หลักสูตร

ความนำ

             กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพฐ 1239/2560 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่30/2561 ลงวันที่ 5 มกราคม 2561 ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ 2560) โดยมีคำสั่งให้โรงเรียนดำเนินการใช้หลักสูตรในปีการศึกษา 2561 โดยให้ใช้ในชั้นประถมศึษาปีที่ 1 และ  4 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นมา โดยกำหนดจุดหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

             โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย จึงได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเป็นกรอบในการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ โดยการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โครงสร้างเวลาเรียน ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้โรงเรียนสามารถกำหนดทิศทางในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละระดับตามความพร้อมและจุดเน้น โดยมีกรอบแกนกลางเป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อตอบสนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีความพร้อมในการสู่สังคมคุณภาพ มีความรู้อย่างแท้จริง และมีทักษะในศตวรรษที่ 21

          การจัดทำหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการเห็น สำหรับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย  พุทธศักราช ๒๕๖4 จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังได้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถานศึกษา ชุมชน ครอบครัว และบุคคลอื่น ๆ ต้องร่วมรับผิดชอบร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในการวางแผนดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข โดยยึดโยงกับหลักการจัดการเรียนรู้สำหรับคนพิการและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากล การใช้สื่อ เทคโนโลยี และ สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้และการดำรงชีวิตของผู้เรียนมาใช้เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาผู้เรียนตามความเชื่อที่ว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

 

 

 

 

 

 

วิสัยทัศน์

โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย  มุ่งเน้นพัฒนานักเรียนอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์- จิตใจ สังคม และสติปัญญา เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ด้านการศึกษา มีทักษะการดำรงชีวิต ปลูกฝังให้ มีวินัย คุณธรรมจริยธรรม นำมาซึ่งการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เหมาะสมกับความพิการ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชน

 

พันธกิจ

  1. มุ่งพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนให้เหมาะสมกับความพิการของนักเรียน
  2. มุ่งพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ใฝ่รู้ด้านการศึกษา
  3. มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการดำรงชีวิตให้เป็นไปตามทักษะเฉพาะด้าน ของผู้บกพร่องทางการเห็น
  4. ปลูกฝังให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนานักเรียน

ปรัชญาของโรงเรียน

“การศึกษาพัฒนาชีวิต การรู้คิดพัฒนาคุณธรรม”

 

  •  
  •  

 

  •  
  •  

 

เป้าหมาย

  1. โรงเรียนมีการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับความพิการของนักเรียน
  2. ส่งเสริมให้ครูมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้ที่ใฝ่รู้
  3. นักเรียนมีทักษะในการใช้ไม้เท้าขาวและทักษะการดำรงชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักสากล
  4. นักเรียนมีวินัย คุณธรรมจริยธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  5. ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน

 

 

 

 

 

 

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

. ความสามารถในการสื่อสาร  เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร การมีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาหรือใช้การสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่น ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง การใช้วิธีการสื่อสารที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นเฉพาะบุคคลเพื่อแสดงความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และความต้องการของตนเองได้

          . ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

๔. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การนำประสบการณ์ความสามารถ ความถนัดที่เป็นทักษะพื้นฐานของงานอาชีพมาประยุกต์สร้างกระบวนการทำงานที่เหมาะสม การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

๕. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยี สื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับตนเอง และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การประกอบอาชีพ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และ มีคุณธรรมและจริยธรรม

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้

1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นการแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ  มีความ สามัคคีปรองดอง  ภูมิใจ  เชิดชูความเป็นชาติไทย  ปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ และ แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

          2. ซื่อสัตย์สุจริต เป็นการประพฤติตรงตามความเป็นจริงทั้งทางกาย วาจา ใจ และยึด หลักความจริง ความถูกต้องในการดำเนินชีวิต มีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด

3. มีวินัย เป็นการปฏิบัติตนตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม  เป็นปกติวิสัย ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 

4. ใฝ่เรียนรู้ เป็นลักษณะซึ่งแสดงออกถึงความตั้งใจ  เพียรพยายามในการเรียนและเข้า ร่วมกิจกรรม

แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม  แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ถ่ายทอดเผยแพร่ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

5. อยู่อย่างพอเพียง เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มี เหตุผล

รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

6. มุ่งมั่นในการทำงาน เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำหน้าที่การงาน

ด้วยความเพียรพยายาม อดทน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

7. รักความเป็นไทย เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจ  เห็นคุณค่า ร่วม อนุรักษ์  สืบทอด

ภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปะและวัฒนธรรม ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้

8. มีจิตสาธารณะ เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือ สถานการณ์ที่ก่อให้เกิด

ประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจ กระตือรือร้น โดยไม่ หวังผลตอบแทน

 

คุณลักษณะและสมรรถนะผู้เรียนตามเกณฑ์ของมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

1. ทักษะในการสื่อสาร  

เป็นความสามารถในฟัง  พูด  อ่าน  เขียน หรือแสดงสัญลักษณ์ในการสื่อสารอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันการรับรู้ ทำความเข้าใจ และสื่อสารแสดงความคิดความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ใช้เครื่องมือในการสื่อสาร จำแนกเวลากลางวัน กลางคืนและบอกเวลา บอกทิศทาง อุณหภูมิสูง-ต่ำ ใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม เข้าใจและรับรู้การสื่อสารตามกาลเทศะ สนทนาโต้ตอบให้เหมาะสมกับกาลเทศะ พูดในที่สาธารณะได้ตามความเหมาะสมในทุกโอกาส สนทนาโต้ตอบได้มากกว่า ๑ ภาษา อธิบายหรือแสดงเหตุผลที่ทำให้คู่สนทนาเข้าใจในเจตจำนงของตนเอง

๒. ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน

          ๒.๑ มีทักษะการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

เป็นความสามารถในการนำทักษะที่ได้เรียนรู้ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถพึ่งพาตนเองหรือพึ่งพากันระหว่างผู้เรียนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและสมดุล การดูแลรักษาความสะอาดร่างกายของตนเอง รักษาความสะอาดของเสื้อผ้า ซักเสื้อผ้ารักษาความสะอาดของสถานที่ เก็บ กวาด ถู จัดที่นอน ห้องเรียน ห้องน้ำ ทำความสะอาดภาชนะใส่อาหารของตนเอง ประกอบอาหารอย่างง่าย ดูแลแปลงเกษตร มีมารยาทในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น มีลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร รู้จักแต่งกายให้เหมาะสม และถูกกาลเทศะ มีมารยาททางสังคม ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการคิด  ตัดสินใจ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้น

          ๒.๒ ทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว

          ทักษะในการเดินในโรงเรียนและชุมชนเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ด้วยไม้เท้าขาว ได้ด้วยตนเองอย่างปลอดภัย แยกความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของ เข้าถึงบริการต่างๆ

            ๓. ทักษะทางวิชาการ

๓.๑ อ่าน เขียน ได้ตามเกณฑ์ของหลักสูตรสถานศึกษาโดยเน้นเรื่องบุคลิกภาพในการอ่านเขียนอักษรเบรลล์ที่ถูกต้องเหมาะสม เขียนเรียงความ อ่านเรื่องจับใจความ มีทักษะในการจำ  การอ่าน  การเขียน  อักษรเบรลล์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ โน้ตดนตรี ใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์

๓.๒ ทักษะการใช้เทคโนโลยี

พิมพ์ดีดสัมผัส ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ใช้ลูกคิด ในการบวก ลบ คูณ หาร คิดคำนวณใช้เครื่องมือเรขาคณิตใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Word พิมพ์งาน จัดทำรูปเล่มรายงาน ใช้ Internet สืบค้นข้อมูล ใช้ e-mail ในการสื่อสาร หรือดาวโหลดข้อมูลใช้ Power Point ในการนำเสนอเบื้องต้น

 

มาตรฐานการเรียนรู้

            หลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

          ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

          ๒. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

          ๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

          ๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

          ๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

          ๗. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

          ๘. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

 

 

 

 

 

 

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

          หลักสูตรสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สายพุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ใน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน ๖๗ มาตรฐาน  ดังนี้ 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สาระที่ ๑ การอ่าน

          มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน

          มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด

          มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย     

          มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม

          มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระที่ ๑ จำนวนและพีชคณิต

            มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้

            มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และนำไปใช้

            มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ และเมทริกซ์ อธิบายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำหนดให้

สาระที่ ๒  การวัดและเรขาคณิต

          มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดวัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้

          มาตรฐาน ค ๒.๒ เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต และ ทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้

สาระที่ ๓ สถิติและความน่าจะเป็น

          มาตรฐาน ค ๓.๑ เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา

          มาตรฐาน ค ๓.๒ เข้าใจหลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และนำไปใช้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี       

          สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

          มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศการถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

          มาตรฐาน ว ๑.๒  เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

          มาตรฐาน ว ๑.3 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ

          มาตรฐาน ว ๒.๑  เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

          มาตรฐาน ว ๒.๒ เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะ

การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุรวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

          มาตรฐาน ว ๒.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ ๓ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ

 มาตรฐาน ว ๓.๑  เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพ กาแล็กซีดาวฤกษ์และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ

          มาตรฐาน ว ๓.๒  เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

สาระที่ ๔ เทคโนโลยี

          มาตรฐาน ว ๔.๑  เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง

อย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

          มาตรฐาน ว ๔.๒ เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

สาระที่ ๑  ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

          มาตรฐาน ส ๑.๑ รู้และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

          มาตรฐาน ส ๑.๒ เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีและธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

สาระที่ ๒  หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม­

          มาตรฐาน  ส ๒.๑ เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข

          มาตรฐาน  ส ๒.๒ เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สาระที่ ๓  เศรษฐศาสตร์

          มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

          มาตรฐาน ส ๓.๒  เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

สาระที่ ๔  ประวัติศาสตร์

           มาตรฐาน ส ๔.๑ เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

          มาตรฐาน ส ๔.๒ เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของ  เหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

          มาตรฐาน ส ๔.๓ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

สาระที่ ๕  ภูมิศาสตร์

          มาตรฐาน ส ๕.๑ เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ    

           มาตรฐาน ส ๕.๒ เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สาระที่  ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

          มาตรฐาน พ ๑.๑ เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

สาระที่  ๒  ชีวิตและครอบครัว

          มาตรฐาน  พ ๒.๑ เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

สาระที่  ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล

          มาตรฐาน  พ ๓.๑ เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา

           มาตรฐาน  พ ๓.๒ รักการออกกำลังกาย การเล่นเกมและการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจำอย่าง สม่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

สาระที่  ๔  การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค

          มาตรฐาน พ ๔.๑  เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกัน โรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

สาระที่  ๕ ความปลอดภัยในชีวิต

          มาตรฐาน พ ๕.๑ ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ       

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์

          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

           มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดก ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๒  ดนตรี

          มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

          มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

           มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

            มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว

          มาตรฐาน ง ๑.๑  เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงานทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

สาระที่ 2 การอาชีพ

          มาตรฐาน ง 2.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ   

สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร

         มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล   

          มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

          มาตรฐาน ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยการพูดและการเขียน

สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม

          มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

          มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

สาระที่ ๓  ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

             มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน   

สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

          มาตรฐาน ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม

           มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

 

 

นิยามความหมายศัพท์เฉพาะ

            หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สายมีคำศัพท์เฉพาะที่ต้องนิยามความหมายให้เป็นที่เข้าใจตรงกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

            1. การสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่น (Augmentative and Alternative Communication : AAC) หมายถึง วิธีการสื่อสารที่ใช้เพื่อเสริมหรือแทนการพูดหรือการเขียน สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องในการสื่อสารหรือความเข้าใจภาษาพูดหรือภาษาเขียน การสื่อสารเสริมและทางเลือกอื่นประกอบด้วยรูปแบบการสื่อสารทั้งหมดที่นอกเหนือจากคำพูดที่ใช้ในการแสดงความคิดและความต้องการ ซึ่งเครื่องมือในการสื่อสารเสริมหรือทางเลือกมีทั้งที่ไม่ใช้เทคโนโลยีใด ๆ จนถึงที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง   

2. การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universal Design for Learning ; UDL) หมายถึง

ความเข้าใจว่าผู้เรียนแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันด้วย ครูผู้สอนนำ UDL มาใช้เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้เต็มที่เต็มศักยภาพ  

3. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึง การเชื่อมโยงหรือรวมศาสตร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้ขึ้นไปมาจัดการเรียนรู้ภายในหัวเรื่อง (Theme) เดียวกัน เพื่อใช้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในศาสตร์หรือความรู้ในสาระต่าง ๆ แก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรอบโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรฯ51โครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ระดับประถมศึกษา : กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม มีเวลาเรียนรวม 840 ชั่วโมงต่อปี กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 ชั่วโมงต่อปี และรายวิชา/กิจกรรมที่ สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้นไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อปี รวมไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น : กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม มีเวลาเรียนรวม 880 ชั่วโมงต่อปี (22 หน่วยกิต) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 ชั่วโมงต่อปี และ รายวิชา/กิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมตามความพร้อมและจุดเน้นปีละไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมงต่อปี รวมไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมงต่อปี

โครงสร้างหลักสูตรโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

 

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ

เวลาเรียน (ชั่วโมง)

ป.๑

ป.๒

ป.๓

ป.๔

ป.๕

ป.๖

1. ภาษาไทย

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

2. คณิตศาสตร์

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

4. สังคมศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม

- ประวัติศาสตร์

- ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

- หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

- เศรษฐศาสตร์

- ภูมิศาสตร์

 

40

๔๐

 

4๐

 

40

๔๐

 

4๐

 

40

๔๐

 

4๐

 

40

๔๐

 

4๐

 

40

๔๐

 

4๐

 

40

๔๐

 

4๐

5. สุขศึกษาและพลศึกษา

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

6. ศิลปะ

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

7. การงานอาชีพ

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

8. ภาษาต่างประเทศ

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

๒๐0

รวมเวลาเรียน สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

8 กลุ่มสาระ

840

840

840

๘๔๐

๘๔๐

๘๔๐

สาระเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

1. คอมพิวเตอร์

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

รวมสาระเพิ่มเติม 1 สาระ

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

4๐

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 

 

 

 

 

 

1. แนะแนว

10

10

10

10

10

10

2. กิจกรรมนักเรียน

 

 

 

 

 

 

     2.1 ลูกเสือ, เนตรนารี

40

40

40

40

40

40

     2.2 ชุมนุม

40

40

40

40

40

40

3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

10

10

10

10

10

10

4. กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

20

20

20

20

20

20

ร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4 กิจกรรม

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

๑๒๐

รวมเวลาเรียนทั้งหมด

1,000

1,000

1,000

1,000

1,000

1,000

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑

รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน

ชั่วโมง/ปี

ชั่วโมง/สัปดาห์

รหัสวิชา

รายวิชาพื้นฐาน

840

22

ท ๑๑๑๐๑

ภาษาไทย

๒๐0

5

ค ๑๑๑๐๑

คณิตศาสตร์

๒๐0

5

ว ๑๑๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4๐

1

ส ๑๑๑๐๑

สังคมศึกษา

๘๐

ส ๑๑๑๐๒

ประวัติศาสตร์

๔๐

พ ๑๑๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

4๐

1

ศ ๑๑๑๐๑

ศิลปะ

4๐

1

ง ๑๑๑๐๑

การงานอาชีพ

40

1

ต ๑๑๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

๒๐0

5

รหัสวิชา

รายวิชาเพิ่มเติม

40

1

ว ๑๑2๐1

คอมพิวเตอร์

40

1

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

3

1

แนะแนว

20

0.5

2

กิจกรรมนักเรียน

2.1 ลูกเสือ, เนตรนารี

2.2 ชุมนุม

(80)

40

40

(2)

1

1

3

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(10)

ผนวกในกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

4

กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

20

0.5

รวมเวลาเรียนทั้งสิ้นตามโครงสร้างหลักสูตร

1,000

๒6

 

หมายเหตุ      

- วิชาหน้าที่พลเมือง บูรณการการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเมินผล ผ่าน-ไม่ผ่าน

- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ไม่นับรวมเวลาเรียนให้เก็บร่องรอยการปฏิบัติปีละ 10 ชั่วโมง

- กิจกรรมชุมนุมนักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ได้แก่

          ๑. ชุมนุมดนตรี

          ๒. ชุมนุมทรูปลูกปัญญา

           

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

ชั้นประถมศึกษาปีที่  2

รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน

ชั่วโมง/ปี

ชั่วโมง/สัปดาห์

รหัสวิชา

รายวิชาพื้นฐาน

840

22

ท ๑2๑๐๑

ภาษาไทย

๒๐0

5

ค ๑2๑๐๑

คณิตศาสตร์

๒๐0

5

ว ๑2๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4๐

1

ส ๑2๑๐๑

สังคมศึกษา

๘๐

ส ๑2๑๐๒

ประวัติศาสตร์

๔๐

พ ๑2๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

4๐

1

ศ ๑2๑๐๑

ศิลปะ

4๐

1

ง ๑2๑๐๑

การงานอาชีพ

40

1

ต ๑2๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

๒๐0

5

รหัสวิชา

รายวิชาเพิ่มเติม

40

1

ว ๑22๐1

คอมพิวเตอร์

40

1

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

3

1

แนะแนว

20

0.5

2

กิจกรรมนักเรียน

2.1 ลูกเสือ, เนตรนารี

2.2 ชุมนุม

(80)

40

40

(2)

1

1

3

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(10)

ผนวกในกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

4

กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

20

0.5

รวมเวลาเรียนทั้งสิ้นตามโครงสร้างหลักสูตร

1,000

๒6

 

หมายเหตุ      

- วิชาหน้าที่พลเมือง บูรณการการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเมินผล ผ่าน-ไม่ผ่าน

- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ไม่นับรวมเวลาเรียนให้เก็บร่องรอยการปฏิบัติปีละ 10 ชั่วโมง

- กิจกรรมชุมนุมนักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ได้แก่

          ๑. ชุมนุมดนตรี

          ๒. ชุมนุมทรูปลูกปัญญา

 

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

ชั้นประถมศึกษาปีที่  3

รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน

ชั่วโมง/ปี

ชั่วโมง/สัปดาห์

รหัสวิชา

รายวิชาพื้นฐาน

840

22

ท ๑๓๑๐๑

ภาษาไทย

๒๐0

5

ค ๑๓๑๐๑

คณิตศาสตร์

๒๐0

5

ว ๑๓๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4๐

1

ส ๑๓๑๐๑

สังคมศึกษา

๘๐

ส ๑๓๑๐๒

ประวัติศาสตร์

๔๐

พ ๑๓๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

4๐

1

ศ ๑๓๑๐๑

ศิลปะ

4๐

1

ง ๑๓๑๐๑

การงานอาชีพ

40

1

ต ๑๓๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

๒๐0

5

รหัสวิชา

รายวิชาเพิ่มเติม

40

1

ว ๑๓2๐1

คอมพิวเตอร์

40

1

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

3

1

แนะแนว

20

0.5

2

กิจกรรมนักเรียน

2.1 ลูกเสือ, เนตรนารี

2.2 ชุมนุม

(80)

40

40

(2)

1

1

3

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(10)

ผนวกในกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

4

กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

20

0.5

รวมเวลาเรียนทั้งสิ้นตามโครงสร้างหลักสูตร

1,000

๒6

 

หมายเหตุ      

- วิชาหน้าที่พลเมือง บูรณการการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเมินผล ผ่าน-ไม่ผ่าน

- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ไม่นับรวมเวลาเรียนให้เก็บร่องรอยการปฏิบัติปีละ 10 ชั่วโมง

- กิจกรรมชุมนุมนักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ได้แก่

          ๑. ชุมนุมดนตรี

          ๒. ชุมนุมทรูปลูกปัญญา

 

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

ชั้นประถมศึกษาปีที่  4

รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน

ชั่วโมง/ปี

ชั่วโมง/สัปดาห์

รหัสวิชา

รายวิชาพื้นฐาน

840

22

ท ๑4๑๐๑

ภาษาไทย

๒๐0

5

ค ๑4๑๐๑

คณิตศาสตร์

๒๐0

5

ว ๑4๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4๐

1

ส ๑4๑๐๑

สังคมศึกษา

๘๐

ส ๑4๑๐๒

ประวัติศาสตร์

๔๐

พ ๑4๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

4๐

1

ศ ๑4๑๐๑

ศิลปะ

4๐

1

ง ๑4๑๐๑

การงานอาชีพ

40

1

ต ๑4๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

๒๐0

5

รหัสวิชา

รายวิชาเพิ่มเติม

40

1

ว ๑42๐1

คอมพิวเตอร์

40

40

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

3

1

แนะแนว

20

0.5

2

กิจกรรมนักเรียน

2.1 ลูกเสือ, เนตรนารี

2.2 ชุมนุม

(80)

40

40

(2)

1

1

3

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(10)

ผนวกในกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

4

กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

20

0.5

รวมเวลาเรียนทั้งสิ้นตามโครงสร้างหลักสูตร

1,000

๒6

 

หมายเหตุ      

- วิชาหน้าที่พลเมือง บูรณการการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเมินผล ผ่าน-ไม่ผ่าน

- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ไม่นับรวมเวลาเรียนให้เก็บร่องรอยการปฏิบัติปีละ 10 ชั่วโมง

- กิจกรรมชุมนุมนักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ได้แก่

          ๑. ชุมนุมดนตรี

          ๒. ชุมนุมทรูปลูกปัญญา

 

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

ชั้นประถมศึกษาปีที่  5

รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน

ชั่วโมง/ปี

ชั่วโมง/สัปดาห์

รหัสวิชา

รายวิชาพื้นฐาน

840

22

ท ๑5๑๐๑

ภาษาไทย

๒๐0

5

ค ๑5๑๐๑

คณิตศาสตร์

๒๐0

5

ว ๑5๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4๐

1

ส ๑5๑๐๑

สังคมศึกษา

๘๐

ส ๑5๑๐๒

ประวัติศาสตร์

๔๐

พ ๑5๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

4๐

1

ศ ๑5๑๐๑

ศิลปะ

4๐

1

ง ๑5๑๐๑

การงานอาชีพ

40

1

ต ๑5๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

๒๐0

5

รหัสวิชา

รายวิชาเพิ่มเติม

40

1

ว ๑52๐1

คอมพิวเตอร์

40

40

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

3

1

แนะแนว

20

0.5

2

กิจกรรมนักเรียน

2.1 ลูกเสือ, เนตรนารี

2.2 ชุมนุม

(80)

40

40

(2)

1

1

3

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(10)

ผนวกในกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

4

กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

20

0.5

รวมเวลาเรียนทั้งสิ้นตามโครงสร้างหลักสูตร

1,000

๒6

 

หมายเหตุ      

- วิชาหน้าที่พลเมือง บูรณการการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเมินผล ผ่าน-ไม่ผ่าน

- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ไม่นับรวมเวลาเรียนให้เก็บร่องรอยการปฏิบัติปีละ 10 ชั่วโมง

- กิจกรรมชุมนุมนักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ได้แก่

          ๑. ชุมนุมดนตรี

          ๒. ชุมนุมทรูปลูกปัญญา

 

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนระดับประถมศึกษา นักเรียนผู้บกพร่องทางการเห็น

ชั้นประถมศึกษาปีที่  6

รายวิชา/กิจกรรม

เวลาเรียน

ชั่วโมง/ปี

ชั่วโมง/สัปดาห์

รหัสวิชา

รายวิชาพื้นฐาน

840

21

ท ๑6๑๐๑

ภาษาไทย

๒๐0

5

ค ๑6๑๐๑

คณิตศาสตร์

๒๐0

5

ว ๑6๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4๐

1

ส ๑6๑๐๑

สังคมศึกษา

๘๐

ส ๑6๑๐๒

ประวัติศาสตร์

๔๐

พ ๑6๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

4๐

1

ศ ๑6๑๐๑

ศิลปะ

4๐

1

ง ๑6๑๐๑

การงานอาชีพ

40

1

ต ๑6๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

๒๐0

5

รหัสวิชา

รายวิชาเพิ่มเติม

40

1

ส ๑62๐1

คอมพิวเตอร์

40

40

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

120

3

1

แนะแนว

20

0.5

2

กิจกรรมนักเรียน

2.1 ลูกเสือ, เนตรนารี

2.2 ชุมนุม

(80)

40

40

(2)

1

1

3

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

(10)

ผนวกในกิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

4

กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

20

0.5

รวมเวลาเรียนทั้งสิ้นตามโครงสร้างหลักสูตร

1,040

๒6

 

หมายเหตุ      

- วิชาหน้าที่พลเมือง บูรณการการเรียนรู้กับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประเมินผล ผ่าน-ไม่ผ่าน

- กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ไม่นับรวมเวลาเรียนให้เก็บร่องรอยการปฏิบัติปีละ 10 ชั่วโมง

- กิจกรรมชุมนุมนักเรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ได้แก่

          ๑. ชุมนุมดนตรี

          ๒. ชุมนุมทรูปลูกปัญญา

 

 

 

 

 

ตัวชี้วัดชั้นปีการศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สาระที่ ๑ การอ่าน

มาตรฐาน  ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. อ่านออกเสียงพยัญชนะ คำสระและวรรณยุกต์

๒. มีมารยาทในการอ่าน

๓. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

 

๑. อ่านออกเสียงสระและ วรรณยุกต์

๒. อ่านออกเสียงคำในชีวิตประจำ วัน

๓. มีมารยาทในการอ่าน

4. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

5.เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน

๑. อ่านออกเสียงคำตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป

๒. อ่านออกเสียงคำคล้องจอง

๓. มีมารยาทในการอ่าน

4. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

5.เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน

 

 

 

 

 

๑. อ่านออกเสียงประโยค

๒. มีมารยาทในการอ่าน

 

๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

๒. บอกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน

๓. มีมารยาทในการอ่าน

๑. อ่านออกเสียงบทร้อยกรองง่ายๆสั้นๆ    

๒. อ่านคำอธิบายในคู่มือต่าง ๆ 

๓. มีมารยาทในการอ่าน

 

สาระที่ ๒ การเขียน

มาตรฐาน  ท  ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑.เขียนพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์

๒. มีมารยาทในการเขียน

๑. เขียนสะกดคำพยัญชนะกับสระ

๒. มีมารยาทในการเขียน

๓.เขียนเรื่องสั้นๆ เกี่ยวกับประสบการณ์

๑. เขียนสะกดคำพยัญชนะกับตัวสะกด

๒. เขียนคำตั้งแต่  ๒ พยางค์ขึ้นไป

 ๓. มีมารยาทในการเขียน

4.คัดลายมืออักษรเบรล์ล

5.เขียนบันทึกประจำวัน

6.เขียนจดหมายลาครู

 

๑. เขียนคำตั้งแต่  ๒ พยางค์ขึ้นไป หรือวลีที่มีความหมาย   

๒. มีมารยาทในการเขียน

๑. เขียนประโยค

สั้น ๆ ที่มีความหมาย

๒. มีมารยาทในการเขียน

 

๑. เขียนประโยค

สั้น ๆ เพื่อบอกเล่าเหตุการณ์

หรือแสดงความคิดเห็น

๒. มีมารยาทในการเขียน

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน  ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. พูดแนะนำตนเอง

๒. พูดบอกความต้องการ

๓. ฟังคำสั่งง่าย ๆ และปฏิบัติตาม

๔. มีมารยาทในการฟังและการพูด

 

๑. พูดแนะนำตนเองและสมาชิกในห้องเรียน

๒. ฟังคำแนะนำ คำสั่งและปฏิบัติตาม

๓. เล่าเรื่องจากที่ฟัง

๔. มีมารยาทในการฟังและการพูด

๑. พูดและแนะนำโรงเรียน

๒. พูดแนะนำและสถานที่ใกล้เคียง

๓. พูดสื่อสารตรงตามวัตถุประสงค์

๔. มีมารยาทในการฟังและการพูด

๑. ตอบคำถาม เรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง

๒. บอกสาระสำคัญจากการฟัง

๓. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่อง ที่ฟัง

๔. มีมารยาทในการฟังและการพูด

๑. ตอบคำถาม เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว

๒. พูดแสดง ความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟัง

๓. มีมารยาทในการฟังและการพูด

๑. ตอบคำถาม เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รอบตัวเอง

๒. เล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เหตุการณ์

รอบตัวเอง

๓. มีมารยาทในการฟังและการพูด

 

 

 

 

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน  ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑.ใช้คำได้เหมาะสมกาลเทศะ และบุคคล

 

๑. ใช้คำได้เหมาะสมกาลเทศะ และบุคคล

2.เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ

 

๑.ใช้คำได้เหมาะสมกาลเทศะ และบุคคล

๒. แต่งคำคล้องจอง

3.เลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ

4.เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ

๑. ใช้คำได้เหมาะสมกับสถานที่ และ

สถานการณ์

๒. แต่งประโยค

 

๑. ใช้คำได้

เหมาะ สมกับสถานที่ และ สถานการณ์

๒. แต่งประโยคที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย

๓. ใช้คำราชาศัพท์

 

๑. ใช้คำได้

เหมาะ สมกับสถานที่ และสถานการณ์

๒. แต่งประโยคที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย

๓. ใช้คำราชาศัพท์

๔. บอกความหมายของคำภาษา ต่างประเทศ ใช้ในภาษาไทย

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน  ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ท่องจำคำคล้องจอง บทอาขยานบทร้อยกรอง

๑. ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองตามความสนใจ

2.ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น

๑. ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองตามความสนใจ

๒. ร้องเพลงพื้นบ้านและเพลงกล่อมเด็ก

 

๑. บอกข้อคิดที่ได้จากนิทาน

๒. ร้องเพลงพื้นบ้าน

๓. เล่านิทานพื้นบ้านหรือ

นิทานท้องถิ่น

๔. ท่องบทอาขยานตามที่กำหนด

๑. บอกข้อคิดที่ได้จากนิทาน

๒. ร้องเพลงพื้นบ้าน

เพลงกล่อมเด็ก

๓. เล่านิทานพื้นบ้านหรือ

นิทานท้องถิ่น

๔. ท่องบทอาขยานตามความสนใจ

๑. บอกข้อคิดที่ได้จากนิทาน

๒. ร้องเพลงพื้นบ้าน

เพลงกล่อมเด็ก

๓. เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่น

๔. ท่องบทอาขยานตามความสนใจ

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สาระที่ ๑ จำนวนและพีชคณิต

มาตรฐาน ค ๑.๑ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑.บอกจำนวนของสิ่งต่างๆแสดงสิ่งต่างๆตามจำนวนที่กำหนดอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย        

แสดงจำนวนนับไม่เกิน๑๐๐ และ ๐

 

2.เปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน๑๐๐และ๐โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ ><

 

๑.บอกจำนวนของสิ่งต่างๆแสดงสิ่งต่างๆตามจำนวนที่กำหนดอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยตัวหนังสือแสดงจำนวนนับไม่เกิน๑,๐๐๐และ๐

 

๒.เปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน๑,๐๐๐และ๐โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ ><

๓.เรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน๑,๐๐๐และ๐ตั้งแต่๓ถึง๕จำนวนจากสถานการณ์ต่างๆ

๔.หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกและประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบของจำนวนนับไม่เกิน๑,๐๐๐และ๐๕.หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณของจำนวน๑หลักกับจำนวนไม่เกิน๒หลัก

 

๑.อ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยและตัวหนังสือแสดงจำนวนนับไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐และ๐

 

๒.เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐จากสถานการณ์ต่างๆ

๓.บอกอ่านและเขียนเศษส่วนแสดงปริมาณสิ่งต่างๆและแสดงสิ่งต่างๆตามเศษส่วนที่กำหนด

4.หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกและประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบของจำนวนนับไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐และ๐

 

๑. อ่านและเขียน

ตัวเลขฮินดูอารบิก

ตัวเลขไทย และ

ตัวหนังสือแสดง

จำนวนนับที่

มากกว่า

๑๐๐,๐๐๐

 

๒. เปรียบเทียบและ

เรียงลำดับ

จำนวนนับที่

มากกว่า

๑๐๐,๐๐๐ จาก

สถานการณ์ต่าง ๆ

 

๑. เขียนเศษส่วนที่

มีตัวส่วนเป็นตัวประกอบของ ๑๐

หรือ ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ ในรูปทศนิยม

 

๒. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์

ปัญหาโดยใช้

บัญญัติ

ไตรยางศ์

 

 

 

1. เขียนอัตราส่วน

แสดงการ

เปรียบเทียบ

ปริมาณ ๒ ปริมาณ

จากข้อความหรือสถานการณ์ โดยที่

ปริมาณแต่ละ

ปริมาณเป็นจำนวนนับ

 

 

 

สาระที่ ๑  จำนวนและพีชคณิต

มาตรฐาน ค ๑.๒ เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และนำไปใช้

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ระบุจำนวนที่

หายไปในแบบรูป

ของจำนวนที่

เพิ่มขึ้น หรือ

ลดลงทีละ ๑

และทีละ ๑๐

และระบุรูปที่

หายไปในแบบรูป

ซ้ำของรูป

เรขาคณิตและ

 รูปอื่น ๆ ที่

สมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี ๒ รูปศูนย์

 

-

๑. ระบุจำนวนที่

หายไปในแบบรูป

ของจำนวนที่

เพิ่มขึ้นหรือลดลง

ทีละเท่า ๆ กัน

-

-

๑. แสดงวิธีคิดและ

หาคำตอบของปัญหา

เกี่ยวกับแบบรูป

 

สาระที่ ๑  จำนวนและพีชคณิต

มาตรฐาน ค ๑.๓ ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ และเมทริกซ์ อธิบายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำหนดให้

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

-

-

-

-

-

-

 

สาระที่ ๒  การวัดและเรขาคณิต

มาตรฐาน ค ๒.๑ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดวัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. วัดและเปรียบเทียบ

 ความยาวเป็นเซนติเมตรเป็นเมตร

๒. วัดและเปรียบเทียบ

น้ำหนักเป็นกิโลกรัม

 เป็นขีด

๑. แสดงวิธีหา

คำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาที่มีหน่วย

เดี่ยวและเป็นหน่วยเดียวกัน

๒. วัดและเปรียบเทียบ ความยาวเป็นเมตรและ

เซนติเมตร

๓. แสดงวิธีหา

คำตอบของโจทย์ปัญหาการบวก

การลบเกี่ยวกับความยาวที่มีหน่วยเป็นเมตร

และเซนติเมตร

๔. วัดและเปรียบ

เทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและกรัมกิโลกรัมและขีด

๕. แสดงวิธีหา

คำตอบของโจทย์ปัญหาการบวก การลบเกี่ยวกับ

น้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัม

และขีด

๖. วัดและเปรียบเทียบ

ปริมาตรและความจุเป็นลิตร

๑. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหา

เกี่ยวกับเงิน

๒. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาและ

ระยะเวลา

๓. เลือกใช้เครื่องวัด

ความยาวที่เหมาะสม วัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆ

เป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตรเมตรและ

เซนติเมตร

4. เปรียบเทียบความยาวระหว่างเซนติเมตรกับมิลลิเมตร เมตร

กับเซนติเมตรกิโลเมตรกับเมตรจาสถานการณ์

ต่าง ๆ

5. แสดงวิธีหา คำตอบ ของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตร เมตรและเซนติเมตรกิโลเมตรและเมตร

6. เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม วัดและบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและขีด กิโลกรัมและกรัม

7. เลือกใช้เครื่องตวงที่เหมาะสมวัดและ

เปรียบเทียบปริมาตร ความจุเป็นลิตรและ

มิลลิลิตร

๑. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์

ปัญหาเกี่ยวกับ

เวลา

๒. วัดและสร้างมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์

๓. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์

ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่สี่เหลี่ยมมุมฉาก

๑. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์

ปัญหาเกี่ยวกับ

ความยาวที่มีการเปลี่ยนหน่วยและ

เขียนในรูปทศนิยม

๒. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์

ปัญหาเกี่ยวกับ

น้ำหนักที่มีการเปลี่ยนหน่วยและ

เขียนในรูปทศนิยม

 

๑. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์

ปัญหาเกี่ยวกับ

ปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบด้วย

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

2. แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์

ปัญหาเกี่ยวกับ

ความยาว

รอบรูปและพื้นที่ของวงกลม

 

 

สาระที่ ๒  การวัดและเรขาคณิต

มาตรฐาน ค ๒.๒ เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต และ ทฤษฎีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. จำแนกรูป

สามเหลี่ยม

 รูปสี่เหลี่ยม

วงกลม วงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ทรงกลม

ทรงกระบอก

และกรวย

 

๑. จำแนกและบอก

ลักษณะของรูปหลายเหลี่ยมและวงกลม

๑. ระบุรูป

เรขาคณิตสองมิติ

ที่มีแกนสมมาตร

และจำนวน แกนสมมาตร

๑. จำแนกชนิดของมุม บอกชื่อมุมส่วนประกอบของมุมและเขียนสัญลักษณ์แสดงมุม

 

๒. สร้างรูปสี่เหลี่ยม

มุมฉากเมื่อกำหนด

ความยาวของด้าน

๑. สร้างเส้นตรงหรือส่วนของ

เส้นตรงให้ขนานกับเส้นตรงหรือ

ส่วนของเส้นตรง

ที่กำหนดให้

๒. จำแนกรูป

สี่เหลี่ยมโดย

พิจารณาจาก

สมบัติของรูป

 

๑. จำแนกรูปสามเหลี่ยมโดยพิจารณาจากสมบัติของรูป

๒. สร้างรูปสามเหลี่ยมเมื่อกำหนดความยาวของด้านและขนาดของมุม

 

 

 

 

 

สาระที่ ๓ สถิติและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค ๓.๑ เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

1.ใช้ข้อมูลจาก แผนภูมิรูปภาพ ในการหาคำตอบ ของโจทย์ปัญหา เมื่อกำหนดรูป ๑ รูปแทน ๑ หน่วย

๑. ใช้ข้อมูลจาก แผนภูมิรูปภาพ ในการหาคำตอบ ของโจทย์ปัญหา เมื่อกำหนดรูป ๑ รูปแทน ๒ หน่วย ๕ หน่วย หรือ ๑๐ หน่วย

๑.

เขียนแผนภูมิ

รูปภาพ และ

ใช้ ข้อมูลจาก

แผนภูมิ

รูปภาพ ใน

การหา

คำตอบ ของ

โจทย์ปัญหา

๑. บอกวิธี

การเก็บ

รวบรวม

ข้อมูลและ

จำแนกข้อมูล

 

๑. รวบรวม

และจำแนก

ข้อมูล

เกี่ยวกับ

ตนเอง และ

สิ่งแวดล้อม

ใกล้ตัวที่พบ

เห็นในชีวิต

ประจำวัน

 

๑. รวบรวม

และจำแนก

ข้อมูล

เกี่ยวกับ

ตนเอง และ

สิ่งแวดล้อม

ใกล้ตัวที่พบ

เห็นในชีวิต

ประจำวัน

๒. ทำ

แผนภูมิรูป

วงกลม

 

สาระที่ ๓ สถิติและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค ๓.๒ เข้าใจหลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และนำไปใช้

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

-

-

-

-

-

-

 

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในระบบนิเวศการถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและกสนแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ระบุชื่อพืชและ สัตว์ที่อาศัยอยู่ บริเวณต่าง ๆ ที่ ได้จากการสำรวจ

๒. บอก สภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมใน บริเวณที่พืชและ สัตว์อาศัยอยู่ใน บริเวณที่สำรวจ

-

-

-

๑. ระบุส่วน

ประกอบของดอกและ    โครงสร้าง

ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์

ของพืชดอก ๒. บอกการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์พืช และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ 

 

-

 

สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำงานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของพืชที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

1.ระบุชื่อ บรรยาย ลักษณะและบอก หน้าที่ของส่วน ต่างๆ ของ ร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช

๑. ระบุว่าพืช ต้องการแสงและ น้ำเพื่อการ เจริญเติบโต โดยใช้ข้อมูลจาก หลักฐานเชิง ประจักษ์ ๒. ตระหนักถึง ความจำเป็นที่ พืชต้องได้รับน้ำ และแสงเพื่อ การเจริญเติบโต โดยดูแลพืชให้ ได้รับสิ่งดังกล่าว อย่างเหมาะสม

๑. บรรยายสิ่งที่ จำเป็นต่อการ ดำรงชีวิตและ การเจริญเติบโต ของมนุษย์และ สัตว์ โดยใช้ข้อมูล ที่รวบรวมได้ ๒. ตระหนักถึง ประโยชน์ของ อาหาร น้ำ และ อากาศ โดยการ ดูแลตนเองและ สัตว์ให้ได้รับ สิ่งเหล่านี้อย่าง เหมาะสม

๑. บรรยายหน้าที่ ของราก ลำต้น ใบและดอกของ พืชดอกโดยใช้ ข้อมูลที่รวบรวม ได้

-

 ๑. ระบุสารอาหารและ บอกประโยชน์ของ สารอาหารแต่ละ ประเภทจากอาหารที่ ตนเองรับประทาน ๒. บอกแนวทางในการ เลือกรับประทาน อาหารให้ได้สารอาหาร ครบถ้วนในสัดส่วนที่ เหมาะสมกับเพศและ วัย รวมทั้งความ ปลอดภัยต่อสุขภาพ

๓. ตระหนักถึงความสำคัญของสารอาหาร โดยการ เลือกรับประทาน อาหารที่มีสารอาหาร ครบถ้วนในสัดส่วนที่ เหมาะสมกับเพศ และวัย รวมทั้ง ปลอดภัยต่อสุขภาพ

๔.ตระหนักถึง ความสำคัญของระบบ ย่อยอาหาร โดยการ บอก แนวทางในการ ดูแลรักษาอวัยวะใน ระบบย่อยอาหารให้ ทำงานเป็นปกติ

 

สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

มาตรฐาน ว ๑.3 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมสารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

-

 

 

 

 

 

 

 

 

๑. เปรียบเทียบ ลักษณะของ สิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต จากข้อมูลที่ รวบรวมได้

-

๑. จำแนกสิ่งมีชีวิต โดยใช้ความเหมือน และความแตกต่าง ของลักษณะของ สิ่งมีชีวิต ออกเป็น กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืช และสัตว์

๒. จำแนกพืช ออกเป็นพืชดอก และพืชไม่มีดอก โดยใช้การมีดอก เป็นเกณฑ์โดยใช้ ข้อมูลที่รวบรวมได้

๓. จำแนกสัตว์ ออกเป็นสัตว์มี กระดูกสันหลังและ สัตว์ไม่มีกระดูกสัน หลัง โดยใช้การมี กระดูกสันหลังเป็น เกณฑ์ โดยใช้ ข้อมูลที่รวบรวมได้

๔. บรรยายลักษณะ เฉพาะที่สังเกตได้ ของสัตว์มีกระดูก สันหลังในกลุ่มปลา กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก กลุ่ม สัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มนก และกลุ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วย น้ำนม และ ยกตัวอย่าง สิ่งมีชีวิตในแต่ละ กลุ่ม

๑. อธิบายลักษณะ ทางพันธุกรรมที่มี การถ่ายทอดจาก พ่อแม่สู่ลูกของ พืช สัตว์ และ มนุษย์ ๒. แสดงความ อยากรู้อยากเห็น โดยการถาม ค าถามเกี่ยวกับ ลักษณะที่ คล้ายคลึงกันของ ตนเองกับพ่อแม่

 

 

๑. จำแนกสิ่งมีชีวิต โดยใช้ความเหมือน และความแตกต่าง ของลักษณะของ สิ่งมีชีวิต ออกเป็น กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืช และสัตว์

๒. จำแนกพืช ออกเป็นพืชดอก และพืชไม่มีดอก โดยใช้การมีดอก เป็นเกณฑ์โดยใช้ ข้อมูลที่รวบรวมได้

๓. จำแนกสัตว์ ออกเป็นสัตว์มี กระดูกสันหลังและ สัตว์ไม่มีกระดูกสัน หลัง โดยใช้การมี กระดูกสันหลังเป็น เกณฑ์ โดยใช้ ข้อมูลที่รวบรวมได้

๔. บรรยายลักษณะ เฉพาะที่สังเกตได้ ของสัตว์มีกระดูก สันหลังในกลุ่มปลา กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก กลุ่ม สัตว์เลื้อยคลาน กลุ่มนก และกลุ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วย น้ำนม และ ยกตัวอย่าง สิ่งมีชีวิตในแต่ละ กลุ่ม

 

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ

มาตรฐาน ว ๒.๑  เข้าใจสมบัติของสสาร องค์ประกอบของสสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค หลักและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสสาร การเกิดสารละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้ทำวัตถุ

ซึ่งทำจากวัสดุชนิดเดียวหรือหลายชนิดประกอบกัน

โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

๒. ระบุชนิดของวัสดุและจัดกลุ่มวัสดุ

ตามสมบัติที่สังเกตได้

๑. เปรียบเทียบสมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และระบุการนำสมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุไปประยุกต์ใช้ในการทำวัตถุในชีวิตประจำวัน

 

๑. อธิบายว่าวัตถุประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนย่อย ๆซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้และประกอบกันเป็นวัตถุชิ้นใหม่ได้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

 

-

๑. อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสาร เมื่อทำให้สสารร้อนขึ้นหรือเย็นลง โดยใช้หลักฐาน

เชิงประจักษ์

๒. อธิบายการละลายของสารในน้ำ โดยใช้หลักฐาน

เชิงประจักษ์

 

 



 

 

-

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ

มาตรฐาน ว ๒.๒         เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะ

การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุรวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

-

 

 

 

 

 

 

 

 

-

๑. ระบุผลของแรงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง

การเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์

๒. เปรียบ

เทียบและยกตัวอย่างแรงสัมผัสและ

แรงไม่สัมผัสที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ

โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

๑. ระบุผลของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อวัตถุจากหลักฐาน

เชิงประจักษ์

 

๑. อธิบายวิธีการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในแนว

เดียวกันที่กระทำต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง

จากหลักฐานเชิงประจักษ์

 

๑. อธิบายการเกิดและผลของแรงไฟฟ้าซึ่งเกิดจาก

วัตถุที่ผ่านการขัดถูโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

 

 

สาระที่ ๒ วิทยาศาสตร์กายภาพ

มาตรฐาน ว ๒.3 เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงานปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บรรยายการเกิดเสียงและทิศทางการเคลื่อนที่ของเสียงจากหลักฐานเชิงประจักษ์

 

๑. บรรยายแนวการเคลื่อนที่ของแสงจาก

แหล่งกำเนิดแสง และอธิบายการมองเห็นวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์

๑. ยกตัวอย่างการเปลี่ยนพลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์

 

-

๑. อธิบายการได้ยินเสียงผ่านตัวกลางจากหลักฐานเชิงประจักษ์

2. ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่องระดับเสียงโดยเสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลด

มลพิษทางเสียง

-

 

สาระที่ ๓ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ

 มาตรฐาน ว ๓.๑  เข้าใจองค์ประกอบ ลักษณะ กระบวนการเกิด และวิวัฒนาการของเอกภพกาแล็กซีดาวฤกษ์และระบบสุริยะ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ระบุดาวที่ปรากฏบนท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนจากข้อมูลที่รวบรวมได้

๒. อธิบายสาเหตุที่มองไม่เห็นดาวส่วนใหญ่ในเวลากลางวันจากหลักฐานเชิงประจักษ์

-

๑. อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

 

๑. อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตก

ของดวงจันทร์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

 

๑. เปรียบเทียบความแตกต่างของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์จากแบบจำลอง

 

-

 

สาระที่ ๓ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ

มาตรฐาน ว ๓.๒          เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลง ภายในโลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้า อากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. อธิบายลักษณะภายนอกของหิน จากลักษณะ

เฉพาะตัวที่สังเกตได้

๑. ระบุส่วนประกอบของดิน และจำแนกชนิดของดิน

โดยใช้ลักษณะเนื้อดินและการจับตัวเป็นเกณฑ์

๒. อธิบายการใช้ประโยชน์จากดิน จากข้อมูล

ที่รวบรวมได้

 

๑. ระบุส่วนประกอบของอากาศ บรรยายความ

สำคัญของอากาศ และผลกระทบของมลพิษทาง

อากาศต่อสิ่งมีชีวิต จากข้อมูลที่รวบรวมได้

๒. ตระหนักถึงความสำคัญของอากาศ โดยนำเสนอ

แนวทางการปฏิบัติตนในการลดการเกิดมลพิษ

ทางอากาศ

 

-

๑. เปรียบเทียบปริมาณน้ำในแต่ละแหล่ง และระบุ

ปริมาณน้ำที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

จากข้อมูลที่รวบรวมได้

๒. ตระหนักถึงคุณค่าของน้ำโดยนำเสนอแนวทาง

การใช้น้ำอย่างประหยัดและการอนุรักษ์น้ำ

 

 

1. บรรยายและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของหิน

และแร่ในชีวิตประจำวันจากข้อมูลที่รวบรวมได้

2. ตระหนักถึงผลกระทบของภัยธรรมชาติและ

ธรณีพิบัติภัย โดยนำเสนอแนวทางในการ

เฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ

และธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดในท้องถิ่น

 

 

 

สาระที่ ๔ เทคโนโลยี

มาตรฐาน ว ๔.๑   เข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์

ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

-

 

-

-

-

-

-

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๔ เทคโนโลย

มาตรฐาน ว ๔.๒เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็น ขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

1.แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ

2.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันดูแลรักษาอุปกรณ์เบื้องต้น ใช้งานอย่างเหมาะสม

๑. แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานหรือการแก้ปัญหา

อย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ

2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติ

ตามข้อตกลงในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน ดูแลรักษาอุปกรณ์เบื้องต้น ใช้งานอย่างเหมาะสม

 

1. ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้

2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติ

ตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต

 

2. ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

3. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจ

สิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น

แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่

ไม่เหมาะสม

 

.

2. ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูล ติดต่อสื่อสาร

และทำงานร่วมกัน ประเมินความน่าเชื่อถือ

ของข้อมูล

 

 

2. ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลอย่างมี

ประสิทธิภาพ

3. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่าง

ปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

 

 

 

กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

สาระที่ ๑  ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

มาตรฐาน  ส ๑.๑ รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนา อื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติและปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกชื่อศาสนา และชื่อศาสดาของศาสนาที่ตนเองนับถือ

๒. บอกชื่อศาสนา และชื่อศาสดาของศาสนาอื่น

๓. บอกแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ดีตามศาสนาที่ตนเองนับถือ

 

๑. บอกประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนเองนับถือ

๒. บอกวิธีปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ

๓. ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ

4.ชื่นชมการทำความดีของตนเอง บุคคล   ในครอบครัวและในโรงเรียนตามหลักศาสนา

๑. บอกประวัติศาสดาของศาสนาอื่น

๒. บอกหลักธรรมของศาสนาอื่น ๆ

๓. บอกชื่อ ความสำคัญ และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม ต่อศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนบุคคลของศาสนาอื่น ๆ

3.บอกความ หมาย  ความสำคัญของ  พระไตรปิฏก หรือคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือ

4.บอกชื่อ ความสำคัญ และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม ต่อศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนบุคคลของศาสนาอื่นๆ

๑. อธิบายความสำคัญของพระพุทธ- ศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือในฐานะเป็นศูนย์รวมจิตใจของศาสนิกชน

๒. สรุปพุทธประวัติตั้งแต่บรรลุธรรมจนถึงประกาศธรรม หรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

๓. เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก  ชาดก เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด

๔. แสดงความเคารพพระรัตนตรัย  ปฏิบัติตามไตรสิกขาและหลักธรรม โอวาท ๓ ในพระพุทธศาสนาหรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

๕. ชื่นชมการทำความดีของตนเอง บุคคลในครอบครัว  โรงเรียนและชุมชนตามหลักศาสนา  พร้อมทั้งบอกแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

๖. เห็นคุณค่าและสวดมนต์แผ่เมตตา  มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิในพระพุทธศาสนาหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

๗. ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อการอยู่ร่วมกันเป็นชาติได้อย่างสมานฉันท์

๘. อธิบายประวัติศาสดาของศาสนาอื่นๆ โดยสังเขป

 

๑. วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและหลักในการพัฒนาชาติไทย

๒. สรุปพุทธประวัติตั้งแต่เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์  จนถึงพุทธกิจสำคัญหรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

๓. เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก  เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด

๔. อธิบายองค์ประกอบและความสำคัญของพระไตรปิฏก หรือคัมภีร์ของศาสนาที่ตนนับถือ

๕. แสดงความเคารพพระรัตนตรัยและปฏิบัติตามไตรสิกขาและหลักธรรมโอวาท ๓ ในพระพุทธศาสนาหรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

๖. เห็นคุณค่าและสวดมนต์ แผ่เมตตา  มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิในพระพุทธศาสนาหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตน  นับถือตามที่กำหนด

๗. ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อการพัฒนาตนเองและสิ่งแวดล้อม

 

๑. วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ  หรือความ สำคัญของศาสนาที่ตนนับถือ

๒. สรุปพุทธประวัติตั้งแต่ปลงอายุสังขารจนถึงสังเวชนียสถานหรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือ

๓. เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิต และข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก  เรื่องเล่าและศาสนิกชน ตัวอย่างตามที่กำหนด

๔. วิเคราะห์ความสำคัญและเคารพพระรัตนตรัย ปฏิบัติตาม ไตรสิกขาและหลักธรรมโอวาท ๓  ในพระพุทธศาสนาหรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

๕. ชื่นชมการทำความดีของบุคคลในประเทศตามหลักศาสนาพร้อมทั้งบอกแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

๖. เห็นคุณค่า และสวดมนต์ แผ่เมตตาและบริหารจิต  เจริญปัญญา  มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิในพระพุทธศาสนาหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด

๗. ปฏิบัติตน ตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือเพื่อแก้ปัญหาอบายมุขและสิ่งเสพติด

๘. อธิบายหลักธรรมสำคัญของศาสนาอื่นๆโดยสังเขป

๙.อธิบายลักษณะสำคัญของศาสนพิธี พิธีกรรม ของศาสนาอื่นๆ และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมเมื่อต้องเข้าร่วมพิธี

 

 

สาระที่ ๑  ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

มาตรฐาน ส  ๑.๒  เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑.  บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดหรือศาสนสถาน ของศาสนาที่ตนนับถือ

๒. แสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ

๓.  ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม  และวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง

 

1. ปฏิบัติตน อย่างเหมาะสมต่อสาวกของศาสนาที่ตน  นับถือตามที่กำหนดได้ถูกต้อง

๒. ปฏิบัติตนในศาสนพิธีพิธีกรรมและ   วันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนดได้ถูกต้อง

 

๑. ปฏิบัติตน อย่างเหมาะสมต่อสาวกของศาสนา ศาสนสถาน ศาสนวัตถุของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนดได้ถูกต้อง

๒. เห็นคุณค่าและปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนดได้ถูกต้อง

๓. แสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ

 

๑. อภิปรายความสำคัญและมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ

๒. มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด

๓. ปฏิบัติตนในศาสนพิธี  พิธีกรรม  และวันสำคัญ ทางศาสนาตามที่กำหนดได้ถูกต้อง

 

๑. จัดพิธีกรรมตามศาสนาที่ตนนับถืออย่างเรียบง่าย  มีประโยชน์ และปฏิบัติตนถูกต้อง

๒. ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรมและวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนดและอภิปรายประโยชน์ที่ได้รับจากการ    เข้าร่วมกิจกรรม

๓. มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ตามที่กำหนด

 

๑. อธิบายความรู้เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆในศาสนสถานและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม

๒. มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด

๓. อธิบาย ประโยชน์ของการเข้าร่วมในศาสนพิธี พิธีกรรมและกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนดและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

๔. แสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือแสดงตนเป็นศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือ

 

 

สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม­

มาตรฐาน  ส ๒.๑ เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑.บอกวิธีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

๒. ยกตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

ความสามารถ

และความดีของตนเอง  ผู้อื่น

๑. บอกวิธีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

๒. ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

๓. บอกวิธีรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย

๔. บอกวิธี ดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทย

๑. บอกวิธีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

๒. บอกหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี

๓. ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี

๔. บอกวิธีรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย

๕. บอกการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทย

๑. ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในฐานะสมาชิกที่ดีของชุมชน

๒.ปฏิบัติตนในการ เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

๓. วิเคราะห์สิทธิพื้นฐานที่เด็กทุกคนพึงได้รับตามกฎหมาย

๔. อธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในท้องถิ่น

๕.  เสนอวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในชีวิตประจำวัน

 

๑. ยกตัวอย่างและปฏิบัติตนตามสถานภาพ  บทบาท   สิทธิ  เสรีภาพและหน้าที่ในฐานะพลเมืองที่ดี

๒. เสนอวิธีการ ปกป้องคุ้มครองตนเองหรือผู้อื่น จากการละเมิดสิทธิเด็ก

๓. เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย

๔. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน

 

๑. ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง กับชีวิตประจำวัน ของครอบครัว และชุมชน

๒.วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมตามกาลเวลาและธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม

๓.แสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ

๔.อธิบายคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนในสังคมไทย

๕. ติดตามข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๒ หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม­

มาตรฐาน  ส ๒.๒ เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบ   ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกโครงสร้างบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวและโรงเรียน 

๒.  ระบุบทบาท สิทธิ หน้าที่ของตนเองในครอบครัวและโรงเรียน

๓. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและทำกิจกรรมในครอบครัวและโรงเรียนตามกระบวนการประชาธิปไตย

 

๑. อธิบายความ สัมพันธ์ของตนเอง และสมาชิกในครอบครัว     

ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

๒. ระบุผู้มีบทบาท อำนาจในการตัดสินใจในโรงเรียนและชุมชน

 

๑. ระบุบทบาทและหน้าที่ของสมาชิก ของชุมชนในการมีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ       ตามกระบวนการประชาธิปไตย

๒.วิเคราะห์ความแตกต่างของกระบวนการ การตัดสินใจในชั้นเรียน/โรงเรียน และชุมชน  โดยวิธี การออกเสียงโดยตรงและการเลือกตัวแทนออกเสียง

๓. ยกตัวอย่าง  การเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน โรงเรียนและชุมชน  ที่เป็นผลจากการตัดสินใจของบุคคลและกลุ่ม

 

๑. อธิบายอำนาจอธิปไตยและความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย

๒. อธิบายบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระ บวนการเลือกตั้ง

๓. อธิบายความสำคัญ ของสถาบัน พระมหา กษัตริย์ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

 

 

 

๑. อธิบายโครงสร้างอำนาจ หน้าที่และความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น

๒. ระบุผู้มีบทบาทหน้าที่และวิธีการเข้าดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น

. วิเคราะห์ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

๑.   เปรียบเทียบบทบาท หน้าที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาล

๒.  มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ    ที่ส่งเสริม ประชาธิปไตย ในท้องถิ่นและประเทศ

๓.    อภิปรายบทบาท ความสำคัญในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

 

 

สาระที่ ๓  เศรษฐศาสตร์

มาตรฐาน ส ๓.๑ เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิต

อย่างมีดุลยภาพ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ระบุสินค้าและบริการที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

๒. ยกตัวอย่างการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวัน   ที่ไม่เกินตัวและเห็นประโยชน์ของการออม

๓. ยกตัวอย่างการใช้ทรัพยากรในชีวิต ประจำวันอย่างประหยัด

 

๑. ระบุทรัพยากรที่นำมาผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

๒. บอกที่มาของรายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว

๓.   บันทึกรายรับรายจ่ายของตนเอง

๔.   สรุปผลดีของการใช้จ่ายที่เหมาะสมกับรายได้และ  การออม

 

๑. จำแนกความต้องการและความจำเป็นในการใช้สินค้าและบริการในการดำรงชีวิต

๒. วิเคราะห์การใช้จ่ายของตนเอง

๓. อธิบายได้ว่าทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมีผลต่อการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการ

 

๑. ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

๒. บอกสิทธิพื้นฐานและรักษาผลประโยชน์ของตนเองในฐานะผู้บริโภค

๓. อธิบายหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของตนเอง

 

๑. อธิบายปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ

๒. ประยุกต์ใช้แนวคิดของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัวโรงเรียนและชุมชน

๓. อธิบายหลักการสำคัญและประโยชน์ของสหกรณ์

 

๑. อธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ

๒. อธิบายบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน

๓. บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

 

 

สาระที่ ๓   เศรษฐศาสตร์

มาตรฐาน ส ๓.๒  เข้าใจระบบและสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. อธิบายเหตุผลความจำเป็นที่คนต้องทำงานอย่างสุจริต

 

๑. บอกความสำคัญของเศรษฐกิจของคนในชุมชน (โรงเรียน) ได้

๒. บอกความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย

 

 

 

 

๑. บอกสินค้าและบริการที่รัฐจัดหาและให้บริการแก่ประชาชน

๒. บอกความสำคัญของภาษีและบทบาทของประชาชนในการเสียภาษี

๓. อธิบายเหตุผลการแข่งขันทางการค้าที่มีผลทำให้ราคาสินค้าลดลง

 

๑. บอกความสำคัญเศรษฐกิจของคนในชุมชน

๒. บอกหน้าที่เบื้องต้นของเงิน

 

๑. บอกบทบาทหน้าที่เบื้องต้นของธนาคาร

๒. จำแนกผลดี ผลเสียของการกู้ยืม

 

๑. อธิบายความสำคัญเศรษฐกิจของคนในชุมชน

๒. ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในชุมชนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

 

สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส ๔.๑          เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ  อย่างเป็นระบบ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอก วัน  เดือน ปี และการนับช่วงเวลา ตามปฏิทินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

๒. เรียงลำดับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน

ตามวัน เวลาที่เกิดขึ้น

๓. บอกประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว

๑. ใช้คำระบุเวลาที่แสดงเหตุการณ์ ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

๒. ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในชีวิตของตนเอง โดยใช้หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 

 

๑. เทียบศักราชที่สำคัญตามปฏิทินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

๒. บอกลำดับเหตุการณ์สำคัญของโรงเรียนและชุมชน ตามคำบอกเล่า

๑. นับช่วงเวลาเป็นทศวรรษ   ศตวรรษ  และสหัสวรรษ

๒. อธิบายยุคสมัยในการศึกษาประวัติของมนุษยชาติโดยสังเขป

๓.แยกแยะประเภทหลักฐานที่ใช้ในการศึกษาความเป็นมาของท้องถิ่น

 

 

๑. สืบค้นความเป็นมาของท้องถิ่นโดยใช้หลักฐานที่หลากหลาย

๒. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อตอบคำถามทางประวัติศาสตร์อย่างมีเหตุผล

๓. อธิบายความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวในท้องถิ่น

 

๑. อธิบายความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อย่างง่าย ๆ

๒. นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องราวในอดีต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส ๔.๒         เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญ และสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกความเปลี่ยนแปลงของสภาพ

แวดล้อม สิ่งของเครื่องใช้ หรือการดำเนินชีวิตของตนเอง

๒. บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีผลกระทบต่อตนเองในปัจจุบัน

 

๑. บอกผลกระทบของการเปลี่ยน แปลงที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน

๒. บอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน

 

๑. บอกลักษณะที่สำคัญของขนมธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

ของชุมชนของตนเอง

๒. เปรียบ เทียบความเหมือนและความต่างทางวัฒนธรรมของชุมชนตนเองกับชุมชนอื่น

 

 

๑. บอกความสัมพันธ์ของมนุษยชาติในกลุ่มอาเซียน

๒. บอกอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ที่มีผลต่อสังคมไทย

ในปัจจุบัน

๑. บอกการตั้งหลักแหล่งและพัฒนา                  การของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และ ยุคประวัติศาสตร์

 

๑. ยกตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นที่แสดงพัฒนาการของมนุษยชาติ

๒. บอกความสัมพันธ์ของชาติต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียน  

 

 

สาระที่ ๔ ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส ๔.๓ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย  มีความรัก  ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกความสำคัญ ของชาติไทย

๒. บอก บุคคลสำคัญในท้องถิ่น

๓. บอกสถาน ที่สำคัญซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมในชุมชน

๑. บอกวัฒนธรรมระเพณีที่ตนเองรักในท้องถิ่น

๑. บอก  พระราชประวัติและพระราช -กรณียกิจของพระมหา

กษัตริย์รัชกาลปัจจุบันโดยสังเขป

 

๑.  บอกพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยโดยสังเขป

๒. บอกวีรกรรมของบรรพบุรุษไทยสมัยสุโขทัย

 

๑. บอก        พัฒนา การของอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีโดยสังเขป

 ๒. บอกวีรกรรมของบรรพบุรุษไทย

สมัยอยุธยาและธนบุรี

๑.  บอกพัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์  โดยสังเขป

๒. บอกวีรกรรมของบรรพบุรุษไทยสมัยรัตนโกสิทนทร์

 

 

สาระที่ ๕  ภูมิศาสตร์                                                        

มาตรฐาน ส ๕.๑          เข้าใจลักษณะทางกายภาพของโลกและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน  ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์    และสรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑.จำแนกสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เกิดขึ้น เองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้าง ขึ้น

๒.ระบุ ความสัมพันธ์ของ ตำแหน่ง ระยะ ทิศของสิ่งต่างๆ

๓. ใช้แผนผังง่าย ๆ ในการแสดง ตำแหน่งของสิ่ง ต่างๆในห้องเรียน สังเกตและบอก การเปลี่ยนแปลง ของสภาพอากาศ ในรอบวัน

 

 

๑. ระบุสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ และที่มนุษย์ สร้างขึ้น ซึ่ง ปรากฏระหว่างโรงเรียนกับบ้าน

๒. ระบุตำแหน่ง และลักษณะทาง กายภาพของสิ่ง ต่างๆ ที่ปรากฏ ในแผนผัง แผน ที่ รูปถ่าย และ ลูกโลกสังเกต และแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างโลก ดวงอาทิตย์และดวง จันทร์ที่ทำให้ เกิดปรากฏการณ์

๑. สำรวจข้อมูล ทางภูมิศาสตร์ ในโรงเรียนและ ชุมชนโดยใช้ แผนผัง แผนที่  เพื่อ แสดง ความสัมพันธ์ ของตำแหน่ง ระยะ ทิศทาง แสดงตำแหน่ง ที่ตั้งของสถานที่ สำคัญในบริเวณ โรงเรียนและชุมชน

๑. สืบค้นและ อธิบายข้อมูล ลักษณะทาง กายภาพของ จังหวัดตนเอง ด้วยแผนที่และ รูปถ่าย ๒. ระบุแหล่ง ทรัพยากรและ สถานที่สำคัญใน จังหวัดของตน ด้วยแผนที่และ รูปถ่าย อธิบาย ลักษณะทาง กายภาพที่ส่งผล ต่อแหล่ง ทรัพยากรและ สถานที่สำคัญ ในจังหวัด

๑.สืบค้นและ อธิบายข้อมูล ลักษณะ ทางกายภาพ ของภูมิภาคของ ตนด้วยแผนที่ และรูปถ่าย ๒. อธิบายลักษณะ ทางกายภาพที่ ส่งผลต่อแหล่ง ทรัพยากรและ สถานที่สำคัญ ในภูมิภาคของตน

๑. สืบค้นและ อธิบายข้อมูล ลักษณะ ทางกายภาพ ของประเทศไทย ด้วยแผนที่ รูป ถ่ายทางอากาศ และภาพจาก ดาวเทียม

๒. อธิบาย ความสัมพันธ์ ระหว่าง ลักษณะทาง กายภาพกับ ภัยพิบัติ ในประเทศไทย เพื่อ เตรียมพร้อม รับมือภัยพิบัติ

 

สาระที่ ๕  ภูมิศาสตร์

มาตรฐาน ส ๕.๒    เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิต  มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตาม ธรรมชาติ ที่ส่งผลต่อความ เป็นอยู่ของ มนุษย์

 ๒. สังเกตและ เปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อม ที่อยู่รอบตัวเพื่อ การปฏิบัติตน อย่างเหมาะสม

๓. มีส่วนร่วมในการ ดูแลสิ่งแวดล้อม ที่บ้านและชั้น เรียน

๑. อธิบาย ความสำคัญของ สิ่งแวดล้อม ทาง ธรรมชาติและที่ มนุษย์สร้างขึ้น

๒. จำแนกและใช้ ทรัพยากร - ธรรมชาติที่ใช้ แล้วไม่หมดไป และที่ใช้แล้วหมด ไปได้อย่างคุ้มค่า

๓. อธิบายความ สัมพันธ์ของ ฤดูกาลกับการ ดำเนินชีวิตของ มนุษย์

๔. มีส่วนร่วมในการ จัดการ สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

๑. เปรียบเทียบการ เปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมของ ชุมชนในอดีตกับ ปัจจุบัน

๒. อธิบายการใช้ ประโยชน์จาก สิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากร - ธรรมชาติ ในการสนอง ความต้องการ พื้นฐานของ มนุษย์และการ ประกอบอาชีพ

๓. อธิบายสาเหตุที่ ทำให้เกิดมลพิษ โดยมนุษย์

๔. อธิบายความ แตกต่างของ ลักษณะเมือง และชนบท

๕. อธิบาย ความสัมพันธ์ ของลักษณะ ทางกายภาพ กับการดำเนิน ชีวิตของคนใน ชุมชน

๖. มีส่วนร่วมใน การจัดการ สิ่งแวดล้อม ในชุมชน

๑. วิเคราะห์ สิ่งแวดล้อมทาง กายภาพที่ส่งผล ต่อการดำเนิน ชีวิตของคนใน จังหวัด

๒. อธิบายการ เปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อม ในจังหวัดและผล ที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงนั้น

๓. นำเสนอ แนวทางการ จัดการ สิ่งแวดล้อมในจังหวัด

๑. วิเคราะห์ สิ่งแวดล้อมทาง กายภาพที่มี อิทธิพลต่อ ลักษณะการตั้ง ถิ่นฐานและการ ย้ายถิ่นของ ประชากรใน ภูมิภาคของตน

๒.วิเคราะห์อิทธิพล ของสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติที่ ก่อให้เกิดวิถีการ ดำเนินชีวิตใน ภูมิภาคของตน

๓. นำเสนอตัวอย่าง ที่สะท้อนให้เห็น ผลจากการรักษา และทำลาย สิ่งแวดล้อม และ เสนอแนวทางใน การจัดการ สิ่งแวดล้อมใน ภูมิภาคของตน

๑. วิเคราะห์ ปฏิสัมพันธ์ ระหว่าง สิ่งแวดล้อมทาง กายภาพกับ ลักษณะกิจกรรม ทางเศรษฐกิจ และสังคม ในประเทศไทย ๒. วิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงทาง กายภาพของ ประเทศไทยใน อดีตกับปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้น จากการ เปลี่ยนแปลงนั้น

๓. นำเสนอตัวอย่างที่ สะท้อนให้เห็น ผลจากการรักษา และทำลาย ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม และ เสนอแนวทาง ในการจัดการ อย่างยั่งยืนใน ประเทศไทย

 

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา

สาระที่  ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

มาตรฐาน พ ๑.๑เข้าใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก

๒. บอกวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก

๓. ปฏิบัติตนในการดูแลรักษาอวัยวะภายนอก

๑. บอกลักษณะ  และหน้าที่ของอวัยวะภายใน

๒. บอกวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายใน

 

๑. บอกลักษณะและการเจริญ เติบโตของร่างกายมนุษย์

๒.เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน

๓. ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต

๑. บอกการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัย  

๒. บอกความสำคัญของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ

๓. บอกวิธีดูแลกล้ามเนื้อ  กระดูกและข้อ  ให้ทำงานอย่าง มีประสิทธิภาพ

๑. บอกความสำคัญของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย

๒. บอกวิธีดูแลระบบย่อยอาหารและ ระบบขับถ่าย ให้ทำงานตามปกติ

๑. บอกความสำคัญของระบบสืบพันธุ์                       ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ  

๒. บอกวิธีการดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์                     ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ

 

สาระที่  ๒ ชีวิตและครอบครัว

มาตรฐาน  พ ๒.๑เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว  เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ระบุสมาชิกในครอบครัวและความรักความผูกพันของสมาชิกที่มีต่อกัน

๒.บอกสิ่งที่ ชื่นชอบ และภาคภูมิใจในตนเอง

๓.บอกลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศชาย และเพศหญิง

๑. ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเอง และสมาชิกในครอบครัว

๒. บอกความสำคัญของเพื่อน

๓. ระบุพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศ

๔. บอกความภาคภูมิ ใจในความเป็นเพศหญิง หรือเพศชาย

๑. บอกความสำคัญ  และความแตกต่างของครอบครัวที่มีต่อตนเอง

๒. บอกวิธีสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน

๓. บอกวิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่นำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ

๑. บอกคุณลักษณะของความเป็นเพื่อนและสมาชิกที่ดีของครอบครัว

๒. แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย

๓. ยกตัวอย่างวิธีการปฏิเสธการกระทำที่เป็นอันตรายและไม่เหมาะสมในเรื่องเพศ

๑. บอกการเปลี่ยนแปลงทางเพศ  และปฏิบัติตนได้เหมาะสม

๒. บอกความสำคัญของการมีครอบครัวที่อบอุ่นตามวัฒนธรรมไทย

๓. ระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึง ประสงค์ในการแก้ไขปัญหา                 ความขัดแย้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน

 

๑. บอกความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น

๒. บอกพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่                     การมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอดส์ และ                        การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

 

 

 

สาระที่  ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม  กีฬาไทย  และกีฬาสากล

มาตรฐาน  พ ๓.๑เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย  การเล่นเกม  และกีฬา

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. เคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่  เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ

๒. เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ

๑. ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่กับที่  เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ

๒. เล่มเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่วิธีเล่น อาศัยการเคลื่อนไหวเบื้องต้นทั้งแบบอยู่กับที่  เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ

๑. ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่กับที่  เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบอย่างมีทิศทาง

๒. เคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้ทักษะการเคลื่อนไหวแบบบังคับทิศทาง  ในการเล่นเกมเบ็ดเตล็ด

๑. ควบคุมตนเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้                ทั้งแบบ

อยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ

๒. ฝึกกายบริหารท่ามือเปล่าประกอบจังหวะ

๓. เล่นเกมเลียนแบบและกิจกรรม                แบบผลัดและเล่นกีฬา

๑. จัดรูปแบบการเคลื่อน ไหว แบบผสมผสานและควบคุมตนเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวตามแบบที่กำหนด

๒. เล่มเกมนำไปสู่กีฬาที่เลือกและกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบผลัด 

๓. ควบคุมการเคลื่อนไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรงและความสมดุล

๔. แสดงทักษะกลไกในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายและเล่นกีฬา

๕. เล่นกีฬาไทย และกีฬาสากลประเภทบุคคลและประเภททีมได้

๖. เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ 

๑. แสดงทักษะการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่น                     ในลักษณะแบบผลัดและแบบผสมผสานได้                ตามลำดับทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และ                    ใช้อุปกรณ์ประกอบ และการเคลื่อน ไหวประกอบเพลง

๒. เคลื่อน ไหวในเรื่องการรับแรง การใช้แรง และความสมดุลในการเคลื่อน ไหวร่างกายในการเล่นเกม เล่นกีฬา  และนำผลมา                ปรับปรุง เพิ่มพูนวิธีปฏิบัติของตนและผู้อื่น

๓. เล่นกีฬาไทย กีฬาสากลประเภทบุคคลและประเภททีมได้

 

 

สาระที่  ๓ การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล

มาตรฐาน  พ ๓.๒รักการออกกำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา  ปฏิบัติเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ  มีวินัย  เคารพสิทธิ  กฎ กติกา มีน้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขันและชื่นชมในสุนทรียภาพของการกีฬา

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ออกกำลังกาย และเล่นเกม  ตามคำแนะนำ 

๒. ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา  ข้อตกลงในการเล่นเกมตามคำแนะนำ

๑. ออกกำลังกาย และเล่นเกม  ได้ด้วยตนเอง

๒. ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงในการเล่นเกมเป็นกลุ่ม

๑. เลือกออกกำลังกาย  การละเล่นพื้นเมือง และเล่นเกม

ที่เหมาะสม กับตนเอง

๒. ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงของการออกกำลังกาย  การเล่นเกม การละเล่นพื้นเมืองได้ด้วยตนเอง

 

๑. ออกกำลังกาย เล่นเกม  และกีฬาที่ตนเองสนใจและสามารถระบุพัฒนาการของตนเอง

๒. ปฏิบัติตามกฎ กติกาการเล่นกีฬาพื้นฐาน ตามชนิดกีฬา

ที่เล่น

๑. ออกกำลังกายอย่างมีรูปแบบ เล่นเกมที่ใช้ทักษะการคิดและตัดสินใจ

๒. เล่นกีฬา

ที่ตนเองชอบอย่างสม่ำเสมอ  และมีน้ำใจนักกีฬา

๓. ปฏิบัติตามกฎกติกา การเล่นเกม 

กีฬาไทย และกีฬาสากล ตามชนิดกีฬาที่เล่น

๔. ปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเอง                        ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นและยอมรับใน                    ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นเกม และกีฬา

 

๑. บอกประโยชน์และหลักการออกกำลังกาย    

๒. เล่นเกมที่ใช้ทักษะการวางแผน และสามารถเพิ่มพูนทักษะการออกกำลังกายและเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ

๓. เล่นกีฬา

ที่ตนเองชอบและสามารถประเมินทักษะการเล่นของตนเป็นประจำ

๔. ปฏิบัติตามกฎ กติกา  ตามชนิดกีฬาที่เล่นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

๕. เล่นเกมและกีฬา ด้วยความสามัคคีและมีน้ำใจนักกีฬา

 

สาระที่  ๔ การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค

มาตรฐาน พ ๔.๑ เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกการปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ

๒. บอกอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง

๓. ปฏิบัติตนตามคำแนะนำเมื่อมีอาการเจ็บป่วย

๑. บอกลักษณะของการมีสุขภาพดี

๒. เลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์

๓. ระบุของใช้และของเล่นที่มีผลเสียต่อสุขภาพ

๔. บอกอาการและวิธีป้องกันการเจ็บป่วย การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น

๕. ปฏิบัติตามคำแนะนำเมื่อมีอาการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ

๑. บอกการติดต่อและวิธี ป้องกันการแพร่ กระจายของโรค

๒. จำแนกอาหารหลัก ๕ หมู่

๓. เลือกกินอาหารที่หลากหลายครบ ๕ หมู่  ในสัดส่วนที่เหมาะสม

๔. แสดงการแปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี

๕. สร้างเสริมสมรรถภาพทางกายได้ตามคำแนะนำ

๑. บอกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ

๒. อธิบายสภาวะอารมณ์  ความรู้สึกที่มีผลต่อสุขภาพ

๓. บอกข้อมูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อการเลือกบริโภค

๔. ทดสอบและพัฒนาสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย

๑. ระบุพฤติกรรมที่เห็นความ สำคัญของ  การปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ

๒. ค้นคว้าข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้สร้างเสริมสุขภาพ

๓. บอกสื่อโฆษณาในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างมีเหตุผล

๔. ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบบ่อยในชีวิตประจำ วัน ทดสอบและพัฒนาสมรรถภาพทางกายตามผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย

๑. แสดงพฤติกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ 

๒. บอกผล กระทบที่เกิดจากการระบาด ของโรคและแนวทางการป้องกันโรค ติดต่อที่พบในประเทศไทย 

๓. ระบุและแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของส่วนรวม

 

 

สาระที่  ๕ ความปลอดภัยในชีวิต

มาตรฐาน พ ๕.๑         ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑.ระบุสิ่งที่ทำให้เกิดอันตรายที่บ้าน โรงเรียน  และการป้องกัน

๒. บอกอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง

๓. แสดงคำพูดหรือท่าทาง

ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุร้าย ที่บ้านและโรงเรียน

๑. ปฏิบัติตนในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นทางน้ำ  และทางบก

๒. บอกชื่อยาสามัญประจำบ้าน และ

ใช้ยา ตามคำแนะนำ

๓. ระบุโทษของสารเสพติด สารอันตราย

ใกล้ตัวและวิธีการป้องกัน

๔. ปฏิบัติตนตามสัญลักษณ์และป้ายเตือนของสิ่งของหรือสถานที่

ที่เป็นอันตราย๕. บอกสาเหตุ  อันตราย          วิธีป้องกันอัคคีภัยและแสดงการ หนีไฟ

๑. ปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

ในบ้าน  โรงเรียน  และการเดินทาง

๒. แสดงวิธี ขอความช่วยเหลือจากบุคคลและแหล่งต่าง ๆ  เมื่อเกิดเหตุร้าย  หรืออุบัติเหตุ

 

๑. บอกความสำคัญของการใช้ยาและใช้ยาอย่างถูกวิธี

๒. บอกวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากการใช้ยาผิด  สารเคมี  แมลง สัตว์ กัดต่อยและการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

๓. บอกผลเสียของการ          สูบบุหรี่ และ                  การดื่มสุราที่มีต่อสุขภาพและการป้องกัน

๔. บอกการปฏิบัติตน  เพื่อความปลอดภัยจากการถูกล่อลวง

๑. บอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้                      สารเสพติด

๒. บอกผล กระทบของการใช้ยา และ        สารเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์  สังคม และสติปัญญา

๓. ปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาหลีกเลี่ยงสารเสพติดและการถูกล่อลวง

๔. ระบุอิทธิพลของสื่อที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพ

๕. บอกการปฏิบัติตน           เพื่อป้องกันอันตรายจากการเล่นกีฬา

๑. บอกผล กระทบจากความรุนแรงของ

ภัยธรรมชาติ

ที่มีต่อร่างกาย  จิตใจ และสังคม

๒. ระบุวิธีปฏิบัติตน

เพื่อความปลอดภัย                    จากธรรมชาติ

๓.  บอกสาเหตุของการติดสารเสพติดและชักชวนให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงสารเสพติด

๔. บอกการปฏิบัติตน

เพื่อความปลอดภัย                 จากการ

ถูกล่อลวง

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ ๑.๑   สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกลักษณะของจุด เส้น สี พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๒. สร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้ จุด เส้น

 

๑. บอกลักษณะของจุด เส้น สี พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๒. สร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้ จุด เส้น สี รูปร่าง รูปทรงภาพปะติดงานปั้น

๓. ใช้อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์

๑. บอกลักษณะของจุด เส้น สี พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๒. สร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้ จุด เส้น สีรูปร่าง รูปทรง ภาพปะติดงานปั้นตามจิตนาการ

๓. ใช้อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์

๑. บอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และงาน ทัศนศิลป์

๒. สร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้                     ทัศนธาตุ

๓. มีทักษะพื้นฐานการใช้อุปกรณ์                  สร้างงานทัศนศิลป์

๔. บอกการนำทัศนศิลป์ไปประยุกต์ใช้                  ในชีวิต ประจำวัน

๑. บอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และงาน ทัศนศิลป์

๒. สร้างงานทัศนศิลป์        ต่าง ๆ โดยใช้                      ทัศนธาตุ

๓. มีทักษะพื้นฐานการใช้อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์

๔. บอกการนำทัศนศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน

 

๑. บอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์

๒. สร้างงานทัศนศิลป์      ต่าง ๆ โดยใช้

ทัศนธาตุ ตามจินตนาการ

๓. มีทักษะการใช้อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์

๔. บอกการนำทัศนศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ประจำวัน

 

 

 

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกความหมายของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน

 

๑. บอกความหมายของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน

๒. บอกประเภทของงานทัศนศิลป์ในชีวิต ประจำวัน

๑. บอกงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน

๒. บอกประเภทของงานทัศนศิลป์

๓. บอกคุณค่าของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น

 

๑. บอกเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรม ในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์

๒. บอกงานทัศนศิลป์ในเหตุการณ์ และ งานเฉลิมฉลอง ของวัฒนธรรมของท้องถิ่น

๑. บอกเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรม ไทยที่เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์๒.บอกงานทัศนศิลป์ในเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลอง ของวัฒนธรรม ของชาติ

 

๑. บอกเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรม สากลที่เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์

๒. บอกงานทัศนศิลป์ในเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลอง ของวัฒนธรรม ของสากล

 

 

สาระที่ ๒ ดนตรี

มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกแหล่งกำเนิดของเสียง

๒. เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับจังหวะ

๓. บอกบทกลอนในชีวิตประจำวัน

๔. ท่องบทกลอน ร้องเพลง เคาะจังหวะ

๕. มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรี

๖. บอกความ

เกี่ยวข้องของ

เพลงที่ใช้ในชีวิต

ประจำวัน

๑. บอกแหล่งกำเนิดของเสียง

๒. เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับจังหวะ

๓. รู้คุณสมบัติของเสียง

๔. ท่องบทกลอน ร้องเพลง เคาะจังหวะ

๕.. ร้องเพลงง่าย ๆ ที่เหมาะสมกับวัย

๖. บอกความหมายของเพลงที่ได้ยิน

๑. บอกแหล่ง กำเนิดของเสียง

๒. เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับจังหวะ

๓. บอกคุณสมบัติของเสียง

๔. ท่องบทกลอน ร้องเพลง เคาะจังหวะ

๕. บอกการนำดนตรีไปใช้ในชีวิต ประจำวัน

๑. บอกองค์ประกอบของเครื่องดนตรี

๒. บอกประเภทของเครื่องดนตรี

๓. ร้องเพลงในชีวิต ประจำวัน

๔. แสดงความคิดเห็น  เกี่ยวกับเสียงดนตรี  เสียงขับร้องของตนเองและผู้อื่น

๕. นำดนตรีไปใช้ในชีวิต ประจำวัน    

๑. บอกองค์ประกอบของเครื่องดนตรี

๒. บอกประเภทของเครื่องดนตรี

๓. ร้องเพลงในชีวิต ประจำวัน

๔. บรรเลงเพลงอย่างง่าย

๕. จัดเก็บเครื่องดนตรี

๖. ร้องเพลงไทยหรือเพลงสากล หรือ                   เพลงไทยสากล

๑. บอกองค์ประกอบของเครื่องดนตรี

๒. บอกประเภทของเครื่องดนตรี

๓. ร้องเพลงในชีวิต ประจำวัน

๔. บอกวิธีเก็บรักษาเครื่องดนตรี และการจัดเก็บเครื่องดนตรี

๕. แสดงดนตรีประกอบกิจกรรมทางนาฏศิลป์

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๒ดนตรี

มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกความหมายของดนตรี

๒. บอกประเภทของดนตรี

๑. บอกความหมายของดนตรี

๒. บอกประเภทของดนตรี

๓. บอกคุณค่าของดนตรี

 

๑. บอกความหมายของดนตรี

๒. บอกประเภทของดนตรี

๓. บอกคุณค่าของดนตรี

๔. บอกสั้น ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของดนตรีกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

๑. บอกมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

๑. บอกมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ไทย

๒. บอกความสัมพันธ์ของดนตรีกับ                   ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ไทย

๑. บอกมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ไทยและสากล

๒. บอกความสัมพันธ์ของดนตรีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรม ไทยและสากล

๓. บอกคุณค่าของดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน

๔. บอกวิธีการอนุรักษ์ดนตรี

 

 

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ ๓.๑ เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอด ความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกความหมายและความสำคัญของนาฏศิลป์

๒. เคลื่อนไหวท่าทางประกอบจังหวะเพลง

๑. บอกความสำคัญของนาฏศิลป์

๒. เคลื่อนไหวท่าทางประกอบจังหวะเพลง

 

๑. บอก

ความสำคัญของนาฏศิลป์

๒. เคลื่อนไหวท่าทางประกอบจังหวะเพลง

๓. บอกมารยาทในการชมและแสดงนาฏศิลป์

 

๑. บอกความสำคัญของนาฏศิลป์

๒. บอกและแสดงภาษาท่าและนาฏยศัพท์พื้นฐาน

๓. เคลื่อนไหว การแสดงนาฏศิลป์และแสดงละครอย่างง่าย

๑. บอก

ความสำคัญของนาฏศิลป์

๒. บอกและแสดงภาษาท่าและนาฏยศัพท์พื้นฐาน

๓. เคลื่อนไหว การแสดงนาฏศิลป์และแสดงละครอย่างง่าย

 

๑. บอกความสำคัญของนาฏศิลป์

๒. บอกและแสดงภาษาท่าและนาฏยศัพท์พื้นฐาน

๓. เคลื่อนไหว การแสดงนาฏศิลป์และแสดงละครอย่างง่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๓ นาฏศิลป์

มาตรฐาน ศ ๓.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอก

สิ่งที่พบเห็น

ในการละเล่นพื้นบ้านกับสิ่งที่พบเห็นในการดำรงชีวิตของคนไทย

๒. ระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้าน

๑. บอกประเภทของนาฏศิลป์

๒. บอกคุณค่าของนาฏศิลป์ไทย

๑. บอกคุณค่าของนาฏศิลป์

๒. บอกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

-

๑. บอกมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ไทย

๒. บอกความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ไทย

๑. บอกมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ไทยและสากล

๒. บอกความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรม ไทยและสากล

 

 

 

กลุ่มสาระการงานอาชีพ

สาระที่ ๑ การดำรงชีวิตและครอบครัว

มาตรฐาน ง ๑.๑  เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงานทักษะการจัดการ ทักษะ กระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกวิธีการทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง

๒. ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือง่ายๆในการทำงานอย่างปลอดภัย

๓. ทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองอย่างกระตือรือร้นและตรงเวลา

๑. บอกวิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น

๒. ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือใน การทำงานอย่าง เหมาะสมกับงานและประหยัด

๓. ทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นอย่างปลอดภัย

๑. บอกวิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง และ ผู้อื่นและส่วนรวม

๒. ใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน

๓. ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงานด้วยความสะอาดความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

๑. บอกเหตุผลในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

๒. ทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

อย่างเป็นขั้นตอน ด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์

๓. ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงาน

๔. ใช้พลังงานและทรัพยากร ในการทำงานอย่างประหยัด และคุ้มค่า

๑. บอกเหตุผลในการทำงานแต่ละขั้นตอนถูกต้องตามกระบวนการทำงาน

๒. ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน                     อย่างเป็นระบบ

๓. ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับผู้อื่น  

๔. มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

๑. บอกแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน

๒. ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน 

๓. ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับครอบครัวและผู้อื่น

 

 

 

 

 

 

สาระที่ 2 การอาชีพ

มาตรฐาน ง 2.๑ เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น มีประสบการณ์ เห็นแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

-

-

-

๑. บอกความหมายและความสำคัญของอาชีพ

 

๑. สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน

๒. ระบุความแตกต่างของอาชีพ

๑. สำรวจตนเองเพื่อวางแผนในการเลือกอาชีพ

๒. ระบุความรู้ความสามารถและคุณธรรม

ที่สัมพันธ์กับอาชีพที่สนใจ 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร

มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ปฏิบัติตามคำสั่งที่ฟัง

๒. ระบุตัวอักษรและเสียง อ่านออกเสียง และสะกดคำ 

๓. เลือกสัญลักษณ์ตามความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟัง

 

๑. ปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้องที่ฟัง

๒. ระบุตัวอักษรและเสียง อ่านออกเสียงคำ สะกดคำและอ่านประโยคง่าย ๆ  

๓. เลือกสัญลักษณ์ตามความ หมายของคำ กลุ่มคำ และประโยคที่ฟัง

๔. ตอบคำถามจากการฟังประโยคสนทนา

๑. ปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้อง ที่ฟังหรืออ่าน

๒. อ่านออกเสียงคำ สะกดคำและอ่านกลุ่มคำ ประโยค และบทพูด ง่าย ๆ 

๓. เลือก/ระบุภาพหรือสัญลักษณ์ตรงตามความ หมายของคำ กลุ่มคำ และประโยค ที่ฟัง

๔. ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านประโยคสนทนาหรือนิทาน

๑. ปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้อง และคำแนะนำ ที่ฟัง หรืออ่าน

๒. อ่านออกเสียงคำ สะกดคำและ                 อ่านกลุ่มคำประโยค ข้อความ และบทพูดเข้าจังหวะถูกต้อง

๓. เลือก/ระบุภาพหรือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้น ๆ ที่ฟัง หรืออ่าน

๔. ตอบคำถามจากการฟังและอ่านประโยคสนทนาและนิทาน

๑. ปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้อง และคำแนะนำ ง่าย ๆ ที่ฟังและอ่าน

๒. อ่านออกเสียงประโยค ข้อความและ                   บทกลอนสั้นๆ ถูกต้อง 

๓. ระบุ/วาดสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้น ๆ ที่ฟัง หรืออ่าน

๔. บอกใจความสำคัญจากการฟังและอ่านสนทนาและนิทาน

ง่าย ๆ หรือเรื่องสั้น ๆ

๑. ปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้องและคำแนะนำที่ฟังและอ่าน

๒. อ่านออกเสียงข้อความ นิทาน และบทกลอน       สั้น ๆ ถูกต้อง

๓. เลือก/ระบุประโยคหรือข้อความสั้น ๆ ตรงตามภาพ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่อ่าน

๔. บอกใจความสำคัญและตอบคำถามจากการฟังและอ่านสนทนา นิทาน หรือเรื่องเล่า

 

 

 

 

 

สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสา

มาตรฐาน ต ๑.๒ มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร  แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้น ๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง

 

๒. ใช้คำสั่ง ตามแบบที่ฟัง

๓. บอกความต้องการ ตามแบบที่ฟัง

๔. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้น ๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง

๑. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้น ๆ ในการ สื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง

 

๒. ใช้คำสั่ง  คำขอร้อง ตามแบบที่ฟัง

๓. บอกความต้องการ ตามแบบที่ฟัง

๔. พูดขอและให้ข้อมูล

เกี่ยวกับตนเองตามแบบที่ฟัง

๑. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้น ๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง

 

๒. ใช้คำสั่งและคำขอร้อง ของตนเอง             

๓. บอกความต้องการ ของตนเองตามแบบที่ฟัง

๔. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง 

๕. บอกความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับ                 สิ่งต่าง ๆ ใกล้ตัว หรือกิจกรรมต่างๆ                   

๑. พูดและ/หรือเขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล

 

๒. ใช้คำสั่ง  คำขอร้องและคำขออนุญาตต่าง ๆ

๓. พูดและเขียนแสดงความต้องการของตนเองและขอความช่วยเหลือ

ในสถานการณ์ต่าง ๆ

๔. พูดและ/หรือเขียนเพื่อขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเพื่อนและครอบครัว

๕. พูดแสดงความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัวและกิจกรรมต่าง ๆ

๑. พูดและ/หรือเขียนโต้ตอบในการสื่อสาร ระหว่างบุคคล

 

๒. ใช้คำสั่ง  คำขอร้องและคำขออนุญาต และให้คำแนะนำ

๓. พูดและเขียนแสดง

ความต้องการขอความช่วยเหลือ ตอบรับ และปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ

ในสถานการณ์

๔. พูดและ/หรือเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อนและครอบครัว

๕. พูดและ/หรือเขียนแสดงความรู้สึก ของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว  กิจกรรมต่างๆ

 

๑. พูดและ/หรือเขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล

 

๒. ใช้คำสั่ง  คำขอร้อง   คำขออนุญาต และให้คำแนะนำ

๓. พูดและเขียนแสดง       ความต้องการขอความช่วยเหลือ  ตอบรับ และปฏิเสธ

การให้ความช่วยเหลือ

ในสถานการณ์  

๔. พูดและ/หรือเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน ครอบครัวและเรื่องใกล้ตัว

๕. พูดและ/หรือเขียนแสดงความรู้สึก ของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว  กิจกรรมต่างๆ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร

มาตรฐาน ต ๑.๓ นำเสนอข้อมูลข่าวสาร  ความคิดรวบยอด  และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว

 

๑. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว

 

๑. พูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและ                     เรื่องใกล้ตัว

๒. จัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคล  สัตว์และสิ่งของตามที่ฟังหรืออ่าน

๑. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว

๒. แสดงข้อมูลที่ได้จากฟังหรืออ่าน

 

๑. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว

๒. แสดงข้อมูลที่ได้จากฟังหรืออ่าน

๓. พูด เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว

๑. พูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว

๒. แสดงข้อมูลต่าง ๆ ตามที่ฟังหรืออ่าน

๓. พูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว

สาระที่ ๒ ภาษาและวัฒนธรรม

มาตรฐาน ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. พูดและทำท่าทางประกอบตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

๒. บอกชื่อและคำศัพท์เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญของเจ้าของภาษา

๓. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม                  ที่เหมาะสม

กับผู้เรียน

๑. พูดและทำท่าทางประกอบตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

๒. บอกชื่อและคำศัพท์เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญของเจ้าของภาษา

๓. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม                    ที่เหมาะสม

กับผู้เรียน

๑. พูดและทำท่าประกอบตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

๒. บอกชื่อและคำศัพท์ง่าย ๆ  เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญ วันสำคัญ

งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา

๓. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสม

กับผู้เรียน

๑. พูดและทำท่าประกอบอย่างสุภาพ                   ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรม                    ของเจ้าของภาษา

๒. ตอบคำถามเกี่ยวกับเทศกาลสำคัญวันสำคัญ

งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา๓. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสม

กับผู้เรียน

๑. พูดและทำท่าประกอบอย่างสุภาพ                   ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

๒. ตอบคำถาม/บอกความสำคัญของเทศกาลวันสำคัญ

งานฉลองและชีวิต      ความเป็นอยู่ง่าย ๆ ของเจ้าของภาษา

๓. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ

๑. พูดและทำท่าประกอบอย่างสุภาพ                   ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา

๒. บอกข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาล

วันสำคัญ

งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆ ของเจ้าของภาษา

๓. เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ

 

 

 

 

 

 

 

สาระที่ ๒ภาษาและวัฒนธรรม

มาตรฐาน ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ระบุตัวอักษรและเสียงตัวอักษร                       ของภาษา ต่างประเทศและภาษาไทย

 

๑. ระบุตัวอักษรและเสียงตัวอักษร                       ของภาษา ต่างประเทศและภาษาไทย

 

๑. บอกความแตกต่างของเสียง                      ตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และประโยคง่าย ๆ ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย

 

๑. บอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำและประโยคง่าย ๆ ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย

๒. บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย

๑. บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่าง ๆ  

๒. บอก

ความเหมือน        ความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวัฒนธรรม                    ของเจ้าของภาษากับของไทย

๑. บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่าง             การออกเสียงประโยคชนิดต่าง ๆ  

๒. บอก

ความเหมือนความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวัฒนธรรม      ของเจ้าของภาษากับของไทย

สาระที่ ๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

มาตรฐาน ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ                       การเรียนรู้อื่น

 

๑. บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ                      การเรียนรู้อื่น

 

๑. บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

 

๑. รวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และการนำเสนอด้วยการพูดหรือการเขียน

 

๑. รวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และการนำเสนอด้วยการพูดหรือการเขียน

 

๑. รวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ        กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้      และนำเสนอด้วยการพูดหรือการเขียน

 

สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

มาตรฐาน ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่าย ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน

 

 

๑. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่าย ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน  

 

๑ .ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่าย ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน  

 

๑. ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่าย ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและในสถานศึกษา

 

๑. ฟัง พูด และอ่าน/เขียนในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและในสถานศึกษา

 

๑. ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและในสถานศึกษา

 

 

สาระที่ ๔ ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก

มาตรฐาน ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก

ตัวชี้วัดชั้นปี

ป. ๑

ป. ๒

ป. ๓

ป. ๔

ป. ๕

ป. ๖

๑. ใช้ภาษา ต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำศัพท์

ที่เกี่ยวข้อง  ใกล้ตัว  

 

๑. ใช้ภาษา ต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำศัพท์

ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว  

 

๑. ใช้ภาษา ต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำศัพท์

ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว  

 

๑. ใช้ภาษา ต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

 

๑. ใช้ภาษา ต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

 

๑. ใช้ภาษา ต่างประเทศในการสืบค้นและ       รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ   

 

 

 

คำอธิบายรายวิชา นักเรียนผู้บกพร่องทางการเห็น

 

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 นักเรียนผู้บกพร่องทางการเห็น

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ท ๑๑๑๐๑

ภาษาไทย

200

ประถมศึกษาปีที่ 2

ท ๑2๑๐๑

ภาษาไทย

200

ประถมศึกษาปีที่ 3

ท ๑3๑๐๑

ภาษาไทย

200

ประถมศึกษาปีที่ 4

ท ๑4๑๐๑

ภาษาไทย

200

ประถมศึกษาปีที่ 5

ท ๑5๑๐๑

ภาษาไทย

200

ประถมศึกษาปีที่ 6

ท ๑6๑๐๑

ภาษาไทย

200

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ท ๑๑๑๐๑ ภาษาไทย                                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑                                                                         เวลา 200 ชั่วโมง

ศึกษาการอ่านออกเสียงพยัญชนะไทย 44 ตัว การมีมารยาทในการอ่าน โดยศึกษาเรียนรู้การเขียนพยัญชนะสระและวรรณยุกต์ การมีมารยาทในการเขียน การพูดแนะนำตนเองพูดบอกความต้อง การฟังคำสั่งง่ายๆ และปฏิบัติตาม มีมารยาทในการฟังและการพูด การใช้คำได้เหมาะสมกาลเทศะและบุคคล การศึกษาท่องจำคำคล้องจอง บทอาขยานบทร้อยกรอง

ตัวชี้วัด

ท 1.1   ป. ๑/๑, ป. ๑/๒

ท ๒.๑  ป. ๑/๑, ป. ๑/๒

ท ๓.๑  ป. ๑/๑, ป. ๑/๒, ป. ๑/๓, ป. ๑/๔

ท ๔.๑  ป. ๑/๑

ท ๕.๑  ป. ๑/๑

รวม  10 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ท ๑2๑๐๑ ภาษาไทย                                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                                          เวลา 200 ชั่วโมง

            ศึกษาการอ่านออกเสียงสระและ วรรณยุกต์ อ่านออกเสียงคำในชีวิตประจำวัน มีมารยาทในการอ่าน การเขียนสะกดคำพยัญชนะกับสระ มีมารยาทในการเขียน การพูดแนะนำตนเองและสมาชิกในห้องเรียน ฟังคำแนะนำ คำสั่งและปฏิบัติตาม เล่าเรื่องจากที่ฟัง มีมารยาทในการฟังและการพูด การใช้คำได้เหมาะสมกาลเทศะและบุคคล ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองตามความสนใจ

ตัวชี้วัด

ท 1.1   ป. 2/๑, ป. 2/๒, ป. 2/3

ท ๒.๑  ป. 2/๑, ป. 2/๒

ท ๓.๑  ป. 2/๑, ป. 2/๒, ป. 2/๓, ป.2/๔

ท ๔.๑  ป. 2/๑

ท ๕.๑  ป. 2/๑

รวม  11 ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ท ๑3๑๐๑ ภาษาไทย                                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                                          เวลา 200 ชั่วโมง

          ศึกษาการอ่านออกเสียงคำตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป อ่านออกเสียงคำคล้องจอง มีมารยาทในการอ่าน การเขียนสะกดคำพยัญชนะกับตัวสะกด เขียนคำตั้งแต่  ๒ พยางค์ขึ้นไป  มีมารยาทในการเขียน มีทักษะในการพูดและแนะนำโรงเรียน พูดและแนะนำและสถานที่ใกล้เคียง  พูดสื่อสารตรงตามวัตถุประสงค์ มีมารยาทในการฟังและการพูด ใช้คำได้เหมาะสมกาลเทศะ และบุคคล แต่งประโยคอย่างง่าย ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองตามความสนใจ ร้องเพลงพื้นบ้าน

ตัวชี้วัด

ท 1.1   ป. 3/๑, ป. 3/๒, ป. 3/3

ท ๒.๑  ป. 3/๑, ป. 3/๒, ป. 3/3

ท ๓.๑  ป. 3/๑, ป. 3/๒, ป. 3/๓, ป. 3/๔

ท ๔.๑  ป. 3/๑, ป. 3/2

ท ๕.๑  ป. 3/๑, ป. 3/2

รวม  14 ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ท ๑4๑๐๑ ภาษาไทย                                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                                          เวลา 200 ชั่วโมง

          ศึกษาและฝึกทักษะการอ่านออกเสียงประโยค มีมารยาทในการอ่าน การเขียนคำตั้งแต่  ๒ พยางค์ขึ้นไป หรือวลีที่มีความหมาย  มีมารยาทในการเขียน ใช้กระบวนการทางภาษา ตอบคำถาม เรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง  บอกสาระสำคัญจากการฟัง ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่อง ที่ฟัง มีมารยาทในการฟังและการพูด การใช้คำได้เหมาะสมกับสถานที่ และสถานการณ์ แต่งประโยค บอกข้อคิดที่ได้จากนิทาน ร้องเพลงพื้นบ้าน เล่านิทานพื้นบ้านหรือนิทานท้องถิ่น ท่องบทอาขยานตามที่กำหนด

ตัวชี้วัด

ท 1.1   ป. 4/๑, ป. 4/๒

ท ๒.๑  ป. 4/๑, ป. 4/๒

ท ๓.๑  ป. 4/๑, ป. 4/๒, ป. 4/๓, ป. 4/๔

ท ๔.๑  ป. 4/๑, ป. 4/๒

ท ๕.๑  ป. 4/๑, ป. 4/๒, ป. 4/๓, ป. 4/๔

รวม  14 ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ท ๑5๑๐๑ ภาษาไทย                                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                                          เวลา 200 ชั่วโมง

            ศึกษาการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว บอกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน มีมารยาทในการอ่าน การเขียนประโยคสั้นๆ ที่มีความหมาย มีมารยาทในการเขียน อธิบาย ตอบคำถาม เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว  พูดแสดง ความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟัง มีมารยาทในการฟังและการพูด โดยใช้คำได้เหมาะสมกับสถานที่ และ สถานการณ์ แต่งประโยคที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย  ใช้คำราชาศัพท์ บอกข้อคิดที่ได้จากนิทาน  ร้องเพลงพื้นบ้านเพลงกล่อมเด็ก  เล่านิทานพื้นบ้านหรือนิทานท้องถิ่นท่องบทอาขยานตามความสนใจ

ตัวชี้วัด

ท 1.1   ป. 5/๑, ป. 5/๒, ป. 5/๓

ท ๒.๑  ป. 5/๑, ป. 5/๒

ท ๓.๑  ป. 5/๑, ป. 5/๒, ป. 5/๓

ท ๔.๑  ป. 5/๑, ป. 5/๒, ป. 5/๓

ท ๕.๑  ป. 5/๑, ป. 5/๒, ป. 5/๓, ป. 5/4

รวม  15 ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ท ๑6๑๐๑ ภาษาไทย                                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                                          เวลา 200 ชั่วโมง

ศึกษาและฝึกการอ่านออกเสียงบทร้อยกรองง่ายๆสั้นๆ  อ่านคำอธิบายในคู่มือต่างๆ  มีมารยาทในการอ่าน การเขียนประโยคสั้นๆ เพื่อบอกเล่าเหตุการณ์หรือแสดงความคิดเห็น   มีมารยาทในการเขียน สามารถอธิบาย     ตอบคำถาม เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รอบตัวเอง เล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เหตุการณ์รอบตัวเอง  มีมารยาทในการฟังและการพูด โดยใช้คำได้เหมาะสมกับสถานที่ และสถานการณ์ แต่งประโยคที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ใช้คำราชาศัพท์ บอกข้อคิดที่ได้จากนิทาน ร้องเพลงพื้นบ้านเพลงกล่อมเด็ก เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่น ท่องบทอาขยานตามความสนใจ

ตัวชี้วัด

ท 1.1   ป. 6/๑, ป. 6/๒, ป. 6/3

ท ๒.๑  ป. 6/๑, ป. 6/๒

ท ๓.๑  ป. 6/๑, ป. 6/๒, ป. 6/3

ท ๔.๑  ป. 6/๑, ป. 6/๒, ป. 6/3

ท ๕.๑  ป. 6/๑, ป. 6/๒, ป. 6/3, ป. 6/4

รวม  15 ตัวชี้วัด

 

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ค ๑๑๑๐๑

คณิตศาสตร์

200

ประถมศึกษาปีที่ 2

ค ๑2๑๐๑

คณิตศาสตร์

200

ประถมศึกษาปีที่ 3

ค ๑3๑๐๑

คณิตศาสตร์

200

ประถมศึกษาปีที่ 4

ค ๑4๑๐๑

คณิตศาสตร์

200

ประถมศึกษาปีที่ 5

ค ๑5๑๐๑

คณิตศาสตร์

200

ประถมศึกษาปีที่ 6

ค ๑6๑๐๑

คณิตศาสตร์

200

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ค ๑๑๑๐๑ คณิตศาสตร์                                                                       กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑                                                             เวลา 200 ชั่วโมง

               ศึกษาการบอกจำนวนของสิ่งต่างๆ แสดงสิ่งต่างๆ ตามจำนวนที่กำหนด อ่านและเขียนตัวเลขฮินดู    อารบิกตัวเลขไทยแสดงจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ เปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐ และ ๐ โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ >< การระบุจำนวนที่หายไปในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงทีละ 1 และทีละ 10 และระบุรูปจำนวนที่หายไปในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้น หรือลดลงทีละ 1 และทีละ 10 และระบุรูปที่หายไปในแบบรูปซ้ำของรูปเรขาคณิตและ รูปอื่นๆ ที่สมาชิกในแต่ละชุดที่ซ้ำมี 2 รูปศูนย์ การวัดและเปรียบเทียบ ความยาวเป็นเซนติเมตรเป็นเมตร วัดและเปรียบเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด การจำแนกรูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมวงกลม วงรี ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากทรงกลมทรงกระบอกและกรวย การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเมื่อกำหนดรูป ๑ รูปแทน ๑ หน่วย

ตัวชี้วัด

ค 1.1   ป.1/1, ป.1/2

ค 1.2   ป.1/1  ป.1/2

ค 1.3   -

ค 2.1   ป.1/1, ป.1/2

ค 2.2   ป.1/1

ค 3.1   ป.1/1

ค 3.2   -

ทั้งหมด 8 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ค ๑2๑๐๑ คณิตศาสตร์                                                                        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

               ศึกษาการบอกจำนวนของสิ่งต่างๆ แสดงสิ่งต่างๆ ตามจำนวนที่กำหนดอ่าน และเขียนตัวเลขฮินดู     อารบิกตัวเลขไทยตัวหนังสือแสดงจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ เปรียบเทียบจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ >< เรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ ๐ ตั้งแต่ ๓ ถึง ๕ จำนวนจากสถานการณ์ต่างๆ หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกและประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบของจำนวนนับไม่เกิน ๑,๐๐๐ และ๐๕. หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการคูณของจำนวน ๑ หลักกับจำนวนไม่เกิน ๒ หลัก แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาที่มีหน่วยเดียวและเป็นหน่วยเดียวกัน วัดและเปรียบเทียบ ความยาวเป็นเมตรและเซนติเมตร แสดงวิธีหาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรับและขีด แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวก การลบ เกี่ยวกับความยาวที่มีหน่วยเดียวและเป็นเมตรและเซนติเมตร วัดและเปรียบเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัมและขีด แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาการบวกการลบเกี่ยวกับน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมและกรัม กิโลกรัมและขีด วัดและเปรียบเทียบปริมาตรและความจุเป็นลิตร การจำแนกและบอกลักษณะของรูปหลายเหลี่ยมและวงกลม การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพ ในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเมื่อกำหนดรูป ๑ รูปแทน ๒ หน่วย ๕ หน่วย หรือ ๑๐ หน่วย

ตัวชี้วัด

ค 1.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4

ค 1.2   -

ค 1.3   -

ค 2.1    ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5, ป.2/6

ค 2.2   ป.2/1

ค 3.1    ป.2/1

ค 3.2   -

รวม 12 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ค ๑3๑๐๑ คณิตศาสตร์                                                                        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

               ศึกษาการอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยและตัวหนังสือแสดงจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐เปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ จากสถานการณ์ต่างๆ บอกอ่านและเขียนเศษส่วนแสดงปริมาณสิ่งต่างๆ และแสดงสิ่งต่างๆตามเศษส่วนที่กำหนด หาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวกและประโยคสัญลักษณ์แสดงการลบของจำนวนนับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ และ ๐ ระบุจำนวนที่หายไปในแบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงทีละเท่าๆ กัน แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเงิน แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลาและระยะเวลา เลือกใช้เครื่องวัด ความยาวที่เหมาะสม วัดและบอกความยาวของสิ่งต่างๆเป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตรเมตรและเซนติเมตร เปรียบเทียบความยาวระหว่าง เซนติเมตรกับมิลลิเมตร เมตรกับเซนติเมตรกิโลเมตรกับเมตรจากสถานการณ์ต่างๆ แสดงวิธีหาคำตอบ ของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตรและมิลลิเมตร เมตรและเซนติเมตรกิโลเมตรและเมตร เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม วัดและบอกน้ำหนักเป็นกิโลกรัมและขีด กิโลกรัมและกรัม เลือกใช้เครื่องตวงที่เหมาะสมวัดและเปรียบเทียบ ปริมาตร ความจุเป็นลิตรและมิลลิลิตร ระบุรูปเรขาคณิตสองมิติที่มีแกนสมมาตรและจำนวนแกนสมมาตร เขียนตาราง ทางเดียวจากข้อมูลที่เป็นจำนวนนับ และใช้ข้อมูลจากตารางทางเดียวในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา

ตัวชี้วัด

ค 1.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4

ค 1.2   ป.3/1

ค 1.3   -

ค 2.1    ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4, ป.3/5, ป.3/6, ป.3/7

ค 2.2   ป.3/1

ค 3.1    ป.3/1

ค 3.2   -

รวม 14 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ค ๑4๑๐๑ คณิตศาสตร์                                                                        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

               ศึกษาการอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับที่มากกว่า ๑๐๐,๐๐๐เปรียบเทียบและ เรียงลำดับจำนวนนับที่มากกว่า ๑๐๐,๐๐๐ จากสถานการณ์ต่างๆแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับเวลา   วัดและสร้างมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์  การแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่สี่เหลี่ยมมุมฉาก การจำแนกชนิดของมุม บอกชื่อมุมส่วนประกอบของมุมและเขียนสัญลักษณ์แสดงมุม  สร้างรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากเมื่อกำหนด ความยาวของด้าน การใช้ข้อมูลจากแผนภูมิแท่ง ตารางสองทางในการหาคำตอบของโจทย์ปัญหา

ตัวชี้วัด

ค 1.1   ป.4/1, ป.4/2

ค 1.2   -

ค 1.3   -

ค 2.1    ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

ค 2.2   ป.4/1, ป.4/2

ค 3.1    ป.4/1

ค 3.2   -

รวม 8 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ค ๑5๑๐๑ คณิตศาสตร์                                                                        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

            ศึกษาการเขียนเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นตัวประกอบของ ๑๐ หรือ ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ ในรูปทศนิยม แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ การแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวที่มีการเปลี่ยนหน่วยและเขียนในรูปทศนิยม แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักที่มีการเปลี่ยนหน่วยและเขียนในรูปทศนิยม สร้างเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงให้ขนานกับเส้นตรงหรือส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้ จำแนกรูปสี่เหลี่ยมโดยพิจารณาจากสมบัติของรูป

ตัวชี้วัด

ค 1.1   ป.5/1, ป.5/2

ค 1.2   -

ค 1.3   -

ค 2.1    ป.5/1, ป.5/2

ค 2.2   ป.5/1, ป.5/2

ค 3.1    -

ค 3.2   -

รวม 6 ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ค ๑6๑๐๑ คณิตศาสตร์                                                                        กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

               ศึกษาการเขียนอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบปริมาณ ๒ ปริมาณจากข้อความหรือสถานการณ์ โดยที่ปริมาณแต่ละปริมาณเป็นจำนวนนับ แสดงวิธีคิดและหาคำตอบของปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป แสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบด้วยทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของวงกลม จำแนกรูปสามเหลี่ยมโดยพิจารณาจากสมบัติของรูป  สร้างรูปสามเหลี่ยมเมื่อกำหนดความยาวของด้านและขนาดของมุม

ตัวชี้วัด

ค 1.1   ป.6/1

ค 1.2   ป.6/1

ค 1.3   -

ค 2.1    ป.6/1, ป.6/2

ค 2.2   ป.6/1, ป.6/2

ค 3.1    -

ค 3.2   -

รวม 7 ตัวชี้วัด

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ว ๑๑๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

40

ประถมศึกษาปีที่ 2

ว ๑2๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

40

ประถมศึกษาปีที่ 3

ว ๑3๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

40

ประถมศึกษาปีที่ 4

ว ๑4๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

40

ประถมศึกษาปีที่ 5

ว ๑5๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

40

ประถมศึกษาปีที่ 6

ว ๑6๑๐๑

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

40

 

 

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ว ๑๑2๐๑

คอมพิวเตอร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 2

ว ๑22๐๑

คอมพิวเตอร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 3

ว ๑32๐๑

คอมพิวเตอร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 4

ว ๑42๐๑

คอมพิวเตอร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 5

ว ๑52๐๑

คอมพิวเตอร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 6

ว ๑62๐๑

คอมพิวเตอร์

40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ว ๑1๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

          ศึกษาเรียนรู้ การระบุชื่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณต่างๆ จากข้อมูลที่รวบรวมได้ บอกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสัตว์ในบริเวณที่อาศัยอยู่ การระบุชื่อ การบรรยายลักษณะและบอกหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์สัตว์และพืชรวมทั้งบรรยายการทำหน้าที่ร่วมกันของส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์ในการทำกิจกรรมต่างๆจากข้อมูลที่รวบรวมได้  ตระหนักถึงความสำคัญของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตนเอง โดยการดูแลส่วนต่างๆ อย่างถูกต้อง ให้ปลอดภัย และรักษาความสะอาดอยู่เสมอ สามารถ อธิบายสมบัติที่สังเกตได้ของวัสดุที่ใช้ทำวัตถุซึ่งทำจากวัสดุชนิดเดียวหรือหลายชนิดประกอบกันโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ระบุชนิดของวัสดุและจัดกลุ่มวัสดุตามสมบัติที่สังเกตได้ การบรรยายการเกิดเสียงและทิศทางการเคลื่อนที่ของเสียงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ การระบุดาวที่ปรากฏบนท้องฟ้าในเวลากลางวันและกลางคืนจากข้อมูลที่รวบรวมได้ อธิบายสาเหตุที่มองไม่เห็นดาวส่วนใหญ่ในเวลากลางวันจากหลักฐานเชิงประจักษ์ อธิบายลักษณะภายนอกของหิน จากลักษณะเฉพาะตัวที่สังเกตได้ แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกันดูแลรักษาอุปกรณ์เบื้องต้น ใช้งานอย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัด

ว 1.1   ป.1/1, ป.1/2 

ว 1.2   ป.1/1, ป.1/2 

ว 1.3   -

ว 2.1   ป.1/1, ป.1/2 

ว 2.2   -  

ว 2.3   ป.1/1

ว 3.1   ป.1/1, ป.1/2 

ว 3.2   ป.1/1

ว 4.1   -

ว 4.2   ป.1/1, ป.1/2

รวม  12  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ว ๑2๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

            ศึกษาเรียนรู้การระบุว่าพืชต้องการแสงและน้ำ เพื่อการเจริญเติบโต โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ตระหนักถึงความจำเป็นที่พืชต้องได้รับน้ำและ แสงเพื่อการเจริญเติบโต โดยดูแลพืชให้ได้รับสิ่งดังกล่าวอย่างเหมาะสม การเปรียบเทียบลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตจากข้อมูลที่รวบรวมได้ การเปรียบเทียบสมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และระบุการนำสมบัติการดูดซับน้ำของวัสดุไปประยุกต์ใช้ในการทำวัตถุ ในชีวิตประจำวัน บรรยายแนวการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิดแสง และอธิบายการมองเห็นวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์ อธิบายการระบุส่วนประกอบของดิน และจำแนกชนิดของดินโดยใช้ลักษณะเนื้อดินและการจับตัวเป็นเกณฑ์ อธิบายการใช้ประโยชน์จากดิน จากข้อมูลที่รวบรวมได้

ตัวชี้วัด

ว 1.1   - 

ว 1.2   ป.2/1, ป.2/2 

ว 1.3   ป.2/1

ว 2.1   ป.2/1 

ว 2.2   -  

ว 2.3   ป.2/1

ว 3.1   -

ว 3.2   ป.2/1, ป.2/2 

ว 4.1   -

ว 4.2   ป.2/1, ป.2/2

รวม  9  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ว ๑3๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

            การบรรยายสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโตของมนุษย์และสัตว์โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ ตระหนักถึงประโยชน์ของอาหาร น้ำ และอากาศโดยการดูแลตนเองและสัตว์ให้ได้รับสิ่งเหล่านี้อย่างเหมาะสม การอธิบายว่าวัตถุประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนย่อยๆ ซึ่งสามารถแยกออกจากกันได้และประกอบกันเป็นวัตถุชิ้นใหม่ได้โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถระบุผลของแรงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เปรียบเทียบและยกตัวอย่างแรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถยกตัวอย่างการเปลี่ยนพลังงานหนึ่งไปเป็นอีกพลังงานหนึ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์ การอธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ระบุส่วนประกอบของอากาศ บรรยายความสำคัญของอากาศ และผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสิ่งมีชีวิต จากข้อมูลที่รวบรวมได้ เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของอากาศ โดยนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนในการลดการเกิดมลพิษทางอากาศ การ ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต

ตัวชี้วัด

ว 1.1   - 

ว 1.2   ป.3/1, ป.3/2 

ว 1.3   -

ว 2.1   ป.3/1

ว 2.2   ป.3/1, ป.3/2 

ว 2.3   ป.3/1

ว 3.1   ป.3/1

ว 3.2   ป.3/1, ป.3/2

ว 4.1   -

ว 4.2   ป.3/1, ป.3/2

รวม  11  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ว ๑4๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

          ศึกษาเรียนรู้การบรรยายหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ และดอกของพืชดอก โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ จำแนกสิ่งมีชีวิตโดยใช้ความเหมือน และความแตกต่างของลักษณะของสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มพืช กลุ่มสัตว์และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์จำแนกพืชออกเป็นพืชดอกและพืชไม่มีดอกโดยใช้การมีดอกเป็นเกณฑ์โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้จำแนกสัตว์ออกเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยใช้การมีกระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ ระบุผลของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อวัตถุจากหลักฐานเชิงประจักษ์ จำแนกวัตถุเป็นตัวกลางโปร่งใสตัวกลางโปร่งแสง และวัตถุทึบแสง จากลักษณะการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผ่านวัตถุนั้นเป็นเกณฑ์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อธิบายแบบรูปเส้นทางการขึ้นและตกของดวงจันทร์โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่นแจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

ตัวชี้วัด

ว 1.1   - 

ว 1.2   ป.4/1

ว 1.3   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

ว 2.1   -

ว 2.2   ป.4/1

ว 2.3   ป.4/1

ว 3.1   ป.4/1

ว 3.2   -

ว 4.1 –

ว 4.2 ป.4/2,ป.4/3

 

รวม 9  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ว ๑5๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

            การบรรยายโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต อธิบายลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกของพืช สัตว์และมนุษย์ แสดงความอยากรู้อยากเห็น โดยการถามคำถามเกี่ยวกับลักษณะที่คล้ายคลึงกันของตนเองกับพ่อแม่           อธิบายการเปลี่ยนสถานะของสสาร เมื่อทำให้สสารร้อนขึ้นหรือเย็นลง โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ อธิบายการละลายของสารในน้ำ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ อธิบายวิธีการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในแนวเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่งจากหลักฐานเชิงประจักษ์ อธิบายการได้ยินเสียงผ่านตัวกลางจากหลักฐานเชิงประจักษ์ ตระหนักในคุณค่าของความรู้เรื่องระดับเสียงโดยเสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลดมลพิษทางเสียง   เปรียบเทียบความแตกต่างของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์จากแบบจำลอง การเปรียบเทียบปริมาณน้ำในแต่ละแหล่ง และระบุปริมาณน้ำที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จากข้อมูลที่รวบรวมได้ ตระหนักถึงคุณค่าของน้ำโดยนำเสนอแนวทางการใช้น้ำอย่างประหยัดและการอนุรักษ์น้ำ  สามารถใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูล ติดต่อสื่อสาร

และทำงานร่วมกัน ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ตัวชี้วัด

ว 1.1   ป.5/1, ป.5/2

ว 1.2   -

ว 1.3   ป.5/1, ป.5/2

ว 2.1   ป.5/1, ป.5/2

ว 2.2   ป.5/1

ว 2.3   ป.5/1, ป.5/2

ว 3.1   ป.5/1

ว 3.2   ป.5/1, ป.5/2

ว 4.1   -

ว 4.2   ป.5/2

รวม  13  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ว ๑6๑๐๑ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                        กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

          ศึกษาการระบุสารอาหารและบอกประโยชน์ของสารอาหารแต่ละประเภทจากอาหารที่ตนเองรับประทาน บอกแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย รวมทั้งความปลอดภัยต่อสุขภาพ  สามารถอธิบายการเกิดและผลของแรงไฟฟ้าซึ่งเกิดจากวัตถุที่ผ่านการขัดถูโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  บรรยายและยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของหินและแร่ในชีวิตประจำวันจากข้อมูลที่รวบรวมได้ ตระหนักถึงผลกระทบของภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัย โดยนำเสนอแนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยที่อาจเกิดในท้องถิ่น สามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลอย่างมี

ประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพ

ในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

ตัวชี้วัด

ว 1.1   -

ว 1.2   ป.6/1, ป.6/2

ว 1.3   -

ว 2.1   -

ว 2.2   ป.6/1

ว 2.3   -

ว 3.1   -

ว 3.2   ป.6/1, ป.6/2

ว 4.1   -

ว 4.2   ป.6/2,ป.6/3

 

รวม  7  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

๑๑2๐๑ คอมพิวเตอร์                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

แก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้การลองผิด ลองถูก การเปรียบเทียบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน

 

 

ตัวชี้วัด

ว 1.1  ป.1/1 ป.1/2

 

รวม  2  ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

ว ๑2๑๐๑ คอมพิวเตอร์                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

 แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างง่ายโดยใช้ สัญลักษณ์หรือข้อความ

ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน ดูแลรักษาอุปกรณ์เบื้องต้น ใช้งานอย่างเหมาะสม

 

ตัวชี้วัด

ว 1.1  ป.2/1 ป.2/2

 

รวม  2  ตัวชี้วัด

 

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

ว ๑3๑๐๑ คอมพิวเตอร์                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ปฏิบัติตามข้อตกลงในการใช้อินเทอร์เน็ต

 

ตัวชี้วัด

ว 1.1  ป.3/1 ป.3/2

 

รวม  2  ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

ว ๑4๑๐๑ คอมพิวเตอร์                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่นแจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

 

ตัวชี้วัด

ว 1.1  ป.4/1 ป.4/2

 

รวม  2  ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

ว ๑5๑๐๑ คอมพิวเตอร์                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูล ติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกัน ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีมารยาท เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคล ที่ไม่เหมาะสม

 

ตัวชี้วัด

ว 1.1  ป.5/1 ป.5/2

 

รวม  2  ตัวชี้วัด

คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

ว ๑6๑๐๑ คอมพิวเตอร์                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

 

ตัวชี้วัด

ว 1.1  ป.5/1 ป.5/2

 

รวม  2  ตัวชี้วัด

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ส ๑๑๑๐๑

สังคมศึกษา

80

ประถมศึกษาปีที่ 2

ส ๑2๑๐๑

สังคมศึกษา

80

ประถมศึกษาปีที่ 3

ส ๑3๑๐๑

สังคมศึกษา

80

ประถมศึกษาปีที่ 4

ส ๑4๑๐๑

สังคมศึกษา

80

ประถมศึกษาปีที่ 5

ส ๑5๑๐๑

สังคมศึกษา

80

ประถมศึกษาปีที่ 6

ส ๑6๑๐๑

สังคมศึกษา

80

 

 

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ส ๑๑๑๐2

ประวัติศาสตร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 2

ส ๑2๑๐2

ประวัติศาสตร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 3

ส ๑3๑๐2

ประวัติศาสตร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 4

ส ๑4๑๐2

ประวัติศาสตร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 5

ส ๑5๑๐2

ประวัติศาสตร์

40

ประถมศึกษาปีที่ 6

ส ๑6๑๐2

ประวัติศาสตร์

40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑1๑๐๑ สังคมศึกษา                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                      เวลา 80 ชั่วโมง

          ศึกษาเรียนรู้ บอกชื่อศาสนา และชื่อศาสดาของศาสนาที่ตนเองนับถือ บอกชื่อศาสนา และชื่อศาสดาของศาสนาอื่น บอกแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ดีตามศาสนาที่ตนเองนับถือ บอกวิธีปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี บอกวิธี ธำรงรักษา ศาสนาที่ตนเองนับถือ บอกวิธีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ยกตัวอย่างการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีความสามารถและความดีของตนเอง ผู้อื่น การบอ บทบาท สิทธิ หน้าที่ของตนเองในครอบครัว ปฏิบัติตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย บอกเหตุผลความจำเป็นที่คนต้องทำงานอย่างสุจริต การจำแนกสิ่งต่างๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบุความสัมพันธ์ของตำแหน่ง ระยะ ทิศของสิ่งต่างๆ ใช้แผนผังง่าย ๆ ในการแสดงตำแหน่ง ของสิ่งต่าง ๆ ในห้องเรียน  สังเกตและบอกการเปลี่ยนแปลง ของสภาพอากาศในรอบวัน บอกสิ่งต่าง ๆ  ที่เกิดตามธรรมชาติ ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์  สังเกตและเปรียบเทียบ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม  ที่อยู่รอบตัวเพื่อการปฏิบัติตน  อย่างเหมาะสม  มีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมที่บ้าน และชั้นเรียน

ตัวชี้วัด

ส 1.1   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3

ส 1.2   ป.1/1, ป.1/2     

ส 2.1   ป.1/1, ป.1/2   

ส 2.2   ป.1/1, ป.1/2 

ส 3.1   -

ส 3.2   ป.1/1

ส 5.1   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3, ป.1/4

ส 5.2   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3

รวม 17 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑2๑๐๑ สังคมศึกษา                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                      เวลา 80 ชั่วโมง

            ศึกษาประวัติศาสดาของศาสนาที่ตนเองนับถือ บอกวิธีปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ บอกวิธี และ ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนด บอกวิธีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี บอกวิธีรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย บอกวิธี ดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทย บอกบทบาท สิทธิ หน้าที่ของตนเองใน โรงเรียน บอกการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียนโรงเรียนและชุมชนที่เป็นผลจากการตัดสินใจของบุคคลและกลุ่มในสังคมปัจจุบัน บอกความสำคัญของเศรษฐกิจของคนในชุมชน (โรงเรียน) ได้ บอกความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย การระบุสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งปรากฏ ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน ระบุตำแหน่งและลักษณะทางกายภาพ ของสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏใน  แผนผังแผนที่ รูปถ่าย และลูกโลก สังเกตและแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง โลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ที่ทำ ให้เกิดปรากฏการณ์ สามารถอธิบายความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น  จำแนกและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ใช้แล้วไม่หมดไปและที่ใช้แล้วหมดไป ได้อย่างคุ้มค่า อธิบายความสัมพันธ์ของฤดูกาล กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน

ตัวชี้วัด

ส 1.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3

ส 1.2   ป.2/1    

ส 2.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4

ส 2.2   ป.2/1, ป.2/2 

ส 3.1   -

ส 3.2   ป.2/1, ป.2/2

ส 5.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3

ส 5.2   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4

รวม 19 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑3๑๐๑ สังคมศึกษา                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                      เวลา 80 ชั่วโมง

            ศึกษาเรียนรู้บอกประวัติศาสดาของศาสนาอื่น บอกหลักธรรมของศาสนาอื่นๆ  บอกชื่อ ความสำคัญ และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม ต่อศาสนวัตถุ ศาสนสถาน และศาสนบุคคลของศาสนาอื่นๆ การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี บอกวิธี ธำรงรักษาศาสนาที่ตนเองนับถือ ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และวันสำคัญทางศาสนาตามที่กำหนด สามารถบอกวิธีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี บอกหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี  ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี บอกวิธีรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย บอกการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมไทย บอกบทบาทสิทธิ หน้าที่ของตนเองในสังคม บอกเรื่องราวเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครอง  บอกวิธีการธำรงรักษาการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรีย์ทรงเป็นประมุข บอกสินค้าและบริการที่รัฐจัดหาและให้บริการแก่ประชาชน  สำรวจข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในโรงเรียน และชุมชนโดยใช้แผนผัง แผนที่  และ รูปถ่าย เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของ ตำแหน่ง ระยะ ทิศทางวาดแผนผังเพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้งของ สถานที่สำคัญในบริเวณโรงเรียนและ ชุมชน  เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมของชุมชนในอดีตกับ ปัจจุบัน  อธิบายการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ ในการสนองความต้องการพื้นฐาน ของมนุษย์  และการประกอบอาชีพ๓. อธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษ  โดยมนุษย์ สามารถอธิบายความแตกต่างของลักษณะเมือง และชนบท อธิบายความสัมพันธ์ของลักษณะ  ทางกายภาพกับการดำเนินชีวิตของคน ในชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ในชุมชน

ตัวชี้วัด

ส 1.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

ส 1.2   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

ส 2.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4, ป.3/5

ส 2.2   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

ส 3.1   -

ส 3.2   ป.3/1

ส 5.1   ป.3/1, ป.3/2

ส 5.2   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4, ป.3/5, ป.3/6

รวม 23 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑4๑๐๑ สังคมศึกษา                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                      เวลา 80 ชั่วโมง

             การปฏิบัติตนตามแบบ อย่างตามหลักธรรมที่ตนเองนับถือ บอกประโยชน์ที่ได้รับจาก การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา บอกความเข้าใจเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ในศาสนสถาน ของศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในฐานะสมาชิกที่ดีในสังคม  ยกตัวอย่างและปฏิบัติตนตามสถานภาพบทบาทหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ในฐานะพลเมืองที่ดี  แสดง มารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ บอกความสำคัญของสถาบัน  พระมหากษัตริย์  มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในห้องเรียน โรงเรียน บอกประโยชน์ที่ตัวเองครอบครัว ชุมชน จะได้รับจากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น บอกความสำคัญเศรษฐกิจของคนในชุมชน   บอกหน้าที่เบื้องต้นของเงิน การสืบค้นและอธิบายข้อมูลลักษณะ ทางกายภาพของจังหวัดตนเอง ด้วยแผนที่และรูปถ่าย  ระบุแหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญ ในจังหวัดของตนด้วยแผนที่และรูปถ่าย  อธิบายลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อ แหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญ ในจังหวัด การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผล ต่อการดำเนินชีวิตของคนในจังหวัด อธิบายการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในจังหวัดและผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้น นำเสนอแนวทางการจัดการ สิ่งแวดล้อมในจังหวัด

ตัวชี้วัด

ส 1.1   ป.4/1

ส 1.2   ป.4/1, ป.4/2

ส 2.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

ส 2.2   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

ส 3.1   -

ส 3.2   ป.4/1, ป.4/2

ส 5.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

ส 5.2   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

รวม 17  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑5๑๐๑ สังคมศึกษา                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                      เวลา 80 ชั่วโมง

             การปฏิบัติตนตามแบบ อย่างตามหลักธรรมที่ตนเองนับถือ บอกความสำคัญ ศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ บอกวิธีการมีส่วนร่วมในการบำรุง รักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรมและขั้นตอนสำคัญทางศาสนา ยกตัวอย่างและปฏิบัติตนตามสถานภาพบทบาทหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ในฐานะพลเมืองที่ดี แสดงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ  มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และ เผยแพร่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตยในห้องเรียน โรงเรียน  และท้องถิ่น บอกประโยชน์ที่ตัวเองครอบครัว ชุมชนจะได้รับจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บอกบทบาทหน้าที่เบื้องต้นของธนาคาร จำแนกผลดี ผลเสียของการกู้ยืม สืบค้นและอธิบายข้อมูลลักษณะ  ทางกายภาพของภูมิภาคของตนด้วยแผนที่และรูปถ่าย  อธิบายลักษณะทางกายภาพที่ส่งผลต่อ แหล่งทรัพยากรและสถานที่สำคัญ  ในภูมิภาคของตน การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการตั้งถิ่นฐาน และการย้ายถิ่นของประชากรในภูมิภาค  ของตน  วิเคราะห์อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดวิถีการดำ เนิน ชีวิตในภูมิภาคของตน

ตัวชี้วัด

ส 1.1   ป.5/1

ส 1.2   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3

ส 2.1   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3

ส 2.2   ป.5/1, ป.5/2

ส 3.1   -

ส 3.2   ป.5/1, ป.5/2

ส 5.1   ป.5/1, ป.5/2

ส 5.2   ป.5/1, ป.5/2

รวม 15 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑6๑๐๑ สังคมศึกษา                                     กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                      เวลา 80 ชั่วโมง

             การปฏิบัติตนตามแบบ อย่างตามหลักธรรมที่ตนเองนับถือ การมีส่วนร่วมในการบำรุง รักษาศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรมและขั้นตอนสำคัญทางศาสนา  บอกประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม บอกเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆในศาสนสถาน ศาสนาที่ตนนับถือ การบอกคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีต่อการดำเนินชีวิตในสังคมไทย  บอกวิธีการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขใน ชีวิต ประจำวัน  มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน บอกคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มคนในสังคม ไทย การบอกอำนาจประชาธิปไตยและความสำคัญของระบอบประชาธิปไตย  บอกบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในห้องเรียน โรงเรียนและท้องถิ่น สามารถอธิบายความสำคัญเศรษฐกิจของคนในชุมชน ยกตัวอย่างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในชุมชนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย การสืบค้นและอธิบายข้อมูลลักษณะ ทางกายภาพของประเทศไทย  ด้วยแผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพจากดาวเทียม อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ลักษณะทางกายภาพกับภัยพิบัติ ในประเทศไทยเพื่อเตรียมพร้อม รับมือภัยพิบัติ การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับลักษณะ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศไทย วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ของประเทศไทยในอดีตกับปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง นั้น

ตัวชี้วัด

ส 1.1   ป.6/1

ส 1.2   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4

ส 2.1   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4

ส 2.2   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3

ส 3.1  

ส 3.2   ป.6/1, ป.6/2

ส 5.1   ป.6/1, ป.6/2

ส 5.2   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3

รวม 18 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑1๑๐2 ประวัติศาสตร์                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                      เวลา 40 ชั่วโมง

               การบอก วัน  เดือน ปี และการนับช่วงเวลา ตามปฏิทินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  เรียงลำดับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามวัน เวลาที่เกิดขึ้น บอกประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว บอกความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สิ่งของเครื่องใช้ หรือการดำเนินชีวิตของตนเอง บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่มีผลกระทบต่อตนเองในปัจจุบัน  บอกความสำคัญ ของชาติไทย บอกบุคคลสำคัญในท้องถิ่น บอกสถาน ที่สำคัญซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมในชุมชน

ตัวชี้วัด

ส 4.1   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3 

ส 4.2   ป.1/1, ป.1/2      

ส 4.3   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3 

รวม 8 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑2๑๐2 ประวัติศาสตร์                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                      เวลา 40 ชั่วโมง

              ศึกษาการใช้คำระบุเวลาที่แสดงเหตุการณ์ ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในชีวิตของตนเอง โดยใช้หลักฐานที่เกี่ยวข้อง บอกผลกระทบของการเปลี่ยน แปลงที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน  บอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน บอกวัฒนธรรมประเพณีที่ตนเองรักในท้องถิ่น

ตัวชี้วัด

ส 4.1   ป.2/1, ป.2/2

ส 4.2   ป.2/1, ป.2/2      

ส 4.3   ป.2/1 

รวม 5 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑3๑๐2 ประวัติศาสตร์                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                      เวลา 40 ชั่วโมง

             ศึกษาการเทียบศักราชที่สำคัญตามปฏิทินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน บอกลำดับเหตุการณ์สำคัญของโรงเรียนและชุมชน ตามคำบอกเล่า บอกลักษณะที่สำคัญของขนมธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของชุมชนของตนเอง เปรียบ เทียบความเหมือนและความต่างทางวัฒนธรรมของชุมชนตนเองกับชุมชนอื่น บอกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันโดยสังเขป

ตัวชี้วัด

ส 4.1   ป.3/1, ป.3/2

ส 4.2   ป.3/1, ป.3/2      

ส 4.3   ป.3/1 

รวม  5 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑4๑๐2 ประวัติศาสตร์                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                      เวลา 40 ชั่วโมง

             ศึกษาเรียนรู้การสืบค้นและบอกความเป็นมาของโรงเรียนจากแหล่งข้อมูลต่างๆ บอกความสัมพันธ์ของมนุษยชาติในกลุ่มอาเซียน บอกอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติ ที่มีผลต่อสังคมไทยในปัจจุบัน การบอกพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยโดยสังเขป บอกวีรกรรมของบรรพบุรุษไทยสมัยสุโขทัย

ตัวชี้วัด

ส 4.1   ป.4/1

ส 4.2   ป.4/1, ป.4/2      

ส 4.3   ป.4/1, ป.4/2    

รวม 5 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑5๑๐2 ประวัติศาสตร์                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                      เวลา 40 ชั่วโมง

             ศึกษาเรียนรู้การสืบค้นและบอกความเป็นมาของท้องถิ่นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ บอกการตั้งหลักแหล่งและพัฒนา  การของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และ ยุคประวัติศาสตร์ บอกพัฒนา การของอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีโดยสังเขป  บอกวีรกรรมของบรรพบุรุษไทย สมัยอยุธยาและธนบุรี

ตัวชี้วัด

ส 4.1   ป.5/1

ส 4.2   ป.5/1              

ส 4.3   ป.5/1, ป.5/2    

รวม  4 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส ๑6๑๐2 ประวัติศาสตร์                                 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                      เวลา 40 ชั่วโมง

            การสืบค้นและ นำเสนอเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ยกตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นที่แสดงพัฒนาการของมนุษยชาติ การบอกความสัมพันธ์ของชาติต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน การบอกพัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์  โดยสังเขป บอกวีรกรรมของบรรพบุรุษไทยสมัยรัตนโกสินทร์

ตัวชี้วัด

ส 4.1   ป.6/1

ส 4.2   ป.6/1, ป.6/2      

ส 4.3   ป.6/1, ป.6/2    

รวม 5 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

พ ๑๑๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

ประถมศึกษาปีที่ 2

พ ๑2๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

ประถมศึกษาปีที่ 3

พ ๑3๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

ประถมศึกษาปีที่ 4

พ ๑4๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

ประถมศึกษาปีที่ 5

พ ๑5๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

ประถมศึกษาปีที่ 6

พ ๑6๑๐๑

สุขศึกษาและพลศึกษา

40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

พ ๑1๑๐1 สุขศึกษาและพลศึกษา                                กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

             ศึกษาการบอกลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก การบอกวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก  ปฏิบัติตนในการดูแลรักษาอวัยวะภายนอก การระบุสมาชิกในครอบครัวและความรักความผูกพันของสมาชิกที่มีต่อกัน  บอกสิ่งที่ชื่นชอบ และภาคภูมิใจในตนเอง เคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่  เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ๒.เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ การออกกำลังกาย และเล่นเกม ตามคำแนะนำ  ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา  ข้อตกลงในการเล่นเกมตามคำแนะนำ บอกการปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ  บอกอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง  ปฏิบัติตนตามคำแนะนำเมื่อมีอาการเจ็บป่วย  บอกการปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ  การบอกอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง   การแสดงคำพูดหรือท่าทางขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุร้าย ที่บ้านและโรงเรียน

ตัวชี้วัด

พ 1.1   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3

พ 2.1   ป.1/1, ป.1/2

พ 3.1   ป.1/1, ป.1/2   

พ 3.2   ป.1/1, ป.1/2

พ 4.1   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3

พ 5.1   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3

รวม 15 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

พ ๑2๑๐1 สุขศึกษาและพลศึกษา                                กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

             ศึกษาการบอกลักษณะ และหน้าที่ของอวัยวะภายใน บอกวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายใน การระบุบทบาทหน้าที่ของตนเอง และสมาชิกในครอบครัว บอกความสำคัญของเพื่อน ระบุพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศ บอกความภาคภูมิ ใจในความเป็นเพศหญิง หรือเพศชาย การควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่กับที่  เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ เล่มเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่วิธีเล่น อาศัยการเคลื่อนไหวเบื้องต้นทั้งแบบอยู่กับที่  เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ การออกกำลังกาย และเล่นเกม  ได้ด้วยตนเอง  การปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงในการเล่นเกมเป็นกลุ่ม สามารถบอกลักษณะของการมีสุขภาพดี  เลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์  ระบุของใช้และของเล่นที่มีผลเสียต่อสุขภาพ  บอกอาการและวิธีป้องกันการเจ็บป่วย การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้น ปฏิบัติตามคำแนะนำเมื่อมีอาการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ การปฏิบัติตนในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นทางน้ำ  และทางบก บอกชื่อยาสามัญประจำบ้าน และใช้ยาตามคำแนะนำ ระบุโทษของสารเสพติด สารอันตราย ใกล้ตัวและวิธีการป้องกัน ปฏิบัติตนตามสัญลักษณ์และป้ายเตือนของสิ่งของหรือสถานที่ที่เป็นอันตราย บอกสาเหตุ  อันตรายวิธีป้องกันอัคคีภัยและแสดงการ หนีไฟ

ตัวชี้วัด

พ 1.1   ป.2/1, ป.2/2

พ 2.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4

พ 3.1   ป.2/1, ป.2/2   

พ 3.2   ป.2/1, ป.2/2

พ 4.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5

พ 5.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5

รวม 20 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

พ ๑3๑๐1 สุขศึกษาและพลศึกษา                                กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

             ศึกษาการบอกลักษณะและการเจริญ เติบโตของร่างกายมนุษย์ การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน  ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การบอกความสำคัญ  และความแตกต่างของครอบครัวที่มีต่อตนเอง บอกวิธีสร้างสัมพันธภาพในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน บอกวิธีหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่นำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศ การควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย ขณะอยู่กับที่  เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบอย่างมีทิศทาง เคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้ทักษะการเคลื่อนไหวแบบบังคับทิศทาง  ในการเล่นเกมเบ็ดเตล็ด การเลือกออกกำลังกาย  การละเล่นพื้นเมือง และเล่นเกม ที่เหมาะสม กับตนเอง  ปฏิบัติตามกฎ กติกาและข้อตกลงของการออกกำลังกาย  การเล่นเกม การละเล่นพื้นเมืองได้ด้วยตนเอง การบอกการติดต่อและวิธี ป้องกันการแพร่ กระจายของโรค  จำแนกอาหารหลัก ๕ หมู่  เลือกกินอาหารที่หลากหลายครบ ๕ หมู่  ในสัดส่วนที่เหมาะสม  แสดงการแปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี การปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากอุบัติเหตุในบ้าน โรงเรียน และการเดินทาง  แสดงวิธี ขอความช่วยเหลือจากบุคคลและแหล่งต่างๆ  เมื่อเกิดเหตุร้าย  หรืออุบัติเหตุ

ตัวชี้วัด

พ 1.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

พ 2.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

พ 3.1   ป.3/1, ป.3/2   

พ 3.2   ป.3/1, ป.3/2

พ 4.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4

พ 5.1   ป.3/1, ป.3/2

ทั้งหมด 16 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

พ ๑4๑๐1 สุขศึกษาและพลศึกษา                                กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

            การบอกการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัย บอกความสำคัญของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ  บอกวิธีดูแลกล้ามเนื้อ  กระดูกและข้อ  ให้ทำงานอย่าง มีประสิทธิภาพ การบอกคุณลักษณะของความเป็นเพื่อนและสมาชิกที่ดีของครอบครัว  แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย  ยกตัวอย่างวิธีการปฏิเสธการกระทำที่เป็นอันตรายและไม่เหมาะสมในเรื่องเพศ การควบคุมตนเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้ ทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่และใช้อุปกรณ์ประกอบ ฝึกกายบริหารท่ามือเปล่าประกอบจังหวะ  เล่นเกมเลียนแบบและกิจกรรม แบบผลัดและเล่นกีฬา การออกกำลังกาย เล่นเกม  และกีฬาที่ตนเองสนใจ ปฏิบัติตามกฎ กติกาการเล่นกีฬาพื้นฐาน ตามชนิดกีฬาที่เล่น การบอกความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ  อธิบายสภาวะอารมณ์  ความรู้สึกที่มีผลต่อสุขภาพ  บอกข้อมูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อการเลือกบริโภค การบอกความสำคัญของการใช้ยาและใช้ยาอย่างถูกวิธี บอกวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากการใช้ยาผิด  สารเคมี  แมลง สัตว์ กัดต่อยและการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา บอกผลเสียของการสูบบุหรี่ และการดื่มสุราที่มีต่อสุขภาพและการป้องกัน  บอกการปฏิบัติตน  เพื่อความปลอดภัยจากการถูกล่อลวง

ตัวชี้วัด

พ 1.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

พ 2.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

พ 3.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

พ 3.2   ป.4/1, ป.4/2

พ 4.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

พ 5.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3, ป.4/4

รวม 18 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

พ ๑5๑๐1 สุขศึกษาและพลศึกษา                                กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

            การบอกความสำคัญของระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ๒. บอกวิธีดูแลระบบย่อยอาหารและ ระบบขับถ่ายให้ทำงานตามปกติ การบอกการเปลี่ยนแปลงทางเพศ  และปฏิบัติตนได้เหมาะสม๒. บอกความสำคัญของการมีครอบครัวที่อบอุ่นตามวัฒนธรรมไทย ระบุพฤติกรรมที่พึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ในการแก้ไขปัญหา  ความขัดแย้งในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน จัดรูปแบบการเคลื่อน ไหว แบบผสมผสานและควบคุมตนเองเมื่อใช้ทักษะการเคลื่อนไหวตามแบบที่กำหนด เล่มเกมนำไปสู่กีฬาที่เลือกและกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบผลัด เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายอย่างมีรูปแบบ เล่นเกมที่ใช้ทักษะการคิดและตัดสินใจ  เล่นกีฬาที่ตนเองชอบอย่างสม่ำเสมอ  และมีน้ำใจนักกีฬา  ปฏิบัติตามกฎกติกา การเล่นเกม  กีฬาไทยและกีฬาสากล ตามชนิดกีฬาที่เล่น  ปฏิบัติตนตามสิทธิของตนเอง  ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่นและยอมรับใน   ความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นเกม และกีฬา สามารถระบุพฤติกรรมและเห็นความ สำคัญของ  การปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ค้นคว้าข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้สร้างเสริมสุขภาพ  บอกสื่อโฆษณาในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างมีเหตุผล  ปฏิบัติตนในการป้องกันโรคที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน การบอกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้  สารเสพติด บอกผล กระทบของการใช้ยา และ  สารเสพติดที่มีผลต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์  สังคม และสติปัญญาปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาหลีกเลี่ยงสารเสพติดและการถูกล่อลวง ระบุอิทธิพลของสื่อที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพ บอกการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอันตรายจากการเล่นกีฬา

ตัวชี้วัด

พ 1.1   ป.5/1, ป.5/2

พ 2.1   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3

พ 3.1   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3

พ 3.2   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4

พ 4.1   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4

พ 5.1   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5

รวม 21 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

พ ๑6๑๐1 สุขศึกษาและพลศึกษา                                กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                  เวลา 40 ชั่วโมง

            การบอกความสำคัญของระบบสืบพันธุ์ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ บอกวิธีการดูแลรักษาระบบสืบพันธุ์ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบหายใจให้ทำงานตามปกติ การบอกความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น บอกพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่   การมีเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อเอดส์ และ  การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การแสดงทักษะการเคลื่อนไหวร่วมกับผู้อื่น  ในลักษณะแบบผลัดและแบบผสมผสานได้   ตามลำดับทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และ   ใช้อุปกรณ์ประกอบ และการเคลื่อน ไหวประกอบเพลง เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ การบอกประโยชน์และหลักการออกกำลังกาย เล่นกีฬาที่ตนเองชอบ ปฏิบัติตามกฎ กติกา  ตามชนิดกีฬาที่เล่นโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น  เล่นเกมและกีฬา ด้วยความสามัคคีและมีน้ำใจนักกีฬา การแสดงพฤติกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ บอกผล กระทบที่เกิดจากการระบาด ของโรคและแนวทางการป้องกันโรค ติดต่อที่พบในประเทศไทย การบอกผล กระทบจากความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่มีต่อร่างกาย  จิตใจ และสังคม  ระบุวิธีปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัย จากธรรมชาติ บอกสาเหตุของการติดสารเสพติดและชักชวนให้ผู้อื่นหลีกเลี่ยงสารเสพติด บอกการปฏิบัติตน เพื่อความปลอดภัย  จากการถูกล่อลวง

ตัวชี้วัด

พ 1.1   ป.6/1, ป.6/2

พ 2.1   ป.6/1, ป.6/2

พ 3.1   ป.6/1, ป.6/2

พ 3.2   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4

พ 4.1   ป.6/1, ป.6/2

พ 5.1   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4

รวม 16 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ศ ๑๑๑๐๑

ศิลปะ

40

ประถมศึกษาปีที่ 2

ศ ๑2๑๐๑

ศิลปะ

40

ประถมศึกษาปีที่ 3

ศ ๑3๑๐๑

ศิลปะ

40

ประถมศึกษาปีที่ 4

ศ ๑4๑๐๑

ศิลปะ

40

ประถมศึกษาปีที่ 5

ศ ๑5๑๐๑

ศิลปะ

40

ประถมศึกษาปีที่ 6

ศ ๑6๑๐๑

ศิลปะ

40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ศ ๑1๑๐1 ศิลปะ                                                                                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                                          เวลา 40 ชั่วโมง

          ศึกษาการบอกลักษณะของจุด เส้น สี พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้ จุด เส้น การบอกความหมายของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน การบอกแหล่งกำเนิดของเสียง เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับจังหวะ บอกบทกลอนในชีวิตประจำวัน ท่องบทกลอน ร้องเพลง เคาะจังหวะ มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรี  บอกความเกี่ยวข้องของเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การบอกความหมายของดนตรี บอกประเภทของดนตรี บอกความหมายและความสำคัญของนาฏศิลป์ เคลื่อนไหวท่าทางประกอบจังหวะเพลง การบอกสิ่งที่พบเห็นในการละเล่นพื้นบ้านกับสิ่งที่พบเห็นในการดำรงชีวิตของคนไทย ระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้าน

ตัวชี้วัด

ศ 1.1   ป.1/1, ป.1/2

ศ 1.2   ป.1/1    

ศ 2.1   ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3, ป.1/4, ป.1/5, ป.1/6

ศ 2.2   ป.1/1, ป.1/2

ศ 3.1   ป.1/1, ป.1/2

ศ 3.2   ป.1/2  ป.1/2    

รวม 15  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ศ ๑2๑๐1 ศิลปะ                                                                                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                                          เวลา 40 ชั่วโมง

            ศึกษาการบอกลักษณะของจุด เส้น สี พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้ จุด เส้น สี รูปร่าง รูปทรงภาพปะติดงานปั้น ใช้อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์ การบอกความหมายของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน บอกประเภทของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน การบอกแหล่งกำเนิดของเสียง เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับจังหวะ รู้คุณสมบัติของเสียง ท่องบทกลอน ร้องเพลง เคาะจังหวะ ร้องเพลงง่ายๆ ที่เหมาะสมกับวัย บอกความหมายของเพลงที่ได้ยิน การบอกความหมายของดนตรี บอกประเภทของดนตรี บอกคุณค่าของดนตรี การบอกความสำคัญของนาฏศิลป์ เคลื่อนไหวท่าทางประกอบจังหวะเพลง การบอกประเภทของนาฏศิลป์ บอกคุณค่าของนาฏศิลป์ไทย

ตัวชี้วัด

ศ 1.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3

ศ 1.2   ป.2/1, ป.2/2

ศ 2.1   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4, ป.2/5, ป.2/6

ศ 2.2   ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3

ศ 3.1   ป.2/1, ป.2/2

ศ 3.2   ป.2/1, ป.2/2    

รวม 18 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ศ ๑3๑๐1 ศิลปะ                                                                                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                                          เวลา 40 ชั่วโมง

             การบอกลักษณะของจุด เส้น สี พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้ จุด เส้น สีรูปร่าง รูปทรง ภาพปะติดงานปั้นตามจิตนาการ ใช้อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์ การบอกงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน บอกประเภทของงานทัศนศิลป์ บอกคุณค่าของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น การ บอกแหล่ง กำเนิดของเสียง เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับจังหวะ บอกคุณสมบัติของเสียง ท่องบทกลอน ร้องเพลง เคาะจังหวะ การบอกการนำดนตรีไปใช้ในชีวิตประจำวัน บอกความหมายของดนตรี การบอกประเภทของดนตรี บอกคุณค่าของดนตรี บอกสั้นๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของดนตรีกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การบอกความสำคัญของนาฏศิลป์ .เคลื่อนไหวท่าทางประกอบจังหวะเพลง บอกมารยาทในการชมและแสดงนาฏศิลป์ การบอกคุณค่าของนาฏศิลป์ บอกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

ตัวชี้วัด

ศ 1.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

ศ 1.2   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

ศ 2.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4, ป.3/5

ศ 2.2   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4

ศ 3.1   ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

ศ 3.2   ป.3/2, ป.3/2    

รวม  20 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ศ ๑4๑๐1 ศิลปะ                                                                                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                                          เวลา 40 ชั่วโมง

             ศึกษาเรียนรู้การบอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และงาน ทัศนศิลป์  สร้างงานทัศนศิลป์ต่างๆ โดยใช้ ทัศนธาตุ มีทักษะพื้นฐานการใช้อุปกรณ์ สร้างงานทัศนศิลป์ การบอกเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรม ในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ บอกงานทัศนศิลป์ในเหตุการณ์ และ งานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรมของท้องถิ่น การบอกองค์ประกอบของเครื่องดนตรี บอกประเภทของเครื่องดนตรี ร้องเพลงในชีวิตประจำวัน แสดงความคิดเห็น  เกี่ยวกับเสียงดนตรี  เสียงขับร้องของตนเองและผู้อื่น นำดนตรีไปใช้ในชีวิต ประจำวัน การบอกมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การบอกความสำคัญของนาฏศิลป์ การบอกและแสดงภาษาท่าและนาฏยศัพท์พื้นฐาน เคลื่อนไหว การแสดงนาฏศิลป์และแสดงละครอย่างง่าย

ตัวชี้วัด

ศ 1.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3, ป.4/4

ศ 1.2   ป.4/1, ป.4/2

ศ 2.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3, ป.4/4, ป.4/5

ศ 2.2   ป.4/1

ศ 3.1   ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

ศ 3.2   -    

รวม 15  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ศ ๑5๑๐1 ศิลปะ                                                                                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                                          เวลา 40 ชั่วโมง

             ศึกษาการบอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และงาน ทัศนศิลป์ สร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้ ทัศนธาตุ  มีทักษะพื้นฐานการใช้อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์ การบอกเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรม ไทยที่เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ บอกงานทัศนศิลป์ในเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรม ของชาติ การบอกองค์ประกอบของเครื่องดนตรี บอกประเภทของเครื่องดนตรี ร้องเพลงในชีวิตประจำวัน บรรเลงเพลงอย่างง่ายจัดเก็บเครื่องดนตรี ร้องเพลงไทยหรือเพลงสากลหรือ  เพลงไทยสากล การบอกมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ไทย บอกความสัมพันธ์ของดนตรีกับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ไทย การบอกความสำคัญของนาฏศิลป์  บอกและแสดงภาษาท่าและนาฏยศัพท์พื้นฐาน เคลื่อนไหว การแสดงนาฏศิลป์และแสดงละครอย่างง่าย การบอกมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ไทย บอกความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ไทย

ตัวชี้วัด

ศ 1.1   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4

ศ 1.2   ป.5/1, ป.5/2

ศ 2.1   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, ป.5/6

ศ 2.2   ป.5/1, ป.5/2

ศ 3.1   ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3

ศ 3.2   ป.5/1, ป.5/2

รวม 19 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ศ ๑6๑๐1 ศิลปะ                                                                                   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                                          เวลา 40 ชั่วโมง

             การบอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ สร้างงานทัศนศิลป์ต่าง ๆ โดยใช้ทัศนธาตุ ตามจินตนาการ มีทักษะการใช้อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์ การบอกเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรม สากลที่เกี่ยวกับงานทัศนศิลป์ บอกงานทัศนศิลป์ในเหตุการณ์ และงานเฉลิมฉลองของวัฒนธรรม ของสากล การบอกองค์ประกอบของเครื่องดนตรี บอกประเภทของเครื่องดนตรี ร้องเพลงในชีวิตประจำวัน บอกวิธีเก็บรักษาเครื่องดนตรี และการจัดเก็บเครื่องดนตรี การบอกมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ไทยและสากล บอกความสัมพันธ์ของดนตรีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรม ไทยและสากล บอกคุณค่าของดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน บอกวิธีการอนุรักษ์ดนตรี การบอกความสำคัญของนาฏศิลป์  บอกและแสดงภาษาท่าและนาฏยศัพท์พื้นฐาน เคลื่อนไหว การแสดงนาฏศิลป์และแสดงละครอย่างง่าย การบอกมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ไทยและสากล บอกความสัมพันธ์ของนาฏศิลป์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรม ไทยและสากล

ตัวชี้วัด

ศ 1.1   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3

ศ 1.2   ป.6/1, ป.6/2

ศ 2.1   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4

ศ 2.2   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3, ป.6/4

ศ 3.1   ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3

ศ 3.2   ป.6/1, ป.6/2

รวม  18 ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การอาชีพ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ง ๑๑๑๐๑

การงานอาชีพ

40

ประถมศึกษาปีที่ 2

ง ๑2๑๐๑

การงานอาชีพ

40

ประถมศึกษาปีที่ 3

ง ๑3๑๐๑

การงานอาชีพ

40

ประถมศึกษาปีที่ 4

ง ๑4๑๐๑

การงานอาชีพ

40

ประถมศึกษาปีที่ 5

ง ๑5๑๐๑

การงานอาชีพ

40

ประถมศึกษาปีที่ 6

ง ๑6๑๐๑

การงานอาชีพ

40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ง ๑1๑๐1 การงานอาชีพ                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                              เวลา 40 ชั่วโมง

            ศึกษาเรียนรู้การบอกวิธีการทำงาน การใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือง่ายๆในการทำงานอย่างปลอดภัย

ตัวชี้วัด

ง 1.1    ป.1/1, ป.1/2

ง 4.1    -                                      

รวม 2 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ง ๑2๑๐1 การงานอาชีพ                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                              เวลา 40 ชั่วโมง

              การบอกวิธีการและประโยชน์การทำงาน การใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือใน การทำงานอย่าง เหมาะสมกับงานและประหยัด ทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นอย่างปลอดภัย

ตัวชี้วัด

ง 1.1    ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3

ง 4.1    -                                      

รวม 3 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ง ๑3๑๐1 การงานอาชีพ                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                              เวลา 40 ชั่วโมง

            การบอกวิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง และ ผู้อื่นและส่วนรวม การใช้วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือตรงกับลักษณะงาน ทำงานอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงานด้วยความสะอาดความรอบคอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด

ง 1.1    ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

ง 4.1    -                                      

รวม 3 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ง ๑4๑๐1 การงานอาชีพ                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                              เวลา 40 ชั่วโมง

          การบอกเหตุผลในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอนด้วยความขยัน อดทนรับผิดชอบและซื่อสัตย์ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงาน ใช้พลังงานและทรัพยากร ในการทำงานอย่างประหยัด และคุ้มค่า การบอกความหมายและความสำคัญของอาชีพ

ตัวชี้วัด

ง 1.1    ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3, ป.4/4

ง 4.1    ป.4/1                      

รวม 5 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ง ๑5๑๐1 การงานอาชีพ                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                              เวลา 40 ชั่วโมง

          การบอกเหตุผลในการทำงานแต่ละขั้นตอนถูกต้องตามกระบวนการทำงาน ใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน อย่างเป็นระบบ ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับผู้อื่น มีจิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า การ สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ในชุมชน ระบุความแตกต่างของอาชีพ

ตัวชี้วัด

ง 1.1    ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4

ง 4.1    ป.5/1, ป.5/2                       

รวม 6 ตัวชี้วัด

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ง ๑6๑๐1 การงานอาชีพ                                                           กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                              เวลา 40 ชั่วโมง

          การบอกแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานแต่ละขั้นตอน  ใช้ทักษะการจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานกับครอบครัวและผู้อื่น การสำรวจตนเองเพื่อวางแผนในการเลือกอาชีพ  ระบุความรู้ความสามารถและคุณธรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพที่สนใจ 

ตัวชี้วัด

ง 1.1    ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3

ง 4.1    ป.6/1, ป.6/2                       

รวม 5 ตัวชี้วัด

โครงสร้างเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

ระดับชั้น

รหัสวิชา

สาระการเรียนรู้พื้นฐาน

เวลาเรียน (ชั่วโมง/ปี)

ประถมศึกษาปีที่ 1

ต ๑๑๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

200

ประถมศึกษาปีที่ 2

ต ๑2๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

200

ประถมศึกษาปีที่ 3

ต ๑3๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

200

ประถมศึกษาปีที่ 4

ต ๑4๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

200

ประถมศึกษาปีที่ 5

ต ๑5๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

200

ประถมศึกษาปีที่ 6

ต ๑6๑๐๑

ภาษาอังกฤษ

200

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ต ๑11๐1 ภาษาอังกฤษ                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

              การปฏิบัติตามคำสั่งที่ฟัง ระบุตัวอักษรและเสียง อ่านออกเสียง  เลือกสัญลักษณ์ตามความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟัง การพูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง ใช้คำสั่ง ตามแบบที่ฟัง  บอกความต้องการ ตามแบบที่ฟัง พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง การพูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว การพูดและทำท่าทางประกอบตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา บอกชื่อและคำศัพท์เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญของเจ้าของภาษา  เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม ที่เหมาะสมกับผู้เรียนlสามารถระบุตัวอักษรและเสียงตัวอักษร ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย การบอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ การเรียนรู้อื่น การฟัง/พูดในสถานการณ์ง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว  

ตัวชี้วัด

อ 1.1     ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3

อ 1.2     ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3, ป.1/4

อ 1.3     ป.1/1

อ 2.1     ป.1/1, ป.1/2, ป.1/3

อ 2.2     ป.1/1   

อ 3.1     ป.1/1   

อ 4.1     ป.1/1   

อ 4.2     ป.1/1   

รวม  15  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ต ๑21๐1 ภาษาอังกฤษ                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

              การปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้องที่ฟัง ระบุตัวอักษรและเสียง อ่านออกเสียงคำ สะกดคำและอ่านประโยคง่ายๆ  เลือกสัญลักษณ์ตามความ หมายของคำ กลุ่มคำ และประโยคที่ฟัง  ตอบคำถามจากการฟังประโยคสนทนา สามารถพูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง การใช้คำสั่ง คำขอร้องง่าย  ตามแบบที่ฟัง บอกความต้องการ ตามแบบที่ฟัง  พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองตามแบบที่ฟัง การพูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว การพูดและทำท่าทางประกอบตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา  บอกชื่อและคำศัพท์เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรม  ที่เหมาะสมกับผู้เรียน สามารถระบุตัวอักษรและเสียงตัวอักษร  ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย  บอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระ การเรียนรู้อื่น การฟัง/พูดในสถานการณ์ง่าย ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน การ ใช้ภาษา ต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว  

ตัวชี้วัด

อ 1.1     ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4

อ 1.2     ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3, ป.2/4

อ 1.3     ป.2/1

อ 2.1     ป.2/1, ป.2/2, ป.2/3

อ 2.2     ป.2/1   

อ 3.1     ป.2/1   

อ 4.1     ป.2/1   

อ 4.2     ป.2/1   

รวม  16    ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ต ๑31๐1 ภาษาอังกฤษ                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

            การปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้อง ที่ฟังหรืออ่าน อ่านออกเสียงคำ สะกดคำและอ่านกลุ่มคำ ประโยค และบทพูดง่ายๆ เลือก/ระบุภาพหรือสัญลักษณ์ตรงตามความหมายของคำ กลุ่มคำและประโยคที่ฟัง ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่านประโยคสนทนาหรือนิทาน สามารถพูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆ ในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟังใช้คำสั่งและคำขอร้อง ของตนเอง บอกความต้องการ ของตนเองตามแบบที่ฟัง พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง การพูดให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัวจัดหมวดหมู่คำตามประเภทของบุคคล  สัตว์และสิ่งของตามที่ฟังหรืออ่าน การพูดและทำท่าประกอบตามมารยาทสังคม/วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาบอกชื่อและคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับเทศกาลสำคัญ วันสำคัญ งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา  เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน การบอกความแตกต่างของเสียง  ตัวอักษร คำ กลุ่มคำ และประโยคง่ายๆ ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย การบอกคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การ ฟัง/พูดในสถานการณ์ง่าย ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องใกล้ตัว  

ตัวชี้วัด

อ 1.1     ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4

อ 1.2     ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3, ป.3/4

อ 1.3     ป.3/1, ป.3/2

อ 2.1     ป.3/1, ป.3/2, ป.3/3

อ 2.2     ป.3/1   

อ 3.1     ป.3/1   

อ 4.1     ป.3/1   

อ 4.2     ป.3/1   

รวม  17   ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ต ๑41๐1 ภาษาอังกฤษ                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

            การปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้อง และคำแนะนำ ที่ฟัง หรืออ่าน อ่านออกเสียงคำ สะกดคำและ อ่านกลุ่มคำประโยค ข้อความ และบทพูดเข้าจังหวะถูกต้อง สามารถพูดและ/หรือเขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล ใช้คำสั่ง คำขอร้องและคำขออนุญาตต่าง ๆ การพูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว  แสดงข้อมูลที่ได้จากฟังหรืออ่าน การพูดและทำท่าประกอบอย่างสุภาพ  ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ตอบคำถามเกี่ยวกับเทศกาลสำคัญวันสำคัญงานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษา เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน การบอกความแตกต่างของเสียงตัวอักษร คำ กลุ่มคำและประโยคง่าย ๆ ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย บอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย สามารถรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และการนำเสนอด้วยการพูดหรือการเขียน การฟัง/พูดในสถานการณ์ง่าย ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและในสถานศึกษา และใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

ตัวชี้วัด

อ 1.1     ป.4/1, ป.4/2

อ 1.2     ป.4/1, ป.4/2

อ 1.3     ป.4/1, ป.4/2

อ 2.1     ป.4/1, ป.4/2, ป.4/3

อ 2.2     ป.4/1, ป.4/2

อ 3.1     ป.4/1   

อ 4.1     ป.4/1   

อ 4.2     ป.4/1   

รวม  14   ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ต ๑51๐1 ภาษาอังกฤษ                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

                การปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ ที่ฟังและอ่าน  การอ่านออกเสียงประโยค ข้อความและบทกลอนสั้นๆ ถูกต้อง สามารถพูดและ/หรือเขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล การใช้คำสั่ง  คำขอร้องและคำขออนุญาต และให้คำแนะนำ การพูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องใกล้ตัว  แสดงข้อมูลที่ได้จากฟังหรืออ่าน การพูดและทำท่าประกอบอย่างสุภาพ ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ตอบคำถาม/บอกความสำคัญของเทศกาลวันสำคัญงานฉลองและชีวิต ความเป็นอยู่ง่าย ๆ ของเจ้าของภาษา  เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ สามารถบอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ บอกความเหมือนความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย การรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น และการนำเสนอด้วยการพูดหรือการเขียน การฟัง พูด และอ่าน/เขียนในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและในสถานศึกษา และการใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบคันและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ

ตัวชี้วัด

อ 1.1     ป.5/1, ป.5/2

อ 1.2     ป.5/1, ป.5/2

อ 1.3     ป.5/1, ป.5/2

อ 2.1     ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3

อ 2.2     ป.5/1, ป.5/2

อ 3.1     ป.5/1   

อ 4.1     ป.5/1   

อ 4.2     ป.5/1   

รวม  14  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ต ๑61๐1 ภาษาอังกฤษ                                                            กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6                                                              เวลา 200 ชั่วโมง

             การปฏิบัติตามคำสั่งและคำขอร้องและคำแนะนำที่ฟังและอ่าน อ่านออกเสียงข้อความ นิทานและบทกลอนสั้นๆ ถูกต้องสามารถพูดและ/หรือเขียนโต้ตอบในการสื่อสารระหว่างบุคคล  การใช้คำสั่ง คำขอร้อง คำขออนุญาต และให้คำแนะนำ การพูด/เขียนให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เพื่อน และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว  แสดงข้อมูลต่าง ๆ ตามที่ฟังหรืออ่าน การพูดและทำท่าประกอบอย่างสุภาพ ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา บอกข้อมูลเกี่ยวกับเทศกาลวันสำคัญ งานฉลองและชีวิตความเป็นอยู่ง่ายๆ ของเจ้าของภาษา  เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจ การบอกความเหมือน/ความแตกต่างระหว่าง การออกเสียงประโยคชนิดต่างๆ บอกความเหมือนความแตกต่างระหว่างเทศกาลและงานฉลองตามวัฒนธรรม ของเจ้าของภาษากับของไทย สามารถรวบรวมคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ และนำเสนอด้วยการพูดหรือการเขียน การใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและในสถานศึกษา และใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบคันและ รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ   

ตัวชี้วัด

อ 1.1     ป.6/1, ป.6/2

อ 1.2     ป.6/1, ป.6/2

อ 1.3     ป.6/1, ป.6/2

อ 2.1     ป.6/1, ป.6/2, ป.6/3

อ 2.2     ป.6/1, ป.6/2

อ 3.1     ป.6/1   

อ 4.1     ป.6/1   

อ 4.2     ป.6/1   

รวม 14  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

            โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สาย ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น ๔ ลักษณะ ดังมีรายละเอียดดังนี้

          ๑. กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ โดยมีการจัดทำแผนเปลี่ยนผ่านเฉพาะบุคคล ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและมีความพร้อมในการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมที่จัดมีดังนี้

                    1.1 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน

                    1.2 กิจกรรมโฮมรูม

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อผู้เรียนค้นพบความถนัด ความสามารถ ความสนใจของตนเอง รักละเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

๒. เพื่อให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากข้อมูล ข่าวสาร แหล่งเรียนรู้ทั้งด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัว สังคม

เพื่อนำไปใช้ในการวางแผน เลือกแนวทางการศึกษาอาชีพได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพของ

ตนเอง

๓. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาบุคลิกภาพ และรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

๔. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ในงานอาชีพและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

๕. เพื่อให้ผู้เรียนมีค่านิยมที่ดีงามในการดำเนินชีวิต สร้างเสริมวินัย คุณธรรมและจริยธรรมแก่นักเรียน

๖. เพื่อให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

แนวการจัดกิจกรรม

๑. จัดกิจกรรมเพื่อให้ครูได้รู้จักและช่วยเหลือผู้เรียนมากขึ้น โดยใช้กระบวนการทางจิตวิทยา การ

จัดบริการสนเทศ โดยให้มีเอกสารเพื่อใช้ในการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ด้วยการสังเกต

สัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การเขียนประวัติ การพบผู้ปกครองก่อนและระหว่างเรียน การเยี่ยม

บ้านนักเรียน การให้ความช่วยเหลือผู้เรียนเรื่องสุขภาพจิต เศรษฐกิจ การจัดทำระเบียนสะสม สมุด

รายงานประจำตัวนักเรียน และบัตรสุขภาพ

๒. การจัดกิจกรรมพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ โดยทำแบบทดสอบเพื่อรู้จักและเข้าใจตนเอง มีทักษะในการตัดสินใจ การปรับตัว การวางแผนเพื่อเลือกศึกษาต่อ เลือกอาชีพ

๓. การจัดบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนรายบุคคล และรายกลุ่ม ในด้านการศึกษา อาชีพ และส่วนตัว

โดยมีผู้ให้คำปรึกษาที่มีคุณวุฒิ และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการให้คำปรึกษา ตลอดจนมีห้องให้คำปรึกษาที่เหมาะสม

๓.๑ ช่วยเหลือผู้เรียนที่ประสบปัญหาด้านการเงิน โดยการให้ทุนการศึกษาแก่ผู้เรียน

๓.๒ ติดตามเก็บข้อมูลของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา

. กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนได้ปฏิบัติควบคู่ไปกับความรู้ ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม รู้จักบำเพ็ญตน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

                     .๑  กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี

                              2.1.1 ลูกเสือ-เนตรนารี สำรอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

                              2.1.2 ลูกเสือ-เนตรนารี สามัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6

วัตถุประสงค์

พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๘ ได้กําหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม เพื่อพัฒนา

ลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคม

เพื่อให้เกิดความสามัคคี และความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เพื่อความสงบสุข และความมั่งคงของประเทศชาติตาม

แนวทางดังต่อไปนี้

๑. ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำเชื่อฟัง และพึ่งตนเอง

๒. ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

๓. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์

๔. ให้รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนการทำกิจกรรมต่างๆตามความเหมาะสม

๕. ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่งคงของชาติ

แนวการจัดกิจกรรม

กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓

เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบานการของลูกเสือ และจัดกิจกรรมให้ศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามมาตรฐาน โดยเน้นระบบหมู่ สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง โดยให้ผู้เรียนศึกษา และฝึกปฏิบัติดังนี้

๑. เตรียมลูกเสือสำรอง นิยายเรื่อเมาคลี ประวัติการเริ่มกิจกรรมลูกเสือสำรอง การทำความเคารพเป็นหมู่ (แกรนด์ฮาวล์) การทำความเคารพเป็นรายบุคคล การจับมือซ้าย ระเบียบแถวเบื้องต้น คำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือสำรอง

๒. ลูกเสือสำรองดาวดวงที่ ๑  และ 2 อนามัย ความสามารถเชิงทักษะ การสำรวจ การค้นหาธรรมชาติ ความปลอดภัย บริการ ธง และประเทศต่างๆ  การฝีมือ กิจกรรมกลางแจ้ง การบันเทิง การผูกเงื่อน    คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือสำรองโดยใช้กระบวน การทำงาน กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการจัดการ กระบวนการคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ กระบวนการฝึกปฏิบัติ ทางลูกเสือ กระบวนการทางเทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของ ลูกเสือสำรอง มีนิสัยในการสังเกต จดจำชื่อฟัง และพึ่งตนเอง ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์ รู้จักทำการฝีมือ พัฒนากาย จิตใจ และศีลธรรม ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้อง กับลัทธิทางการเมืองใดๆ สนใจและอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         

กิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖

เปิดประชุมกอง ดำเนินการตามกระบวนการของลูกเสือ และจัดกิจกรรมให้ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติกิจกรรมตามมาตรฐาน โดยเน้นระบบหมู่ สรุปการปฏิบัติกิจกรรม ปิดประชุมกอง โดยให้ผู้เรียนศึกษาและปฏิบัติในเรื่อง

๑. ความรู้เกี่ยวกับขบวนการลูกเสือ คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสามัญ กิจกรรมกลางแจ้ง ระเบียบแถว

2. การรู้จักดูแลตนเอง การช่วยเหลือผู้อื่น การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ทักษะทางวิชาลูกเสือ งานอดิเรกและเรื่อที่น่าสนใจ คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ ระเบียบแถว

๓. การพึ่งพาตนเอง การบริการ การผจญภัย วิชาการของลูกเสือ ระเบียบแถว โดยใช้กระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหา ระบวนการกลุ่ม กระบวนการจัดการ กระบวนการคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ กระบวนการฝึกปฏิบัติทางลูกเสือ กระบวนการทางเทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือ สามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือสามัญ มีนิสัยในการสังเกต จดจำเชื่อฟัง และพึ่งตนเอง ซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น บำเพ็ญตนเพื่อสารธารณประโยชน์ รู้จักทำการฝีมือ พัฒนากาย จิตใจ และศีลธรรม ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิทางการเมืองใดๆ สนใจและอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 กิจกรรมชุมนุม

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ ความถนัด และความต้องการของตน

๒. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เกิดประสบการณ์ ทั้ง

ทางวิชาการและวิชาชีพตามศักยภาพ

๓. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม

๔. เพื่อให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ตามวิถีประชาธิปไตยแนวการจัดกิจกรรมการจัดกิจกรรมตาม

ความสนใจ (ชุมนุม) ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าเป็นสมาชิกชมรม วางแผนการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยมีชมรมที่หลากหลาย เหมาะสมกับเพศ วัย และความสนใจของผู้เรียน

          ดังรายละเอียดชุมนุม ดังนี้

          1. ชุมนุมดนตรีพาเพลิน

เพื่อให้นักเรียนได้รับความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และสนุกไปกับเสียงเพลง กล้าแสดงออก ร้อง เต้น แสดงท่าทางประกอบ เพื่อสุขภาพที่ดีและเกิดความสนุกสนาน

2. ชุมนุมทรูปลูกปัญญา

เพื่อให้นักเรียนได้รับความเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย และแสวงหาความรู้ผ่านการใช้ห้องทรู

 

3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

          3.1 กิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา

          3.2 กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่นตามความเหมาะสม

เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้รู้จักการบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณะประโยชน์ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม ให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งภายในภายนอกโรงเรียน

 

๔. กิจกรรมการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

          เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม สติปัญญา  มีคุณธรรม มีความรู้ เพื่อนำไปสู่การดำเนินชีวิตอิสระอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกทักษะสำคัญได้แก่ ทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation and Mobility) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและบุคลิกภาพ ทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน (Activities of Daily Life) ที่ส่งเสริมการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสมของผู้เรียนในฐานะเป็นปัจเจกบุคคล และการเป็นสมาชิกของครอบครัว องค์กร ชุมชน และสังคม และเรียนรู้เนื้อหาของความรู้เกี่ยวกับสิทธิ การพิทักษ์สิทธิ์ และกฎหมายที่ผู้พิการพึงรู้ เพื่อการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรกเข้าในรายวิชาที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม

การประเมินกิจกรรม การสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว(O&M)

ทักษะ เป้าหมายการเรียนรู้ ผู้เรียนพิการทางการเห็น

1. ทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม  (Orientation)

1.1 รู้คำและความหมายของ  O&M

1.2 ความสามารถในการหา Landmark 

1.3 ความสามารถในการใช้ Clue จากสิ่งแวดล้อมช่วยนำทาง

1.4 การวัด / กะระยะทาง

1.5 ทิศทาง  การเดินตามทิศทางที่กำหนด 

1.6 การหมุนตัว   90  องศา

1.7 การหมุนตัว 45 องศา

1.8 การกลับหลังหัน

2. ทักษะการเดินทางไปกับ “ผู้นำทาง”

2.1 การใช้สัญญาณมือ (แตะสัมผัสที่หลังมือ)

2.2  การเกาะกุมเหนือข้อศอกผู้นำทาง(Grip)

2.3  ตำแหน่งการยืน  การเว้นระยะห่างจากผู้นำทาง  (ครึ่งก้าว / หนึ่งก้าว)

2.4  ทักษะการกลับหลังหัน  (หมุนตัวเปลี่ยนทิศทาง)

2.5  เทคนิคการย้ายข้าง

2.6 เทคนิคการเดินทางผ่าน ช่องทางแคบ  (รับรู้สัญญาณมือจากผู้นำทาง)

2.7 เทคนิคการยอมรับ หรือ ปฏิเสธ การช่วยเหลือ

2.8 การขึ้น / ลงบันได กับผู้นำทาง

2.9 การเข้า / ออก ทางประตู

2.10 การนั่งเก้าอี้  ที่มีพนักพิง

2.11 การนั่งเก้าอี้ไม่มีพนักพิง

2.12 การนั่งเก้าอี้ ที่มีโต๊ะ

3. การป้องกันตนเอง (Self protection)

3.1  มือและปลายแขน  ป้องกันส่วนศีรษะ, ป้องกันส่วนบน, ป้องกันส่วนล่าง

3.2 การเดินเลาะแนว (Trailing)

3.3 การหาทิศทางตรง

3.4 การสำรวจหาวัตถุ 3 รูปแบบ

3.5 การค้นหาของตก

4. ทักษะการใช้ไม้เท้า  (Cane techniques)

4.1  การเดินทางไปกับผู้นำทาง เมื่อมีไม้เท้า

4.2  การย้ายข้างกับคนนำทาง

4.3  การผ่านประตูกับผู้นำทาง

4.4  การเก็บ / วางไม้เท้า  (ขณะนั่ง, ขณะยืน, การเก็บไม้เท้า)

4.5  เทคนิคทแยงไม้เท้า

4.6 เทคนิคการปะทะวัตถุ (เมื่อปะทะวัตถุ นักเรียนเข้าไปหาและสำรวจอย่างปลอดภัย)

4.7 การสำรวจวัตถุ เมื่อปะทะทะวัตถุแล้ว สามารถปฏิบัติตาม กระบวนการ 1-3  ได้อย่างถูกต้อง

4.8  ทางประตู (เมื่อเดินทางผ่านประตูด้วยไม้เท้า อย่างถูกวิธี และปลอดภัย)

4.9 การละเลาะด้วยเทคนิคการทแยงไม้เท้า  (Trailing)

4.10 เทคนิคการขึ้นบันได

4.11 เทคนิคการลงบันได

4.12 เทคนิคการขึ้นบันไดเลื่อน

4.13 เทคนิคการขึ้นบันไดเลื่อน

4.14 เทคนิคการใช้ลิฟท์

4.15 เทคนิคการแกว่งไม้เท้า  (Two touch technique)

4.16 การละเลาะด้วยเทคนิคการแกว่งไม้เท้า  (Keep shoreline) การรักษาเส้นทาง

5. การเคลื่อนไหวภายนอกอาคาร /ที่พักอาศัย

5.1 ความคุ้นเคยกับสภาพรถยนต์

5.2  การละเลาะขอบเส้นทาง (ฟุตบาท, ทางลูกรัง / ดิน)

5.3 ความสามารถในการรับรู้ / แยกแยะเส้นทางการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิว ทางลาดชัน  หลุมบ่อ

5.4 ความสามารถในการปรับใช้เทคนิคการแตะสัมผัส  การลากไม้เท้า ตามสภาพพื้นผิวและสิ่งแวดล้อม

(touch-drag)

5.5 ทักษะการข้ามถนน (ที่มีสัญญาณจราจร, ไม่มีสัญญาณจราจร)

5.6 เทคนิคการแกว่งไม้เท้าสามจุด

5.7 ทักษะการเดินทางด้วยยานพาหนะต่าง

5.8 เทคนิคการขึ้น-ลงรถยนต์

5.9 เทคนิคการขึ้น-ลงรถไฟ

5.10 เทคนิคการขึ้น-ลง-การหาที่นั่งในรถประจำทาง, รถเมล์

5.11 เทคนิคการขึ้น-ลง-การหาที่นั่งในรถประจำทาง, รถสองแถว

6. ทักษะชีวิตประจำวัน (Daily living skills-DLS)

     6.1 งานบ้าน

6.1.1 การซักผ้า, การกะปริมาณผงซักฟอก

6.1.2 รีดผ้า

6.1.3 การเก็บ /พับเสื้อผ้าใส่ตู้เสื้อผ้า หรืออื่นๆ

6.1.4 การเก็บที่นอน  ปูที่นอน  การพับเก็บผ้าห่ม

6.1.5 การกวาดบ้าน, บริเวณบ้าน

6.1.6 การถูบ้าน

6.1.7 การล้างภาชนะ

6.1.8 การเก็บภาชนะในชั้น  (ระบบการจัดหาง่าย ไม่สับสน)

     6.2  งานครัว

6.2.1 ทักษะการใช้มีดในการหั่น  ปอกเปลือก  การสับละเอียด

6.2.2 สามารถทำอาหารรับประทานเองได้

6.2.3 ความสามารถในการ  ก่อไฟ ใช้เตาถ่าน       

6.2.4 ความสามารถในการ  เปิด ใช้เตาแก๊ส  

6.2.5 ความสามารถในการใช้ กระทะไฟฟ้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การจบหลักสูตร

          โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สายกำหนดแนวปฏิบัติการจัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในการจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาร ตามความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กำหนดเกณฑ์การจบการศึกษา ดังนี้ 

ระดับประถมศึกษา

          1. ผู้เรียนมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด

          2. ผู้เรียนมีผลการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้ใน IEP

          3. ผู้เรียนมีการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา

          4. ผู้เรียนมีผลการประเมิน อ่านคิด วิเคราะห์ และเขียน ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป 

          5. ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป 

          6. ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและได้รับการตัดสินผลการเรียน “ผ่าน” ทุกกิจกรรม

เกณฑ์การประเมินและการตัดสินผลการเรียน ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

(Individualized   Education  Program : IEP )

1.  การประเมินผลสาระการเรียนรู้

ระดับผลการเรียน

ความหมาย

ช่วงคะแนน

4

ผลการเรียนดีเยี่ยม

80 - 100

3.5

ผลการเรียนดีมาก

75 – 79

3

ผลการเรียนดี

70 – 74

2.5

ผลการเรียนค่อนข้างดี

65 – 69

2

ผลการเรียนน่าพอใจ

60 – 64

1.5

ผลการเรียนพอใช้

55 – 59

1

ผลการเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ

50 – 54

0

ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์

0 – 49

หมายเหตุ        

“ มส  ”   หมายถึง เวลาเรียนไม่ครบร้อยละ 80 ส่งผลให้การประเมินไม่ครบตามมาตรฐานที่ กำหนดไม่มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินผลปลายภาคเรียน

          “ ร  ”     หมายถึง รอการตัดสิน  หรือยังตัดสินไม่ได้ เนื่องจากการประเมินยังไม่ครบตามมาตรฐานหรือตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ หรือไม่ได้วัดผลกลางภาค วัดผลปลายภาค ไม่ส่งงาน หรือมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้การประเมินผลการเรียนไม่ได้

          “ ผ  ”     หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรมและมีผลงานตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

“ มผ  ”   หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติกิจกรรมและมีผลงาน ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

 

 

2.  การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา เป็นการประเมินพัฒนาทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามคุณลักษณะที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด โดยให้การประเมินเป็นรายคุณลักษณะ สรุปผลเป็นรายภาค/รายปี การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นการประเมินพัฒนาทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอื่นๆ ที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด

8 คุณลักษณะ

          1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ตัวชี้วัดที่ 1  เป็นพลเมืองดีของชาติ

ตัวชี้วัดที่ 2  ธำรงไว้ซึ่งความเป็นชาติไทย

ตัวชี้วัดที่ 3  ศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตนตามหลักของศาสนา

ตัวชี้วัดที่ 4  เคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

          2. ซื่อสัตย์สุจริต

ตัวชี้วัดที่ 1  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตนเองทั้งทางกาย วาจา ใจ

          ตัวชี้วัดที่ 2  ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา ใจ                           

          3. มีวินัย

           ตัวชี้วัดที่ 1  ปฏิบัติตามข้อตกลง กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับของครอบครัว โรงเรียน และสังคม

          4. ใฝ่เรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 1  ตั้งใจ เพียรพยายามในการเรียนและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 2  แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ด้วยการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม บันทึกความรู้ วิเคราะห์ สรุปเป็นองค์ความรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

          5. อยู่อย่างพอเพียง

          ตัวชี้วัดที่ 1  ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม

          ตัวชี้วัดที่ 2  มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

          6. มุ่งมั่นในการทำงาน

          ตัวชี้วัดที่ 1  ตั้งใจและรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่การงาน

          ตัวชี้วัดที่ 2  ทำงานด้วยความเพียรพยายามและอดทนเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

7. รักความเป็นไทย

          ตัวชี้วัดที่ 1  ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทยและมีความกตัญญูกตเวที

ตัวชี้วัดที่ 2  เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ตัวชี้วัดที่ 3  อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาไทย

          8. มีจิตสาธารณะ

          ตัวชี้วัดที่ 1  ช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจและพึงพอใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน

          ตัวชี้วัดที่ 2  เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน  ชุมชน  และสังคม

 

 

 

เกณฑ์พิจารณาสรุปผลการประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized   Education  Program : IEP )

 ระดับ

หมายถึง

เกณฑ์การพิจารณา

3

ดีเยี่ยม

1. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน 5-8 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้

ผลการประเมินระดับดี

 2

ดี

1. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน 1-4 คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้

ผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี หรือ

2. ได้ผลการประเมินระดับดี ทั้งคุณลักษณะ 8 คุณลักษณะ หรือ

3. ได้ผลการประเมินตั้งแต่ระดับดี ขึ้นไป จำนวน 5-7 คุณลักษณะ และมีบาง

คุณลักษณะได้ผลการประเมินระดับผ่าน

 1

ผ่าน

1. ได้ผลการประเมินระดับผ่านทั้ง 8 คุณลักษณะ หรือ

2. ได้ผลการประเมินตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป จำนวน 1-4 คุณลักษณะ และคุณลักษณะ

ที่เหลือได้ผลการประเมินระดับผ่าน

 0

ไม่ผ่าน

ได้ผลการประเมินระดับไม่ผ่าน ตั้งแต่ 1 คุณลักษณะขึ้นไป

   การประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน

            ตัวชี้วัด การอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน     

          1. สามารถคัดสรรสื่อที่ต้องการอ่านเพื่อหาข้อมูลสารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ สามารถสร้างความเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้จากการอ่าน เต็มศักยภาพโดยมีผู้ให้คำชี้แนะ

          2. สามารถจับประเด็นสำคัญและประเด็นสนับสนุน โต้แย้งเต็มศักยภาพโดยมีผู้ให้คำชี้แนะ

          3. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ความสมเหตุสมผล ความน่าเชื่อถือ ลำดับความและความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน เต็มศักยภาพโดยมีผู้ให้คำชี้แนะ

          4. สามารถสรุปคุณค่า แนวคิด แง่คิดที่ได้จากการอ่าน เต็มศักยภาพโดยมีผู้ให้คำชี้แนะ

          5. สามารถสรุป อภิปราย ขยายความ แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง สนับสนุน โน้มน้าว โดยการเขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  ผังความคิด เป็นต้น เต็มศักยภาพโดยมีผู้ให้คำชี้แนะ

เกณฑ์การประเมินความสามารถในการอ่าน  คิดวิเคราะห์ และเขียน

ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized   Education  Program : IEP )

ระดับ

หมายถึง

เกณฑ์การพิจารณา

3

ดีเยี่ยม

มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ

2

ดี

มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ

1

ผ่าน

มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีข้อบกพร่องบาง ประการ

0

ไม่ผ่าน

ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน หรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ

            4. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

         1. ผู้เรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด

         2. ผู้เรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ  และผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กำหนด

         3. ผู้เรียนจะได้รับผลการประเมินกิจรรม  “ผ” (ผ่านกิจกรรม)

         4. เมื่อไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ข้อ 1 และ ข้อ 2  จะได้รับผลการประเมินกิจกรรม  “มผ” (ไม่ผ่านกิจกรรม) 

และไม่สามารถจบหลักสูตรในแต่ละช่วงชั้น จนกว่าผู้เรียนปรับปรุงแก้ไขให้ผ่านเกณฑ์

เอกสารหลักฐานการศึกษา

          เอกสารหลักฐานการศึกษา เป็นเอกสารสำคัญที่บันทึกผลการเรียน ข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

           

 

๑. เอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

          ๑.๑ ระเบียนแสดงผลการเรียน เป็นเอกสารแสดงผลการเรียนและรับรองผลการเรียนของผู้เรียนตามรายวิชา ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา และผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องบันทึกข้อมูลและออกเอกสารนี้ให้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เมื่อผู้เรียนจบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) หรือเมื่อลาออกจากสถานศึกษาในทุกกรณี

            ๑.๒ ประกาศนียบัตร เป็นเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาเพื่อรับรองศักดิ์และสิทธิ์ของผู้จบการศึกษา

ที่สถานศึกษาให้ไว้แก่ผู้จบการศึกษาตามหลักสูตรนี้

            ๑.๓ แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา เป็นเอกสารอนุมัติการจบหลักสูตรโดยบันทึกรายชื่อและข้อมูลของผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖)

          ๒. เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด

เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกพัฒนาการ ผลการเรียนรู้ และข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับผู้เรียน เช่น แบบรายงานประจำตัวผู้เรียน แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา ระเบียนสะสม ใบรับรองผลการเรียน และเอกสารอื่น ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนำเอกสารไปใช้

 

การเทียบโอนผลการเรียน

          โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สายจะเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนในกรณีต่าง ๆ ได้แก่ การย้ายสถานศึกษา การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การออกกลางคันและขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อ นอกจากนี้ ยังสามารถเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ เช่น สถานประกอบการ สถาบันศาสนา สถาบันการฝึกอบรมอาชีพ การจัดการศึกษาโดยครอบครัว

          การเทียบโอนผลการเรียนควรดำเนินการในช่วงก่อนเปิดภาคเรียนแรก หรือต้นภาคเรียนแรก                ที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็นผู้เรียน ทั้งนี้ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย ๑ ภาคเรียน โดยโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดแม่สายที่รับผู้เรียนจากการเทียบโอนควรกำหนดรายวิชาและจำนวนหน่วยกิต ที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม

          การพิจารณาการเทียบโอน สามารถดำเนินการได้  ดังนี้

          ๑.พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา และเอกสารอื่นๆ ที่ให้ข้อมูลแสดงความรู้ ความสามารถของผู้เรียน

          ๒.พิจารณาจากความรู้ ความสามารถของผู้เรียนโดยการทดสอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งภาคความรู้และภาคปฏิบัติ 

          ๓.  พิจารณาจากความสามารถและการปฏิบัติในสภาพจริง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๑).  หลักสูตรแกนกลางระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑.

   กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.   

มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.      (2560) หลักสูตรระดับการศึกษาขั้น      พื้นฐานสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการเห็นและมีความบกพร่องอื่นร่วมด้วยสำหรับสถานศึกษาสังกัดมูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐

            ขอนแก่น.

มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ๒๕๕๓.  เกณฑ์มาตรฐานสำหรับผู้เรียนที่มีความ

            บกพร่องทางการเห็น ระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน.   เอกสารอัดสำเนา จัดทำโดย

คณะครูและผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนคนตาบอดในประเทศไทย ในคราวการสัมมนา เรื่อง ยุทธศาสตร์การ

พัฒนาระบบการจัดการศึกษาคนพิการ สู่การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ.

สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.  (๒๕๔๒).  พระราชบัญญัติการศึกษา

               แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).    

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสั่ง

 

 

1. คำสั่ง สพฐ. ที่ 1239/2560 เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

2. คำสั่ง สพฐ. ที่ 30/2561 เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561

3. ประกาศ สพฐ. เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 (หมายเหตุ ข้อ 3 การจัดการเรียนการสอน ข้อ 3.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยี 2) บูรณาการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้ดำเนินการตามคำสั่ง สพฐ.ที่ 921/2561 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561)

4. คำสั่ง สพฐ. ที่ 921/2561 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

5. คำสั่ง สพฐ. ที่ 922/2561 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างเวลาเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

6. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (หมายเหตุ ข้อ 1 การบริหารจัดการเวลาเรียน ให้ดำเนินการตาม คำสั่ง สพฐ.ที่ 922/2561 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2561)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ

ที่ สพฐ.1239/2560

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ที่ 30/2560

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ที่ 110/2555