน

        - ภาษีทรัพย์สิน กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้มีเงินได้ที่เกิดจากการจัดการทรัพย์สิ่งที่มีอยู่

        - ภาษีมรดก กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้มีเงินได้ที่เกิดจากการได้รับมรดก

        ตัวอย่างภาษีทางอ้อม

        - ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพาหรเรียนเก็บจากผู้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ

        - ภาษีสรรพสามิต กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้ที่ผลิตหรือนำเข้าสินค้า เช่น บุหรี่ สุรา น้ำมัน

        - ภาษีศุลกากร กรมสรรพากรเรียกเก็บจากผู้ที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศหรือส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ

        -----------------------------------159

        3. หน่วยงานที่จัดเก็บภาษี

        หน่วยงานของรัฐบาลที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากร คือ กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นสถาบันหลักในกาจัดเก็บภาษีอากร และยังมีหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากรประเภทต่างๆ ดังนี้

        1) กรมสรรพากร มีหน้าที่จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีการค้า อากรแสตมป์ อากรมหรสพ อากรรังนกนางแอ่น

        2) กรมศุลกากร มีหน้าที่จัดเก็บอากรสินค้าที่ได้นำเข้ามาจากต่างประเทศ  และ สินค้าที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เพื่อนำรายได้เข้าประเทศ

        3) กรมสรรพสามิต มีหน้าที่จัดเก็บภาษีที่รวมอยู่ในรายการสินค้าที่ทางกรมสรรพสามิตเป็นผู้จัดเก็บ เช่นสุรา บุหรี่ เครื่องดื่ม ยาสูบน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน เป็นต้น

        นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่นที่เก็บภาษีประเภทต่างๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เช่น องค์การบริหารราชการส่วนท้อง (อบต.เทศบาลกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา) มีหน้าที่จัดเก็บภาษีป้าย ภาษีที่ดินภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ เป็นต้น

        ความรู้เสริม

        กรมพระคลังมหาสมบัติ ใน พ.ศ.2433 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ต่อมาใน พ.ศ.2476 ได้มีการแก้ไขชื่อจากกระทรวงคลังมหาสมบัติเป็นกระทรวงการคลัง และใช้มาจนถึงปัจจุบัน

        “ในกฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ว่า ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีผลเสียต่อประเทศชาติ”

        http://www.akson.com/lip/p/soc_03(เรื่อง ภาษีสรรพสามิต)

        -----------------------------------160

        ประชาชนทุกคนที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด มีหน้าที่จะต้องเสียภาษี โดยผู้เสียภาษีสามารถยื่นชำระภาษีได้ที่หน่วยงานของท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ เช่น สรรพากรในเขตพื้นที่ที่อาศัยอยู่  เป็นต้น

        เมื่อรัฐบาลเก็บภาษีจากประชาชนแล้ว จะนำรายได้ทั้งหมดไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในสังคมส่วนรวม ส่วนผู้ที่เสียภาษีจะไม่ได้รับผลตอบแทนโดยตรง แต่จะได้รับการบริการจากรัฐบาลในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การรักษาความสงบภายในประเทศ การบริโภคสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน เป็นต้น

        ภาพ : ถนนและสะพาน เป็นบริการสาธารณะส่วนหนึ่งที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน

        คำถามจุดประกาย

        1. เพราะเหตุใดรัฐบาลจึงต้องมีการจัดเก็บภาษี

        2. ถ้าผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยอมจ่ายภาษีให้กับรัฐบาล จะส่งผลเสียต่อประเทศอย่างไร

        3. นักเรียนคิดว่า สาธารณูปโภคต่างๆ ที่สร้างขึ้นจากเงินภาษีของประชาชน ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คนให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี และประเภทของภาษีที่จัดเก็บ แล้วบันทึกข้อมูล จากนั้นนำเสนอข้อมูลที่หน้าชั้น

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คนให้แต่ละกลุ่มช่วยกันสำรวจว่า ในชุมชนของตนมีสิ่งใดบ้างที่สร้างขึ้นจากเงินภาษีของประชาชน แล้วบันทึกข้อมูล จากนั้นนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        -----------------------------------161

        4 สิทธิของผู้บริโภค

        ในปัจจุบันผู้ผลิตสินค้ามีการแข่งขันทางการค้าโดยใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกใช้สินค้าและบริการของตน ซึ่งอาจทำให้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ผลิตบางราย ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องให้ความคุ้มครองกับผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้สินค้า

        สิทธิของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

        ผู้บริโภคพึงได้รับสิทธิ 5 ประการ ดังนี้

        1) สิทธิที่จะได้ข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ หมายถึง สิทธิที่ผู้บริโภคจะได้รับรู้การโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริง และได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้อง และเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ

        ภาพ : ฉลากสินค้าที่ถูกต้องตามความเป็นจริง จะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้อย่างมั่นใจ

        -----------------------------------162

        2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ หมายถึงสิทธิที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการตามความสมัครใจของตนเอง โดยไม่มีการผูกขาดทางการค้าและการชักจูงใจที่ไม่เป็นธรรม

        3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ หมายถึง สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน เหมาะสมแก่การใช้งาน ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน

        ใบประกาศนียบัตรที่รับรองการผลิตว่าสินค้านั้นผลิตได้มาตรฐาน ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัย

        4) สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา หมายถึง สิทธิที่ผู้บริโภคจะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ

        5) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสีย หมายถึง สิทธิที่ผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครองและการชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในกรณีต่างๆ เกิดขึ้น

        ผู้บริโภคทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันโดยมีหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ

        -----------------------------------163

        5 สิทธิของผู้ใช้แรงงาน

        ผู้ใช้แรงงาน หมายถึง ผู้ตกลงทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนตามที่ตกลงกัน ซึ่งในการทำงานผู้ใช้แรงงานจะได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของผู้ใช้แรงงานไทย

        สิทธิของผู้ใช้แรงงานตามกฎหมายแรงงานของไทย

        กฎหมายแรงงานได้ทีการบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้ใช้แรงงานไว้หลายประการด้วยกัน ซึ่งผู้ใช้แรงงานควรทราบเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองมีดังต่อไปนี้

        1) เวลาทำงาน ให้นายจ้างประกาศกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้าง ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ยกเว้นงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ต้องไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

        2) ค่าจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่ตกลงไว้กับนายจ้าง หรือไม่น้อยกว่าอัตราขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด

        3) เวลาพัก ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาได้พักผ่อนในวันทำงานติดต่อกัน ไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

        4) วันหยุด

        (1) ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวัดหยุดประจำสัปดาห์ ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน

        (2) ให้นายจ้างประกาศวันหยุดตามประเพณี ไม่น้อยกว่าปีละ 13 วันโดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย

        (3) ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วัน และได้รับค่าจ้างในวันหยุดทุกวัน

        -----------------------------------164

        5) การทำงานล่วงเวลา ในกรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยมีอัตราค่าจ้าง ดังนี้

        - ค่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ = 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง

        - ค่าทำงานในวันหยุด = 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง

        - ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด = 3 ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง

        “จากข้อความนี้ หมาถึง ถ้าเวลาทำงานปกติของเรา คือ วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-17.00น. หากเราทำเกินจากนั้น จะได้ค่าแรง 1.5 เท่า ถ้าเป็นวันหยุด ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. จะได้ 1 เท่า แต่ถ้าเกินจากนี้จะได้ ค่าแรง 3 เท่า”

        6) เงินทดแทน นายจ้างต้องรับผิดชอบในอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยหรือความตายที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง ซึ่งเกิดจากการทำงานให้นายจ้าง

        7) การใช้แรงงานเด็ก ห้ามไม่ให้นายจ้างรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ เป็นลูกจ้าง

        คำถามจุดประกาย

        1. การแสดงข้อมูลฉลากของสินค้าชนิดต่างๆ ส่งผลดีต่อผู้บริโภคอย่างไร

        2. นักเรียนคิดว่า ถ้าผู้บริโภคสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน จะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคอย่างไร

        3. ถ้านายจ้างแล้วลูกจ้างไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จะเกิดผลเสียต่อการทำงานหรือไม่ เพราะอะไร

        กิจกรรมพัฒนาหารเรียนรู้ที่ 3

        1. ให้นักเรียนนำฉลากสินค้า 1 ชนิด มาติดลงในสมุด แล้วเขียนข้อมูลที่ทราบจากฉลากจากนั้นวิเคราะห์ว่า ฉลากสินค้านี้บอกข้อมูลครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ และจัดทำเป็นรายงานส่งครู

        -----------------------------------165

        6 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น

        การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เป็นการรวมกลุ่มกันของคนหลายคนที่มีความสนใจ มีจุดประสงค์ หรือมีอาชีพอย่างเดียวกัน เพื่อทำงานหรือแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทำมาหาเลี้ยงชีพของตนเองและของกลุ่ม เช่น การผลิตการขนส่ง การจำหน่ายจ่ายแจกสินค้าและบริการ เป็นต้น

        การรวมกลุ่มมีหลากหลายรูปแบบ เช่น บริษัท ห้างส่วน สหกรณ์ กลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อระดมทุน กำลังกาย หรือกำลังความคิด เป็นต้น

        1. สาเหตุของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น

        ผู้ผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ในท้องถิ่นมักจะประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ จะผลิตอะไร ผลิต อย่างไร และผลิตเพื่อใคร ปัญหาด้านการตลาดจำหน่ายสินค้า ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เป็นต้น จึงมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        1) ปัญหาการขาดความรู้เรื่องการตลาด กล่าวคือ เมื่อผู้ผลิตในท้องถิ่นผลิตสินค้าได้แล้ว ส่วนใหญ่มักมีปัญหา คือ ไม่มีแหล่งจำหน่ายสินค้า จึงมักถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาผลผลิตให้ต่ำลง

        2) ปัญหาการขาดเงินทุนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้ผลิตในท้องถิ่นมักเป็นผู้ผลิตรายย่อย ซึ่งจะมีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบการไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่ทันสมัยได้ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จึงมักมีราคาสูง ทำให้สินค้าและบริการที่ผลิตได้อาจไม่ได้มาตรฐาน

        3) ปัญหาผลผลิตตกต่ำ ในที่นี้หมายถึง สินค้าเกษตรกรรมซึ่งมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง ศัตรูพืชระบาด ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพไม่ดีหรือเก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย 

        -----------------------------------166

        4) ปัญหาต้นทุนในการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันสินค้าต่างๆ มีราคาสูงขึ้น จึงทำหน้าให้ผู้ผลิตมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เพราะต้องนำมาเป็นค่าใช้จ่ายปัจจัยการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ค่าพันธุ์พืช ค่าปุ๋ยเคมี ค่ายาฆ่าแมลง ค่าแรงงาน เป็นต้น

        5) ปัญหาการคมนาคมขนส่งที่ไม่สะดวก เนื่องจากแหล่งผลิตสินค้าเกษตรกรรมอยู่ห่างไกลจากตลาดมาก ทำให้ผู้ผลิตสินค้าต้องรีบขายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางก่อนที่ผลผลิตจะเสียหาย

        “จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นขึ้น เพื่อช่วยกันแก้ไขหรือลดปัญหาในน้อยลง”

        2. เป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

        ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนในท้องถิ่น คือ การมีหนี้สินที่พอกพูนขึ้น ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ภาครัฐได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น การจัดระบบชลประทาน จัดสรรที่ดินทำหินให้แก่เกษตรกร ประกันราคาผลผลิตทางการเกษตร ควบคุมราคาปุ๋ย เป็นต้น แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างยังยืนได้ เพราะขาดการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ผลิตในท้องถิ่นจึงรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายหลัก ดังนี้

        แผนผังแสดงเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น

        เป้าหมายหลักการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น

        - แก้ไขปัญหาตลาดรับซื้อสินค้า

        - แก้ไขปัญหาพ่อค้าคนกลาง

        - แก้ไขปัญหาเงินทุน

        - แก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน

        - แก้ไขปัญหาระบบชลประทาน

        - แก้ไขปัญหาราคาสินค้า

        -----------------------------------167

        3. รูปแบบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น

        โดยส่วนใหญ่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นจะเป็นการรวมกลุ่มในรูปแบบของสหกรณ์ เช่น สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ร้านค้ากลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน ตลอดจนกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเขิน กลุ่มทอผ้าพื้นเมือง กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น

        ตัวอย่าง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น

        กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ

        กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ ตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นกลุ่มออมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินและปัญหาความยากจนของชาวบ้านในระยะเริ่มต้นมีสมาชิก 51 คน มีเงินออมครั้งแรก 2,850 บาท

        ทางกลุ่มออมทรัพย์ให้สมาชิกกู้เงินไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ โดยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 1.2 บาทต่อเดือน สำหนับฝากเงินให้ฝากได้เดือนละไม่เกิด 1,000 บาทและต้องฝากเท่ากันทุกเดือนให้ครบ 1ปี โดยได้ดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาทต่อปี

        กลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ เป็นกลไกหนึ่งของระบบสวัสดิการชุมชนที่สร้างความมั่นคงและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งทางกลุ่มได้มีการนำผลกำไรมาจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการให้กับคนในชุมชน เช่น กองทุนเด็กกำพร้า กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนสุขภาพ เป็นต้น

        ในปัจจุบันกลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ มีสมาชิกจำนวน 7,200 คน มีทุนสะสมกว่า 252 ล้านบาท สามารถปล่อยกู้ให้ชาวบ้านได้ตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักล้าน และผลกำไรจากการดำเนินการของกลุ่มสามารถนำมาพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง และมีการพัฒนาในหลายด้านอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากภายนอก

        กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองนารายณ์

        กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองนารายณ์ จังหวัดจันทบุรี เป็นกลุ่มที่สมาชิกส่วนใหญ่มีอาชีพทำส่วนผลไม้ เพราะพันธุ์ไม้ผลจำหน่ายและค้าขาย

        -----------------------------------168

        กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองนารายณ์ได้ร่วมกันนำผลผลิตการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตโดยมีการพัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เช่น การทำหมูชะมวงบรรจุกระป๋อง โดยใช้ใบชะมวง ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้พื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรีมาเป็นส่วนประกอบ การแปรรูปเปลือกมังคุดนำมาทำเป็นส่วนผสมของครีมอาบน้ำ การนำทุเรียนที่มีปัญหาในเรื่องการเก็บเกี่ยวมาทำเป็นทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ เป็นต้น

        ภาพ : ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางด้านการเกษตรเป็นแหล่งรายได้เสริมของคนในท้องถิ่น

        กองทุนหมู่บ้านไผ่

        กองทุนหมู่บ้านไผ่ ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ได้ก่อตั้งตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ได้รับจัดสรรเงินกองทุน 1,000,000  บาทมีสมาชิกจัดตั้งจำนวน 70 คน

        ต่อมากองทุนหมู่บ้านไผ่ได้เปิดรับฝาก – ถอนเงิน เพื่อเป็นการระดุมทุนให้เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิก และได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547

        กองทุนหมู่บ้านไผ่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกได้ในหลายด้าน เช่น ส่งเสริมการออมโดยการเปิดรับฝาก-ถอนเงินส่งเสริมเงินทุนสร้างอาชีพ แก้ไขปัญหาหนี้สิน เป็นต้น

        การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่น เป็นรูปแบบการช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของผู้ผลิตในท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ้งอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชน ดังนั้น การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก

        -----------------------------------169

        คำถามจุดประกาย

        1. หากผู้ผลิตในชุมชนไม่สามารถรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจได้ จะเกิดผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจอย่างไรบ้าง

        2. การรวมกลุ่มกันของคนในชุมชน ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร

        3. นักเรียนคิดว่า การรวมกลุ่มเศรษฐกิจในชุมชน มีจุดประสงค์หลักเพื่ออะไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 4

        แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 8-10 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มออกไปสำรวจการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนว่า มีกลุ่มใดบ้างและศึกษาเป้าหมายของการรวมกลุ่ม ตลอดทั้งผลของการรวมกลุ่ม ตลอดทั้งผลของการรวมกลุ่มว่ามีผลอย่างไร จากนั้นนำเสนอข้อมูล โดยจัดทำเป็นป้ายนิเทศในห้องเรียน

        กิจกรรมรวบยอด

        1. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่า ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยธุรกิจ สมาชิกในครัวเรือนของนักเรียนจะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้อย่างไร

        2. ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า”ถ้าชุมชนของเรามีปัญหาเรื่องขาดน้ำสำหรับทำนา เราควรร่วมกันแก้ปัญหาอย่างไร” แล้วสรุปผลอภิปราย และบันทึกลงในสมุด

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. ในชีวิตประจำวัน นักเรียนพบเห็นหน่วยทางเศรษฐกิจใดบ้างและหน่วยทางเศรษฐกิจเหล่านั้นมีบทบาทหน้าที่อย่างไร

        2. นักเรียนเคยใช้บริการสาธารณประโยชน์ใดบ้างจากหน่วยรัฐบาล

        3. ถ้านักเรียนฝากเงินกับธนาคารแล้วได้ดอกเบี้ย นักเรียนจะนำเงินส่วนนั้นไปใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร

        4. ในชุมชนของนักเรียนมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอะไรบ้าง และกลุ่มเศรษฐกิจนั้นส่งผลดีต่อชุมชนของนักเรียนอย่างไร

        -----------------------------------170

          หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ภูมิศาสตร์น่ารู้

        เมื่อเรียนจบหน่วยนี้ ผู้เรียนจะมีความรู้ความสามารถต่อไปนี้

        1. ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (แผนที่ ภาพถ่ายชนิดต่างๆ) ระบุลักษณะสำคัญทางกายภาพและสังคมของประเทศ (มฐ. ส 5.1 ป.6/1)

        2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของประเทศ (มฐ. ส 5.1 ป.6/2)

        3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมในประเทศ (มฐ. ส 5.2 ป.6/1)

        4. อธิบายแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศจากอดีตถึงปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น (มฐ. ส 5.2 ป.6/2)

        5.จัดทำแผนการใช้ทรัพยากรในชุมชน (มฐ. ส 5.2 ป.6/3)

        -----------------------------------171

            บทที่ 1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        สีที่แตกต่างกันในแผนที่บ่งบอกถึงลักษณะภูมิประเทศอย่างไรบ้าง

        แนวคิดสำคัญ

        ประเทศไทยแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลความรู้ได้จากเครื่องมือภูมิศาสตร์ เช่น แผนที่ ภาพถ่าย เป็นต้น

        -----------------------------------172

        1 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์

        เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาและการค้นคว้าทางด้านภูมิศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น การค้นหาทิศทาง การท่องเที่ยว การสร้างถนน การสำรวจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การทหาร เป็นต้น

        เครื่องมือทางภูมิศาสตร์มีหลายชนิด เช่น แผนผัง แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม เข็มทิศเป็นต้น ในชั้นเรียนนี้จะกล่าวถึงเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยซึ่งได้แก่ แผนที่ และภาพถ่ายชนิดต่างๆ

        ความรู้เสริม

        แผนที่ โดยทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

        1. แผนที่แบบแบน เป็นแผนที่ที่ไม่ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความสูง โดยจะแสดงตำแหน่งของสิ่งต่างๆ ในทางราบ ซึ่งใช้ในการหาระยะทางและเส้นทาง

        2. แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่ที่แสดงรายละเอียดตามแนวดิ่งที่เกี่ยวกับภูมิลักษณ์ โดยมีการบอกค่าความสูงจากระดับน้ำทะเล และแสดงรายละเอียดโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ

        3. แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่แสดข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น แผนที่ภูมิอากาศแผนที่ทางหลวง แผนที่จำนวนประชากร เป็นต้น

        1. แผนที่ที่ใช้ศึกษาลักษณะทางด้านกายภาพ

        ลักษณะทางกายภาพ หมายถึง ลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนผิวโลกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ที่ราบ ที่สูง เขา ทิวเขา เกาะ แม่น้ำ ป่าไม้ ลมฟ้าอากาศ เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวนักเรียนสามารถศึกษาเรียนรู้จากแผนที่ต่างๆ เช่น แผนที่แสดงความสูงต่ำของผิวโลก แผนที่ป่าไม้ แผนที่อากาศ เป็นต้น

        1) แผนที่แสดงความสูงต่ำของผิวโลกบริเวณประเทศไทย เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางด้านกายภาพของสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนผิวโลก และโดยเฉพาะลักษณะภูมิลักษณ์ต่างๆ ซึ่งนักเรียนสามารถพิจารณาได้จากค่าระดับความสูงต่ำที่ระบุไว้ในแผนที่ ทำให้เข้าใจได้ไม่ยาก

        -----------------------------------173

แผนที่แสดงลักษณะภูมิลักษณ์ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย

        -----------------------------------174

        จากข้อมูลที่ได้ปรากฏบนแผนที่แสดงลักษณะภูมิลักษณ์ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย ดังนี้

        (1) ที่ราบ เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะราบเรียบเป็นบริเวณกว้างหรือมีลักษณะเป็นที่ดอนสูงๆ ต่ำๆ คล้ายที่ราบลูกฟูก โดยค่าความสูงของพื้นที่บริเวณที่ราบทั่วไปจะมีระดับความสูงต่ำแตกต่างกันไม่เกิน 100 เมตร

        ตัวอย่างของลักษณะที่ราบสำคัญ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างแถบจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

        (2) ที่ราบลาดเนิน เป็นพื้นที่ที่สูงขึ้นจากที่ราบลุ่มน้ำขึ้นไปโดยจะมีความสูงมากกว่า 100 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง จนถึง 200 เมตร สภาพทั่วไปเป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีแม่น้ำไหลผ่านบริเวณที่ราบ

        ลักษณะที่ราบลาดเนินพบในพื้นที่ราบของแอ่งโคราชที่ราบแอ่งสกลนครที่ราบแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ที่ราบแอ่งลำปาง ที่ราบแอ่งแพร่ ที่ราบแอ่งเชียงราย-พะเยา ที่ราบลาดเนินภาคตะวันออกและที่ราบชายฝั่งตอนในแผ่นดินของภาคใต้

        (3) เนินเขาและที่สูง เป็นพื้นที่สูงขึ้นตั้งอยู่โดยรอบบริเวณที่ราบตั้งแต่ 200 ถึง 500 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง

        (4) ภูเขาและทิวเขา มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

        ภูเขา มีลักษณะพื้นที่เป็นที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณโดยรอบตั้งแต่ 600 เมตร ขึ้นไป

        http:/www.aksorn.com/lip/p/soc_05 (เรื่อง ทิวเขาที่สำคัญในประเทศไทย)

        -----------------------------------175

        ทิวเขา หมายถึง ภูเขาที่ต่อเนื่องกันเป็นแนว หรือกลุ่มภูเขา ลักษณะทั่วไปจะเป็นทิวที่มีแนวเขาที่สลับซับซ้อน

        จากแผนที่ในหน้า 173 จะแสดงทิวเขาที่สำคัญของไทย เช่น ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาสันกำแพง ทิวเขาพนมดงรัก ทิวเขาตะนาวศรี เป็นต้น

        (5) เกาะและหมู่เกาะ มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

        เกาะ หมายถึง ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบโดยตลอด ส่วนของแผ่นดินมักเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาประกอบอยู่เป็นสำคัญ

        หมู่เกาะ หมายถึง เกาะที่ตั้งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กแตกต่างกัน

        จากแผนที่ในหน้า 173 จะแสดงเกาะขนาดใหญ่ของประเทศไทย เช่น เกาะภูเก็ต มีฐานะเป็นจังหวัด เกาะสมุย เกาะพะงัน เป็นต้น และหมู่เกาะสำคัญ เช่น หมู่เกาะช้าง หมู่เกาะอ่างทอง หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะตะรุเตา เป็นต้น

        2) แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยบริเวณประเทศไทย เป็นแผนที่แสดงบริเวณภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยที่มีปริมาณฝนตกกระจายแตกต่างกัน การที่มีปริมาณฝนตกกระจายแตกต่างกัน การที่มีปริมาณฝนตกกระจายแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เนื่องมาจากลักษณ์ของแต่ละภูมิภาคนั้นเอง ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาได้จากแผนที่ในหน้าต่อไปนี้

        “นักเรียนไปศึกษาแผนที่แสดงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยในหน้าต่อไป และลองพิจารณาว่าพื้นที่ในบริเวณใดมีฝนตกชุกที่สุด”

        -----------------------------------176

        แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีในคาบ 30(พ.ศ.2521-2550)

        -----------------------------------177

        จากแผนที่แสดงปริมาณน้ำฝนประจำปีคาบ 30 ปี (พ.ศ.2521-2550) ได้แสดงให้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ของประเทศไทยที่มีปริมาณฝนตกกระจายแตกต่างกัน ดังนี้

        (1) บริเวณที่มีฝนตกมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร ขึ้นไป (กลุ่มพื้นที่ที่มีฝนตกชุก) ได้แก่ บริเวณชายฝั่งอันดามันในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอง อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 4,000 มิลลิเมตร ขึ้นไป การที่มีฝนตกชุกมากี่สุดเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล และอยู่ด้ายรับลม จึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมทะเล

        ส่วนบริเวณที่มีฝนตกตั้งแต่ 2,000 มิลลิเมตร ถึง 4,000 มิลลิเมตร จะอยู่บริเวณต่างๆ ดังนี้

        - ภาคใต้ บริเวณฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย

        - ภาคตะวันออก ตั้งแต่ระยองลงไปจันทบุรี และตราด

        - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ และหนองคาย

        (2) บริเวณที่มีฝนตกระหว่าง 1,200-2,000 มิลลิเมตร (กลุ่มพื้นที่ที่มีฝนตกปานกลาง) จะกระจายอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศ

        (3) บริเวณที่มีฝนตกต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตร (กลุ่มพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย) จะปรากฏอยู่บริเวณในพื้นที่ที่มีทิวเขาขวางกั้นทิศทางลมฝน เรียกว่า “พื้นที่อับฝน” พบอยู่ในบริเวณภาคกลางและภาคนะวันตก ภาคเหนือตอนกลาง และด้านทิศตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นที่น่าสังเกตว่า ในบริเวณอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จะมีฝนตกต่ำกว่า 1,000 มิลลิเมตรจัดว่าเนพื้นที่ที่มีฝนน้อยที่สุดของประเทศ

        -----------------------------------178

        2.แผนที่ที่ใช้ศึกษาลักษณะทางด้านสังคม

        ลักษณะทางด้านสังคม หมายถึง ลักษณะสิ่งต่างๆ บนผิวโลกที่เกิดจากมนุษย์เป็นคนสร้างขึ้นมา เช่น ที่อยู่อาศัยหรือการตั้งถิ่นฐานเส้นทางคมนาคม พื้นที่เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม อุทยานแห่งชาติที่ตั้งเขื่อนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวนักเรียนสามารถศึกษาเรียนรู้ได้จากแผนที่ชนิดต่างๆ เช่น แผนที่แสดงแหล่งเพาะปลูกพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ แผนที่แสดงที่ตั้งเขื่อนสำคัญ แผนที่แสดงเส้นทางหลวงสายเอเชียและทางหลวงแผ่นดินสายประธาน เป็นต้น

        1) แผนที่แสดงแหล่งเพาะปลูกพืชสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย พืชสำคัญทางเศรษฐกิจของไทยตามแหล่งปลูกในภาคต่างๆ จากสถิติการเกษตรของประเทศไทย พ.ศ.2550 ซึ่งได้มีการจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่

        - ข้าว

        - ข้าวโพด

        - ฝ้าย

        - ถั่วเหลือง

        - อ้อย

        - ยางพารา

        - ปาล์มน้ำมัน

        - ปอ

        “นักเรียนไปศึกษาแผนที่แสดงแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในหน้าต่อไปและลองพิจารณาว่า พืชเศรษฐกิจแต่ละชนิดมีปลูกในภูมิภาคใดมากและในภูมิภาคของนักเรียนมีพืชเศรษฐกิจชนิดใดบ้าง”

        -----------------------------------179

        แผนที่แสดงแหล่งเพราะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ

        -----------------------------------180

        จากข้อมูลที่ปรากฏบนแผนที่แสดงแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ทำให้เราสรุปความรู้ได้ ดังนี้

        (1) ข้าว มีปลูกในทุกจังหวัด จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวมากกว่า 500,000 ไร่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา และภาคกลางตอนบน โดยปลูกในพื้นที่ราบดินตะกอนแม่น้ำ

        (2) อ้อย มีปลูกในพื้นที่บริเวณจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เลย อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร นครราชสีมา บุรีรัมย์ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยปลูกในพื้นที่ดินร่วน

        (3) ข้าวโพด มีปลูกในพื้นที่จังหวัดเลย เพชรบุรี พิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา และสระแก้ว เนื่องจากพื้นที่เป็นดินที่เกิดจากหินปูนและหินบะซอลต์ผุ

        (4) ยางพารา มีปลูกในภาคใต้ทุกจังหวัดและภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์ยาง จึงมีการปลูกเพิ่มมากขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณที่มีฝนตกชุกมากว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี ได้แก่ จังหวัดนครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

        (5) ฝ้าย มีปลูกในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี อุทัยธานี สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา เพชรบุรี พิษณุโลก เลย ลำปาง น่าน แพร่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ฤดูเก็บเกี่ยวมีอากาศแห้ง แทบจะไม่มีฝนตก

        (6) ปาล์มน้ำมัน มีปลูกมากในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร สตูล ตรัง กระบี่ สุราษฎร์ธานี แลมีการนำพันธุ์ไปปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        -----------------------------------181

        (7) ถั่วเหลือง ที่ปลูกมากในภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ อุตรดิตถ์  และภาคกลางที่สุโขทัย เนื่องจากสภาพดินมีความชุ่มชื้นและอากาศเย็น

        (8) ปอ เป็นพื้นที่มีปลูกเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

        2) แผนที่แสดงที่ตั้งเขื่อนสำคัญ น้ำจืดเป็นทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงชีวิต การเพาะปลูก ประมง อุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่งการกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนจึงเป็นหลักการสำคัญ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยจะมีช่วงฤดูฝนเพียง 5 เดือน คือ กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม (ยกเว้นภาคใต้ที่จะมีฝนตกต่อเนื่องไปจนถึงเดือนมกราคม)

        ดังนั้น การเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนจึงช่วยให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี เช่น ใช้ในด้านการเพาะปลูกช่วงฤดูแล้ง ใช้เป็นแหล่งประมง เป็นแหล่งท่องเที่ยว ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

        รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ได้มอบหมายให้กรมชลประทานจัดสร้างเขื่อนและฝายทดน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้จัดสร้างเขื่อนเพื่อใช้พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้า รวมทั้งมีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการบรรเทาอุทกภัยด้วย เขื่อนในประเทศไทยจึงให้ประโยชน์มากกว่าการกักเก็บน้ำ จึงเรียกว่า “เขื่อนอเนกประสงค์”

        เขื่อนสำคัญๆ จะสร้างในภูมิลักษณ์ที่เป็นหุบเขาของทิวเขาต่างๆ และมีทุกภูมิภาค ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาได้จากแผนที่แสดงที่ตั้งเขื่อนสำคัญในประเทศไทย

        “ให้นักเรียนศึกษาแผนที่ในหน้าต่อไป ว่าในภูมิภาคที่ตนเองอาศัยอยู่ มีเขื่อนสำคัญอะไรตั้งอยู่บ้าง”

        -----------------------------------182

        แผนที่แสดงที่ตั้งเขื่อนสำคัญ

        -----------------------------------183

        จากข้อมูลที่ปรากฏในแผนที่พบเขื่อนสำคัญในภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

        (1) ภาคเหนือ เช่น เขื่อนแม่งัด เขื่อนกิ่วลม เขื่อนสิริกิติ์ เป็นต้น

        (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำปาว เขื่อนมูลบน เป็นต้น

        (3) ภาคกลาง เช่น เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนกระเสียว เป็นต้น

        (4) ภาคตะวันออก เช่น เขื่อนบางปะกง เขื่อนบางพระ เป็นต้น

        (5) ภาคตะวันตก เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนแก่งกระจาน เป็นต้น

        (6)ภาคใต้ เช่น เขื่อนรัชชประภา เขื่อนบางลาง เป็นต้น

        3) แผนที่แสดงเส้นทางสายเอเชียและทางหลวงแผ่นดินสายประธาน ถนนเป็นเส้นทางสัญจรและการขนส่งผลิตผลด้านการเกษตรรวมทั้งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่ง เนื่องจากประเทศไทยมีทางหลวงจำนวนมาก ดังนั้นในชั้นเรียนนี้จึงขอยกตัวอย่างเฉพาะทางหลวงสายเอเชียที่เชื่อมติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ซึ่งใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินสายประธาน

        ความรู้เสริม

        ทางหลวงสายเอเชีย เป็นเส้นทางที่เชื่อมการติดต่อระหว่างประเทศต่างๆ  ในทวีปเอเชียเริ่มจากทางตะวันตกของทวีป คือ จากประเทศ ตุรกี อิรัก อิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

        “ให้นักเรียนศึกษาแผนที่ในหน้าต่อไปและพิจารณาว่าในจังหวัดที่ตนเองอาศัยอยู่ทางหลวงอะไรบ้าง”

        -----------------------------------184

        แผนที่แสดงเส้นทางหลวงสายเอเชียและทางหลวงแผ่นดินสายประธาน

        -----------------------------------185

        จากข้อมูลที่ปรากฏในแผนที่ นักเรียนจะพบสัญลักษณ์ และ ซึ่งมีความหมายดังนี้

        ทางหลวงสายเอเชีย จะมีป้ายแสดงสัญลักษณ์ AH  และเลขทางหลวง เช่น AH1,AH2 พื้นป้ายมีสีน้ำเงิน ตัวอักษรและเลขมีสีขาว

        ทางหลวงสายประธาน จะมีป้ายแสดงสัญลักษณ์รูปครุฑไว้บนหมายเลขทางหลวง เช่น

        - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แสดงเส้นในภาคเหนือ

        - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) แสดงเส้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) แสดงเส้นในตะวันออก

        - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) แสดงเส้นในภาคใต้

        นักเรียนที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆ อาจจะพบหมายเลขทางหลวงที่แตกต่างจากที่ยกตัวอย่าง เช่น

        - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ ใช้หมายเลข7และหมายเลข 9

                - ทางหลวงชนบท เป็นทางหลวงที่มีหมายเลขจำนวน 4 ตัว เช่น 1093 1194 2242 2379 3148 3245 4015 4207 เป็นต้น

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า เครื่องมือทางภูมิศาสตร์สามารถให้ข้อมูลเรื่องใดได้บ้าง

        2. นักเรียนคิดว่า ลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏแผนที่มีอะไรบ้าง

        3. นักเรียนคิดว่า ถ้ามีแผนที่ที่ระบุลักษณะทางกายภาพของภูมิประเทศ ระบุแหล่งทรัพยากรธรรมชาติระบุเส้นทางที่สำคัญ ระบุแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่ในแผนที่เดียวกัน จะส่งผลต่อผู้อ่านหรือผู้ใช้แผนที่อย่างไร

        -----------------------------------186

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

        แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-3 คน ให้แต่ละกลุ่มหาแผนที่แสดงลักษณะทางกายของประเทศมา 1ภาพ และใช้แผนที่นั้นอธิบายลักษณะทางกายภาพของประเทศ

        3. ภาพถ่ายที่ใช้ศึกษาทางด้านลักษณะทางกายภาพ

        เป็นภาพที่ถ่ายลักษณะทางกายภาพของพื้นทีต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ทะเล ที่ราบ หุบเขา เกาะ เป็นต้น ซึ่งเป็นลักษณะทางธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ภาพถ่ายจึงจัดเป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์อีกประเภทหนึ่ง ที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศของเราได้ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้

        1) ภาพถ่ายทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นภาพถ่ายปกติธรรมดาทั่วไปแต่ภาพในภาพจะมีข้อมูลลักษณะภูมิลักษณ์ เช่น ภูเขา น้ำตก ชายฝั่ง ทะเล เป็นต้น ภาพถ่ายประเภทนี้ดูง่าย เข้าใจง่าย แต่ให้ข้อมูลจำกัดเฉพาะบริเวณที่ถ่ายเท่านั้น

        ภาพ : ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดจะมีแม่น้ำและเกาะแก่งอยู่ด้วย (จากภาพ สามพันโบก อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี)

        -----------------------------------187

        2) ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นภาพถ่ายจากอากาศยาน เช่น เครื่องบิน บอลลูน เป็นต้น มีทั้งภาพที่ถ่ายลงมาในแนวดิ่ง และภาพที่ถ่ายลงในแนวเฉียงกับผิวโลก ภาพถ่ายเหล่านั้นจะแสดงสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกในมุมกว้าง ภาพถ่ายทางอากาศใช้แสดงแหล่งและข้อมูลที่มองจากที่สูง เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจนตามความเป็นจริง เช่น ภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น

        ภาพ : ภาพถ่ายทางอากาศทำให้เห็นลักษณะภูมิประเทศมุมกว้าง ในการใช้งานควรนำภาพถ่ายทางอากาศไปใช้ร่วมกับแผนที่แสดงลักษณะภูมิลักษณ์ของบริเวณที่จะศึกษาด้วย ก็จะเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้น (จากภาพ เป็นภาพถ่ายทางอากาศบริเวณสะพานภูมิพล อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

        แหล่งข้อมูล : www.satimagingcorp.com

        -----------------------------------188

        3) ภาพจากดาวเทียม เป็นภาพที่ได้มาจากดาวเทียม ซึ่งดาวเทียมจะแปลข้อมูลและส่งสัญญาณมายังพื้นโลก ภาพจากดาวเทียมถ่ายจากระยะไกล ดังนั้น ภาพที่ได้จึงมีรัศมีครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด รวมทั้งสามารถถ่ายเน้นเฉพาะบางพื้นที่ก็ได้

        ปัจจุบัน นิยมใช้ภาพจากดาวเทียม เพราะภาพมีความแม่นยำและเป็นปัจจุบัน สามารถนำมาใช้ในกิจการต่างๆ อย่างแพร่หลาย เช่น ดารสำรวจดารไหลของกระแสน้ำ การสำรวจแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การตรวจสอบการเคลื่อนที่ของพายุต่างๆ เป็นต้น

        สรุปได้ว่าการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะสำคัญทางกายภาพของประเทศไทย ถ้าเราได้ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะแผนที่และภาพถ่ายชนิดต่างๆ เข้ามาช่วย ก็ยิ่งทำให้เราได้รับข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีความเข้าใจสภาพแวดล้อมทางกายภาพความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพของประเทศของเราได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

        ภาพ : ตัวอย่างภาพจากดาวเทียม บริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี แสดงพื้นที่ราบ แหล่งน้ำ ที่ตั้งชุมชน เส้นทางคมนาคม

        -----------------------------------189

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า ภาพถ่ายทางภูมิศาสตร์ ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม มีความแตกต่างกันอย่างไร

        2. การใช้ภาพจากดาวเทียมศึกษาลักษณะทางกายภาพของประเทศ มีผลดีอย่างไร

        3. นักเรียนคิดว่า แผนที่ทางกายมีประโยชน์อย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1. แบ่งกลุ่ม กลุ่ม 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มหาภาพถ่ายที่แสดงลักษณะทางกายภาพของประเทศ มาอย่างละ 1 ภาพ และใช้ภาพนั้นอธิบายลักษณะทางกายภาพของประเทศ

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย จากนั้นส่งตัวแทนออกมาหน้าชั้น

        กิจกรรมรวบยอด

        1. วาดภาพแผนที่ประเทศไทยที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ แล้วสรุปลักษณะเด่นทางด้านกายภาพของประเทศมาพอสังเขป

        2.ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุด

        1) แผนที่มีความสำคัญอย่างไร

        2) การศึกษาแผนที่แสดงเส้นทางหลวงสายเอเชียและทางหลวงแผ่นดินสายประธานก่อนออกเดินทาง มีผลดีอย่างไร

        3) ภาพถ่ายปกติธรรมดาจะให้ข้อมูลลักษณะทางกายภาพแตกต่างจากภาพถ่ายดาวเทียมอย่างไร

        4) ภาพถ่ายทางอากาศและภาพจากดาวเทียมมีความสำคัญอย่างไร

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. ในชีวิตประจำวันของนักเรียน มีการใช้ประโยชน์จากแผนที่อย่างไรบ้าง

        2. ถ้าครอบครัวของนักเรียนอาศัยอยู่ในจังหวัดลำพูน และต้องการเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี โดยรถยนต์ส่วนตัว แต่ไม่มีแผนที่และไม่ทราบเส้นทาง นักเรียนจะมีวิธีแก้ปัญหานี้อย่างไร

        3. นักเรียนเคยใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายทางภูมิศาสตร์อย่างไรบ้าง

        -----------------------------------190

            บทที่ 2 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        ภาพ : น้ำตก

        ภาพนี้สามารถอธิบายลักษณะทางกายภาพได้อย่างไร

        แนวคิดสำคัญ

        การศึกษาลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างลักษณ์ทางกายภาพกับวิถีชีวิตของคน ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

        -----------------------------------191

        1 ลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย

        ประเทศไทยตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนและคาบสมุทรมลายู

        1. ลักษณะทั่วไปของประเทศไทย

        ลักษณะทางด้าน

        1) ที่ตั้ง

        รายละเอียด

        -      ประเทศไทยมีพิกัดภูมิศาสตร์ ดังนี้

        จุดเหนือสุด อยู่ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

        จุดใต้สุด อยู่ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา

        จุดตะวันออกสุด อยู่ในเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

        จุดตะวันตกสุด อยู่ในเขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

        ลักษณะทางด้าน

               2) รูปร่างและขนาด

        รายละเอียด

        - ประเทศไทยมีรูปร่างคล้ายขวานหรือคล้ายหัวช้าง

        มีความยาวจากเหนือสุดถึงใต้สุด มีระยะทาง 1,640 กิโลเมตรวัดจาก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และตำแหน่งจุดใต้จุดอยู่ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

        มีความกว้างสุดจากตะวันตกไปตะวันออก มีระยะทาง 780 กิโลเมตร วัดจาก อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ถึงอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

        ลักษณะทางด้าน

        3) เนื้อที่

        รายละเอียด

        -ประเทศไทยมีขนาดพื้นที่ประมาณ 513,115,029 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นดันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย และพม่า

        ลักษณะทางด้าน

        4) แนวพรมแดนและอาณาเขต

        รายละเอียด

        - ประเทศไทยมีอาณาเขตติดกับ 4 ประเทศ ดังนี้

        ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

        ทิศตะวันออก ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา

        ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

        ทิศใต้ ติดกับสหพันธรัฐมาเลเชีย

        -----------------------------------192

        แผนที่ประเทศไทยแสดงอาณาเขตจังหวัด

        -----------------------------------193

        2. ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย

        ลักษณะภูมิประเทศของประเทศ สามารถแบ่งตามการแบ่งเขตโครงสร้างทางธรณีวิทยาออกเป็น 6 เขต หรือ 6 ภูมิภาค ดังนี้

        1) ภาคเหนือ ประกอบด้วยพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์

        ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือส่วนใหญ่มีภูเขากระจายอยู่เกือบทั้งภาค มีที่ราบอยู่เพียงเล็กน้อย ทิวเขาที่สำคัญ ได้แก่ ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาผีปันน้ำ ปละทิวเขาหลวงพระบาง สำหรับที่ราบมี 2 ประเภท คือ ที่ราบหุบเขา และที่ราบซึ่งเกิดขึ้นในแอ่งแผ่นดิน แม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำต่างๆ เหล่านี้ เมื่อไหลผ่านมายังหุบเขาและที่ราบจะนำตะกอนและธาตุอาหารของพืชไปทับถมกันในบริเวณที่ราบลุ่ม จนกลายเป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพราะปลูกและตั้งถิ่นฐาน

        ภาพ : ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือส่วนใหญ่มีภูเขากระจายอยู่เกือบทั้งภาค

        -----------------------------------194

        2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยพื้นที่ 20 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา

        ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปจะเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ทางตอนกลาง คือ แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร ส่วนทิศใต้ของภาคมีทิวเขาสันกำแพงและทิวเขาพนมดงรักเป็นขอบ

        ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถแบ่งออกไปเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

        ภาพ : ลักษณะการไหลที่คดโค้งของแท่น้ำมูล บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี

        -----------------------------------195

        (1) บริเวณที่เป็นทิวเขา คือ ทิวเขาที่ตั้งอยู่ทางขอบของภาคได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ตะวันออก ทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาสันกำแพง ทิวเขาพนมดงรัก และทิวเขาภูพาน

        (2) บริเวณที่เป็นแอ่งที่ราบ ได้แก แอ่งโคราช ซึ่งเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ อยู่ทางตอนล่างของภาค ภายในแอ่งมีแม่น้ำชี แม่น้ำมูลไหลผ่าน แอ่งสกลนครอยู่ทางตอนบนของภาค ภายในแอ่งมีแม่น้ำสงคราม ห้วยน้ำก่ำ ห้วยหลวง ไหลผ่านเป็นดินร่วนปนทราย น้ำซึมผ่านได้ง่าย ดินจึงไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้นาน สภาพพื้นที่จึงแห้งแล้งภายหลังจากที่ฤดูฝนผ่านไปได้ไม่นานและขาดแคลนน้ำในฤดูร้อน

        ความรู้เสริม

        แม่น้ำสงคราม มีต้นน้ำอยู่ที่เส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กับ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

        3) ภาคกลาง ประกอบด้วยพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครสรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม

        ลักษณะภูมิประเทศของภาคกลางส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสำหรับทางด้านตะวันตกและตะวันออกของภาคกลาง จะมีภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับกับภูเขา โดยทางด้านตะวันออกจะมีทิวเขาเพชรบูรณ์ และทิวเขาหลวงพระบาง ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นทิวเขาถนนธงชัย

        “ในภาคกลางได้แบ่งลักษณะภูมิประเทศออกเป็น 2 แบบ ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในหน้าต่อไป”

        -----------------------------------196

        ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของภาคกลางแบ่งได้ ดังนี้

        (1) ที่ราบภาคกลางตอนบน มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับกับเนินหรือภูเขาขนาดเล็ก ซึ่งมรอาณาบริเวณตั้งแต่จังหวัดสุโขทัยลงไปถึงจังหวัดนครสวรรค์

        (2) ที่ราบภาคกลางตอนล่าง มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีอาณาบริเวณตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงมาจนถึงอ่าวไทย

        เนื่องจากในภาคกลางมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสาย  ได้แก่แม่นำเจ้าพระยา แม่นำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำท่าจีน ส่วนดินมีความอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาแก่การปลูกพืชมากกว่าภาคอื่นๆ

        ภาพ : ภาคกลางมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มจึงเหมาะสมหรับทำนา เช่น บริเวณจังหวัดชัยนาท

        -----------------------------------197

        4) ภาคตะวันออก ประกอบด้วยพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

        ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของภาคตะวันออก แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

        (1) บริเวณที่เป็นทิวเขา ประกอบด้วยทิวเขาจันทบุรี ซึ่งอยู่ทางด้านตอนกลางของภาค และมีแนวเขาทอดยาวผ่านหลายจังหวัด เช่น จันทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชนบุรี เป็นต้น และทิวเขาบรรทัด ซึ่งมีแนวเขาทอดยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้เป็นแนวเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ในพื้นที่จังหวัดตราด

        (2) บริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือของภาค ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ คือแม่น้ำบางประกงและที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนใต้ของภาค ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดเล็ก เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำระยอง แม่น้ำประแสร์ แม่น้ำจันทบุรี เป็นต้น

        (3) บริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเลและเกาะ ชายฝั่งทะเลของภาคตะวันออก จะมีลักษณะเป็นหาดโคลน หาดทรายปนโคลน หาดทรายที่มีความสวยงาม เช่น หาดบางแสน หาดพัทยา เป็นต้น และยังมีเกาะจำนวนมาก เช่น เกาะสีชัง เกาะล้าน เกาะช้าง เกาะเสม็ด เป็นต้น

        ภาพ : ภาพตะวันออกมีหาดทรายที่สวยงามหลายแห่ง (จากภาพ ชายหาดบนเกาะกูด จังหวัดตราด)

        -----------------------------------198

        5) ภาคตะวันตก ประกอบด้วยพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

        ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตก แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

        (1) บริเวณที่เป็นทิวเขา ภาคตะวันตกประกอบด้วยทิวเขาสำคัญ 2 แนว คือ ทิวเขาถนนธงชัยกลาง และทิวเขาตะนาวศรี

        นอกจากนี้ยังมีเขาโดด เป็นกลุ่มภูเขาหินปูน อยู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เช่น เขางู จังหวัดราชบุรี เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจอบคีรีขันธ์ เป็นต้น

        ภาพ : เขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขาหินปูนที่สำคัญของภาคตะวันตก

        -----------------------------------199

        (2) บริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาคตะวันตก เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ที่ราบลุ่มแม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลองที่ราบลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี เป็นต้น

        (3) บริเวณที่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ ชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลน และบริเวณที่เป็นหาดทราย

        ภาพ : พื้นที่ชุมชนบริเวณอ่าวบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะมีลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเลที่มีหาดทรายสวยงาม

        6) ภาคใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

        ลักษณะภูมิประเทศภาคใต้ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

        (1) บริเวณที่เป็นทิวเขา ลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรมีทิวเขาตะนาวศรีต่อเนื่องไปจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งไปติดต่อกับทิวเขาภูเก็ต และวางทอดแนวชิดชายฝั่งทะเลอันดามันจากระนองลงไปตอนกลางของภาคมีทิวเขานครศรีธรรมราช และมีทิวเขาสันกาลาคีรีกั้นชายแดนไทยกับมาเลเซีย

        (2) บริเวณที่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ได้แก่ ที่ราบชายฝั่งอ่าวไทย และที่ราบชายฝั่งทะเลอันดามัน มีลักษณะเป็นที่ราบแคบๆ

        ความรู้เสริม

        ทิวเขาสันกาลาคีรี เริ่มจากบริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลในตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ทอดตัวไปตามแนวสันเขตแดนไทย-มาเลเซีย โดยตลอดจนถึงบริเวณต้นแม่น้ำโก-ลก ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

        -----------------------------------200

        (3) บริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล ลักษณะชายฝั่งของทางภาคใต้ มี 2 ลักษณะ คือ

        ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย ซึ่งมีหาดทรายยาวเกือบตลอดแนวชายฝั่ง  มีบริเวณน้ำตื้นกว้างขวาง มีทะเลภายใน เรียกว่า “ทะเลสาบสงขลา” และมีเกาะขนาดใหญ่ ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และหมู่เกาะอ่าวทอง

        ชายฝั่งทะเลอันดามัน จะมีลักษณะเป็นชายฝั่งเว้าแหว่งมีหาดทรายแคบ มีอ่าวขนาดเล็กจำนวนมาก จึงทำให้เกิดเป็นชายฝั่งเว้าแหว่ง และมีหมู่เกาะที่สำคัญ ได้แก่ หมู่เกาะในอุทยานแห่งขาติอ่าวพังงาและอุทยานแห่งชาติตะรุเตา เกาะพีพีดอน และหมู่เกาะสิมิลัน

        ภาพ : อุทยานแห่งขาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยจำนวน 42 เกาะ มีทิวทัศน์สวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยว

        -----------------------------------201

        คำถามจุดประกาย

        1.นักเรียนคิดว่า ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหมือนกับพื้นที่ราบลุ่มในภาคกลางหรือไม่ อย่างไร

        2. การที่ภาคเหนือมีภูเขากระจายอยู่ทั่วไป ส่งผลต่อผู้คนที่อาศัยอยู่อย่างไร

        3. ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ เหมือนหรือแตกต่างจากภาคอื่นๆ อย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

        แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มจัดทำ แผนที่ของภูมิภาคของประเทศไทย กลุ่มละ 1 ภูมิภาคโดยแผนที่นั้น ต้องแสดงถึงลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ที่ราบ เป็นต้น ของภูมิภาคนั้นๆ และออกมาอธิบายลักษณะทางกายภาพของภูมิภาค โดยใช้แผนที่ประกอบของภูมิภาคนั้นๆ และออกมาอธิบายลักษณะทางกายภาพของภูมิภาค โดยใช้แผนที่ประกอบ

        3. ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย

        ภูมิอากาศ คือ ลักษณะของลมฟ้าอากาศที่มีอยู่ประจำในแต่ละท้องถิ่น และเกิดเป็นระยะเวลานาน ซึ่งพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนช่วงเวลาต่างๆของปี

        ปัจจัยที่ทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันนั้นมีอยู่หลายประการ ได้แก่ ที่ตั้งของพื้นที่ ความสูงของพื้นที่ ความใกล้-ไกลจากทะเล ทิศทางของลมประจำ และกระแสน้ำในมหาสมุทร

        ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ใกล้เส้นศูนย์สูตร (อยู่ระหว่างละติจูด 5-21 องศาเหนือ) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 10-40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส เพราะได้รับแสงอาทิตย์อย่างเต็มที่อยู่ตลอดปี

        รอบปีหนึ่งๆ ประเทศไทยมีลมพัดผ่านหลายชนิด ซึ่งลมประจำที่พัดผ่าน คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชันเคลื่อนผ่านประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งพายุทั้งสองประเภทนี้ จะก่อตัวในทะเลจีนใต้และเคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยจากทางตะวันออกไปยังทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งมีผลทำให้มีปริมาณฝนตกมากขึ้น

        -----------------------------------202

        แผนที่แสดงทิศทางลมมรสุมและทางเดินพายุหมุนเขตร้อนที่เข้าสู่ประเทศไทย

        -----------------------------------203

        4. ลักษณะฤดูกาลของประเทศไทย

        เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาแบ่งเขตประเทศไทยเป็น 2 เขต คือ ประเทศไทยตอนบน (หมายถึง ทุกภาคยกเว้นภาคใต้) และประเทศไทยตอนล่าง (หมายถึง ภาคใต้นับตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไป) ดังนั้น จึงมีฤดูกาลและช่วงเวลา ดังนี้

        1) ประเทศไทยตอนบน มีฤดูกาล 3 ฤดู ได้แก่

        ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม ประมาณ 3 เดือน

        ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนพฤศจิกายน ประมาณ 5-6 เดือน

        ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน – กลางเดือนกุมภาพันธ์ ประมาณ 3 เดือน

        2)ประเทศไทยตอนล่าง มีฤดูกาล 2 ฤดู ได้แก่

        ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนธันวาคม ประมาณ 7 เดือน

        ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม – กลางเดือนพฤษภาคม ประมาณ 5 เดือน

        ภาพ : ในช่วงเริ่มเข้าหน้าฝน ชาวนาจะเริ่มดำนาปลูกข้าว

        ภาพ : ในฤดูฝน มักจะมีเมฆครึ้มปกคลุมท้องฟ้า

        -----------------------------------204

        5. ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

        ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ และแร่ ซึ่งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

        ภูมิภาค

        1) ภาคเหนือ

        ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

        - ดิน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วน ไม่อุ้มน้ำ มีธาตุอาหารน้อย

        - แหล่งน้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ กว๊านพระเยา

        - ป่าไม้ มีพื้นที่ป่าไม้มากว่าทุกภาค ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้แดง และไม้ชิงชัน

        - แร่ มีแหล่งแรอยู่ในเขตเทือกเขา แร่ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ลิกไนต์ ฟลูออไรต์ แมงกานีส ทังสเตน และดินขาว

        ภูมิภาค

        2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

        - ดิน ส่วนใหญ่เป็นดินรวนปนทราย อุ้มน้ำได้ไม่ดี จึงไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้นานจึงไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีพื้นที่บางส่วนเป็นดินเค็มที่เกิดจากการสะสมของเกลือผิวดิน

        - แหล่งน้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม และมีแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ห้วยหลวง ลำน้ำพอง ลำตะคอง เป็นต้น

        - ป่าไม้ เป็นภาคที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่าทุกภาค ส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบ ไม่หนาทึบ

        - แร่ ภาคนี้มีการการทำเหมืองแร่น้อย แร่ที่สำคัญ ได้แก่ เกลือหิน โพแทช เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส

        ภูมิภาค

        3) ภาคกลาง

        ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

        - ดิน เป็นภาคที่มีดินที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด เพราะเป็นดินตะกอนในที่ราบลุ่มแม่น้ำ จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชโดยเฉพาะข้าว

        -----------------------------------205

        ภูมิภาค

        3) ภาคกลาง (ต่อ)

        ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

        - แหล่งน้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่นำเจ้าพระยา แม่นำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำสะแกกรัง และแม่ทาจีน มีบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ คือ บึ่งบอระเพ็ด ซึ่งเป็นแหล่งเพราะเลี้ยงปลาน้ำจืด

        - ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบและป่าเบญจพรรณ และมีป่าไผ่อยู่บริเวณจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี

        - แร่ ในภาคนี้มีแหล่งแร่ไม่มากนัก เช่น เหล็ก ยิปซัม หินปูน หินอ่อน ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น

        ภูมิภาค

        4) ภาคตะวันออก

        ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

        - ดิน เป็นดินทีมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย และดินเหนียว ระบบน้ำปานกลาง จึงเหมาะกับการปลูกพืชไรบางชนิด

        - แหล่งน้ำ มีแม่น้ำสายสั้นๆ คือ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำตราด 

        - ป่าไม้ เป็นป่าดิบ และป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลบริเวณจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด

        - แร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ ทรายแก้ว เหล็ก แมงกานีส และรัตนชาติซึ่งมีมากในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด

        ภูมิภาค

        5) ภาคตะวันตก

        ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

        - ดิน เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ ส่วนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะมีตามบริเวณลุ่มแม่น้ำสายสั้นๆ

        - แหล่งน้ำ มีแม่น้ำสำคัญ เช่น แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ เป็นต้น

        - ป่าไม้ เป็นภาคที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์รองจากภาคเหนือ ซึ่งส่วนมากเป็นป่าดิบและป่าเบญจพรรณ และมีป่าไผ่มากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี

        - แร่ ที่สำคัญ ได้แก่ สังกะสี ฟลูออไรต์ พลวง ดีบุก ดินขาว และรัตนชาติ ซึ่งมรมากในอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

        -----------------------------------206

        ภูมิภาค

        6) ภาคใต้

        ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

        - ดิน เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ และสภาพเป็นกรด

        - แหล่งน้ำ แม่น้ำสำคัญ เช่น แม่น้ำตาปี แม่น้ำชุมพร แม่น้ำปัตตานี เป็นต้น

        - ป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบและป่าชายเลน นอกจากนี้มีป่าพรุตามบริเวณที่ลุ่มมีน้ำขังใกล้กับชายฝั่งทะเล ซึ่งพบในบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดนราธิวาส

        - แร่ แร่ที่มีชื่อเสียงและผลิตได้มาก คือ แร่ดีบุก นอกจากนี้มีแร่ที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ลิกไนต์ ยิปซัม ดินขาว และแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย

        คำถามจุดประกาย

        1. เพราะเหตุใดภาคเหนือจึงมีภูมิอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่นๆ

        2. เพราะเหตุใดประเทศไทยตอนล่างจึงมีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู

        3. การที่ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินเค็ม ส่งผลดีและผลเสียต่อคนในภูมิภาคนี้อย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        1.    ให้ตอบคำถามต่อไปนี้ลงในสมุด

        1) ลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทยมีความสำคัญต่อลักษณะทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร

        2) ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทยมีลักษณะเป็นอย่างไร

        3) ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยมีผลต่อการดำรงชีวิตของคนไทยหรือไม่ อย่างไร ให้ยกตัวอย่างประกอบ

        2. แบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มจัดทำแผนที่ประเทศไทยแสดงทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ หรือแร่ กลุ่มละ 1 อย่าง และใช้แผ่นที่อธิบายแหล่งทรัพยากรชนิดนั้นของประเทศไทย

        -----------------------------------207

        2 ภูมิลักษณ์ที่มีอิทธิพลต่อภูมิสังคมของประเทศไทย

        ลักษณะทางกายภาพของประเทศมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลกับการดำรงชีวิตของคนในด้านต่างๆ เช่นการประกอบอาชีพ การสร้างสรรค์วัฒนธรรมประเพณี เพราะคนจะเลือกจั้งถิ่นฐานในบริเวณที่มีภูมิประเทศเหมาะสม มีสภาพอากาศที่พอเหมาะ และมีทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิต ซึ่งในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน ดังนี้

        ภูมิภาค

        ภาคเหนือ

        ภูมิลักษณ์

        ภูมิลักษณ์ในภาคเหนือส่วนใหญ่จะเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน เช่น ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาถนนธงชัย เป็นต้น การที่มีทิวเขาจำนวนมากทำให้เกิดแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา เช่น แอ่งที่ราบลำปาง แอ่งที่ราบน่าน แอ่งที่ราบแพร่ เป็นต้น

        ทิวเขาในภาคเหนือเป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำน้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน เป็นต้น สำหรับป่าไม้ในภาคเหนือส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าสน

        ภูมิสังคม

        ประชากรในภาคเหนือส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานบริเวณแอ่งที่ราบระหว่างภูเขามีการประกอบอาชีพทำนา ปลูกพืชไร่รวมทั้งมีการปลูกผลไม้เมืองหนาว จากการที่ภาคเหนือมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ทำให้ประชากรบางส่วนมีอาชีพเก็บของป่าขาย ทำอุตสาหกรรมไม่แปรรูป

        สำหรับพื้นที่เขาสูงเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าหลายชนเผ่า จึงทำให้มีประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ประเพณีปอยส่างลอง เป็นต้น

        ภูมิภาค

        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

        ภูมิลักษณ์

        ภูมิลักษณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นที่ดอน มีทิวเขาอยู่ทางขอบด้านทิศตะวันตกกับขอบด้านทิศตะวันออก รวมทั้งมีทิวเขาทางตอนในของภาค จึงทำให้เกิดแอ่งที่ราบกว้างใหญ่ทางตนบนของภาค คือ แอ่งสกลนคร และทางตอนล่างของภาค คือ แอ่งโคราช

        ส่วนแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี เป็นต้น ป่าไม้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบ ป่าสนเขา

        ภูมิสังคม

        ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ประสบปัญหาความแห้งแล้ง เนื่องจากมีลักษณะเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำจึงเหมาะกับการปลูกพืชที่ต้องการน้ำน้อย เช่น อ้อย ปอ เป็นต้น

        การที่ประสบกับปัญหาความแห้งแล้งจึงทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น

        -----------------------------------208

        ภูมิภาค

        ภาคกลาง

        ภูมิลักษณ์

        ภูมิลักษณ์ในภาคกลางส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง เป็นต้น จึงทำให้บริเวณภาคกลางมีความอุดมสมบูรณ์

        ป่าไม้ในภาคกลางมีลักษณะเป็นป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน และป่าไผ่ อีกทั้งยังมีบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล บริเวณจังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรปราการ

        ภูมิสังคม

        ประชากรในภาคกลางส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ และประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่

        การที่แม่น้ำหลายสาย จึงทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ประเพณีแข่งเรือ รวมทั้งมีการประกอบอาชีพทำนา ทำให้เกิดประเพณีต่างๆ เช่นประเพณีบูชาแม่โพสพ ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น

        ภูมิภาค

        ภาคตะวันออก

        ภูมิลักษณ์

        ภูมิลักษณ์ในภาคตะวันออกมีหลายลักษณะ คือ มีทั้งทิวเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ราบชายฝั่งทะเล รวมทั้งเกาะ ซึ่งทิวเขาส่วนใหญ่จะอยู่ทางตอนกลางของภาค เช่น ทิวเขาจันทบุรี ทิวเขาบรรทัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำระยอง เป็นต้น

        ป่าไม้ในภาคตะวันออกส่วนใหญ่จะเป็นป่าดิบ และยังมีป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าชายเลน เนื่องจากภาคตะวันออกมีพื้นที่ติดกลับทะเลจึงมีบริเวณที่เป็นที่ราบใช้ฝั่งทะเล เช่น หาดบางแสน หาดพัทยา เป็นต้น และยังมีเกาะที่สวยงาม เช่น เกาะเสม็ด เกาะช้าง เป็นต้น

        ภูมิสังคม

        ประชากรที่อยู่ในภาคตะวันออกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวนผลไม้ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่มีภูเขา เนินเขา และที่ราบชายฝั่งทะเลทำให้มีอากาศชุ่มชื้นและฝนตกชุก อีกทั้งภาคตะวันออกมีที่ราบใช้ฝั่งทะเลรวมทั้งเกาะที่สวยงาม จึงทำให้เกิดอุตสาหกรรมก้านการท่องเที่ยว และการทำประมงน้ำเค็ม

        จากการที่ภาคตะวันออกมีประชากรประกอบอาชีพทำนา ทำสวนผลไม้ ทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ประเพณีวิ่งควาย เทศกาลผลไม้ เป็นต้น

        -----------------------------------209

        ภูมิภาค

        ภาคตะวันตก

        ภูมิลักษณ์

        ภูมิลักษณ์ในภาคตะวันตก จะมีลักษณะคล้ายภาคเหนือช่วงตอนบนของภาค ส่วนทางตอนกลางของภาคคล้ายภาคกลาง และทางตอนล่างของภาคเป็นชายฝั่งทะเล สำหรับในภาคตะวันตกจะมีทิวเขาที่ทอดตัวยาวต่อเนื่องมาจากภาคเหนือคือ ทิวเขาถนนธงชัย และมีทิวเขาตะนาวศรีทางตอนกลางของภาค รวมทั้งมีที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และที่ราบลุ่มแม่น้ำเพชรบุรี

        ภาคตะวันตกมีที่ราบชายฝั่งทะเลที่สวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหัวหิน เป็นต้นมีเกาะที่สวยงาม เช่น เกาะหลัก เกาะแรด เป็นต้น และยังมีป่าดิบป่าเบญจพรรณ และป่าไผ่

        ภูมิสังคม

        ประชากรในภาคตะวันตกส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีพื้นที่ที่เป็นทิวเขาและที่ราบเชิงเขา ส่วนพื้นที่ที่ติดกับทะเลจะมีการทำประมงน้ำเค็ม

        นอกจากนี้ยังมีการทำอุตสาหกรรม ต่างๆ เช่น การทำเหมืองแร่ การทำพลอย การปั้นโอ่ง เป็นต้น ในภาคตะวันตกมีทิวเขาสูงและมีพื้นที่ติดกับภาคเหนือจึงมีชนเผ่าหลายชนเผ่าอาศัยอยู่ จึงทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ประเพณีเสนเฮือน ประเพณีกินข้าวใหม่ เป็นต้น

        ภูมิภาค

        ภาคใต้

        ภูมิลักษณ์

        ภูมิลักษณ์ในภาคใต้ที่มีลักษณะเด่นแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือ เป็นแผนดินที่ยื่นลงไปในทะเล ทิวเขาที่สำคัญ เช่น ทิวเขานครศรีธรรมราช ทิวเขาภูเก็ต เป็นต้น แม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก

        เนื่องจากทางภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรจึงมีที่ราบชายฝั่งทะเลและเกาะเป็นจำนวนมาก เช่น เกาะภูเก็ต เกาะสมุย เกาะพะงัน เป็นต้น สำหรับป่าไม้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นป่าดิบ ป่าชายเลน และป่าพรุ

        ภูมิสังคม

        ประชากรในภาคใต้ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชที่ปลูกเป็นพืชที่ชอบน้ำและอากาศชื้น เช่น เป็นพืชที่ชอบน้ำและอากาศชื้น เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลจะมีการำประมงน้ำเค็ม และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

        การที่ภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรจึงมีชาวต่างชาติแล่นเรือเข้ามาติดต่อค้าขาย จึงได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย ทำให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ประเพณีการแข่งเรือกอและ ประเพณีฮารีรายอ เป็นต้น

        -----------------------------------210

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า ประชากรจะเลือกอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่มีลักษณะทางภูมิลักษณ์แบบใด เพราะอะไร

        2. ภูมิลักษณ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะที่แตกต่างกับภาคกลางอย่างไร

        3. การที่ภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทร ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในภาคอย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 3

        สืบค้นข้อมูลการดำรงชีวิตของคนไทยในแต่ละภาคที่เป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือทรัพยากรธรรมชาติ และบันทึกข้อมูล และนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        กิจกรรมรวบยอด

        แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มอภิปรายว่าลักษณะทางกายภาพของประเทศไทยมีผลต่อสภาพสังคมของประเทศอย่างไร จากนั้นสรุปผลลงในสมุด

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. ในจังหวัดของนักเรียนมีลักษณะภูมิลักษณะและภูมิสังคมใดบ้าง

        2.    ถ้าใบชุมชนของนักเรียนมีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ดอน นักเรียนคิดว่าควรจะประกอบอาชีพใด จึงจะเหมาะสมที่สุด เพราะอะไร

        3. ถ้านักเรียนต้องการไปท่องเที่ยวชายหาดและเกาะที่สวยงาม ควรจะไปเที่ยวที่ใด เพราะอะไร

        -----------------------------------211

            บทที่ 3 ลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเกิดจากสาเหตุใด และมีผลกระทบต่อเราอย่างไร

        แนวคิดสำคัญ

        การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทำให้เราเข้าใจการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีผลต่อการดำรงชีวิต และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปลอดภัย

        -----------------------------------212

        ความสัมพันธ์ขิงลักษณะทางกายภาพกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

        ในขณะที่ประเทศของเรามีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความก้าวหน้าด้านทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่นำมาช่วยพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น มีการพัฒนาพื้นที่และสภาพแวดล้อมให้มนุษย์มีที่อยู่อาศัยที่ทันสมัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก มีความปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์ยังไม่สามารถหลีกหนีได้นั้นคือ ภัยธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนเกิดผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้คนที่สูญเสียเหล่านั้น

        ภัยธรรมชาติในประเทศไทยมีหลายลักษณะ ได้แก่ อุทกภัย ภัยแล้ง วาตภัยและพายุหมุน ไฟป่า แผ่นดินถล่ม แผ่นดินไหว และสึนามิ   ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        1. อุทกภัย

        อุทกภัย เป็นภัยที่เกิดจากสภาพน้ำท่วม หรือน้ำหลากอย่างฉับพลัน สาเหตุหลักเกิดจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือเขื่อนพัง

        อุทกภัยส่วนใหญ่มักเกิดในพื้นที่ที่เป็นที่ราบลุ่ม ที่ราบน้ำท่วมถึงและที่ราบเชิงเขา โดยเกิดน้ำป่าไหลหลาก อันเนื่องมาจากฝนตกอย่างต่อเนื่องยาวนานจากอิทธิพลของหย่อนความกดอากาศต่ำหรือจากร่องฝน จากลมมรสุมที่มีกำลังแรง และพายุหมุนเขตร้อน

        ในประเทศไทยมักจะประสบกับปัญหาอุทกภัยในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร นครสรรค์ สุพรรณบุรี พระนครสีอยุธยา ขอนแก่น มหาสารคาม ชุมพร พัทลุง สงขลา เป็นต้น

        ภาพ : บริเวณที่ราบเชิงเขาของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเกิดอุทกภัย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553

        -----------------------------------213

        ในปัจจุบันนี้มีการใช้พื้นที่อย่างไม่เหมาะสม เช่น มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำการเกษตร การบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อสร้างรีสอร์ตบริเวณเชิงเขา เมื่อมีฝนตกหนักจริงทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากไม่มีต้นไม้ช่วยชะลอการไหลของน้ำและดูดซับน้ำบางส่วนเอาไว้ และในบริเวณลุ่มน้ำจะเกิดน้ำไหลหลากผ่านชุมชนที่ตั้งกีดขวางทางน้ำ และเมื่อน้ำไหลลงสู่แม่น้ำอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ปริมาณน้ำล้นตลิ่ง และไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งที่อยู่อาศัยของประชาชนด้วย

        ภาพ : สภาพน้ำท่วมบริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพหานคร เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2554

        2. ภัยแล้ง

        ภัยแล้งเกิดจากการขาดแคลนน้ำ จนก่อให้เกิดความแห้งแล้งและส่งผลกระทบต่อพืช สัตว์ และมนุษย์ในท้องถิ่น

        ภัยแล้งมักจะเกิดขึ้นเนื่องจากสาเหตุทางธรรมชาติ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เพราะอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น หรือฤดูแปรปรวน คือ ช่วงฤดูฝนมีฝนตกจำนวนน้อย และไม่มีพายุหมุนเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ  ส่งผลทำให้พื้นที่ที่เคยมีปริมาณน้ำฝนเป็นปกติ เปลี่ยนไปเป็นขาดแคลนน้ำฝน

        ในประเทศไทยมักจะประสบปัญหาภัยแล้งในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สิงห์บุรี อ่างทอง สระแก้ว เป็นต้น

        “เป็นที่หน้าสังเกตได้ว่า เมื่อพื้นที่ใดมีฝนตกในช่วงฤดูฝนน้อยเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวหรือช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่นั้นๆ ก็จะเกิดภัยแล้งทันที่ และอาจต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายน”

        -----------------------------------214

        ในการป้องกันภัยแล้งจึงควรหาพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูฝนสิ้นสุดลงไป เช่น การสร้างเขื่อน สร้างฝาย การขุดลอกแหล่งน้ำ และที่สำคัญ คือ การปลูกป่าไม้ให้มากบนพื้นที่ภูเขา เป็นต้น

        ภาพ : สถานการณ์ภัยแล้งที่คลองแม่เทียบ จังหวัดพิษณุโลก ทำให้ชาวบ้านบ้านเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ เมื่อ7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552

        3.วาตภัย

        วาตภัยเป็นภัยที่เกิดจากลมพัดอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ต่ออาคารบ้านเรือน ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆ

        พายุรุนแรงเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่นๆ ดังนี้

        1) การเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หรือพายุฤดูร้อน การเกิดลมกระโชกแรง มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนในพื้นที่ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ

        2) การเกิดพายุหมุน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น พายุโซร้อน และพายุใต้ฝุ่น ที่มักจะเกิดในช่วงต้นและช่วงปลายฤดูฝน ตัวอย่างเช่น

        พายุใต้ฝุ่นเลกีมา ได้พัดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2550 ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 28 จังหวัด ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งได้สร้างความเสียหายแก่ประชาชน 3,000 ครอบครัว และพื้นที่การเกษตรอักหลายพันไร่ มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 1,449 ล้านบาท

        กระแสลมที่พัดแรงขึ้นในช่วงต่างๆ จะทำให้เกิดคลื่นแรงขึ้น ดังนั้น บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั้งในภาคใต้และภาคตะวันออก จะเกิดปรากฏการณ์คลื่นกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งนับวันจะรุนแรงมากขึ้น

        -----------------------------------215

        4. ไฟป่า

        ไฟป่าเกิดเนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าไม้มีความแห้ง อาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และเกิดจากการที่มนุษย์เผาป่า

        การเกิดไฟป่าทำให้เกิดความสูญเสียทั้งพืชและสัตว์ที่มีชีวิต และอาศัยอยู่ในป่า ทำให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป

        ผลจากการเผาป่าทำให้ควันไฟ ฝุ่นและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณสูงขึ้น ทำให้เกิดมลพิษในอากาศบริเวณพื้นที่ป่าและแหล่งชุมชนเกิดฝุ่นละอองและควัน ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ฟ้าหลัว” หรือ “หมอกแดด” ตัวอย่างเช่น พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ต้องประสบกับสถานการณ์นี้ โดยต้องใช้ผ้าปิดจมูกเมื่อออกจากที่อยู่อาศัย

        ผลอีกประการหนึ่งคือ การเพิ่มอุณหภูมิของโลก ทำให้ร้อนมากขึ้น ดังนั้นจึงควรงดเว้นการเผาป่าเพียงเพื่อหวังการเก็บของป่าเพียงเท่านั้น

        ภาพ : สภาพพื้นที่ไฟไหม้ป่าบริเวณทิวเขาบรรทัด จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

        ภาพ : สภาพพื้นป่าหลังเกิดไฟไหม้ที่ดอยหลวงเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

        5. แผ่นดินถล่ม

        แผ่นดินถล่มเกิดขึ้นในลักษณะภูมิลักษณ์ที่เป็นภูเขา เนินเขาที่มีความลาดชันมาก

        -----------------------------------216

        สาเหตุที่สำคัญเกิดจากการใช้พื้นที่ตรงบริเวณเชิงเขาเพื่อการเกษตรกรรม มีการขุด ไถ พรวน โดยตัดไม้ทำลายป่าและทำการเพาะปลูกหรือสร้างที่อยู่อาศัย เมื่อพื้นที่ฝนตกหนักและต่อเนื่องกันมากกว่า 24 ชั่วโมง น้ำฝนจะไหลซึมลงดิน ทำให้ดินอุ้มน้ำไว้นั้นอิ่มเกินตัวที่จะรับน้ำได้จึงพังทลายไหลลงตามลาดเขาและแรงดึงดูดของโลก ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

        แผนดินถล่มมักเกิดขึ้นในช่วงกลางฤดูฝน คือ เดือนสิงหาคม-กันยายน หรือช่วงที่มีฝนตกหนักมากๆ ดังนั้นผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ต่ำกว่าและอยู่ในทิศทางการไหลของน้ำหรือแผ่นดินถล่ม จะต้องระมัดระวังเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ โดยสังเกตสีของกระแสน้ำที่ไหลมาตามลำธาร

        ในประเทศไทยมีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อแผ่นดินถล่ม เช่น จังหวัดอุตรดิตถ์ อุทัยธานี นครสรรค์ กำแพงเพชร ตาก กาญจนบุรี พังงา ระนอง กระบี่ นครศรีธรรมราช เป็นต้น

        ภาพ : หมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ แระสบความเสียหายจากภัยแผ่นดินถล่ม เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2554

        6. แผ่นดินไหว

        แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก เนื่องจากอิทธิพลของหินหนืดใต้ชั้นเปลือกโลกทำให้บริเวณรอยเลื่อนต่างๆ ของเปลือกโลกเคลื่อนไหว

        -----------------------------------217

        รอยเลื่อนสำคัญในประเทศไทยมีมากในภาคเหนือ เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน ซึ่งอยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ทา อยู่ในบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ รอยเลื่อนแพร่ อยู่ในบริเวณจังหวัดลำปางและแพร่ นอกจากนี้ ยังมีรอยเลื่อนในภาคตะวันตก เช่น รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ อยู่บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้น

        การเกิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่มีความรุนแรงและมักเกิดมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวจากภายนอกประเทศ เช่น ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ตอนเหนือของประเทศลาว ทางตอนใต้ของประเทศจีน ทางตอนบนของประเทศพม่า เป็นต้น

        7. คลื่นสึนามิ

        สึนามิเป็นคลื่นทะเลขนาดใหญ่ที่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วจนมีพลังมาก ซึ่งเกิดจากมวลน้ำในทะเลและมหาสมุทร ได้รับแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง จนทำให้กลายเป็นคลื่นกระจายตัวออกไปจากศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนนั้น โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหวรุนแรงใต้ท้องทะเล แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น การระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟใต้ทะเล ดินถล่มที่พื้นท้องทะเล การทดลองระเดนิวเคลียร์ใต้ท้องทะเล มีอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่ตกลงสู่พื้นมหาสมุทร เป็นต้น

        ความรู้เสริม

        ความรุนแรงของแผ่นดินไหว จะกำหนดเป็นมาตราริกเตอร์ ดังนี้

        - 1-2.9 ริกเตอร์ ถือว่าไม่รุนแรง ระดับนี้ผู้คนจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนเล็กน้อย

        -3-3.9 ริกเตอร์ ถือว่าไม่รุนแรง ระดับนี้ผู้คนจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนเล็กน้อย

        -4-4.9 ริกเตอร์ ถึงว่าปานกลาง ระดับนี้ผู้คนที่อยู่อาศัยภายในอาคารและภายนอกอาคารจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยหรือแขวนจะแกว่งไกว

        -5-5.9 ริกเตอร์ ถือว่ารุนแรง ระดับนี้จะทำให้วัตถุมีการเคลื่อนที่

        -6-6.9 ริกเตอร์ ถือว่ารุนแรงมาก ระดับนี้จะทำให้อาคารเริ่มเกิดความเสียหายและพังทลาย

        -7.0 ริกเตอร์ ขึ้นไป ถือว่ารุนแรงมากระดับนี้จะเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง ทำให้อาคารและสิ่งก่อสร้าง พังทลาย แผ่นดินแยก

        -----------------------------------218

        ตัวอย่างการคลื่นสึนามิในประเทศไทย

        ประเทศไทยได้รับภัยธรรมชาติสึนามิเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 โดยมีผลมาจากการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 9.0 ริกเตอร์ ทางบริเวณนอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกคลื่นขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ทุกภาคที่ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียเกิดความเสียหายจากคลื่นยักษ์นี้

        ประเทศไทยพื้นที่จังหวัดระนอง พังงาน ภูเก็ต กระบี่ จึงได้รับผลจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้สูญเสียชีวิตมากกว่า 5,395 คน ซึ่งการสูญเสียจำนวนมากเพราะเป็นประสบการณ์เกิดขึ้นครั้งแรก ดังนั้น เมื่อพบลักษณะตามที่เกิดมาแล้วควรรีบเตือนภัยให้รอดพ้นจากภัยสึนามิ

        ภาพ : สภาพเหตุการณ์ขณะน้ำทะเลไหลเข้าท่วมรีสอร์ตขณะเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ตำบลเขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547

        หากนักเรียนอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล ให้เตรียมรับมือภัยคลื่นสึนามิ ดังนี้

        1. ขณะที่อยู่บริเวณชายฝั่งเมื่อรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหว หรือพบว่าระดับน้ำทะเลลดลงมากผิดปกติ ให้รีบอพยพไปยังบริเวณที่สูงทันที

        2. เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวในทะเลให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้

        3.คลื่นสึนามิ อาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอประกาศจากทางการก่อนจึงสามารถลงไปชายหาดได้

        4. ติดตามเสนอข่างของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

        -----------------------------------219

        จะเห็นได้ว่า ภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นมักมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของประเทศ ดังนั้น นักเรียนควรจะสังเกตและทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพในภูมิภาค ที่ตนเองอาศัยอยู่ดพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า พื้นที่แบบใดที่มักจะเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง เพราะอะไร

        2. นักเรียนคิดว่า การเกินภัยแล้งสามารถป้องกันได้หรือไม่ อย่างไร

        3. ในเขตชุมชนเมืองมีฝนตกหนักมักจะเกิดน้ำท่วม เนื่องมาจากสาเหตุใด

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้

        หาภาพภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาติดลงในสมุด และวิเคราะห์ว่า พื้นที่ที่เกิดภัยธรรมชาติมีลักษณะทางด้านกายภาพอย่างไร และน้ำเสนอข้อมูลหน้าชั้น

        กิจกรรมรวมยอด

        แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในจังหวัดของตน แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

        1) ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นภัยธรรมชาติประเภทใด

        2) ภัยธรรมชาติเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง

        3) ภัยธรรมชาติเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของจังหวัดอย่างไร

        4) ภัยธรรมชาติเหล่านี้เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีใดบ้างที่จะช่วยป้องกันหรือบรรเทาภัยธรรมชาติเหล่านี้ได้

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1. ในท้องถิ่นของนักเรียนมีภัยธรรมชาติใดเกิดขึ้นบ้าง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อตัวนักเรียนและท้องถิ่นอย่างไร

        2. ชุมชนของนักเรียนมีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร และนักเรียนคิดว่าลักษณะภูมิประเทศในลักษณะนี้จะเกิดภัยธรรมชาติในลักษณะใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

        3. หากนักเรียนประสบกับภัยธรรมชาติ จะมีวิธีปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเองมากที่สุด

        -----------------------------------220

            บทที่ 4 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

        กิจกรรมนำสู่การเรียน

        สิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างไร

        แนวคิดสำคัญ

        การดำรงชีวิตของมนุษย์เรามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเป็นอย่างมากดังนั้น เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งนพมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่ามากที่สุด และมีจิตสำนึกในการใช้ที่ถูกต้อง

        -----------------------------------221

        1 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

        การที่มนุษย์เราต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้

        1. ด้านการดำรงชีวิต

        มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเพื่อการดำรงชีวิต และต้องนำทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พืช สัตว์ น้ำ ดิน แร่ มาเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ได้แก่ การนำเอาพืชและสัตว์มาปรุงเป็นอาหารและทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นำน้ำมาดื่ม อาบ ชำระล้าง ใช้ดินในการเพาะปลูก เป็นต้น

        2. ด้านการสร้างสรรค์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี

        สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อมในบริเวณต่างๆ ที่มีความแตกต่างกัน ทำให้เกิดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกันไป เช่น บริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งจะมีประเพณีขอฝน เช่น ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อขอให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ เพื่อใช้ในการเพาะปลูก เป็นต้น

        ส่วนบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ จะมีประเพณีเกี่ยวกับน้ำ เช่น ประเพณีการแข่งเรือยาว ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

        ภาพ : ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มักจะมีประเพณีแข่งเรือยาว (จากภาพเป็นการแข่งเรือยาวในแม่น้ำโขง บริเวณจังหวัดนครพนม)

        -----------------------------------222

        ในบริเวณที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น อาทิ ในภาคเหนือจะมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับการกินอาหารและการแต่งกายที่เน้นในความอบอุ่นแก่ร่างกาย เช่น การกินอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ แคบหมู แกงโฮะ ไส้อั่ว แกงฮังเล น้ำพริกอ่อง ใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อหนา เป็นต้น

        3. ด้านการเลือกถิ่นฐานและการเลือกที่อยู่อาศัย

        ในบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มักจะมีผู้คนตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่หนาแน่น เช่น ในบริเวณที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์จะมีผู้คนตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ตามริมน้ำเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำในการดำรงชีวิต เช่น ใช้ดื่ม ใช้อาบ ประกอบอาชีพ เป็นต้น

        ภาพ : บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร ผู้คนมักตั้งบ้านเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่น

        4. ด้านการประกอบอาชีพ

        ในแต่ละพื้นที่นั้นจะมีการประกอบอาชีพแตกต่างกันออกไปตามทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ผู้ที่อาศัยอยู่ในป่าจะมีอาชีพเก็บของป่าขาย ผู้ที่อาศัยอยู่ติดทะเลหรือติดแม่น้ำลำคลอง ก็จะประกอบอาชีพประมง และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำส่วนใหญ่ ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มจะประกอบอาชีพเพาะปลูกพืช เป็นต้น

        -----------------------------------223

        2 ผลกระทบที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

        การที่มนุษย์พึ่งกาสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน เช่น

        1. ด้านการย้ายถิ่นฐาน

        เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง ส่งผลให้ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติได้ผลผลิตลดลงตามไปด้วย เช่น เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เมื่อพื้นที่เดิมขาดความอุดมสมบูรณ์จึงเกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานไปสู่บริเวณอื่นที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า หรืออาจเปลี่ยนไปประกอบอาชีพใหม่ในบริเวณอื่น เช่น ค้าขาย พนักงานบริษัท เป็นต้น

        2. ด้านปริมาณทรัพยากรชาติ

        การที่มีจำนวนประชารเพิ่มมากขึ้น และประชากรเหล่านี้ต่างมีความต้องการอย่างไม่จำกัด ประกอบกับมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในปริมาณมาก อีกทั้งยังขาดการดูแลควบคุมอย่างถูกวิธี จึงส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลง

        3. ด้านความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ

        เมื่อมีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้โดยขาดการวางแผนจึงส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรเหล่านั้น เช่น

        - นำเสีย เกิดจากน้ำทิ้งของอาคารบ้านเรือน ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม การทิ้งสิ่งปฏิกูล ลงในแหล่งน้ำ

        ภาพ : น้ำเน่าเสียเกิดจากการทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ

        http:/www.akson.com/lib/p/sco_05 (เรื่อง น้ำเน่าเสีย)

        -----------------------------------224

        - อากาศเป็นพิษ เกิดจากควัน เขม่า ฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้จากเครื่องยนต์ โรงงานอุสาหกรรม

        - ป่าไม้ถูกทำลาย เกิดจากความต้องการนำไม้มาใช้สร้างที่อยู่เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนความต้องการขยายพื้นที่ในการทำการเกษตร

        - ดินเสื่อมคุณภาพ เกิดจากการเพาะปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำกันมากเกินไป ตลอดจนการขาดการดูแลรักษาที่ถูกวิธี รวมทั้งการใช้สารเคมีต่างๆ

        ทั้งนี้ถ้าความสัมพันธ์ระหว่างประชาการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปในลักษณะที่สมดุลกัน ก็จะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น แต่หากความสัมพันธ์ดังกล่าวขาดความสมดุล เป็นต้นว่าจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ย่อมทำให้ความต้องการในการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นและโอกาสที่สิ่งแวดล้อมจะเสื่อมโทรมย่อมติดตามา และในขนาดเดียวกันถ้าพื้นที่ใดมีทรัพยากรน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของคนในชุมชนก็จะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนทรัพยากรและอาจมรการแย่งชิงทรัพยากรทำให้เกิดปัญหาตามมาเช่นกัน

        ภาพ : การตัดไม้ทำลายป่า ก่อให้เกิดผลกระทบหลายอย่างติดตามมา

        ภาพ : ควันดำที่ปล่อยจากท่อไอเสียรถยนต์ทำให้อากาศเป็นพิษได้

        -----------------------------------225

        3 สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทย

        สภาพธรรมชาติในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มี 2 ประเภท ดังนี้

        1. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธรรมชาติ

        การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธรรมชาติ เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมีธรรมชาติเป็นตัวกำหนด และเป็นตัวกระทำให้เกิดขึ้น เช่น

        1) น้ำ เมื่อน้ำเคลื่อนที่ไปตามที่ต่างๆ ทำให้บริเวณที่น้ำไหลผ่านอาจถูกกัดร่อน กัดเซาะ ทำให้ลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนไป และน้ำยังสามารถเคลื่อนย้ายดิน หิน แร่ต่างๆ ไปตามเส้นทางการไหล ทำให้เกิดดินดอนสามเหลี่ยม

        2) ลม เมื่อลมเคลื่อนที่ไปตามที่ต่างๆ ก็จะทำให้บริเวณที่ลมพัดผ่านถูกกัดกร่อน กัดเซาะ อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายวัตถุได้ ทำให้ลักษณะภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไป

        ภาพ : ละลุ ที่ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นบริเวณที่เกิดจากน้ำฝนและลมกัดเซาะดินทำให้เกิดภูมิประเทศที่มีลักษณะสวยงาม ดูแปลกตา

        -----------------------------------226

        3) เปลือกโลก การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ทำให้บริเวณรอยเลื่อนต่างๆ เคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดภูเขาไฟปะทุ เกิดแผ่นดินไหว

        ภาพ : ภูเขาไฟปะทุ (ภาพซ้าย) และแผ่นดินไหว (ภาพขวา) เกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก

        2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากมนุษย์

        การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์มีมากมาย เช่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลนเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้ง การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม การถมแม่น้ำลำคลองเพื่อสร้างถนน เป็นต้น ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อธรรมชาติ

        ภาพ : การทำนาขั้นบันไดบริเวณหมู่บ้านหัวแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่บริเวณลาดเชิงเขาให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม

        -----------------------------------227

        4 ผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทย

        เมื่อทรัพยากรธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของธรรมชาติเอง หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ล้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน เช่น

        1. ด้านประชากร

        ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งน้ำ พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูก แต่เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติลดลง และมีการพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น ทำให้ประชากรย้ายถิ่นฐานจากสังคมชนบทมาอยู่สังคมเมืองมากขึ้น

        2. ด้านเศรษฐกิจ

        เศรษฐกิจของประเทศไทยมีลักษณะของการพึ่งพาตนเอง เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีจึงทำให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ มีการส่งเสริมด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนเพื่อการค้าและการสงออกมาขึ้น ซึ่งเมื่อมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฟุ่มเฟือย

        3. ด้านสังคม

        สภาพของสังคมไทยส่วนใหญ่จะมีความผูกพันกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทำให้ปัจจุบันคนในสังคมมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปคือ พึ่งหาธรรมชาติน้อยลง รีบเร่งมากขึ้น แข่งขันกันสูงขึ้น

        “การเปลี่ยนแปลงของสภาพธรรมชาติ สาเหตุหลักคือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ฉะนั้นนักเรียนควรช่วยกันดูแลและรักษาสภาพธรรมชาติให้ดีนะครับ”

        -----------------------------------228

        4. ด้านอาชีพ

        การประกอบอาชีพของประชากรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะทำเกษตรกรรม ซึ่งจะเป็นเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆเกิดขึ้น รูปแบบในการผลิตจึงมีการเปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นผลิตเพื่อการค้ามากขึ้น ทำให้มีความต้องการด้านระบบชลประทาน มีการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจำนวนมาก เพื่อให้เพียงพอต่อพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ลดลง อีกทั้งยังมีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนมีการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวและก่อให้เกิดธุรกิจหรืออาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวด้วย

        5. ด้านวัฒนธรรม

        คนไทยในทุกภูมิภาค จะมีวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ส่งผลให้วัฒนธรรมบางอย่างมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ร่วมสมัยมากขึ้น รวมทั้งเมื่อมีการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงมีการติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศ ส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและนำวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมไทย

        คำถามจุดประกาย

        1. นักเรียนคิดว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไร

        2. นักเรียนคิดว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงไปคืออะไร

        3. เมื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีปริมาณลดลง ส่งผลต่อมนุษย์อย่างไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 1

        1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม แล้วบันทึกข้อมูลและนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน และร่วมกันวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติในประเทศไทยมีสาเหตุมาจากอะไร และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

        -----------------------------------229

        5 แนวทางการใช้และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

        แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้น้อย ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนานขึ้น และก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มีการกระจายการใช้ทรัพยากรอย่างทั่วถึง และหาสิ่งทดแทน เพื่อให้เกิดทางเลือกอย่างเหมาะสม

        การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้หลากหลายวิธีทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

        1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง

        การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรงสามารถทำได้ ดังนี้

        1) การใช้อย่างประหยัด คือ ใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นาน และเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

        2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น เป็นการช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อมลงได้

        3) การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดเสียหายได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีการซ่อมแซม จะทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก

        4) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนแร่เชื้อเพลิง เป็นต้น

        http://www.aksorn.com/lib/p/soc_05 (เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากร)

        -----------------------------------230

        5)การบำบัดและการฟื้นฟู  นับเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดการเสื่อมโทรมของทัพยากรธรรมชาติด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือน หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนที่จะปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น ส่วนการฟื้นฟูเป็นการทำให้ธรรมชาติกลับคืนสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความสมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น

        6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การที่คนในแต่ละภูมิภาคเฝ้าระวังการทิ้งขยะหรือสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น

        2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม

        การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อมสามารถทำได้ ดังนี้

        1) การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน โดยสนับสนุนการศึกษาด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่ถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมือในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

        ภาพ : การช่วยกันปลูกป่าชายเลน ถือเป็นการฟื้นฟูแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำตามธรรมชาติ

        -----------------------------------231

        2)การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมนุม ชมรม หรือสมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนนักศึกษาในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นต้น

        ส่วนมาตรการในทางกฎหมายจะได้ผลตามความมุ่งหมายนั้นก็ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนทั่วไปให้ความร่วมมืออย่างจริงจังและต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

        3) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นไดมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเกิดความตระหนักระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน ให้ร่วมกันมีบทบาทหน้าที่ในการปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

        ภาพ : การจัดทำโครงการอนุรักษ์ของกลุ่มพลังเยาวชนรักษ์คน รักษ์บ้าน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

        “เมื่อคนในชุมชนตระหนักในสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนของตน ดังนั้น จึงร่วมกันจัดทำแผนอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน ดังตัวอย่างที่นำเสนอในห้าต่อไป”

        http:/www.akson.com/lib/p/soc_05 (เรื่อง กฎหมายสิ่งแวดล้อม)

        -----------------------------------232

        ตัวอย่าง แผนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนต่างๆ

        เครือข่ายป่าชุมชนบ้านแม่ระวาน ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ได้ร่วมกันวางแผนจัดการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกป่าเสริม ลาดตะเวนป่าและทำแนวกันไฟ ผลจากการดำเนินงานทำให้ป่าชุมชนบ้านแม่ระวานที่ได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง การเกิดไฟป่าลดลง ป่ามีความหลากหลายทางระบบนิเวศมากขึ้นและสมบูรณ์พร้อมที่จะเป็นแหล่งอาหารให้ชาวบ้านได้ จากประสบการณ์การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมนี้ เครือข่าย จึงได้นำความรู้ไปถ่ายทอดสู่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ รวมถึงได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านการรักษาป่าร่วมกับชุมชนใกล้เคียงที่สนใจ

        เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตำบลเขาคอก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ.2540 ได้ดำเนินกิจกรรมปลูกป่าเสริมในพื้นที่ป่าชุมชนเสื่อมโทรมที่เหลือพื้นที่ป่าอยู่เพียง 2,700 ไร่ ทำแนวกันไฟ เพาะชำกล้าไม้ ตรวจลาด-ตระเวนป่า กำหนดเขตอภัยทาน อบรมเยาวชนสืบสานภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้ป่า ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน

        เครือข่าววิถีชนคนพอเพียงลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์กรชาวบ้านที่ก่อตั้งใน  พ.ศ.2549 โดยมีแนวทางเรียนรู้การพึ่งกาตนเองอย่างยั่งยืน ได้ดำเนินงานจัดการทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่น พิธีกรรม ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการผ่าในรูปแบบของป่าชุมชน การจัดการน้ำด้วยระบบฝายเหมืองและการทำเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แทนที่การปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แนวคิดไปสู่การผลิตเพื่อบริโภคเหลือแล้วจึงค่อยขาย

        กล่าวโดยสรุปแล้ว การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์ได้มีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่การจะฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย ทั้งภาครัฐและประชาชน ซึ่งจะทำให้ประเทศของเรามีทัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ไว้ใช้ตลอดไป

        -----------------------------------233

        คำถามจุดประกาย

        1.เพราะเหตุใดจึงต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

        2. การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งผลดีอย่างไร

        3.การวางแผนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควรทำหรือไม่  เพราะอะไร

        กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ที่ 2

        แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ  4-5 คน แล้วให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัด บันทึกข้อมูลลงในสมุด แล้วนำเสนอผลงานหน้าชั้น

        กิจกรรมรวบยอด

        1. เขียนอธิบายความสำคัญของลักษณะทางกายภาพที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มาพอเข้าใจ

        2. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายว่า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนอย่างไรบ้าง จากนั้นให้ส่งตัวแทนออกมารายงานหน้าชั้น

        3. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3-4 คน ให้แต่ละกลุ่มร่วมจัดทำแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน และบันทึกข้อมูล พร้อมกับวาดภาพประกอบ จากนั้นผลัดกันนพเสนอแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

        แผนการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

        ความเป็นมา……………………………………………………………………………………………… วัตถุประสงค์…………………………...…………………………………………………………………        กิจกรรมการอนุรักษ์………………………………………………………………………………………        ระยะเวลาดำเนินการ……………………………………………………………………………...………  ผลที่คาดว่าจะได้รับ………………………………………………………………………………………

        คำถามบูรณาการสู่ชีวิต

        1.ในชีวิตประจำวันของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างไร

        2. นักเรียนเคยมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนหรือไม่ อย่างไร

        3. ถ้าในชุมชนของนักเรียนมีขยะและสิ่งปฏิกูลอยู่ในแหล่งน้ำ นักเรียนจะมีวิธีแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

        -----------------------------------234

        บรรณานุกรม

        ชาติ แจ่มนุช. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2549.

        ธรรมปิฎก, พระ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2543.

        - พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2543.

        ราชบัณฑิตยสถาน. อังขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม 1, ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:อนุณการพิมพ์,2545.

        วรรณีพุทธาวุฒิไกร. ภูมิศาสตร์ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์,2526.

        วันรักษ์ มิ่งมณีนคิน. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้นสำหรับบุคคลทั่วไป. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,2545.

        วิชัย โถสุวรรณจินดา. ภาษีมูลค่าเพิ่ม. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ,2531.

        วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, สำนัก. ตัวชีวัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,2551.

        วิโรจน์ เอี่ยมเจริญ และคณะ. ไทยแลนด์แอตลาส. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์,2549.

        สินชัย กระบวนแสง. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.4กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว,2546.

        -.สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.5. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว,2547.

        สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาสภาผู้แทนราษฎร,2550.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 1. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์,2545.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. แม่บทมาตรฐาน หลักสูตรแกนกลาง สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.6.นนทบุรี: ไทยร่มเกล้า,2552.

        -----------------------------------พิเศษ 1

        ภาคผนวก

        ข้อความปฏิบัติตนเมื่อเกิดอุทกภัย

        ในปัจจุบันได้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมได้สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเราจึงจ้องเตรียมตัวเพื่อพร้อมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

        ภาพ : เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ.2554

        การเตรียมตัวก่อนน้ำท่วม

        1. เตรียมสิ่งของที่จำเป็นเพื่อรับมือกับภาวะน้ำท่วม เช่น ไฟฉาย เทียนไช ยาสามัญประจำบ้าน ยาประจำตัวสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป น้ำดื่ม ถุงพลาสติก ปูนขาว ถุงขยะสีดำใบใหญ่ เป็นต้น

        2. วางแผนในการอพยพสมาชิกในครอบครัวและสัตว์เลี้ยง โดยเรียนรู้เส้นทางที่จะใช้ในการเดินทางที่คาดว่าปลอดภัยที่สุดจากบ้านไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย

        3. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้านว่าชำรุดหรืออยู่ในระดับที่นำจะท่วมถึงหรือไม่ เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่วหรือไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายจนถึงเสียชีวิตได้

        -----------------------------------พิเศษ 2

        4. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์ที่จำเป็นต้องติดต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไวในบริเวณที่ค้นหาได้ง่าย

        5. จัดเก็บเอกสารสำคัญให้อยู่ในที่ปลอดภัย

        ภาพ : การนำเก้าอี้พลาสติกมาทำเป็นสุขาเคลื่อนที่เป็นวิธีแก้ปัญหาเรื่องห้องสุขาวิธีหนึ่ง

        การปฏิบัติตัวในขณะน้ำท่วม

        1. ดื่มน้ำและอาหารที่สะอาด ถ้าเป็นไปได้ควรอุ่นอาหารทุกครั้ง

        2. ล้างมือให้บ่อยเท่าที่จะทำได้

        3. ห้ามถ่ายหนัก ถ่ายเบาบริเวณที่น้ำท่วมเด็ดขาด ควรมีภาชนะหรือถุงพลาสติกรองรับ และถ้าเป็นอุจจาระให้ใส่ปูนขาวลงไปในถุงด้วยเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคและมัดปากถุงให้เรียบร้อย

        4. หลีกเลี่ยงการแช่น้ำนานๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลตามผิวหนัง

        5. ระมัดระวังสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง เป็นต้น ที่จะมาพร้อมกับน้ำท่วม

        การปฏิบัติตัวหลังน้ำลด

        1. เอาใจใส่ตนเองและครอบครัว เนื่องจากหลังเหตุการณ์น้ำท่วมอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้า ความเครียดและหงุดหงิดได้ง่าย ฉะนั้นควรให้เวลากับครอบครัวในการพูดคุยปัญหาเรื่องต่างๆ

        2. จัดการดูแลบ้าน โดยอาจเริ่มจากการตรวจสอบในบริเวณบ้านและรอบๆบ้าน จัดการดูแลและซ่อมแซมทำความสะอาด

        3. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นหน่วยงานราชการในพื้นที่ เพื่อขอรับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่นขอรับเงินชดเชย เป็นต้น

        ภาพ : การช่วยกันทำความสะอาดหลังจากน้ำลด หลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ พ.ศ.2554

        เรียบเรียงจาก

        - คู่มือรับสถานการณ์ หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

        - การส่งเสริม กระทรวงสาธารณสุข

        -----------------------------------